มารยาทในการพูดมีอะไรบ้าง ความสำคัญ ความหมาย มารยาทในการพูด


1,366 ผู้ชม


มารยาทในการพูดมีอะไรบ้าง    ความสำคัญ ความหมาย มารยาทในการพูด

ศิลปะการพูดและมารยาทการใช้โทรศัพท์

มารยาทในการพูด

          มนุษย์จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกให้ผู้อื่นรับรู้ ทักษะหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร คือ การพูด ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยจรรยามารยาท และคุณธรรมในการพูด การพูดโดยมีจรรยามารยาทและคุณธรรมในการพูด จึงเป็นการจรรโลงสังคมได้อีกทางหนึ่ง

          มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไมใช้ท่าทางประกอบคำพูดให้มากจนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสผู้พูดได้เป็นอันมาก

           การฝึกฝนให้มีมารยาทในการพูดที่พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้  

           ๑ ) ต้องรู้จักกล่าวคำทักทาย

                 เมื่อมีผู้แนะนำให้ขึ้นไปพูด ควรลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงแต่เรียบร้อย เดินไปยังที่พูด หยุดเว้นระยะเล็กน้อย แล้วจึงกล่าวคำทักทายหรือคำปฏิสันถารที่เหมาะสม

           ๒ ) ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี

                  ผู้พูดที่ดีต้องเป็นคู่สนทนาที่ดี ให้เกียรติและรับฟังผู้อื่นด้วย กรณีพูดในที่ประชุมเมื่อมีเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะขณะพูดควรหยุดพูดชั่ว คราว รอให้เสียงนั้นเบาลงหรือหยุดจึงค่อยพูดต่อไป ถ้าเป็นระหว่างการสนทนาควรหยุดพูดตามความเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สนทนาบ้าง เมื่อพูดจบแล้วหยุดเว้นระยะเล็กน้อย ก้มศีรษะให้แก่ผู้ฟังแล้วกลับไปยังที่นั่ง

           ๓ ) ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์และน้ำเสียง
                   เมื่อมีผู้ฟังบางคนโห่ร้องหรือล้อเลียนระหว่างพูด อาจทำให้อารมณ์เสียได้ ผู้พูดต้องใจเย็นและควบคุมน้ำเสียงตลอดจนกิริยาวาจาของตนไว้ให้สุภาพเรียบ ร้อยอยู่เสมอ ทั้งต้องไม่พูดดัดเสียงให้ผิดปกติไปจากน้ำเสียงที่เคยพูดตามปกติในชีวิต ประจำวัน

           ๔ ) ต้องไม่พูดจาดูถูกหรือข่มขู่ผู้ฟัง

                   เมื่อพูดต่อหน้าที่ประชุมไม่ควรพูดอวดตนหรืออวดภูมิ รวมทั้งไม่ควรใช้กิริยาวาจาเชิงดูถูก ก้าวร้าว หรือข่มขู่ผู้ฟังแต่อย่างใด

           ๕ ) ต้องรู้จักใช้คำสุภาพ

                   เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกับผู้อื่นระหว่างการสนทนา ไม่ควรพูดจาหยาบคาย รุนแรง แต่ควรรู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ หรือเสียใจในโอกาสอันเหมาะสม

ตามที่ผมได้ไปเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร "การพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพพนักงานธุรการ" ณ จังหวัดขอนแก่น มานั้น กระผมเห็นว่ามีหัวข้อหนึ่งที่น่าจะนำมาเล่าสู่กันฟังก็คือ ศิลปะการพูดและมารยาทการใช้โทรศัพท์ นั้นเองครับ ก่อนอื่นเราจะมาพูดเกี่ยวกับศิลปะในการใช้โทรศัพท์ก่อนน่ะครับ ศิลปะในการใช้โทรศัพทย์ มีทั้งหมด 20 ข้อดังนี้ครับ

1.  ควรมีปากกา  ดินสอ  สมุดโน๊ต  ข้างๆโทรศัพท์ เพื่อบันทึกข้อความได้ทันที

2.  เมื่อมีเสรียงกริ่งโทรศัพท์ดังขึ้น ควรรีบรับสายทันที (ไม่ควรให้ดังเกิน 3 ครั้ง) พร้อมกล่าวคำทักทาย "สวัสดีครับ/ค่ะ"

