https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ มารยาทในการพูด การฟัง MUSLIMTHAIPOST

 

มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ มารยาทในการพูด การฟัง


8,783 ผู้ชม


มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ    มารยาทในการพูด การฟัง

การพูดในที่สาธารณะอาจจะเป็นเรื่องง่ายๆสำหรับบางคน แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทย) มันเป็นสิ่งที่ถ้าหลีกเลี่ยงได้ คงจะหลีกเลี่ยงกันใหญ่เลยทีเดียว...ซึ่งก็ใช่ว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงได้หมด ทุกครั้งไปซะด้วย
ในเมื่อหนีมันไม่ได้แล้ว ผมว่าพวกเรามาลองพยายามใช้เทคนิคเหล่านี้ฝึกฝนตัวเองให้ไม่เป็นล้มคาที่เวลา ต้องอยู่ต่อหน้าคนเยอะๆกันดีกว่านะครับ
ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาการพูดและการออกเสียง
ก่อน ที่จะไปพูดให้ชาวบ้านฟังได้ มันจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องพูดและออกเสียงคำพูดต่างๆของเราเองให้ดีเสีย ก่อน คนที่พูดและออกเสียงได้ดีจะมีความมั่นใจ และความมั่นใจนี้เองที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้้นสามารถพูดต่อหน้าชาวบ้านได้ อย่างดี
วิธีการฝึกพูดและออกเสียงสามารถทำได้โดยวิธีเหล่านี้
การอ่านออกเสียง ผม มีนิยายและนิทานเยอะแยะมากมายที่บ้าน การอ่านหนังสือเหล่านี้ออกมาดังๆจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาตัวเองในเรื่องการ ฝึกจังหวะการออกเสียง และน้ำเสียงขึ้นลงต่ำเบาได้มาก ผมมักจะฝึกเทคนิคนี้กับน้องชายของผมเสมอ และเราจะพยายามถกกันว่า ประโยคนี้ต้องอ่านด้วยน้ำเสียง ด้วยอารมณ์แบบไหน จึงจะดีที่สุด
เลียนแบบการพูดของนักพูดในดวงใจ ผม เชื่อว่าทุกคนต้องเคยได้ยินได้ฟังการพูดของคนอื่นและคงจะมีนักพูดในดวงใจ อยู่บ้าง สำหรับตัวผม นักพูดในดวงใจของผมคือคุณพ่อของผม เวลาที่ท่านพูดอะไร ผมจะจำเอาไว้ และก็จะพยายามฝึกพูดให้ดีแบบท่าน ฝึกใช้ภาษาท่าทางแบบท่าน ฝึกวิธีการสื่ออารมณ์ให้คนฟังรู้สึกแบบที่ผมรู้ึสึกเวลาฟังท่านพูด ไม่ว่าผมจะพูดอะไร ผมจะถามตัวเองเสมอว่า "ถ้าเป็นคุณพ่อ ท่านจะพูดอย่างไร" ผมเลียนแบบท่านไปเรื่อยๆจนในที่สุด ผมก็หยุดเลียนแบบท่าน และพูดในสไตล์ของตัวเอง
ขั้นตอนที่ 2 ฝึกการพูดและท่าทางเวลาพูด
หลัง จากที่ผมได้ฝึกพูดและออกเสียงคำพูดจนผมรู้สึกพอใจแล้ว ผมก็จะเริ่มพัฒนาในส่วนของจังหวะ ระดับน้ำเสียง วิธีการนำเสนอของผม การฝึกเหล่านี้ไม่มีพวก "ทางลัด" นะครับ สิ่งที่คุณต้องทำคือการฝึกฝนอย่างหนักและสม่ำเสมอเท่านั้น
ฝึกพูดหน้ากระจก สำหรับ ผมแล้ว นี่เป็นสิ่งที่ผมรู้สึกว่ายากเอามากๆ เพราะมันเหมือนคนบ้ายังไงชอบกล แต่มันก็มีประโยชน์มากมายจนทำให้ผมรู้สึกว่า "ถึงจะ้บ้า แต่กูก็ยอม" feedback ที่ได้รับเป็น feedback ที่ชัดเจนและทันที มันทำให้ผมสาามารถปรับปรุงข้อผิดพลาดของผมได้ ณ ขณะนั้นเลย และเมื่อผมสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้แล้ว ผลลัพธ์จากความพยายามของผมก็จะสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนและทันทีเช่นกัน ซึ่งมันทำให้ผมรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเยอะเลยครับ
