เกณณ์มาตรฐาน การเจริญเติบโตของวัยรุ่นชาย ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวัยรุ่น


1,465 ผู้ชม


วัยรุ่นกับการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน

๑. ภาวะการณ์เจริญเติบโตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของวัยรุ่น
                   การเจริญเติบโตของวัยรุ่นนั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกบางคนเจริญเติบโตช้า บางคนเจริญเติบโตเร็วและในขณะที่บางคนมีการเจริญเติบโตที่สมวัย
                         ๑.๑ ภาวะการเจริญเติบโตของวัยรุ่น  การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น เป็นผลมาจากการทำงานของฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากตุ่มไร้ท่อ ซึ่งควบคุมกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตที่เราสามารถสังเกตได้ มีดังนี้
                               ๑.มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะน้ำหนัก ส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น
 ทำให้วัยรุ่นจำนวนมากไม่สามารถที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทัน จึงส่งผลให้เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์ได้ง่าย
                                ๒.เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หรือมีวุฒิภาวะทางเพศ คือ ในวัยรุ่นชายจะมีการเคลื่อนตัว
ของอสุจิ ที่เรียกว่าฝันเปียก ส่วนในวัยรุ่นหญิงนั้นจะมีประจำเดือนตลอดจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ บ่งบอกลักษณะเฉพาะของเพศหญิงและเพศชาย 
                                ๓.เริ่มมีการค้นหาตัวเอง โดยมีแรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญ ชอบเก็บตัวอยู่ตามลำพัง
เมื่อ อยู่บ้าน แต่ชอบร่วมกลุ่มเมื่ออยู่กับเพื่อน ซึ่งในวัยรุ่นนี้เพื่อนจะมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก และในขณะเดียวกันการเชื่อฟังพ่อแม่ก็ลดน้อยลง
                                ๔.เริ่มมีวิจารณญาณในการคิดและการตัดสินใจมากขึ้นสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรดี
ไม่ดี 
                                ๕.ยึดตัวเองเป็นสำคัญ มีความคิด ความเข้าใจที่เป็นตัวเองมากขึ้น มักต่อต้านในสิ่งที่
ไม่ยุติธรรมจนทำให้บางครั้งเป็นผลทำให้เกิดช่องระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ 
                         ๑.๒ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของวัยรุ่น
                                การที่วัยรุ่นมีการแตกต่างกันในการเจริญเติบโตและพัฒนาการนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย ๒ กลุ่ม ดังนี้
                                      ๑)ปัจจัย ภายใน หมายถึง ปัจจัยที่มีอยู่แล้วภายในร่างกายของมนุษย์ แล้วส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ประกอบด้วย
                                            ๑.๑)พันธุ กรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะเฉพาะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน ทำให้มนุษย์มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกันออกไปดังพันธุกรรมจึงเป็นเครื่อง กำหนดขอบเขต ลักษณะ และความสามารถของบุคคลซึ่งลักษณะทั่วไปของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มี ๒ ลักษณะซึ่งแยกแล้วได้ดังนี้
                         ๑. ลักษณะทางกาย 
๑.สัดส่วนของร่างกาย ความสูงหรือความเตี้ย รูปลักษณะภายนอก เช่น ผมหยิก ตาเล็ก สีของตา สีของผม ผิวขาว-ดำ เป็นต้น
๒.กลุ่มเลือดที่แตกต่างกันไป เช่น A,B,O และ AB เป็นต้น
๓.เพศ ซึ่งการเป็นเพศชายหรือหญิงนั้น ขึ้นอยู่กับโคโมโซม ที่ได้รับจากพ่อแม่
๔.ความผิดปกติและโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรค  โลหิตจางโรคด่างขาว โรคผิวหนังเกล็ดปลา เป็นต้น

