ประวัติกระบี่กระบอง12ไม้รํา ประวัติกระบี่กระบอง 12 ไม้รํา ข้อสอบประวัติกระบี่กระบอง


72,256 ผู้ชม


ประวัติกระบี่กระบอง12ไม้รํา    ประวัติกระบี่กระบอง 12 ไม้รํา    ข้อสอบประวัติกระบี่กระบอง  

ชื่อไม้รำ 12 ไม้รำ
ไม้รำที่ 1 ลอยชาย                  ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา
ไม้รำที่ 2 ควงทัดหู                  ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา
ไม้รำที่ 3 เหน็บข้าง                 ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก                    ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา
ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง        ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง          ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์                   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 8 สอยดาว                   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 9 ควงแตะ                   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 11 ลดล่อ                    ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง  
ไม้รำที่ 12 เชิญเทียน               ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา

ประวัติกระบี่กระบอง
         การเล่นกระบี่กระบองเป็นพื้นฐานเบื้องต้นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่เรียกว่า กระบี่กระบอง เพราะเป็นกีฬาที่บรรพบุรุษไทยนำเอาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธที่ใช้สู้รบกันในสมัยโบราณ มาฝึกซ้อมและเล่นในยามสงบ โดยนำหวายมาทำเป็นกระบี่ ดาบ ง้าว ฯลฯ เอาหนังมาทำโล่ เขน ดั้ง ฯลฯ แล้วจัดมาตีต่อสู้กันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ ๆ ดุจสู้กันในสนามรบเป็นการฝึกหัดรุกและรับไปในตัว
 
         อย่างไรก็ตาม ประวัติเริ่มต้นของการเล่นกระบี่กระบองที่แท้จริงนั้นไม่ทราบได้แน่ชัดว่า เริ่มกันมาตั้งแต่ครั้งไหน และใครเป็นผู้คิดค้นขึ้น เพราะไม่สามารถค้นคว้าจากแหล่งใดได้ แต่เนื่องด้วยไทยเราเป็นชาตินักรบมาแต่โบราณ กระบี่กระบองซึ่งเป็นกีฬาของนักรบจึงน่าจะได้มีการเล่นกันมาเป็นเวลาช้านานควบคู่กับชนชาติไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานที่พออ้างอิงได้คือ วรรณคดี ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา กล่าวถึงอิเหนาชำนาญในการกระบี่ ในรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงศรีสุวรรณเล่าเรื่องกระบี่กระบองกับอาจารย์ทิศาปาโมกข์
         ต่อมาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานกระบี่กระบองเป็นพิเศษ ถึงกับโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวง และและโปรดให้เล่นกระบี่กระบองเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องในการทรงผนวชเป็นสามเณรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2409
         ต่อมา รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการเล่นกระบี่กระบอง และชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ  พระองค์เสด็จทอดพระเนตรและพระราชทานรางวัลแก่ผู้แสดงและแข่งขันบ่อย ๆ ฉะนั้นกระบี่กระบองจึงเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันมากในสมัยนั้น และในแต่ละปีอาจจะดูได้หลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นกีฬากระบี่กระบองเป็นที่นิยมมาก จึงทำให้กระบี่กระบองมีอยู่ดาษดื่น และมีมากคณะด้วยกัน
         ครั้นถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 ความครึกครื้นในการเล่นกระบี่กระบองลดน้อยลง เพราะไม่ทรงโปรดเท่ารัชกาลที่ 5 และต่อมา ในรัชกาลที่ 7 กีฬากระบี่กระบองค่อย ๆ หมดไปจนเกือบหาดูไม่ได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปมุ่งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมมากขึ้น
         ทั้งนี้ ท่านอาจารย์ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอ จึงพยายามสงวนและเผยแพร่วิชากระบี่กระบองของไทยมากขึ้น ต่อมาเมื่อท่านโอกาสที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านได้เริ่มลองสอนนักเรียนพลศึกษากลางเกี่ยวกับการเล่นกระบี่กระบองขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2478 หลังจากทดลองสอนอยู่ 1 ปี พบว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจของท่านผู้ใหญ่ จึงได้กำหนดวิชากระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อ ปี พ.ศ.2479 นับแต่นั้นมาได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จการศึกษามากขึ้นเป็นลำดับ

คำสั่ง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1.การเล่นกระบี่กระบองช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้านใดมากที่สุด

 

ก.       ความแข็งแรง

 

ข.       ความเร็ว

 

ค.       กำลัง

 

ง.        ความแคล่วคล่องว่องไว

2. กระบี่เป็นอาวุธที่สำคัญของการใดของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ

 

ก.         ทหาร

 

ข.         ตำรวจ

 

ค.         นักกีฬา

 

ง.          นักล่าสัตว์

 

  1. การเล่นกระบี่จะช่วยฝึกน้ำใจได้ดีเลิศอย่างไร

 

ข.         ทำให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

 

ค.         ทำให้มีความกล้าหาญ

 

ง.          ทำให้มีความอดทน

 

จ.         ทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

3. ข้อใด ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมหรือฝึกซ้อมกระบี่ในสมัยโบราณ

 

