ทำรายงาน อาเซียน 10 ประเทศ - ความหมายของอาเซียน และ ธงชาติประเทศอาเซียน
นับ ถอยหลังอีกเพียงไม่กี่ ปี ประเทศไทยก็จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างเต็มตัวแล้ว ซึ่งขณะนี้ก็ดูเหมือนว่าประเทศของเราจะมีความตื่นตัวในการเปิดเขตเศรษฐกิจ เสรีอาเซียนอยู่ไม่น้อยทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการจัดสัมมนา ฝึกอบรมและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนอย่างมากมาย
สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐาน การผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ซึ่งอาเซียนมีความจำเป็นที่ต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายใน ก็เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอาเซียนเอง และเพื่อสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางภายในภูมิภาค คานอำนาจของประเทศอื่น ๆ ภายในภูมิภาคที่มีบทบาทโดดเด่นอย่างเช่น จีน ญี่ปุ่นและอินเดีย เป็นต้น
การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นแรงผลักดันจากมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและกลุ่มทุนภายในประเทศอาเซียนเพื่อที่จะสร้าง/ขยาย “ตลาด” ให้กว้างขวางมากขึ้น โดยที่ไม่ได้แยแสผลกระทบต่อผู้คนส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศอาเซียนแม้แต่น้อย ขณะเดียวกัน กระแสการผลักดันประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็ได้สร้างกระแสการรับรู้ทางสังคมที่ทำให้คิดและรู้สึกไปได้ว่าปัญหาต่างๆ ที่หมักหมมในสังคมอาเซียนจะแก้ไขลุล่วงไปด้วยการเปิด “ตลาด” อาเซียน
เราจะมองเห็นแนวโน้มของผลกระทบจาก “ตลาดอาเซียน” ได้ ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจและมองเห็นปัญหาทางเศรษฐกิจสำคัญของผู้คนในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งจะมองเห็นได้ว่าปัญหาที่หมักหมมนี้จะแก้ไขได้ด้วย “ตลาดอาเซียน” หรือไม่ อย่างไร
ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่สังกัดโลกเสรีในช่วงสงครามเย็นได้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงมาก และในช่วงสองทศวรรษหลังจากที่สงครามเย็นยุติลง การปรับตัวของการดารงอยู่ทางเศรษฐกิจของผู้คนส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้สร้างระบบการผลิตสำคัญขึ้นมา ได้แก่ การผลิตภาคไม่เป็นทางการ (Informal Sector) ซึ่งเป็นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดที่รองรับผู้คนในอาเซียน หากเราพิจารณาความสำคัญของภาคการผลิตไม่เป็นทางการจากแง่มุมของแรงงาน จะพบว่าสัดส่วนของแรงงานที่อยู่ในภาคการผลิตไม่เป็นทางการในแต่ละประเทศนั้นสูงมากทีเดียว ประเทศไทยมีสัดส่วนแรงงานในภาคการผลิตไม่เป็นทางการประมาณร้อยละ 65 ของกำลังแรงงาน ประเทศมาเลเซียอยู่ที่ประมาณร้อยละ 62 ของกำลังแรงงาน ประเทศ
อินโดนีเซียอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 ของกำลังแรงงาน ประเทศฟิลิปปินส์นั้นมีปัญหาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหนักมากหน่อย เพราะสัดส่วนแรงงานภาคไม่เป็นทางการถึงร้อยละ 70 ของกำลังแรงงาน ส่วนในกลุ่มที่เพิ่งเปิดประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม เช่น เขมร ลาว เวียดนาม พม่า แม้ว่าตัวเลขสถิติยังมีไม่ชัดเจนแน่นอนนัก แต่จากการประเมินดูจากข่าวสารทั่วไปก็พอจะเดาได้ว่าแรงงานภาคไม่เป็นทางการในประเทศเหล่านี้น่าจะเกินร้อยละ 70 ของกำลังแรงงานโดยทั่วไป วงจรการดำเนินชีวิตทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตไม่เป็นทางการนั้นมีขอบเขตของตลาดที่ไม่กว้างขวางมากนัก และโดยมากแล้วก็จะเป็นตลาดเล็ก ในพื้นที่ที่จำกัดหนึ่ง ขณะเดียวกันประเภทของสินค้าก็จะตอบสนองความต้องการหรือความจำเป็นในชีวิตประจำวันของผู้คนในพื้นที่นั้น ศักยภาพของภาคการผลิตภาคไม่เป็นทางการได้แก่ ความยืดหยุ่นเพื่อการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันในแต่ละช่วงฤดูกาล
การดำรงอยู่ในภาคการผลิตไม่เป็นทางการของผู้คนที่มีสัดส่วนโดยเฉลี่ยร้อยละ 60 ของกำลังแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียนเช่นที่กล่าวมานี้ จะไม่ได้รับผลทางด้านดีจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจเซียนแต่อย่างใด หากจะได้รับผลดีอยู่บ้างก็เป็นกลุ่มที่สัมพันธ์อยู่กับการท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่จะมาซื้อ/ขายกับภาคการผลิตไม่เป็นทางการก็จะเป็นนักท่องเที่ยวระดับล่างที่ใช้เงินต่อวันไม่มากนัก การได้ประโยชน์จึงมีไม่มากนัก
พร้อมกันนั้น การขยายตัวของกลุ่มทุนที่จะเข้าไปในแต่ละประเทศก็ไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นทั้งหมด ในบางประเทศที่เพิ่งเปิดประเทศก็มีโอกาสที่จะได้การจ้างงานในอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น และปรับแรงงานภาคไม่เป็นทางการมาสู่ภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น ในประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับทุนและความรู้เข้มข้น ก็จะประสบปัญหาการย้ายฐานการผลิต ซึ่งก็จะส่งผลให้การจ้างงานลดน้อยลงทันที ตัวอย่างของการปิดโรงงานผลิตรถยนต์ของมาสด้า/ฟอร์ดในประเทศฟิลิปปินส์เพื่อมาเปิดโรงงานในประเทศไทย ก็ย่อมส่งต่อการจ้างงานในฟิลิปปินส์ทันที
ความผันผวนของการจ้างงานในภาคการผลิตที่เป็นทางการจะทวีสูงมากขึ้น การไหลเวียนของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะตัวจะเร็วและถี่มากขึ้น คนย้ายถิ่นที่โดนบีบบังคับ (vagabond) ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจจะมีมากขึ้น และคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนไร้ความสุขกลุ่มใหญ่ของอาเซียน