                         ๒.) ลักษณะทางสติปัญญา
                                พบว่าเด็กที่เกิดในตระกูลที่มีระดับสติปัญญาต่ำจะมีแนวโน้มของเชาว์ปัญญาที่ ต่ำไปด้วย แต่ก็ไม่เสมอไปทุกราย เนื่องจากพบว่าอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม การกระตุ้น และการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของเด็ก จะช่วยในการเพิ่มสติปัญญาเพิ่มมากขึ้นได้
                   ๑.๒ พื้นฐานทางอารมณ์ จิตใจ
                         พบวาบุคคลที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ จิตใจที่มั่งคง จะทำให้มีพัฒนาการทางด้านต่างๆ ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านร่างกาย สังคม บุคลิกภาพ หรือสติปัญญา โดยอารมณ์นั้นเป็นผลเนื่องมากจากพันธุกรรมและปัจจัยแวดล้อมภายนอกประกอบกัน ดั้งนั้นวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ต่างๆ ภายในร่างกาย ค่อนค่างมาก จึงเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการขึ้นลงของอารมณ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากไม่สามารถปรับพื้นฐานของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้ในที่สุด
                         ๒.) ปัจจัยภายนอก
                                หมายถึงปัจจัยที่เกิดขึ้นภายนอกร่างกายทั้งที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ หรือไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น
                                ๒.๑) การอบรมเลี้ยงดูและสัมพันธภาพ
                   ภายในครอบครัว 
                         เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ โดยเริ่มตั่งแต่วัยทารก วัยเด็ก จนกระทั่งถึงวัยรุ่นเนื่องจากมีการซึมซับสิ่งต่างๆ ที่ได้จากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ 
หรือ ผู้ปกครอง และการอยู่ในครอบครัวที่มีการอบรมเลี้ยงดูที่ดี มีความรัก ความเอาใจใส่ และความเข้าใจ ก็จะทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมทั้งวุฒิภาวะทางดานร่าง กาย อารมณ์ สังคม รวมถึงการมีบุคลิกภาพที่ดี ตลอดจนมีพัฒนาที่สมวัย สามารถใช้ชีวิตอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แต่ถ้าหากครอบครัวขาดความอบรมเลี้ยงดูและมีสัมพันธภาพที่ไม่ดีแล้ว ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การมั่วสุ่มของวัยรุ่น การเสพสารเสพติดหรือกามมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น
                                ๒.๒) สภาพแวดล้อมทางสังคม
                                      เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ในทุกด้าน หากมนุษย์อาศัยอยู่ในสภาพสังคมที่ดี เอื้ออำนวยต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ก็จะทำให้มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย และมีพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา บุคลิกภาพ และด้านอื่นๆ ดีตามไปด้วย แต่ถ้าต้องการเผชิญอยู่ในสังคมที่ไม่เหมาะสม เช่น อยู่ในชุมชนที่เสื่อมโทรม ครอบครัวแตกแยก ก็จะส่งผลให้เจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ ดำเนินไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร
                                ๒.๓ อาหารที่บริโภค 
มี ความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นนั้น เป็นวัยที่ต้องการสารอาหารต่างๆ ที่ครบถ้วนทั้ง ๕ หมู่ และในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยทำให้ร่างกายและอวัยวะต่างๆ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมวัย 
                                ๒.๔) การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย 
จะ ช่วยให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัย โดยช่วยในการเสริมสร้างกระดูกเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เสริมสร้างจิตใจให้แจ่มใสร่าเริงอันเป็นผลทำให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ ดีควบคู่กันไป 
                                ๒.๕) การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ 
ถือ เป็นปัจจัยที่ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ หยุดชะงักทั้งในลักษณะชั่วคราวหรือถาวรซึ่งอาจทำให้เกิดความพิการของร่างกาย เกิดผลกระทบทางอารมณ์ของผู้ป่วย รวมถึงส่งผลกระทบต่อสังคมรอบข้างโดยวัยรุ่นนับเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการ เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุได้ค่อนข้างมากเนื่องจากมีความคึกคะนองชอบเสี่ยง ชอบท้าทาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บได้โดยง่ายจึงควรต้องมีความระมัด ระวังในการดูแลสุขภาพและสวัสดิ์ภาพของตนเองมากเป็นพิเศษ 
                   ๒.) เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต 
เกณฑ์ มาตรฐานการเจริญเติบโตของคนเหล่านั้นจะพิจารณาจากน้ำหนักตัวและส่วนสูงเป็น หลักซึ่งนิยมนำมาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์ภาวะการ เจริญเติบโตของวัยรุ่นในแต่ละคนว่ามีการเจริญเติบโตหรือมีพัฒนาการตามเกณฑ์ มาตรฐานที่ควรเป็นหรือไม่หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นก็จะประเมินได้ว่า อยู่ในภาวะเสี่ยงหรือมีปัญหาทางสุขภาพโดยจะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อให้มีการ เจริญเติบโตและพัฒนาการที่ต่อเนื่องเหมาะสมกับเพศและวัยต่อไปสำหรับเกณฑ์ มาตรฐานนี้จะมีการจัดทำขึ้นเป็นระยะๆเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพจริงของเด็กไทย ซึ่งมีอยู่ ๒ รูปแบบ คือ 
                         ๒.๑) เกณฑ์มาตรฐานที่เป็นข้อมูลตัวเลข 
เป็น การแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขว่าในกลุ่มอายุต่างๆนั้นควรมีน้ำหนักและส่วน สูงอยู่ในระดับจึงจะเหมาะสมโดยใช้ข้อมูลเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งได้กล่าวถึงน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นโดยนับตั้งแต่ อายุ ๗-๑๓ ปีเป็นสำคัญเนื่องจากเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ต่อเนื่องกัน มาโดยดูได้ดังตาราง 
การ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานนี้ไม่ได้จัดทำเพียงครั้งเดียวแล้วใช้ได้ตลอดไปแต่จะมีการ จัดทำเป็นระยะๆเพราะอัตราการเจริญเติบโตของเด็กไทยมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบ โตเร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีการรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์มากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีการรณรงค์ให้เด็กดื่มนมหรือมีการออก กำลังกายบริเวณกล้ามเนื้อดังนั้นการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของน้ำหนักและส่วนสูง จึงต้องจัดทำขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการเจริญเติบโตที่เป็นปัจจุบัน ของไทย 
                         ๒.๒) เกณฑ์มาตรฐานการที่เป็นกราฟและเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต 
เป็น การนำข้อมูลตัวเลขมาแสดงด้วยกราฟโดยการจุดข้อมูลต่างๆลงบนกราฟแล้วเชื่อมโยง ข้อมูลแต่ละจุดเพื่อแสดงระดับการเจริญเติบโตและแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชายและหญิง อายุ ๕-๑๘ ปี เพื่อใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น

ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อพัฒนาการของวัยรุ่น

ปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในช่วงวัยเรียนและวัยรุ่นประกอบด้วย
1.พันธุกรรม เช่นลักษณะทางกาย สติปัญญา โรคบางอย่าง
2.จิตใจและอารมณ์ อาจมีพฤติกรรมที่ขัดใจพ่อแม่มากขึ้น

ปัจจัยภายนอก

ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในช่วงวัยเรียนและวัยรุ่นประกอบด้วย

1.อาหาร ถ้ารับประทานอาหารที่ไม่ได้คุณภาพและปริมาณน้อยจะทำให้การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์

2.การเลี้ยงดู จะต้องเพรียบพร้อมและให้ความรักความอบอุ่นและอบรมสั่งสอน

3.สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพจะมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

4.การเจ็บป่วย อาจเกิดจากการเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆความผิดปกติของร่างกาย ถ้ายเป็นบ่อยๆ

5.อุบัติเหตุ มักจะเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม ตกน้ำ จมน้ำ

6.พฤติกรรมหรือการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพ

การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่

  1. พันธุกรรม
  2. อาหาร
  3. การออกกำลังกาย
  4. การพักผ่อน
  5. การทำงานของต่อมไร้ท่อ
  6. ตลอดจนการเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บและการบาดเจ็บจากอุบัติภัย
แม้ ว่าปัจจัยด้านพันธุกรรมและการทำงานของต่อมไร้ท่อหากเกิดความผิดปกติขึ้น แล้วจะรักษาหรือแก้ไขได้ยาก แต่ถ้าเรารู้จักสังเกตตนเองและรีบไปปรึกษาแพทย์ก็จะช่วยบรรเทาความรุนแรงลง ได้ สำหรับปัจจัยด้านอื่น ๆ นั้นจะขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของวัยรุ่น หากวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและเหมาะสม รู้จักที่จะวางแผนการสร้างเสริมสุขภาพตามภาวการณ์เจริญเติบโตและพัฒนาการก็ จะนำไปสู่การเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี จะก้าวจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ ที่มีสุขภาพแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

อัพเดทล่าสุด