น่ารู้ เรื่องการเมือง ของ ประชาคมอาเซียนสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน


1,398 ผู้ชม


การเมืองการปกครองสิงคโปร์

วรวิทย์ ไชยทอง

ลักษณะเด่นและความสำคัญของการเมืองสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบันเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเยี่ยม สิงคโปร์มีการปกครองในระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดีทาหน้าที่เชิงพิธีการเท่านั้น สิงคโปร์ได้รับการจัดตั้งให้เป็นสาธารณรัฐสิงคโปร์เมื่อ เดือน ธันวาคม 1965 สิงคโปร์รับเอาระบบประชาธิปไตยรัฐสภาของอังกฤษเป็นแม่แบบ แต่สิงคโปร์มีแต่สภาเดี่ยวไม่มีสภาคู่แบบอังกฤษ
นับตั้งแต่มีการ เลือกตั้งครั้งแรกหลังจากได้รับเอกราชนั้น มีเพียงพรรคการเมืองเดียวคือพรรคกิจประชา(PAP: People’ Action Party) เท่านั้น ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาดารงตำแหน่งทางการเมืองในสภากว่าสามทสวรรษ โดยมีผู้นำประเทศเพียงคนเดียวคือ ลี กวน ยู ภายหลังนายลีจึงยอมลงจากตำแหน่งเพราะบริหารประเทศมานาน แล้วสืบทอดอำนาจให้คนสนิท คือโก๊ะ จ๊ก ตง ซึ่งนายลีก็มีบทบาทในการบริหารอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส โก๊ะ จ๊ก ตง ก็ดาเนินนโยบายในแนวทางสานต่อทางการเมืองจาก ลี กวนยู เช่นเดิม ในปัจจุบัน การเมืองการปกครองสิงคโปร์นั้นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบการเมืองที่ค่อน ข้าวมีเสถียรภาพมากเป็นลาดับต้นๆของโลกเลยก็ได้ เพราะระบบการเมืองสามารถดาเนินไปได้อย่างมีระบบระเบียบ ไม่มีการแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบเช่นการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย กันเองในหลายๆประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลสิงคโปร์เกิดจากการที่สิงคโปร์มีรัฐบาลพรรค เดียวครองอำนาจมาเป็นเวลานานมาก ชนชั้นนำที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองสิงคโปร์นั้นกระจุกอยู่กับกลุ่มคนเพียง กลุ่มเดียว พรรค PAP.ของอดีตประธานาธิบดีสิงคโปร์มีบทบาทอย่างมากทางการเมืองตั้งแต่ยุคการ เรียกร้องเอกราชจนจึงปัจจุบันที่มีนาย ลี เซียน ลุง บุตรของ นายลี กวน ยู มีอำนาจทางการเมืองจากการเลือกตั้ง
คำถามที่สำคัญในการเมืองสิงคโปร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสาหรับการเข้าใจการเมืองและความสัมพันธ์ทางอำนาจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจอื่นๆ คือทาไมคนสิงคโปร์จึงยินยอมยอมรับต่ออำนาจของพรรคPAP เพราะถ้าย้อนกลับไปดูหนทางทางการเมืองภายในประเทศ เราจะพบการใช้อำนาจของรัฐอย่างเด็ดขาดในการควบคุม สิทธิ เสรีภาพของพลเมืองอย่างเข้มข้น แล้วใย พลเมืองสิงคโปร์จึงนิยมในการเลือกพรรคPAP เรื่อยมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ชนชั้นนำทางการเมืองการปกครองของสิงคโปร์ใช้วิธีการเชิงรูปธรรมและนามธรรม อย่างไรในการควบคุม ครอบงำการเมืองสิงคโปร์ รวมทั้งสภาพการต่อสู้ของการเมืองในนภาคประชาสังคมของสิงคโปร์เองที่ไม่ชื่น ชอบวิธีการควบคุม ครอบงำทางอำนาจ ความคิดของ ชนชั้นนำสิงคโปร์ ถึงวิธีการทั้งทางตรงและทางอ้อม ปกปิดและเปิดเผย ต่ออำนาจ ของชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ รวมทั้งการทำความเข้าใจและเพื่อการคาดเดาอนาคตการเมืองการปกครองของสิงคโปร์
ชาตินิยมกับการเมืองของผู้นำ
ในเรื่องของชนชั้นนำในการเมืองสิงคโปร์นั้น เราจะพบว่าการเมืองสิงคโปร์ตั้งแต่การได้รับเอกราช นายลี กวน ยู ผู้นำพรรคกิจประชา(PAP) มีบทบาทอย่างมากในฐานะที่สามารถเข้ามาครองอำนาจทางการเมืองได้อย่างยาวนาน ลีกวนยู นาสิงคโปร์เข้ารวมกับมาเลเซียใน การเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่คนมาเลย์ค่อนข้างเหยียดหยามคนสิงคโปร์ หลังรวมกันได้สองปี ลีกวนยูก็แยกสิงคโปร์ออกจากมาเลเซียแล้วมุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เสรี กาจัดผู้ที่คิดต่างทางการเมือง เช่น นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย คอมมิวนิสต์
