โรคสันนิบาตเป็นยังไง สงสัยว่า โรคสันนิบาตเกิดจาก


923 ผู้ชม

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หรือโรคสันนิบาต หรือโรคสั่นสันนิบาต คือโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบ สาเหตุที่แน่ชัด ทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่า โดปามีน (Dopamine) มีปริมาณลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการที่สำคัญ


โรคสันนิบาตเป็นยังไง สงสัยว่า โรคสันนิบาตเกิดจาก

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หรือโรคสันนิบาต หรือโรคสั่นสันนิบาต คือโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่า โดปามีน (Dopamine) มีปริมาณลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการที่สำคัญ คือ อาการสั่นขณะช่วงการพัก (Resting tremor) เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง (Bradykinesia) ร่างกายมีสภาพแข็งเกร็ง (Rigidity) และการทรงตัวขาดความสมดุล (Postural instability)
แพทย์ชาวอังกฤษชื่อ James Parkinson เป็นคนแรกที่ได้อธิบายลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในปี พ.ศ. 2360

พาร์กินสัน โรคสั่นเกร็งในวัยชรา (ธรรมลีลา) โดย : ศ.นพ.นิพนธ์  พวงวรินทร์
          ร่างกายคนเราเมื่อเข้าสู่วัยชรา ก็เป็นธรรมดาที่โรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ โรคที่เกิดได้แก่ โรคพาร์กินสัน หรือที่คนไทยเรียกว่า โรคสั่นสันนิบาต ซึ่งแต่เดิมเคยเข้าใจกันว่า โรคพาร์กินสัน เกิดจากความผิดปกติที่ไขสันหลัง แต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่า โรคพาร์กินสัน เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ที่จะส่งผลให้เกิดอาการสั่นเกร็ง และเคลื่อนไหวช้า

โรคพาร์กินสันมีสาเหตุจากอะไร?
ประมาณ 5% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทราบตำแหน่งบนโครโมโซม (Chromosome) ชัดเจน และสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะปรากฏอาการของโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 45 ปี ซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยที่ไม่ได้มีสาเหตุจากพันธุกรรมเป็นหลัก ที่จะปรากฏอาการเมื่ออายุมากกว่า 60 ปีไปแล้ว
สำหรับสาเหตุการเกิดโรคในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เหลือ ไม่ทราบชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าน่า จะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลร่วมกัน โดยพบว่ามีปัจจัยบางอย่างช่วยลดโอกาสการเกิดโรคพาร์กินสัน เช่น การดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่ การใช้ยาลดการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAID) และการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น
ส่วนปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น เคยมีอุบัติเหตุทางสมอง การสัมผัสกับยาฆ่าแมลง การดื่มน้ำบ่อ การอาศัยอยู่ในเขตทุรกันดาร มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย (แต่ไม่ได้มีความผิดทางสารพันธุกรรมที่ชัดเจนเหมือนผู้ป่วยกลุ่มข้างต้น)
มีการทดลองพบว่า หากให้สัตว์ได้รับสารเคมีที่ชื่อ MPTP (1-methyl-4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine ซึ่งเป็นสารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้นเป็นยาเสพติด เป็นสารเคมีที่มีพิษต่อเซลล์ประสาท) สารเคมีนี้จะเข้าไปสู่เซลล์ประสาทในสมองตรงส่วนที่เรียกว่า Substantia nigra (สมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว) และไปออกฤทธิ์ขัดขวางกระบวนการหายใจของเซลล์สมองส่วนนั้น ทำให้เซลล์ตาย และทำให้สัตว์เหล่านั้นมีอาการพาร์กินสันเกิดขึ้น จึงมีข้อสันนิษฐานว่า ผู้ป่วยโรคนี้บางคนอาจเกิดจากการสัมผัสสารเคมีบางตัวในสิ่งแวดล้อมที่มีโครงสร้างคล้ายกับ MPTP เป็นเวลานานๆนั่นเอง
    พยาธิสภาพที่พบในสมองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เมื่อนำสมองของผู้ป่วยที่เสีย ชีวิตจากโรคพาร์กินสันมาตรวจดู จะพบลักษณะ 2 อย่างคือ
        เซลล์ประสาทสมองในตำแหน่งที่เรียกว่า Substantia nigra มีการตายและลดจำนวนลง ทำให้สารสื่อประสาทชื่อว่า Dopamine ซึ่งสร้างมาจากเซลล์ประสาทเหล่านี้มีปริมาณลดลง และเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่างๆ โดยพบว่าเซลล์ประสาทจะต้องตายไปประมาณ 60-80% จึงจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการขึ้นมา การที่เซลล์ประสาทในตำแหน่งดัง กล่าวมีการตายไปนั้น ถือเป็นลักษณะเฉพาะของโรคพาร์กินสัน
        สำหรับปัจจัยที่เซลล์ประสาทเกิดการตายและทำให้เกิดอาการนั้น มีหลายปัจ จัยเกี่ยวข้อง เช่น การสะสมตัวของโปรตีนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Synuclein หรือโปรตีนชนิดอื่นๆที่ผิดปกติ การสะสมของสารอนุมูลอิสระ หรือมีกระบวนการทางเคมีในเซลล์ที่ผิดปกติไป (ซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติทางพันธุกรรม) เป็นต้น
        พบโปรตีนที่ตกตะกอนจนเป็นก้อนกลมๆอยู่ในเซลล์ประสาท เรียกว่า Lewy bodies ซึ่งประกอบขึ้นจากโปรตีนที่เรียกว่า Synuclein โดยโปรตีนนี้จะถูกสะสมผิดปกติจนใหญ่ขึ้นและกลายเป็นก้อนกลมๆขึ้นมา ซึ่งจะพบได้ในหลายๆตำแหน่งของสมองของผู้ป่วยโรคนี้ แต่การพบ Lewy bodies นี้ ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถพบได้ในโรคทางสมองอื่นๆด้วย

