10 เทคนิค เพื่อคุณแม่ การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด


996 ผู้ชม


นอกจากการดูแลตัวเองตั้งแต่ตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดแล้ว ช่วงเวลาหลังคลอดก็เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรใส่ใจดูแลตัวเองเป็นพิเศษเช่นกัน มาดูกันค่ะว่า 10 เรื่องที่คุณแม่ควรใส่ใจนั้นมีอะไรกันบ้าง
 
                1.พักผ่อนให้มากที่สุด
                คุณแม่ควรพักผ่อนให้มากในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด โดยควรนอนพักผ่อนกลางคืนให้ได้ 6-8 ชั่วโมง ส่วนหลังอาหารกลางวันก็ควรหาเวลาพักผ่อนให้ได้ประมาณ 30 นาที และภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอดนี้คุณแม่ไม่ควรหยิบจับหรือยกสิ่งของหนักใดเลยทั้งสิ้น เพราะเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อและมดลูกต้องกลับคืนสู่สภาพปกติ หากคุณแม่พักผ่อนน้อยหรือยกสิ่งของหนักก็อาจกระทบกระเทือนถึงอวัยวะภายใน อุ้งเชิงกรานมดลูกได้
 
                2.รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์
                ในช่วงที่ร่างกายคุณแม่กำลังฟื้นตัวคุณแม่ควรรับประทานอาหารจำพวกเนื้อ นม ไข่ ผักและผลไม้สด งดอาหารที่มีรสจัด ของหมักดองทุกชนิด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
 
                3.รักษาความสะอาดของร่างกาย
                คุณแม่สามารถอาบน้ำชำระล้างร่างกายได้ตั้งแต่ 12-14 ชั่วโมงหลังคลอด หมั่นเปลี่ยนเสื้อผ้าที่สวมใส่เพราะหลังคลอดคุณแม่มักมีเหงื่อออกง่าย สำหรับคุณแม่ที่มีน้ำนมออกมาแล้วแนะนำให้เปลี่ยนเสื้อชั้นในบ่อยๆ หรืออาจใช้แผ่นซับน้ำนมก็สามารถช่วยได้เช่นกันค่ะ นอกจากนี้คุณแม่ควรคำนึงถึงการรักษาความสะอาดอวัยวะเพศให้เป็นอย่างดีทุก ครั้งหลังการขับถ่าย เพราะในช่วงหลังคลอด น้ำคาวปลาจะถูกขับออกมาเยอะ ทุกครั้งที่คุณแม่ขับถ่ายเสร็จแล้วจึงควรทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นและหมั่น เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่มดลูกจนอาจก่อให้เกิดอาการอักเสบติดเชื้อ ได้
               
               4.หมั่นดูแลเต้านมและหัวนมให้สะอาดเสมอ
                ทุกครั้งที่คุณแม่อาบน้ำควรทำความสะอาดหัวนมอยู่เสมอ สำหรับก่อนให้นมลูกคุณแม่ควรใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดบริเวณเต้านมและรอบหัวนม ให้สะอาด หลังจากให้นมลูกเสร็จแล้วคุณแม่ก็เช็ดหรือล้างทำความสะอาดอีกรอบค่ะ ในระหว่างที่คุณแม่ให้นมลูกถ้าหากหัวนมอักเสบหรือมีปัญหาจนไม่สามารถให้นม ลูกได้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ
 
                5.ดูแลแผลฝีเย็บหรือแผลผ่าตัด
                ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดด้วยวิธีธรรมชาติหรือผ่าคลอดก็ตาม การดูแลแผลหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่ควรเน้นใส่ใจในเรื่องความสะอาดเพราะหากแผลติดเชื้อจากสิ่งสกปรกแล้วจะ ยิ่งทำให้แผลหายช้ามากขึ้น

 
                6.งดมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์
                สำหรับคุณแม่ที่คลอดโดยธรรมชาติ ควรงดการมีสัมพันธ์อย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการฉีกขาดของแผล
 