การทำความเข้าใจชนชั้นนำของสิงคโปร์นั้นอาจศึกษาได้แนวคิดของ Max Weber ในเรื่องการอธิบายลักษณะอำนาจชอบธรรมของชนชั้นนำสิงคโปร์ที่จะปกครอง นั้น เวเบอร์กลั่นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ออกมาเป็นตัวแบบบริสุทธิ์ของการครอบงำ สามแบบหลัก คือ1.แบบจารีต (Traditional) เช่นผู้อาวุโสเป็นใหญ่ แบบพ่อปกครองลูก เป็นต้น 2.แบบบุญบารีส่วนตัว (Charismatic) คือการที่เชื่อว่าผู้ปกครองมีความพิเศษเหนือคนธรรมดา และ 3. แบบที่ต้องอาศัยกฎหมายที่มีเหตุผล (Rational-Legal) หรือระบบการปกครองสมัยใหม่เน้นราชการเป็นตัวจักรในการดาเนินการปกครองภายใต้ ขอบเขตอำนาจหน้าที่อันจากัด มีกฎหมายกำหนด อีกหนึ่งแนวคิดที่สำคัญสาหรับชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ คือ C.Wright Mills ที่ได้เสนอความคิดของเขาเกี่ยวกับการศึกษาชนชั้นนำทางการเมืองในหนังสือ The Power Elite Mills เสนอว่าการจัดองค์กรทางสังคมในสหรัฐอเมริกานั้นจะมีแต่คนในแวดวงระดับสูง เช่นนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง ผู้นำกองทัพ และผู้บริหารบริษัทใหญ่ๆ เป็นต้น ที่สถาปนาตนเองเป็นกลุ่มชนชั้นนำในอำนาจ และควบคุมการดาเนินงานของรัฐ คนเหล่านี้มักมาจากพื้นฐานทางสังคมและการศึกษาใกล้เคียงกัน หรือมีความสัมพันธ์ส่วนตัวมาเป็นเวลายาวนาน
ในสังคมการเมืองสิงคโปร์นั้น หลังนายลีลงจากตำแหน่งได้สืบทอดอำนาจผ่าน โก๊ะ จก ตง ลีกวนยูมีความน่าสนใจในแง่ที่ว่าเป็นผู้นำเพียงไม่กี่คนในเอเชียที่ยอมลงจาก อำนาจโดยสมัครใจเมื่อถึงเวลาอันควร การเปลี่ยนตัวนายกเป็นไปอย่างราบรื่นและเรียบร้อย เนื่องจากมีการเตรียมการเป็นอย่างดีไม่ต่ากว่า 20 ปี สาหรับการสืบทอดอำนาจจากผู้นำทางการเมืองรุ่นแรก ไปสู่ผู้นำทางการเมืองรุ่นที่สอง ลักษณะการสรรหาผู้นำทางการเมืองในสิงคโปร์นั้น พบว่า ผู้นำรุ่นอาวุโสของพรรคกิจประชาจะเสาะหาบุคคลที่มีความรู้ มีการศึกษาสูง มีความสามารถและมีความประพฤติดี เข้ามาเป็นสมาชิกพรรค แล้วส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง ตลอดจนฝึกฝนสมาชิกรุ่นหลังให้ทาหน้าที่สมาชิกรัฐสภาที่ดี นายลีได้ประกาศก่อนหน้า
การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึงสองปี ให้ทุกคนรู้ว่า นายโก๊ะ จก ตง จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดไป ชนชั้นนำในสังคมการเมืองสิงคโปร์จึงมีอำนาจอันชอบธรรมจากประชาชนจากการ ต่อสู้เพื่อเอกราชและการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อย่างมีเสถียรภาพ ความจาเป็นทางเศรษฐกิจของพลเมืองสิงคโปร์ที่ต้องการการเมืองที่มีความมั่นคง เพราะจากการเป็นชาติที่มีปัญหาจากสภาพสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทั้งยังถูกโอบล้อมด้วยประเทศใหญ่ ชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์จึงถูกผูกขาดอำนาจอยู่เพียงคนกลุ่มเดียว
ประชาธิปไตยวิถีเอเชีย
ผู้นำของสิงคโปร์คือ ลีกวนยู มีความสำคัญอย่างมากในแง่ของการกำหนด เป้าหมาย ปรัชญา อุดมการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมือง ลีกวนยู นาเสนอแนวคิด ค่านิยมเอเชีย (Asian Values) หรือประชาธิปไตยวิถีทางเอเชีย กล่าวคือลีมองว่า ประชาธิปไตยแบบเสรีเป็นแนวคิดแบบตะวันตก ไม่เหมาะสมกับประเทศในเอเชีย เพราะความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิประเทศ ดังนั้น ประชาธิปไตยเสรีจึงไม่เหมาะสมถ้าจะนามาใช้ทั้งหมด
ในช่วงประมาณทศวรรษที่80 สิงคโปร์เริ่มประสบปัญหาทางวิกฤติเศรษฐกิจมากขึ้น ประชาชนเริ่มอึดอัดกับการปกครองที่ควบคุมวิถีชีวิตในทุกแง่มุม การเลือกตั้งในช่วงเวลานั้นประสบคะแนนเสียงของพรรค PAP ลดลงอย่างมาก แม้จะได้ออกแบบโครงสร้างการเลือกตั้งอย่างกีดกันพรรคฝ่ายค้านแล้วก็ตาม ชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ในขณะนั้นจึงพยายามเสนอแนวคิด “ประชาคมนิยม” (Communitarianism) เพื่อรณรงค์เรื่องความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว และความมั่นคงของรัฐ แนววคิดดังกล่าวมีองค์ประกอบหลักคือ ต้องการเชิดชูความเป็นชาติเหนือกว่าปัจเจกบุคคล สถาบันครอบครัวคือรากฐานที่แท้จริงของสังคม การสนับสนุนจารีตที่ให้ประชาชนผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ การตัดสินใจใดๆก็ตาม ควรเน้นการเห็นพ้องต้องกันมากกว่า การแข่งขัน การถกเถียงกัน และยังต้องสร้างความสามัคคีกันระหว่างประชาชน เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศที่รวมกันของความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ประการสุดท้ายคือ พลเมืองมีหน้าที่ต้องเสียสละแก่บ้านเมือง และรัฐก็ต้องมีสวัสดิการที่ดีแก่ประชาชน อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดดังกล่าวโดยรวมให้ความสำคัญกับเรื่องบทบาทและหน้าที่ ของผู้คนในสังคม สอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบเอเชีย เช่นแนวทางแบบขงจื้อ
พรรคการเมืองเดียวครองอำนาจ