อัดเทปหรือวิดิโอเวลาคุณพูด ถ้า เลือกได้ ผมคิดว่าวิดิโอจะดีกว่านะครับ แต่ว่าการอัดเทปก็ช่วยได้มากเช่นกัน คุณจะสังเกตเห็นทันทีที่คุณพูดช้าไป พูดเร็วไป มีการอ้ำๆอึ้งๆ ฯลฯ ถ้าคุณไม่อาย คุณสามารถนำเอาเทปหรือวิดิโอไปให้เพืิ่อนของคุณช่วยฟังด้วยได้ ตอนที่ผมเรียนอยู่ระดับมัธยมฯปลาย เวลาผมจะต้องรายงานอะไรสักอย่าง ผมก็จะอัดเสียงผมตอนฝึกรายงานลงเทปเสมอเพื่อที่จะฝึกฝนจังหวะการพูดและเพื่อ ที่จะได้รู้ว่าเสียงของผมฟังดูเป็นอย่างไรบ้าง การนำเสนอของฟังดูมีเหตุมีผลหรือไม่ ข้อมูลขัดแย้งกันเองหรือเปล่า ผมพูดช้าหรือเร็วไปหรือไม่ ฯลฯ พอถึงเวลารายงานจริงๆ ผมก็ได้ฝึกรายงานมาล่วงหน้าแล้วอย่างน้อย 10 ครั้ง และมันทำให้ผมสามารถรายงานได้อย่างสบายๆเลยทีเดียว
ขั้นตอนที่ 3 ฝึกพูดกับคนในครอบครัวและเพื่อนๆ
ผม ว่ามันค่อนข้างจะเป็นเรื่องธรรมชาตินะครับ ในเมื่อเราเริ่มที่จะมีทักษะการพูดที่ดีขึ้น เราก็มักจะอยากพูดคุยกับคนอื่นเป็นธรรมดา ซึ่งก็จะทำให้เรายิ่งพูดเก่งขึ้นไปอีก ปัญหาอย่างเดียวก็คือ คุณอาจจะพูดจนเริ่มคิดเรื่องดีๆที่จะพูดไม่ออกแล้ว แต่ไม่ต้องกังวลครับ เพราะในเว็บเด็กดีแห่งนี้เต็มไปด้วยเรื่องน่าสนใจเยอะแยะมากมายให้คุณได้ อ่าน...รวมไปถึงกระทู้อื่นๆที่ผมได้ post ลงไปในเว็บนี้ด้วยนะครับ (เข้าไปอ่านกระทู้ดีๆและมีสาระอื่นๆของผมได้ที่ my id ของผมนะครับ)
ขั้นตอนที่ 4 ฝึกพูดให้คนกลุ่มเล็กๆฟัง
มา ถึงขั้นตอนนี้ เราก็ได้ก้าวผ่านขั้นตอนที่ยากที่สุดแล้วนะครับ นั่นคือ การสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง แต่ชีวิตมันยังไม่ง่ายขนาดนั้นนะครับ เพราะอุปสรรคสำคัญที่รอคุณอยู่คือการทำอย่างไรเมื่อไม่รู้ว่าจะพูดอะไร และในเมื่อการพูดเป็นสื่อสารทางเดียว นั่นคือ คนพูดจะพูด ส่วนคนฟังก็จะเอาแต่ฟัง ทำอย่างไรเล่า คุณจึงจะรู้ว่าคนที่ฟังคุณอยู่รู้ึสึกสนใจหรือไม่สนใจในสิ่งที่คุณพูด คุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ผ่านกิจกรรมต่อไปนี้
การสนทนาในระหว่างงานเลี้ยงต่างๆหรือในระหว่างการทานข้าว การ พูดคุยกันไม่จำเป็นต้องเป็นในลักษณะ หนึ่งคนคุยกับหนึ่งคน ก็ได้ หลายๆครั้งด้วยกันที่ในระหว่างที่คุณพูด จะมีคนฟังคุณมากกว่าหนึ่งคน มันก็จะคล้ายๆกับคุณเป็นคนจัดรายการวิทยุ ส่วนคนที่ฟังคุณอยู่ก็เหมือนกับว่าพวกเขากำลังฟังวิทยุอยู่ คุณควรจะใช้ประโยชน์จากสถานการณ์เหล่านี้ในการพัฒนาทักษะการพูดของคนให้มาก ที่สุด เพราะสถานการณ์เหล่านี้จะำไม่ทำให้คุณตื่นเวทีเวลาพูด (เพราะมันไม่มีเวที)
สภากาแฟ ผมเชื่อว่าทุกคนที่ กำลังอ่านบทความนี้ย่อมต้องมีกลุ่มเพื่อนๆประมาณ 4-6 ที่มักจะมาพูดคุยถกเถียงกันในทุกเรื่องตั้้งแต่สากเบือยันเรือรบ สภากาแฟนี่แหละครัีบถือเป็นโอกาสหนึ่งในการพัฒนาทักษะการพูดของเรา และส่วนมาก การพูดของเราในสภากาแฟมักจะได้รับ feedback โดยทันทีอีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์กับตัวเราเป็นอย่างมาก
ขั้นตอนที่ 5 การฝึกพูดต่อหน้าที่ชุมนุมขนาดเล็ก
หลัง จากที่สามารถสื่อความคิดของตนเองให้คนอื่นฟังขณะอยู่ข้างล่างเวทีได้อย่าง คล่องแคล่ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่จะก้าวขึ้นบนเวทีแล้ว ผมขอแนะนำให้เริ่มจากเวทีเล็กๆก่อน แล้วค่อยๆไล่ไปสู่เวทีที่ใหญ่ขึ้นๆ