                7.หยุดกังวลกับประจำเดือนที่อาจมาช้า
                คุณแม่ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประจำเดือนจะมาภายใน 5-6 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนคุณแม่ที่ให้นมลูกประจำเดือนจะมาช้ากว่านั้นค่ะ ดังนั้น หากประจำเดือนมาช้าก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต่อให้ประจำเดือนยังไม่มาคุณแม่ก็มีสิทธิ์ตั้งครรภ์ได้ปกติเช่นกัน หากไม่ได้คุมกำเนิดอย่างถูกต้อง
 
                8.หลังคลอด 1 เดือนควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
                โดยส่วนใหญ่หลังจากคุณแม่คลอดบุตรได้ 1 เดือนแล้ว คุณหมอจะนัดให้ไปตรวจร่างกายอีกครั้งเพื่อเช็คดูอวัยวะภายในของคุณแม่ว่า กลับคืนสู่สภาพปกติหรือยัง และเพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกกับมะเร็งเต้านมไปพร้อมกันด้วยค่ะ อีกทั้งคุณหมอยังให้คำแนะนำด้านการคุมกำเนิดในหลังจากระยะนี้ต่อไปด้วย
 
                9.ออกกำลังกายฟื้นฟูสุขภาพ
                คุณแม่สามารถออกกำลังกายเบาๆ ในช่วงหลังคลอด 6 สัปดาห์เป็นต้นไป ช่วงแรกอาจจะเป็นการเดินหรือทำงานบ้านเบาๆ ไปก่อน การออกกำลังกายจำเป็นอย่างมากเพื่อช่วยในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและอวัยวะภายใน ให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดน้ำหนักให้หุ่นกลับมาเพรียวกระชับสำหรับคุณแม่หลังคลอดได้ เป็นอย่างดี
 
                10.อาการหลังคลอดที่ควรพบแพทย์
                เมื่อมีอาการผิดปกติหลังคลอด คุณแม่ไม่ควรนิ่งเฉยนะคะ เพราะบางอาการที่คิดว่าอาจแค่ป่วยธรรมดา แต่แท้จริง อาจไม่ธรรมดาก็เป็นได้ เพราะช่วงหลังคลอด ร่างกายเรายังอ่อนแออยู่ ดังนั้น มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเจ็บป่วยต่างๆ ขึ้นได้เสมอ มาดูกันนะคะว่าอาการเหล่านี้มีอะไรบ้าง
                - มีไข้ หนาวสั่น
                - น้ำคาวปลามีความผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็นคาวมาก น้ำคาวปลาไม่เดิน หรือมีเลือดไหลออกมาสดๆ
                - เต้านมบวมช้ำ อักเสบ หรือมีแผลที่เต้านม
                - ปวดท้องน้อย ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ หรือมีอาการขัดเบา
 
ด้วย ภาระหน้าที่ของคุณแม่หลังคลอดที่ต้องมาพร้อมความรับผิดชอบต่อชีวิตน้อยๆ ของคุณมากขึ้น ดังนั้น จงอย่าปล่อยให้สุขภาพเจ็บป่วยหรือเสื่อมโทรมในหลังจากคลอดเลยนะคะ เพื่อชีวิตทารกน้อยๆ ที่คุณจะต้องดูแลอย่างดีที่สุด ดังนั้นแล้ว หากคุณแม่ไม่ได้ใส่ใจดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ วันหนึ่งข้างหน้าคุณอาจจะต้องเจ็บป่วยและอาจปกป้องดูแลคนที่คุณรักได้อย่าง ไม่เต็มที่ก็เป็นได้ค่ะ

อยากให้ลูกเกิดมาฉลาด ต้องบำรุงสมองลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์

  https://www.babytrick.com

10 เทคนิค เพื่อคุณแม่ การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์	วิธีดูแลตัวเองหลังคลอดเชื่อ แน่ว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนต่างก็อยากให้ลูกของตัว เองนั้นเกิดมามีสุขภาพที่แข็งแรง น่ารัก เฉลียวฉลาด กันทั้งนั้น แต่ทราบหรือไม่ว่า ว่าที่คุณพ่อคุณแม่เหล่านั้นสามารถบำรุงสมองของลูกให้ฉลาดได้ตั้งแต่ที่ลูก ยังเป็นทารกในครรภ์คุณแม่เลยทีเดียว