การเลือกตั้งของสิงคโปร์ตั้งแต่ในยุคหลังการประกาศเอกราชเป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน ไม่มีพรรคการเมืองใดในสิงคโปร์ที่จะสามารถเข้ามามีเสียงข้างมากในสภาได้ การที่สมาชิกพรรคฝ่ายตรงข้ามกับพรรค PAP จะสามารถเข้ามานั่งในสภาได้ก็นับว่าเป็นเรื่องยาก และเกิดขึ้นน้อยมากเนื่องจากการใช้อำนาจทางการเมืองของรัฐบาลเพื่อกีดกัน และความอ่อนแอในตัวพรรคและนักการเมืองฝ่ายค้านเอง รวมทั้งประชาชนชาวสิงคโปร์ที่นิยม พรรค PAP เป็นอย่างมาก เสียงส่วนใหญ่ในสภาอยู่ในมือของพรรค PAP ตั้งแต่ทศวรรษที่1960 เป็นต้นมา การเลือกตั้งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการเมืองระบอบประชาธิปไตย และพรรคPAP ที่ดูว่าเป็นเผด็จการ ก็มามีความชอบธรรมทางอำนาจมาจากการเลือกตั้งของประชาชน สิงคโปร์มีการเลือกตั้งตรงตามหลักเกณฑ์ประชาธิปไตย แต่เป็นการเลือกตั้งที่ผลิตนักการเมืองเข้าไปจัดการทางอำนาจของคนจากพรรคการ เมืองเพียงพรรคเดียวเป็นตัวแทนของประชาชน Chan Heng Chee เสนอว่า ไม่ควรเรียกระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้งว่าเป็นระบบพรรคเด่นเพียงพรรค เดียว แต่ควรเรียกว่าพรรคการเมืองครองความเป็นจ้าว (Hegemonic Party System) มากกว่า เพราะว่าระบบแรกนั้น ในการเลือกตั้งมีการแข่งขันอย่างยุติธรรมระหว่างบรรดาพรรคการเมืองที่เข้ม แข็งมีประสิทธิภาพ แต่ในระบบพรรคการเมืองครองความเป็นจ้าวนั้น เป็นการแข่งขันที่มีแต่พรรคๆเดียวที่มีโอกาสชนะ และมีความได้เปรียบพรรคการเมืองอื่นๆที่อ่อนแอกว่าอย่างมาก
เสถียรภาพและความมั่นคงภายใต้ระบอบกึ่งประชาธิปไตย
การเมืองสิงคโปร์ซึ่งถูกปลูกฝังโดยชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ที่ ให้เน้นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่าปัจเจก แนวคิดแบบปัจเจกนิยมเป็นรากฐานและผลผลิตของประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งไม่เหมาะสมสาหรับสังคมสิงคโปร์ การเมืองสิงคโปร์จาเป็นต้องเห็นคุณค่าของส่วนรวม อีกทั้งสิงคโปร์เองเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา การเน้นคุณค่าของส่วนรวมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากเรื่องความหลากหลาย ด้วยความเป็นชาติใหม่ ที่เพิ่งได้รับเอกราชและมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย คนสิงคโปร์จาเป็นต้องมีสานึกเรื่องชาติสูง ไม่ต้องการให้เกิดการแบ่งแยกหรือความขัดแย้งใดๆ เพราะประเทศของตนก็เสียเปรียบจากประเทศรอบข้างอย่างมากแล้ว ดังนั้นคนสิงคโปร์ในช่วงแรกจึงเห็นว่าเสถียรภาพทางการเมืองและความมั่นคงของ ชาติ สำคัญมากโดยเฉพาะเมื่อต้องแข่งขันกันพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สิงคโปร์จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างชาติให้เจริญเติบโตโดยการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นทางเดียวที่ชาติเล็กๆอย่างสิงคโปร์จะก้าวขึ้นมามีอำนาจในการเมือง โลกได้
การเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์นับว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเมืองสิงคโปร์มีเสถียรภาพสูง คนสิงคโปร์นิยมชมชอบการเมืองแบบลีกวนยู เพราะลีกวนยูมีภาพของความสุจริต ความฉลาดเฉลียว ในการบริหารประเทศ นโยบายทางเศรษฐกิจของลี ทาให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจสิงคโปร์อย่างมากมาย เกิดการกระจายทางทรัพยากรอย่างทั่วถึง ด้วยหลักประชาคมนิยมนั้น ลีเห็นความสำคัญของการจัดสรรสวัสดิการแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก แม้พื้นที่ของสิงคโปร์จะมีจากัด แต่ลีสามารถบริหารจัดการที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคให้กับคนสิงคโปร์ได้อย่างดี ภายในเวลาไม่กี่ทศวรรษ สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีระบบการเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีความ มั่นคงมากเป็นลาดับต้นๆของโลก ว่ากันว่าคุณภาพชีวิตคนสิงคโปร์ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนสิงคโปร์ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดในลาดับต้นๆของ โลกเลยทีเดียว
แน่นอนว่า สิ่งหนึ่งเกิดจากภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์เองที่มีความเหมาะแก่การ เป็นเมืองท่าทางการขนส่งทางทะเลเชื่อมโยงระหว่างประเทศในเอเชียกับยุโรปและ อาฟริกา นอกจากนี้สิงคโปร์ยังมีความสามารถในการจัดการด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าของ ภูมิภาค เป็นศูนย์กลางของเงินทุนหมุนเวียนในภูมิภาค กล่าวได้ว่าในภาคการผลิตของสิงคโปร์นั้นมีปริมาณน้อยมากเพราะสภาพทาง ภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ขนาดพื้นที่ที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนด้านปัจจัยการผลิต แต่สิงคโปร์สามารถเปลี่ยนแนวโน้มการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้าสู่ ภาคบริการ และ ภาคการเงิน การลงทุน ศูนย์กลางการบริหารจัดการเป็นต้น ดังนั้นในแต่ละปี สิงคโปร์จึงสามารถทากาไร จากการแสวงหามูลค่าดังกล่าวได้จานวนมาก และเพียงพอต่อการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง
การสร้างชาติด้วยการสร้างความมั่นทางเศรษฐกิจ
ภายใต้การจากัดการแสดงออกทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองคือสภาพ สังคมสิงคโปร์ที่เกิดขึ้นมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลในอดีตใช้กลไกทางอำนาจรัฐบังคับและควบคุมความคิดทางการเมืองของ พลเมืองอย่างเข้มงวด ในเชิงกระบวนการและระบบการเมืองนั้น พรรคPAP ซึ่งมีอำนาจทางการเมืองมาตั้งแต่แรก ได้ปรับเปลี่ยนกลไกการเลือกตั้ง หรือใช้กลวิธีนอกกฎหมาย เพื่อจัดการกับนักการเมืองฝ่ายค้าน ในด้านประชาสังคมนั้น สื่อมวลชนสิงคโปร์ถูกจากัดการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างมาก อาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็อาจถูกรัฐบาลจับกุมได้ถ้าแสดงการวิพากษ์วิจารณ์ รัฐบาล ยุครัฐบาล ลีกวนยู และโก๊ะจ๊กตง มีการห้ามนาเสนอข่าวสารอย่างมาก เช่นการจากัดการซื้อขายสื่อที่วิจารณ์รัฐบาล ทาลายการตลาดของสื่อที่วิพากษ์นโยบายรัฐบาล จากัดการขายสื่อต่างประเทศบางฉบับที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลสิงคโปร์ การควบคุมทางเศรษฐกิจและทางการเมืองคือวิธีการของรัฐบาลสิงคโปร์ในการแทรก แซงการสาเสนอข่าวของสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ
อำนาจเด็ดขาดของรัฐบาลต่อพลเมืองสิงคโปร์นั้น นอกจากการห้ามการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากรัฐบาล ยกเว้นองค์กรภาคประชาชนที่รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน  รัฐบาลยังใช้กลไกความรุนแรงบังคับ เช่นการใช้กฏหมายเล่นงานผู้ทีดาเนินการต่อต้านรัฐบาล เคยมีผู้ที่ถูกจับกุมจากรัฐบาลมากุมขังเป็นเวลาหลายเดือน และถูกปล่อยตัวต่อหน้าสื่อมวลชนเมื่อยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้สนับสนุนแนวทาง มาร์กซิสจริง ต่อมาบุคคลเหล่านี้เปิดเผยว่าตนถูกบังคับให้สารภาพเช่นนั้นเพราะถูกกระทำการ อย่างทารุณทั้งทางร่างกายและจิตใจ และอีกหลายกรณีที่รัฐใช้ระบบยุติธรรมในการจัดการกับผู้ที่ดาเนินการทางการ เมืองที่ต่อต้านและน่าสงสัยว่าต่อต้านต่อรัฐบาล
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์กับการก่อรูปการเมืองสิงคโปร์
เศรษฐกิจการเมืองทุนนิยมกับการเปลี่ยนแปลง สิงคโปร์เริ่มพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ในช่วงหลังการได้รับเอกราช เนื่องด้วยต้องการสร้างความเข้มแข็งของรัฐ-ชาติตน เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กและมีปัญหาเรื่องความหลากหลาย ทางเชื้อชาติ สิงคโปร์จึงสร้างความเป็นชาตินิยมผ่านทางเศรษฐกิจ โดยไม่สนใจการพัฒนาทางการเมืองมากนัก การพัฒนาทางการเมืองของสิงคโปร์เน้นเฉพาะเรื่อง เชิงโครงสร้าง-หน้าที่ การเมืองเชิงสถาบัน แต่ยังบกพร่องในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์สร้างความเป็นชาติผ่านอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม และชี้ให้เห็นถึงความเลวร้ายของแนวคิดปัจเจกชนนิยม ทั้งยังใช้กลไกรัฐเชิงบังคับและเชิงอุดมการณ์เป็นเครื่องมือทางการเมืองใน การกล่อมเกลาและกาจัดการเคลื่อนไหวต่อต้าน จะเห็นได้ว่าบทบาทรัฐของสิงคโปร์นั้นมีความโดดเด่นและสำคัญมาก รัฐมีบทบาทนาอย่างมากในการพัฒนาและสร้างอุดมการณ์ครอบงำการพัฒนาแบบทุนนิยม
ชนชั้นนำสิงคโปร์ต่อต้านการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์มีการปราบ ปรามฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรง ชนชั้นนำสิงคโปร์เลือกแนวทางการพัฒนาแบบทุนนิยมเสรีโดยอยู่เคียงข้างสหรัฐ อเมริกามาตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ในทางเศรษฐกิจนั้น ศาสตราจารย์ คุนิโอะ เสนอว่า ทุนนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นทุนนิยมเทียม เพราะ รัฐแทรกแซงอย่างไร้ประสิทธิภาพ มีเทคโนโลยีต่าและไม่สอดรับทิศทางการพัฒนา รวมทั้งการกีดกันทางการเมืองกับเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความต่างทางเชื้อชาติ คุนิโอะเสนอว่า ไม่สามารถมองสิงคโปร์ซึ่งมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีความเจริญ สูงมาก ว่าเป็นรูปแบบที่ถูกต้องของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศนี้ไม่ใช่แบบอย่างประเทศทุนนิยมอุตสาหกรรม เพราะนายทุนที่มีความสามารถในการผลิตส่งออกส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ สิงคโปร์ไม่สามารถสร้างระบบพลวัตรทุนนิยมของตนเองได้เพราะพึ่งทุนต่างชาติ มาก แม้จะมีเทคโนโลยีดี ไม่กีดกันเรื่องเชื้อชาติ และมีการแทรกแซงระบบตลาดได้มีประสิทธิภาพกว่าหลายๆประเทศในเอเชียก็ตาม