การกล่าวสุนทรพจน์หรือการกล่าวคำอวยพร ตั้งแต่ เกิดมา ผมยังไม่เคยเห็นคนที่กล่าวคำอวยพรปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเกิดเพื่อน ฯลฯ โดนคนดูโห่ใส่เลยสักครั้ง (ทั้งๆที่ตอนนั้นก็เมาได้ทีกันแล้ว) การกล่าวอะไรเช่นนี้สามารถกล่าวสั้นๆก็ได้ถ้าคุณยังตื่นๆเวทีอยู่ (ขอให้มีความสุข สุขภาพดี ในวันปีใหม่ไทยนะครับ!!!!!!) ถ้าคุณเริ่มหายตื่นเวทีแล้ว คุณอาจจะเตรียมเป็นสุนทรพจน์ัสั้นๆไว้ก็ได้ อย่าอายครับ นี่คือขั้นตอนที่จำเป็น ถ้าคุณต้องการเป็นนักพูดที่ดี
การเข้า course ฝึกการพูด ทุก คนที่ฟังคุณพูดจะอยู่ในฐานะเดียวกันกับคุณ พวกเขาจะเกิดความเห็นใจและจะไม่หัวเราะคุณสักแอะเวลาคุณตายกลางเวทีหรือพูด ผิด (เผื่อถึงตาพวกเขาแล้วพวกเขาพูดผิดบ้าง คุณจะได้ไม่หัวเราะพวกเขา) และหลังจากที่คุณพูดเสร็จ ทุกคนก็จะช่วยกันให้กำลังใจและเสนอข้อแนะนำให้กับคุณ นี่คือโอกาสอันดีเยี่ยมที่จะทำให้คุณสามารถฝึกทักษะการพูดของคุณท่ามกลาง บรรยากาศที่เป็นใจสุดๆ
ขั้นตอนพิเศษ ฝึกทำกิจกรรมต่างๆต่อไปนี้
กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้พัฒนาทักษะการพูด แต่จะช่วยในเรื่องของการพูดในที่สาธารณะ
เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชม ไม่ ว่าจะเป็นว่ายน้ำ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล เป่ากบ ฯลฯ ตราบใดที่มีผู้ชมคอยดูเราแข่งขัน เป็นอันใช้ได้ การได้อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของสายตาคนดูจะช่วยสร้างความกล้าและความมั่นใจใน แบบเดียวกันกับที่คุณต้องใช้เวลาที่คุณต้องพูดในที่สาธารณะ
ร้องคาราโอเกะ เล่นคอนเสิร์ต ถ้า คุณร้องเพลงไม่เป็น คุณก็สามารถเล่นดนตรีแทนได้ครับ ที่สำคัญคือ อย่าลืมชวนเพื่อนไปเยอะๆแล้วกัน หรือถ้าคุณสามารถร้องเพลงหรือเล่นดนตรีให้คนแปลกหน้าฟังได้เลยก็ยิ่งดี (อาจจะมีคนเข้ามาดูว่าใครกันที่ร้องเพลงได้เพราะขนาดนี้ก็เป็นได้!!!!)
ละครเวที ผม มีเพื่อนอยู่คนหนึ่งตอนผมอยู่มัธยมฯปลาย เขาเป็นคนที่ขี้อายมากที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็น เพื่อนๆในห้อง (โดยเฉพาะผม) จึงขอร้อง แกมบังคับ แกมข่มขู่ ให้เขาเข้าชมรมละครเวที เวลาผ่านไปเดือนกว่า เพื่อนของผมคนนี้เปลี่ยนไปเป็นคนละคน เขาคุยกับคนมากขึ้น มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพียงเพราะเขาได้รับบทเป็น "ชายน้อย" และได้แสดงบทนี้ต่อหน้าเพื่่อนๆ 500 คน ประสบการณ์ในครั้งนั้นทำให้เขากลายเป็นผู้จัดการบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูง อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
2 สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพูดคือความรู้และประสบการณ์
ผม สามารถพูดถึงเรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพได้เป็นฉากๆ อันที่จริง ผมสามารถพูดเรื่องต่อหน้าคนเป็นร้อยเป็นพันได้ทั้งวัน ทำไมผมจึงทำเช่นนั้นได้ ก็เพราะผมมีความรู้และประสบการณ์โดยตรงในเรื่องเหล่านี้ ถ้าคุณให้ผมไปพูดเรื่องคอมพิวเตอร์โดยที่มีเวลาเตรียมตัวแค่นิดเดียว รับรองว่าผมคงต้องตายกลางเวทีแหงๆ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะเก่งแค่ไหนในการพูด คุณก็ต้องอย่าลืมที่จะเตรียมตัวทุกครั้งก่อนการพูดด้วยนะครับ
นี่ คือทั้งหมดที่ผมอยากจะแบ่งปันให้ในครั้งนี้ ถ้าใครมีไอเดียอะไรดีๆ ก็สามารถนำมาแบ่งปันกันได้นะครับ ขอให้โชคดีในการพูดในที่สาธารณะนะครับ :)
ที่มาของข้อมูล : https://sidsavara.com