ก.         ทำการรบได้ทุกโอกาส

 

ข.         มีน้ำใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยว

 

ค.         ป้องกันอันตราย

 

ง.          บำรุงร่างกายให้แข็งแกร่ง

 

 4. การเล่นกระบี่กระบองแบบจำลองในสมัยโบราณมีวัตถุประสงค์อย่างไร

 

ก.         เพื่อหาผู้ที่มีความสามารถ

 

ข.         เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

 

ค.         เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

 

ง.          เพื่อฝึกซ้อมและเตรียมตัวในยามสงบ

5. การเล่นกระบี่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร

 

ก.         ช่วยสืบทอดมรดกอันสำคัญประจำชาติ

 

ข.         ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

 

ค.         ช่วยอนุรักษ์ศิลปะประจำชาติ

 

ง.          ช่วยรักษาวัฒนธรรมอันดี

6. การเรียนกระบี่สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

 

ก.         ทำให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

 

ข.         ทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

 

ค.         การต่อสู้ในสงคราม

 

ง.          ทำให้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี

7. การท่าคุมรำ มือซ้ายจีบอยู่ระดับส่วนใด

 

ก.         คิ้ว                         

 

ข.         อก         

 

ค.         สะดือ

 

ง.          ไหล่

 

 8. กระบี่กระบองเป็นที่นิยมแพร่หลายของประชาชนในรัชกาลใดมากที่สุด

 

ก.        รัชกาลที่ 2

 

ข.        รัชกาลที่ 5

 

ค.        รัชกาลที่ 4

 

ง.         รัชกาลที่ 3

 

 9.กระบี่กระบองเป็นที่นิยมแพร่หลายของประชาชนในรัชกาลใดมากที่สุด

ก.        รัชกาลที่ 2

ข.        รัชกาลที่ 5

ค.        รัชกาลที่ 4

ง.         รัชกาลที่ 3

 10. การฝึกอบรมหรือฝึกซ้อมกระบี่ในสมัยโบราณเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงดุจอะไร

ก.         กระดูกเป็นเหล็ก ใจเป็นทองแดง หนังเป็นเพชร

ข.         กระดูกเป็นเพชร ใจเป็นเหล็ก หนังเป็นทองแดง

ค.         กระดูกเป็นทองแดง ใจเป็นเพชร หนังเป็นเหล็ก

ง.          กระดูกเป็นเหล็ก ใจเป็นเพชร หนังเป็นทองแดง

แบบทดสอบประวัติวิชากระบี่กระบอง

1. การเล่นกระบี่กระบองช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้านใดมากที่สุด

ก.       ความแข็งแรง

ข.       ความเร็ว

ค.       กำลัง

ง.        ความแคล่วคล่องว่องไว

2. กระบี่เป็นอาวุธที่สำคัญของการใดของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ

ก.         ทหาร

ข.         ตำรวจ

ค.         นักกีฬา

ง.          นักล่าสัตว์

3. กระบี่กระบองเป็นที่นิยมแพร่หลายของประชาชนในรัชกาลใดมากที่สุด

ก.       รัชกาลที่ 2

ข.       รัชกาลที่ 5

ค.       รัชกาลที่ 4

ง.        รัชกาลที่ 3

4. การเล่นกระบี่จะช่วยฝึกน้ำใจได้ดีเลิศอย่างไร

ก.       ทำให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

ข.       ทำให้มีความกล้าหาญ

ค.       ทำให้มีความอดทน

ง.        ทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

5. วิชากระบี่กระบองได้รับการบรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนในระดับใดเป็นครั้งแรก

ก.       มัธยมศึกษาปีที่ 2

ข.       อาชีวศึกษา

ค.       ระดับประถมศึกษา

ง.        ประโยคครูผู้สอนพลศึกษา

 6. ข้อใด ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมหรือฝึกซ้อมกระบี่ในสมัยโบราณ

ก.       ทำการรบได้ทุกโอกาส

ข.       มีน้ำใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยว

ค.       ป้องกันอันตราย

ง.        บำรุงร่างกายให้แข็งแกร่ง

7. การเล่นกระบี่กระบองแบบจำลองในสมัยโบราณมีวัตถุประสงค์อย่างไร

ก.       เพื่อหาผู้ที่มีความสามารถ

ข.       เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

ค.       เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

ง.        เพื่อฝึกซ้อมและเตรียมตัวในยามสงบ

8. การเล่นกระบี่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร

ก.       ช่วยสืบทอดมรดกอันสำคัญประจำชาติ

ข.       ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

ค.       ช่วยอนุรักษ์ศิลปะประจำชาติ

ง.        ช่วยรักษาวัฒนธรรมอันดี

9. การเรียนกระบี่สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ก.       ทำให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

ข.       ทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

ค.       การต่อสู้ในสงคราม

ง.        ทำให้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี

10. รัชกาลที่ 4 ได้โปรดให้มีการเล่นกระบี่กระบองในงานสมโภชใดเป็นครั้งแรก

ก.       ทอดกฐิน

ข.       งานโกนจุก

ค.       งานบวชนาค

ง.        ทอดผ้าป่า

อัพเดทล่าสุด