บทบาทรัฐนาการพัฒนาในสิงคโปร์จึงมีความชัดเจนมาก เพราะรัฐบาลกลายเป็นผู้ถือหุ้นและนักลงทุนรายใหญ่ในธุรกิจต่างๆจานวนมาก ทุนนิยมในสิงคโปร์เป็นทุนนิยมที่เสรีแต่ถูกจากัดอย่างมากในทางการเมือง เศรษฐกิจในสิงคโปร์เป็นเศรษฐกิจที่เน้นภาคการเงินและการบริการมากกว่าภาคการ ผลิตที่เป็นจริง
เศรษฐกิจกับเสรีภาพในการเมืองสิงคโปร์
ในเรื่องเสรีภาพทางการเมืองกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์นั้น มีความขัดแย้งกันอย่างมาก นิยามของประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจการเมืองทุนนิยมนั้น เราอาจนิยามอย่างง่ายๆได้ว่าคือ การมีการเลือกตั้งเสรี มีรัฐบาลและผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งด้วยหลักการดังกล่าว เราจะพบว่า พรรคการเมืองอย่างPAP นั้น ก็ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนชาวสิงคโปร์อย่างมาก ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ประชาธิปไตยในสิงคโปร์ยังเป็นกึ่งประชาธิปไตยอยู่นั้น เพราะ พลเมืองสิงคโปร์ยังไม่มีสิทธิเสรีภาพในการรวมตัว แสดงออก และมีช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารอย่างหลากหลาย เสรี Barrington Moore เสนอว่าชนชั้นกลางจะเป็นผู้สร้างประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตยแบบตะวันตกมาจากการปฎิวัติของชนชั้นกลาง เมื่อเรามาย้อนดูชนชั้นกลางในประวัติศาสตร์การเมืองสิงคโปร์จนถึงปัจจุบัน เราจะ พบว่า ชนชั้นกลางของสิงคโปร์นั้นก็ไม่ได้ชื่นชอบและสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยมาก ซักเท่าไหร่ เพราะเราจะเห็นว่าชนชั้นกลางส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ ก็สนับสนุนอำนาจรัฐแบบเด็ดขาดโดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุล ในการเลือกตั้งที่ฝ่ายรัฐบาลกำหนดกฎเกณฑ์การเลือกตั้งเข้าข้างตนเอง มีการใช้ระบบกฎหมายเล่นงานฝ่ายตรงข้าม และฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่ชนชั้นกลางสิงคโปร์ก็ยังเลือกพรรคPAP เข้ามาดารงตำแหน่งอย่างท่วมท้น จนเป็นการสืบทอดอำนาจทางการเมืองอยู่เพียงชนชั้นนำทางการเมืองบางกลุ่ม นอกจากนี้เรายังจะเห็นได้ว่าชนชั้นกลางสิงคโปร์ยังเคลื่อนไหวทางการเมือง เพียงเฉพาะประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบคับแคบเท่านั้น
ชนชั้นกลางกับเสรีภาพในสิงคโปร์มิใช่ภาพนิ่งที่ปราศจากพลวัตรและการเปลี่ยน แปลงเสียเลย ในช่วงที่สิงคโปร์เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจนั้น ก็เกิดการเรียกร้องทางการเมืองเช่นกัน ลึกๆแล้วก็มีคนจานวนมากเช่นกันที่อึดอับและคับแค้นใจจากการปกครองอำนาจนิยม ของรัฐบาลในช่วงหลังนายลีกวนยู ลงจากตำแหน่ง นายโก๊ะจ๊กตง ซึ่งมีความก้าวหน้าทางความคิดมากกว่านายลี ก็เริ่มเห็นกระแสการไม่พอใจดังกล่าวก็ได้พยายามลดหรือป้องกันการเรียกร้อง ทางการเมืองจากการไม่มีอำนาจของพลเมืองในการกำหนดนโยบายรัฐ ด้วยการจัดให้มีการสำรวจความคิด รับฟังความคิดเห็น เพิ่มอำนาจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นต้น เพื่อลดกระแสความรุนแรงทางการเมือง จากชนชั้นกลางหน้าใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นจานวนมาก
การต่อสู้กับอำนาจรัฐกับรัฐบาลสิงคโปร์กระทำได้ไม่ง่าย แต่กระแสความไม่พอใจกฏระเบียบทางสังคมที่เคร่งครัด เข้มงวดอย่างยิ่งนั้นย่อมก่อให้เกิดการต่อต้าน การต่อสู้กับกฎหมายที่เข้มงวดในชีวิตประจาวันของชาวสิงคโปร์เช่น การถ่ายปัสสาวะในลิฟท์ เวลาไม่มีคน ทิ้งก้นบุหรี่ ฯลฯ นี่คือตัวอย่างการต่อสู้ในชีวิตประจาวันของคนสิงคโปร์
แนวโน้มทางการเมืองในอนาคตในเรื่องการแสดงออกทางการเมืองและการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองสิงคโปร์นั้น สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ก้าวหน้ามากขึ้น เพราะรัฐบาลไม่สามารถจากัดการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นในอดีต โลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีลักษณะไร้พรมแดนทางการสื่อสาร ได้เข้ามาจากัดการใช้อำนาจของรัฐมากขึ้น ทั้งรัฐยังไม่สามารถสร้างวาทกรรมครอบงำได้อย่างง่ายดายเช่นเดิม เพราะกลไกการวิพากษ์วิจารณ์อำนาจเผด็จการมีอำนาจมากขึ้นทั้งโดยตรง และเปิดเผย ปกปิด และซ่อนเร้นมากขึ้นนั่นเอง
การเมืองเชิงอุดมการณ์ : การสร้างอำนาจของชนชั้นปกครองในสิงคโปร์
