ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ปัจจุบัน/ตำนาน


847 ผู้ชม


หากไม่นับรวม 2 แคนดิเดตที่คาดว่าจะได้นั่งเก้าอี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อย่าง "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" จากพรรคประชาธิปัตย์ และ "พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ" จากพรรคเพื่อไทย

ก็มีเพียงผู้สมัครไม่กี่รายเท่านั้นที่แทรกตัวขึ้นมาปรากฏชื่อ-เสียง-เรียง-นามบนหนังสือพิมพ์ หรือหน้าจอโทรทัศน์ เช่น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส- สหฤท สยามวาลา-โฆสิต สุวินิจจิต

เมื่อย้อนดูทำเนียบผู้ว่าฯ กทม.ตั้งแต่ปี 2518 อันเป็นปฐมบทของการเลือกตั้งพ่อ เมืองกรุงเทพฯครั้งแรก ที่ "ธรรมนูญ เทียนเงิน" จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้ง จนถึงการเลือกตั้งเมื่อปี 2552 ที่มี "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นผู้ว่าฯ

เว้นระยะห่างช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบ ยุค "พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์-พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" เป็นนายกฯ ปี 2520-2528 เท่านั้น ที่ผู้ว่าฯ กทม.มาจากการแต่งตั้ง

กาลเวลาผ่านมา 38 ปี มีการเลือกตั้งทั้งสิ้น 8 ครั้ง แต่ ผู้สมัครอิสระได้รับเลือกตั้งแค่เพียง 2 ครั้งเท่านั้น คือ "พล.ต.จำลอง ศรีเมือง" ผู้สมัครอิสระ จากกลุ่มรวมพลัง ชนะ "ชนะ รุ่งแสง"

ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2528 และอีกครั้ง ในปี 2539 "พิจิตต รัตตกุล" ผู้สมัครอิสระ นามกลุ่มมดงาน สามารถเอาชนะ "พล.ต.จำลอง" และ "ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา" แชมป์เก่า ไปด้วยคะแนน 768,994 คะแนน

อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ตลอด 38 ปีที่ผ่านมา ผู้สมัครอิสระสามารถนั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.เพียง 2 ครั้ง และนับจากนี้ ผู้สมัครอิสระจะสามารถโผล่พ้นโคลนตมขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำจนได้นั่งเก้าอี้พ่อ เมืองได้หรือไม่

สนทนากับ "ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์" หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ในฐานะที่เคยเป็นอดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามอิสระ ถึง 2 ครา เมื่อปี 2547 และ ปี 2551

แค่ได้รับเลือกเป็นลำดับที่ 3 ทั้ง 2 ครั้ง เขาวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ผู้สมัครอิสระไม่อยู่ในสายตาของชาว กทม.อีกต่อไป

อัพเดทล่าสุด