การสังเกตอาการของ โรคพาร์กินสัน
          โดยทั่วไปอาการจะแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา แต่โรคชนิดนี้จะมีอาการที่แสดงออกที่เห็นได้ชัด คือ
          1. อาการสั่น พบว่าเป็นอาการเริ่มต้นของโรคประมาณร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วยจะมีอาการสั่น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่ง ๆ จะมีอาการมากเป็นพิเศษ (4-8 ครั้ง/วินาที) แต่ถ้าเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมก็จะมีอาการสั่นลดลง หรือหายไป โดยมากพบอาการสั่นที่มือและเท้า แต่บางครั้งอาจพบได้ที่คางหรือลิ้นก็ได้ แต่มักไม่พบที่ศีรษะ
           2. อาการเกร็ง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขา และลำตัว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักแต่อย่างใด
          3. เคลื่อนไหวช้า ผู้ป่วยจะขาดความกระฉับกระเฉงงุ่มง่าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มต้นเคลื่อนไหว บางรายอาจหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุตามาได้ เช่น สะโพกหัก หัวเข่าแตก เป็นต้น
           4. ท่าเดินผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีท่าเดินจำเพาะตัวที่ผิดจากโรคอื่น คือ ก้าวเดินสั้น ๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรก ๆ และจะก้าวยาวขึ้นเรื่อย ๆ จนเร็วมากและหยุดไม่ได้ทันที โอกาสที่จะหกล้มหน้าคว่ำจึงมีสูง นอกจากนี้ยังเดินหลังค่อม ตัวงอ แขนไม่แกว่ง มือชิด แนบลำตัว หรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์
          5. การแสดงสีหน้า ใบหน้าของผู้ป่วยจะเฉยเมย ไม่มีอารมณ์เหมือนใส่หน้ากาก เวลาพูดมุมปากจะขยับเล็กน้อย
          6. เสียงพูด ผู้ป่วยจะพูดเสียงเครือ ๆ เบา ไม่ชัด หากพูดนาน ๆ เสียงจะค่อย ๆ หายไปในลำคอ บางรายที่อาการไม่หนักเมื่อพูดน้ำเสียงจะราบเรียบ รัว และระดับเสียงจะอยู่ระดับเดียวกันตลอด นอกจากนี้น้ำลายยังออกมาและสออยู่ที่มุมปากตลอดเวลา
          7. การเขียน ผู้ป่วยจะเขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือจะค่อย ๆ เล็กลงจนอ่านไม่ออก ส่วนปัญหาด้านสายตา ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลอกตาไปมาได้คล่องแคล่วอย่างปกติ เพราะลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุก
               โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการแทรกซ้อน คือ ท้องผูกเป็นประจำ ท้อแท้ซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย

อัพเดทล่าสุด