แนวคิดที่ใช้อธิบายการเมืองสิงคโปร์ที่สำคัญคือ แนวคิดของอันโตนิโอ กรัมชีเรื่องอำนาจ คือการใช้อำนาจของกลุ่ม/ชนชั้นใดๆ เพื่อสร้างภาวะการครอบครองความคิด และมีอำนาจเหนือกลุ่ม/ชนชั้นอื่นๆในสังคม โดยการใช้อำนาจดังกล่าวนั้นปราศจากการใช้ความรุนแรง หรือการบังคับในเชิงกายภาพ แต่เป็นการใช้อำนาจผ่านกลไกชนิด ต่างๆ เพื่อครอบครองความคิด โน้มน้าว และทาให้เกิดการยอมรับ เพื่อก่อให้เกิดขึ้นซึ่งความยินยอมพร้อมใจ และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มพลังทางสังคมและชนชั้นต่างๆ โดยที่ผู้คนในกลุ่ม/ชนชั้นที่ถูกกระทำนั้นไม่ทราบ หรือไม่สามารถตระหนักได้ว่าตนได้ถูกครอบครองความคิดไปแล้ว
กลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์ครองอำนาจในการเมืองสิงคโปร์
กลุ่มก้อนทางอำนาจ(Power Bloc)ซึ่งนาโดยนายลีกวนยู สามารถสถาปนาทางอำนาจ เหนือกลุ่มก้อนทางอำนาจอื่นๆ เข้ามามีอำนาจทางการเมืองเหนือระบบการเมืองการปกครองของสิงคโปร์ โดยลีกวนยู ได้ทาสงครามช่วงชิงที่มั่น (War of Movement) กับสังคมการเมือง (Political Society) เพื่อกาจัดศัตรูทางการเมืองที่มีแนวคิดตรงข้าม ในช่วงแรกคือการใช้กาลัง(Coercion) กองทัพปราบปรามฝ่ายซ้าย และกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านระบบเศรษฐกิจการเมืองในขณะนั้น ลีกวนยูครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ชนชั้นปกครองในทัศนะของกรัมชีจะไม่สามารถดารงในอำนาจอยู่ได้ โดยเฉพาะในรัฐสมัยใหม่ ก็ต้องทาสงครามช่วงชิงความคิด (War of Position) ในพื้นที่ของประชาสังคม (Civil Society) โดยการสร้างอุดมการณ์ทางสังคม แนวทางชาตินิยมขึ้นมาเพื่อสร้างการครองอำนาจทางความคิด เพื่อก่อให้เกิดความเห็นร่วมในการปกครองและการพัฒนา ให้ประชาสังคมยินยอม/ยอมรับ(Consent)ต่อการใช้อำนาจของรัฐบาล ในกระบวนการสร้างอำนาจของชนชั้นนำในพรรคPAP นั้น สามารถสืบทอดทางอำนาจมาอย่างยาวนานถือได้ว่า ชนชั้นนำทางการเมืองของพรรคPAP สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองสิงคโปร์ได้อย่างประสบความสาเร็จ กลายเป็นกลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์ (Historical Bloc)ทางการเมืองสิงคโปร์แบบรัฐอำนาจนิยมนาการพัฒนา
ประชาสังคมกับการต่อต้านต่ออำนาจ
ใช่ว่าการสร้างอำนาจของกลุ่มก้อนทางอำนาจดังกล่าวจากพรรคPAP ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นที่ในการสร้างอำนาจของชนชั้นปกครองคือพื้นที่การเมืองในภาคประชาสังคม (Civil Society) จะมีแต่ความราบรื่น สามารถสถาปนาอำนาจในสังคมการเมืองและประชาสังคมได้อย่างสมบูรณ์ แต่ในพื้นที่ประชาสังคมนั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่นอกภาครัฐ เป็นพื้นที่สาหรับการต่อสู้เชิงความคิด วาทกรรม ความหมาย อุดมการณ์ การช่วงชิงนิยาม การสร้างอำนาจมักจะมีกลุ่มพลังที่ต่อต้านต่อการสร้าง/ครองอำนาจ (Counter-Hegemony) ซึ่งเป็นกลุ่มที่สร้างหรือมีความคิด นิยาม ความหมาย อุดมการณ์ ที่ต่อต้านหรือแตกต่างต่ออำนาจในปัจจุบัน การต่อต้านดังกล่าวกระทำโดยการทาสงครามช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดผ่านพื้นที่ ภาคประชาสังคม รวมทั้งการทาสงครามช่วงชิงที่มั่น(อำนาจรัฐ) ในพื้นที่สังคมการเมืองด้วย การต่อต้านต่ออำนาจของรัฐบาลสิงคโปร์อาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาทุกโอกาส อาจจะเป็นการต่อต้านในชีวิตประจาวัน การต่อต้านในที่ทางาน เป็นต้น เช่น การต่อต้านต่อกฎหมายที่เข้มงวดก็อาจแสดงออกผ่านการฝ่าฝืนกฎหมายเมื่อไม่มีคน เห็น เช่นการทิ้งขยะในที่ห้ามทิ้ง การเขียนประณามรัฐบาลในห้องน้า การแอบถ่ายในลิฟท์เป็นต้น ซึ่งกรณีเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างมากในสิงคโปร์จนกระทั่งปัจจุบัน
การต่อต้านต่ออำนาจในสิงคโปร์ที่น่าสนใจอาจแสดงออกมาผ่านงานศิลปะ การแสดง การละคร ภาพยนตร์ก็ได้ เช่น ในภาพยนตร์เรื่อง I NOT STUPID ที่ทาออกมาเพื่อต้องการต่อต้านต่ออำนาจการครองความคิดจิตใจของรัฐบาล ที่พยายามสร้างบรรทัดฐานทางสังคม กำหนดค่านิยมที่ถูก กำหนดทิศทางในการดาเนินชีวิต จากัดสิทธิเสรีภาพในการเลือก และการแสดงออกต่างๆ รัฐบาลสิงคโปร์ มีบทบาทอย่างมากในการนาทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ภาพยนตร์เรื่องนี้ เค้าโครงเรื่องจึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเสรีภาพของ ปัจเจก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต่อต้านต่อวาทกรรมเพื่อส่วนรวม เชื่อฟังอำนาจรัฐ เคารพกฎระเบียบ เน้นความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว เช่นที่เคยเป็นมา ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นภาพยนตร์ที่ขัดแย้ง/ต่อต้าน ต่ออุดมการณ์หลักของสังคม อย่างอุดมการณ์แบบประชาคมนิยมที่เกิดขึ้นในสมัย ลีกวนยู และได้เสนอ/สถาปนา ความหมายใหม่ที่เน้นความสำคัญของเสรีภาพในการคิด พูด ทา มากขึ้น