3. รับโทรศัพท์ด้วยความกระตือรือร้น ยิ้มแย้มแจ่มใส เสียงที่พูดออกมาจะฟังดูรื่นหู

4. บอกชื่อ คณะ สังกัดฝ่าย / ส่วน / แผนก และชื่อของตนเองทันทีเมื่อรับสาย

5.  ขณะเมื่อรับโทรศัพท์ ควรใช้เสียงให้เป็นไปตามธรรมชาติ ทำตัวตามสบายไม่เกร็ง  บีบเสียง พูดดังหรือค่อยเกินไป

6.  อย่าขบเคี้ยวอาหาร ขนม ขณะรับโทรศัพท์

7.  ถ้าคุณจะต้องละสายไปชั่วครู่ ควรบอกให้ผู้พูดอีกฝ่ายหนึ่งทราบและอย่าปล่อยให้เขาคอยนานเกินไป

8.  เสนอการช่วยเหลือในทันทีหากมีโอกาส......."จะให้ผม/ดิฉัน ช่วยอะไรได้บ้างครับ/ค่ะ"

9.  ไม่ควรหายใจแรงๆ ลงในกระบอกโทรศัพท์

10. การตอบปัญหา คำถาม ต้องตอบด้วยเหตุผล และกระทำด้วยอารมณ์เย็นที่สุด ค่อยพูด       ค่อยชี้แจง

 11. ไม่ควรขัดจังหวะหรือพูดแทรกในขณะที่เขากำลังพูดอยู่เป็นอันขาด

12. เวลาพูดโทรศัพท์ จิตใจจะต้องมุ่งฟังอยู่กับผู้พูด และฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ

13. ควรทบทวน (Double  Check) เรื่องราวที่เป็นสาระสำคัญกับผุ้พูดทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อความ     ถูกต้อง

14. ขณะโอนสายไปให้อีกคนหนึ่ง ควรกล่าวคำว่า "กรุณารอสักครู่นะครับ/ค่ะ ขอบคุณครับ/ค่ะ" เสมอ

15. อย่าทิ้งให้ผู้เรียกต้องคอยสายนาน  อาจจะชวนคุยเล็กน้อยเพื่อสร้างมิตรสัมพันธ์ หรือคอย แจ้งหใทราบอยู่เสมอว่า "สายยังไม่ว่างนะค่ะ/ครับ" เพื่อให้เขารู้สึกว่าเราไม่ได้ทอดทิ้งเขา

16. เมื่อผู้เรียกต้องคอยนาน อาจจะโอนไปยังสายข้างเคียง และควรแจ้งผู้รับสายนี้คอยนานแล้วไม่ว่างสักทีช่วยตามให้ด้วย

17. ควรวางหูโทรศัพท์หลังผู้เรียกมาเสมอ

18. ไม่ควรกระแทกหูโทรศัพท์แรง

19. ควรกล่าวคำอำลา "สวัสดีครับ/ค่ะ" ทุกครั้ง

20. ก่อนวางหู ควรกล่าวคำว่า "ขอบคุณครับ/ค่ะ" เสมอ

ศิลปะในการใช้โทรศัพท์ก็มีแค่นี้ครับ ทีนี้ผมจะมาพูดถึงมารยาทการใช้โทรศัพท์กันต่อน่ะครับ มาดูการรับสายโทรศัพท์มีดังนี้ครับ

                                         พนักงานรับโทรศัพท์

                                             (Operater)

         กริ๊ง.............กริ๊ง..............กริ๊ง.................

* สวัสดีค่ะ....................คณะ............................

- ขอพูดกับคุณ..................................หน่อยครับ

* กรุณารอสักครู่นะค้ะ..........................ขอบคุณค่ะ

1.  กรณีสายไม่ว่าง

* สายยังไม่ว่างนะค้ะ   กรุณา (ถือสาย) รอสักครู่ค่ะ

ค่ะ...........ค่ะ

*  ขออภัยค่ะ  สายยังไม่ว่างเลย เดี๋ยว (ดิฉ้น) จะลองต่อไปสายข้างเคียงนะค้ะ ขอบคุณค่ะ

                                     พนักงานในแต่ละฝ่าย

                                             (Staff) 

2. สายข้างเคียง

* สวัสดีครับ / ค่ะ  ฝ่าย / ส่วน.....................