 

ความฉลาดของเด็กมาจากไหน

เด็กแต่ละคนก็ล้วนแต่มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน ความฉลาดของลูกนั้นนอกจากเราจะเติมเต็มให้กับเขาเมื่อเขาออกมาสู่โลกภายนอก แล้ว เรายังสามารถช่วยให้เขามีพัฒนาการที่ดีได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ผ่าน สารอาหารที่จำเป็นบางชนิด ภาวะที่ขาดแคลนสารอาหาร หรือได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองของเด็ก (เมื่อคลอดออกมาแล้ว) อย่างชัดเจน

ทั้งนี้นอกจากสารอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การพูดคุย การเล่นกับลูก ก็ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองของลูกเช่นกัน และยังส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์ของลูกอีกด้วย เด็กที่อารมณ์ดีเพราะอยู่ในการดูแลที่ดี ได้รับ อาหารที่มีประโยชน์ เมื่อเติบโตขึ้นจะมีพัฒนาการทางสมอง พัฒนาการทางด้านร่างกาย และมีความฉลาด (ทั้งด้านความคิดและทางอารมณ์) มากกว่าเด็กที่ขาดสารอาหารเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

สารอาหารคือหัวใจสำคัญของความฉลาดของเด็กแรกเกิด

การขาดสารอาหารนั้นนอกจากจะทำให้พัฒนาการทางสมองของเด็กไม่ดีเท่าที่ควร แล้ว ยังทำให้อารมณ์ของลูกเปลี่ยนไปด้วย ลูกของเราบางคนเมื่อเราคลอดเขาออกมาแล้วอาจจะเงียบ ดูหงอยเหงา เซื่อง ซึม เนื่อง จากภาวะการขาดสารอาหารในช่วงที่เราตั้งครรภ์นั้นเอง เราสามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยการทานอาหารและแร่ธาตุที่ครบถ้วน (ย้ำว่าครบถ้วน อย่ามากเกินไปนะค่ะ) ทั้งตัวคุณแม่เอง (ถ้ากำลังตั้งครรภ์อยู่) และให้ลูกของ เราทานด้วย (เมื่อเราคลอดลูกของเราออกมาแล้ว)

สารอาหารอะไรบ้างที่คุณแม่มักจะขาด เมื่อเข้าสู่ภาวะตั้งครรภ์

กรดโฟลิก แคลเซียม และธาตุเหล็ก และวิตามินต่างๆ ซึ่งโดยปกติหากเราอยู่ในการดูแลของคุณหมอที่ดี คุณหมอก็จะให้เราทานวิตามินเสริมอยู่แล้ว ดังนั้นคุณแม่ก็ควรจะทานให้ครบถ้วน เพราะสารอาหารและแร่ธาตุ เหล่านี้นอกจากจะส่งผลต่อทารกในครรภ์แล้วยังส่งผลต่อตัวคุณแม่เองอีกด้วย เช่น กรดโฟลิกนั้นจะช่วยป้องกันความผิดปกติหรือภาวะต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการคลอดลูกได้ เป็นต้น

นอกจากนั้นมลภาวะและสารเสพติดต่างๆ ก็มีผลด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ควันบุหรี่, ยาเสพติดอื่นๆ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ล้วนส่งผลทำลายการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ทั้งสิ้น ดังนั้นรู้อย่างนี้แล้ว ว่าที่ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายก็ควรจะใส่ใจกับอาหารให้มากนะค่ะ เพราะอาหารไม่ได้มีผลแค่ตัวคุณแม่เองคนเดียวเท่านั้น แต่มันจะส่งผลต่อเนื่องให้กับลูกในท้องของเราในระยะยาวอีกด้วยค่ะ

อัพเดทล่าสุด