การเมืองสิงคโปร์กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : นัยยะสำคัญทางการศึกษา

ชนชั้นนำทางอำนาจ กษัตริย์ ทหาร ราชการ
เราจะเห็น ได้ว่าชนชั้นนำทางการเมืองของสิงคโปร์ผูกขาดอยู่กับกลุ่มคนจานวนน้อยที่ไม่ มีความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจเลย เนื่องจากผู้นำที่มารับอำนาจต่อก็ล้วนแล้วแต่เป็นคนที่มีความสัมพันธ์กับผู้ นำคนก่อนเป็นอย่างดี และยังสานต่อแนวทางการปกครองและการครอบงำทางอุดมการณ์เช่นเดิม ชนชั้นนำสิงคโปร์มีลักษณะที่เป็นเผด็จการทางการเมือง แต่มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จะไม่เปิดให้มีการแสดงออกหรือเรียกร้องทางการเมืองในอันที่จะมากระทบต่อ สถานะและอำนาจของตน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสิงคโปร์จึงถูกผูกขาดอยู่ในมือคนเพียงหยิบมือ เดียว ชนชั้นปกครองสิงคโปร์ยังสามารถสร้างการครองความคิดจิตใจ สอดใส่อุดมการณ์และวัฒนธรรมต่อประชาสังคมสิงคโปร์อยู่เสมอเพื่อมิให้เกิดการ ต่อต้านและเห็นชอบ ยินยอมพร้อมใจกับการปกครอง
ชนชั้นปกครองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแต่ละประเทศก็มีลักษณะที่คล้ายคลึง และแตกต่างกันไป ตามลักษณะการเมืองแต่ละรูปแบบของแต่ละประเทศ ในพม่า ชนชั้นปกครองคือทหาร ซึ่งมีจุดเด่นในการใช้กาลังปราบปราม มากกว่าชนชั้นปกครองในสังคมที่ยอมรับต่อโครงสร้างประชาธิปไตย ดังนั้นเมื่อมีการเรียกร้องทางการเมืองที่มีพลังมากขึ้น กองทัพจึงดาเนินการปราบปรามด้วยกาลังและอาวุธ ในฟิลิปปินส์นั้น ชนชั้นนำเข้ามามีอำนาจได้ภายใต้การอานวยประโยชนให้กับกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่น อย่างเพียงพอ ชนชั้นนำอิทธิพลท้องถิ่นเป็นเส้นสายในการหล่อเลี้ยงรัฐบาลแห่งชาติ เพราะระบบราชการไม่เข้มแข็งลักษณะการใช้อำนาจก็แตกต่างกันไป ชนชั้นนำจึงสร้างอำนาจและความชอบธรรมผ่านเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองเป็น หลัก ในไทยนั้นมีสถาบันกษัตริย์และอามาตยาธิปไตยที่ยังคงมีอำนาจทางการเมืองอยู่ สถาบันกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง ที่อามาตยาธิปไตยใช้เป็นศูนย์กลางทางอุดมการณ์ในการปกครองประเทศผ่านพรรคการ เมืองเครื่องมือ รวมถึงการทาการยึดอำนาจโดยตรงในปี 2549 ชนชั้นปกครองของไทย มีความสามารถมากในการสร้างอำนาจ สถาบันกษัตริย์สามารถสถาปนาพระราชอำนาจเหนือกลุ่มพลังทางการเมืองใดๆใน ประเทศได้ โดยกลายมาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของกลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์
ในด้านการศึกษาโครงสร้างส่วนบนกับการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราจะพบว่าโครงสร้างส่วนบน เช่น สื่อ ระบบการศึกษา ศาสนา อุดมการณ์ ลัทธิการปกครอง ฯลฯ คือพื้นที่ของการสร้างการครองความคิดจิตใจ ของชนชั้นนำทางการเมือง ในสิงคโปร์ มีการห้ามการนาเสนอข่าว หรืองานวิชาการที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายรัฐบาล แต่รัฐบาลใช้สื่อของตนในการสร้างความชอบธรรมทางอำนาจของตน นอกจากนี้ลักษณะเด่นของการเมืองเชิงอุดมการณ์ในการเมืองสิงคโปร์คือการสร้าง วาทกรรมประชาคมนิยมขึ้นมาเพื่อสร้างการครอบครองความคิดคน ผ่านโครงสร้างส่วนบนดังกล่าว
ในกรณีสังคมเผด็จการอย่าง พม่า ลาว เวียดนาม เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐควบคุมโครงสร้างส่วนบนไว้ทั้งหมด และกาลังถูกบั่นทอนอย่างหนักจากสื่อสมัยใหม่ที่เพิ่มพื้นที่ ความหลากหลาย และความรวดเร็วในการต่อสู้ ช่วงชิงพื้นที่ทางความคิด ในสังคมกึ่งเผด็จการก็เช่นเดียวกัน คือ กัมพูชา ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ประเทศเหล่านี้มีรัฐที่มักใช้อำนาจของตนเบี่ยงเบนกระบวนการประชาธิปไตยเสมอ โครงสร้างส่วนบนของประเทศเหล่านี้ก็คล้ายคลึงกันคือใช้ในการขัดเกลาทาง อุดมการณ์และความคิดทางการเมืองเป็นให้สอดคล้องกับชนชั้นปกครองเป็นหลัก เช่นในแบบเรียนไทยที่สร้างความรู้ความเข้าใจประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยกันเอง ผ่านองค์ความรู้แบบ อนุรักษ์นิยมและชาตินิยม มองประเทศอื่นๆ จากจุดยื่นอคติทางชาติของตน แต่ในประเทศดังกล่าวก็นับว่ายังมีพื้นที่สาหรับการต่อสู้ต่ออำนาจของชนชั้น ปกครองกึ่งเผด็จการอยู่มาก การเมืองในพื้นที่ประชาสังคม