- ขอพูดกับ คุณ........................หน่อยครับ

* กรุณารอสักครู่ครับ / ค่ะ (โอนสายให้)

* สายยังไม่ว่างครับ / ค่ะ

   ขอประทานโทษนะครับ / ค่ะ ด่วน ไหมครับ / ค่ะ

- ไม่ด่วนครับ

* ขอประทานโทษครับ / ค่ะ

   1. จากไหนครับ / ค่ะ

   2. ใครกำลังพูดสายอนู่ครับ / ค่ะ

   3. จะให้เรียนว่าใครโทรมาครับ / ค่ะ

   4. ผม / ดิฉันกำลังเรียนสายอยู่กับคุณ (ผมประสิทธิ์ครับ)

   5. ...........................................

* สายว่างแล้วครับ / ค่ะ กรุณารอสักครู่ ขอบคุณครับ / ค่ะ

3.  กรณีไม่อยู่  (แต่จะติดต่อไปเองอีกครั้งหนึ่งหรือไม่มีธุระเร่งด่วน)

* สวัสดดีครับ/ค่ะ ฝ่าย/ส่วน..........................

- ขอพูดกับ คุณ...............................หน่อยค่ะ

* คุณ...........................เหรอครับ / ค่ะ

   ตอนนี้ท่าน ติดประชุม

                  - ไปสัมมนาต่างประเทศ    ครับ / ค่ะ

                  - พักร้อน                       ครับ / ค่ะ

                  - อื่นๆ                           ครับ / ค่ะ

* ขอประทานโทษครับ/ค่ะ

                  1. จากไหนครับ / ค่ะ

                  2. ใครกำลังพูดสายอยู่ครับ / ค่ะ

                  3. จะให้เรียนว่าใครโทรมาครับ / ค่ะ

                  4. ผม/ดิฉัน กำลังเรียนสายอยู่กับคุณ

                  5. ............................................

* มีธุระด่วนไหมครับ/ค่ะ

   ท่านให้เบอร์ที่บ้านไว้ (ติดต่อนะ) ครับ / ค่ะ

   กรุณาโทรไปที่เบอร์นี้ครับ / ค่ะ 055-261935

   และจะฝากข้อความอะไรไว้ให้ทางผม / ดิฉันบ้างไหมครับ / ค่ะ

   ขอบคุณครับ / ค่ะ สวัสดีครับ / ค่ะ

4. กรณีไม่อยู่ (แต่จะโทรกลับ)

* สวัสดีครับ / ค่ะ...................ฝ่าย / ส่วน..................

- ขอพูดกับ คุณ..............................หน่อยครับ

* คุณ....................ขณะนี้กำลังติดประชุม ครับ / ค่ะ

   ไม่ทราบมีอะไรสั่งไว้ไหมครับ / ค่ะ

    ขอประทานโทษครับ / ค่ะ

                1.  จากไหนครับ / ค่ะ

                2.  ใครกำลังพูดอยู่ครับ / ค่ะ

                3.  จะให้เรียนว่าใครโทรมาครับ / ค่ะ

                4.  ผม / ดิฉัน กำลังเรียนสายอยู่กับคุณ

                5................................................

*  มีอะไรสั่งไว้ไหมครับ / ค่ะ หรือ จะให้โทรกลับ ครับ / ค่ะ

*  ครับ / ค่ะ (ผม/ดิฉัน)

* ครับ / ค่ะ

-  ให้โทรกลับที่คุณ............................

-  เบอร์..........................นะครับ / ค่ะ

กรณีอยู่

* สวัสดีครับ / ค่ะ.......................ฝ่าย / ส่วน

- ขอพูดกับ คุณ.........................หน่อยครับ

* ขอประทานโทษครับ / ค่ะ

....................................จะให้เรียนท่านว่าใครโทรมา ครับ / ค่ะ

.....................................จะให้เรียนท่านว่าจากไหนครับ / ค่ะ

                                     (โอนสายไปยังห้อง)

                                     ท่านคณบดีครับ / ค่ะ

                                     สายคุณประจินต์    เมฆสุธีพิทักษ์ ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา

                                     ครับ / ค่ะ

ศิลปะการพูดและมารยาทการใช้โทรศัพท์ก็มีเท่านี้ครับ

อัพเดทล่าสุด