มารยาทในการฟัง ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ฟังอย่างตั้งใจ ตามองผู้พูด ไม่คุยหรือเล่นในขณะที่ฟัง
2. ไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม เช่น กระทืบเท้า เป่าปากโห่ และไม่ทำความรำคาญให้กับผู้อื่น
3. ปรบมือเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้พูด ก่อนที่ผุ้พูดจะพูด และหลังจากที่ผู้พูดพูดจบเเล้ว

มารยาทในการพูด ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. เตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะพูด โดยการหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูด โดยการหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูด
2. ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล ไม่กระโชกโฮกฮาก และใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เหมาะสม
3. พูดเสียงดังฟังชัด และมองผู้ฟังอย่างทั่วถึง
4. กล่าวคำขอโทษเมื่อพูดผิด และกล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับการยกย่อง ชมเชย

มารยาทในการดู ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ดูด้วยความตั้งใจ ไม่คุยเล่นในขณะที่ดู
2. ไม่ส่งเสียงดัง หรือทำความรำคาญให้กับผู้อื่น
3. เมื่อต้องเดินผ่านผู้อื่นที่กำลังดู ให้เดินอย่างสำรวม และระมัดระวังมิให้กระทบผู้อื่น

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป. 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

อัพเดทล่าสุด