การเมืองเชิงอุดมการณ์ การต่อสู้เรื่องนิยาม ความหมาย จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการศึกษาการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในประเด็นการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจทุนนิยมกับเสรีภาพของปัจเจกใน สิงคโปร์นั้น ตรงนี้เป็นข้อสรุปที่น่าสนใจว่า ชนชั้นกลางในประเทศทุนนิยมกาลังพัฒนานั้น ไม่ใช่ผู้ที่จะชื่นชอบต่อเสรีภาพและประชาธิปไตยเสมอไป ชนชั้นกลางในสิงคโปร์ยินยอมต่ออำนาจเผด็จการและเรียกร้องในประเด็นที่คับแคบ ทางเศรษฐกิจเท่านั้น ตราบใดที่ไม่มีความจาเป็น หรือเกิดความรู้สึกถึงการใช้อำนาจที่มากไปจนละเลยความสามารถในการอดทนได้ ตรงนี้ทาให้การศึกษาและทำความเข้าใจทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั้น ไม่สามารถละเลยประเด็นเรื่องความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับ สังคมการเมืองได้ ในกรณีชนชั้นกลางในไทย ก็มีแนวโน้มความเป็นอนุรักษ์นิยมสูงและขัดต่อความก้าวหน้าเสียด้วย อาจคล้ายคลึงกับการเมืองสิงคโปร์มาก เพราะชนชั้นกลางไทยยังพอใจกับโอกาสทางเศรษฐกิจของตนอยู่ ไม่สนใจการเรียกร้องทางอำนาจการเมืองของคนระดับล่างกว่าตน และมองการเคลื่อนไหวของคนชั้นกลางระดับล่างว่าเป็น การขัดขวางต่อการพัฒนาเป็นต้น ประเด็นเรื่องเสรีภาพทางการเมืองกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจจึงเป็นความขัด แย้งที่จาเป็นในสังคมทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังต้องรอการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสมัย ใหม่และการพัฒนาทางการเมืองอยู่ในหลายประเทศ พลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัตน์ปัจจุบันจึงไม่ได้ผูกขาดอยู่ แค่ ปัจจัยใดเพียงปัจจัยเดียว แต่เกิดจากพลวัตรทั้งสังคมในทุกระดับ
บรรณานุกรม

  • เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ,เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการต่อสู้ทางชนชั้นในประเทษไทยจาก พ.ศ.2535 ถึง พ.ศ. 2549 : ศึกษาการขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองและการเสื่อมทางอำนาจของรัฐบาลพรรคไทยรัก ไทย, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐสาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551
  • โคริน เฟื่องเกษม, การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเมืองสิงคโปร์, กรุงเทพ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2542
  • ใจ อึ้งภากรณ์, การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ข้อถกเถียงทางการเมือง, [ม.ป.ท.], 2552.
  • โยะชิฮะระ คุนิโอะ เขียน, รัศมิ์ดารา ขันติกุล และคณะ แปล, กาเนิดทุนนิยมเทียมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2544
  • วัชรพล พุทธรักษา, “ รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสร้างภาวะการครองอำนาจ” , วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการปกครอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
  • วารุณี โอสถารมย์, แบบเรียนไทยกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “เพื่อนบ้านของเรา” ภาพสะท้อนเจตนคติอุดมการณ์ชาตินิยมไทย, ใน รัฐศาสตร์สาร, ปีที่22 ฉบับที่3 2544

หนังสือภาษาอังกฤษ

  • Barrington Moore, Social origins of dictatorship and democracy, Penguin: London, 1974
  • Chua Beng-Huat, Communitarian Ideology and Democracy in Singapore. London: Routledge,1995
  • Chan Heng Chee,Political Parties, in Jon S.T. Quah and other, eds, Government and Politics of Singapore, Singapore: Oxford University Press, 1987.
  • Frank Parkin, Max Weber, London: Routledge,2002,
  • Garry Rodan, Transparency and Authoritarian rule in Southeast Asia Singapore and Malaysia, London: RoutledgeCurzon, 2004,
  • John Eldridge, C. Wright Mills, London : Tavistock Publications,1983,
  • Jon S.T. Quah, Singapore Meritocratic City-State, in Government and Politics in Southeast Asia, john Funton, ed. Singapore: Institute of Southeast Asia Studies,2001
  • Michael D. Barr, Lee Kuan Yew The Beliefs behind the Man, Kuala Lumpur : New Asian Library,2009
  • Michael R.J. Vatikiotis, Political Change in Southeast Asia, London: Routledge, 1966
  • William Case, Politics in Sourtheast Asia : Democratic or Less, Richmond Surrey : Curzon Press, 2002

อัพเดทล่าสุด