การขยายตัวของการลงทุนในประเทศที่มีทรัพยากรเหมาะสมกับอุตสาหกรรมของทุนจะมีผลโดยตรงต่อการเก็บภาษีของแต่ละรัฐ รายได้ของแต่ละบริษัทของกลุ่มทุนจะสูงขึ้น และรายได้ของรัฐที่เป็นรากฐานของทุนกลุ่มนั้น จะลดลงทันที เพราะกลุ่มทุนจะเลือกลงทุนในประเทศที่ระบบภาษีอ่อนแอและมีการเก็บภาษีน้อยที่สุดเพื่อที่กลุ่มทุนจะเก็บกำไรไว้แจกจ่ายผู้ถือหุ้นหรือผู้บริหารโดยไม่ต้องหรือหาทางไม่ยอมเสียให้แก่รัฐ
รัฐแต่ละรัฐในประชาคมอาเซียนจะประสบปัญหารายได้ลดต่ำลงอย่างมาก พลเมืองทั่วไปของอาเซียนจะยากจนมากขึ้น แต่ว่านักการเมืองในรัฐบาลของแต่ละประเทศจะร่ารวยขึ้นอย่างทันตาเห็น ปัญหาความเหลื่อมล้ำของแต่ละประเทศจะสูงมากขึ้นไปอีก พร้อมกันนั้น รัฐบาลก็จะเล่นเกมประชานิยมแบบมักง่ายมากขึ้นเพื่อซื้อเวลาให้แก่กลุ่มตนเองได้กอบโกยได้มากที่สุด
อนาคตของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นทางคู่ขนานระหว่างความเจ็บปวดรวดร้าวของคนตัวเล็กตัวน้อยในทุกประเทศกับความร่ำรวยมหาศาลของกลุ่มทุนและนักการเมือง กลุ่มทุนจะเลือกลงทุนในประเทศที่ระบบภาษีอ่อนแอและมีการเก็บภาษีน้อยที่สุด
โดย : (อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ นพส. กรุงเทพธุรกิจ)
ธงชาติอาเซียน มีสัญลักษณ์คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สำหรับ หลักและวิธีการประดับธงอาเซียน และธงชาติของประะเทศสมาชิกอาเซียนให้ เรียงโดยเริ่มจากธงอาเซียนแล้วต่อด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ตามลำดับอักษรชื่อประเทศดังนี้
1. Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม)
ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมีพื้นสีเหลือง โดยมีแถบสีขาว และสีดำ พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ด้านบน แถบสีดำอยู่ด้านล่าง ขณะที่กลางธงนั้น มีตราแผ่นดินของบรูไนประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีเหลือง หมายถึง กษัตริย์
สีขาว และสีดำ หมายถึง มุขมนตรี
สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง
2. Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา)
ธงชาติกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วตรงกลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่บริเวณกึ่งกลาง ขณะที่ริ้วด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีน้ำเงิน และกว้างริ้วละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยสีต่าง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้
สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์
สีแดง หมายถึง ชาติ
ส่วนปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ
3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ธงชาติลาว ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็น 3 ส่วน โดยแถบตรงกลางจะเป็นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน มีพระจันทร์ทรงกลมสีขาวอยู่กึ่งกลาง ขณะที่แถบด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีแดง และกว้างริ้วละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
พระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของ
สาเหตุที่มีดวงจันทร์ทรงกลมอยู่ตรงกลาง เนื่องจากเพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง
ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซีย
ดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
สีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า
สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จำนวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่งตามความยาว โดยแถบบนมีสีน้ำเงิน และแถบล่างมีสีแดง
ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีน้ำเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคุณค่า
ดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ ที่มีความพยายาม ในการเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน กระทั่งเกิดการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2439
ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน
8. Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์)
ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีดาว 5 แฉก จำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉก ต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล
รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น
ดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค
9. Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย)
ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว และสีแดงตามลำดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ชาติ
สีขาว หมายถึง ศาสนา
สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า
สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ
สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์
แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอด
10. Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)
ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม
สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า
สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม