การแสดงความคิดเห็น คือ การแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และข้อสันนิษฐานนั้นออกมาให้ผู้ฟัง ผู้อ่านได้รับรู้ เมื่อกล่าวถึงความคิดเห็น จำเป็นต้องกล่าวถึงข้อเท็จจริงด้วย ข้อเท็จจริงคือ ข้อมูล ปรากฏการณ์ และเรื่องราวต่างๆ ตามที่ปรากฏแก่บุคคลทั่วไป
ที่มาของภาพ : https://quip108.blogspot.com/2012/07/2pm.html
ประเด็นข่าว
การเตรียมการป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง
กองประชาสัมพันธ์ ได้วิเคราะห์สถานการณ์ข่าวจากหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ ประจำวันที่ 24 สิงหาคม 2555 ปรากฏว่าการนำเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนและประชาชนให้ความสำคัญกับการเตรียมการป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง โดยสรุปสาระสำคัญ ปัญหาอุปสรรค/ผลกระทบ และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว
ที่มาของข่าว : https://www.prbangkok.com/
เกริ่นนำ
การแสดงความคิดเห็นป็นสิ่งที่สามารถพบได้บ่อยในสังคมปัจจุบันที่มีความสะดวกในช่องทางของการใช้สื่อเพื่อนำเสนอความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของทุกคน ในขณะที่บางครั้งมีการเสนอความคิดเห็นอย่างไม่เหมาะสม
เนื้อหา สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ที่มาของภาพ : https://webboard.yenta4.com/topic/500336
การเขียนแสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น คือ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และข้อสันนิษฐานที่ผู้พูด หรือผู้เขียนมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น
- อากาศวันนี้สดชื่นจริงๆ (ความรู้สึก)
- บ้านหลังใหญ่ที่ตั้งอยู่ข้างถนนสายนี้น่าจะเป็นบ้านของท่านผู้ว่าฯ (ข้อสันนิษฐาน)
- เราทุกคนอยู่ประเทศเดียวกันควรปรองดองกัน (ความคิด)
การแสดงความคิดเห็น คือ การแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และข้อสันนิษฐานนั้นออกมาให้ผู้ฟัง ผู้อ่านได้รับรู้
เมื่อกล่าวถึงความคิดเห็น จำเป็นต้องกล่าวถึงข้อเท็จจริงด้วย ข้อเท็จจริงคือ ข้อมูล ปรากฏการณ์ และเรื่องราวต่างๆ ตามที่
ปรากฏแก่บุคคลทั่วไป
สิ่งสำคัญในการแสดงความคิดเห็นคือการให้เหตุผลหรือข้อสนับสนุนประกอบ เพื่อทำให้ความคิดเห็นนั้นมีน้ำหนักน้อย
น่าเชื่อถือ
ที่มาของภาพ : https://www.oknation.net/blog/print.php?id=221360
การแสดงความคิดเห็น ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน คือ
๑. ที่มา คือ เรื่องราวที่ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่ต้องแสดงความคิดเห็นนั้นๆ ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจ และพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นต่อไป
๒. ข้อสนับสนุน คือ ข้อเท็จจริง หลักการ กฎเกณฑ์ ความคิด และมติที่นำมาใช้ประกอบให้เป็นเหตุผลที่ใช้
สนับสนุนข้อสรุป
๓. ข้อสรุป คือ ส่วนสำคัญที่สุดของการแสดงความคิดเห็น อาจเป็นข้อเสนอแนะ ข้อวินิจฉัย ข้อสันนิษฐาน
หรือการประเมินค่า เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณายอมรับหรือนำไปปฏิบัติ
ที่มาของภาพ : https://krookalasin.net84.net/Menu-1/Plankanson/Plankanson.php
หลักการเขียนแสดงความคิดเห็น
๑) การตั้งชื่อ ควรตั้งชื่อเรื่องให้เร้าความสนใจผู้อ่าน และสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะเขียน เพราะชื่อเรื่องเป็นส่วนที่ผู้อ่าน
จะต้องอ่านเป็นอันดับแรกและเป็นการบอกขอบเขตของเรื่องด้วย
๒) การเปิดเรื่อง ใช้หลักการเขียนเช่นเดียวกันกับคำนำ และควรเปิดเรื่องให้น่าสนใจ ชวนให้ผู้อ่านติดตามเรื่องต่อไป
๓) การลำดับ ควรลำดับเรื่องให้มีความต่อเนื่องสอดคล้องกันตั้งแต่ต้นจนจบไม่ควรเขียนวกไปวนมา เพราะผู้อ่านอาจ
เกิดความสับสนจนไม่สามารถแยกแยะได้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริงและส่วนใดเป็นการแสดงความคิดเห็น
๔) การเปิดเรื่อง ใช้หลักการเช่นเดียวกับการเขียนสรุปและควรปิดเรื่องให้ผู้อ่านประทับใจ
ที่มาของภาพ :https://dev24x7.com/tag/
มารยาทในการเขียนแสดงความคิดเห็น
๑. ภาษาในการแสดงความคิดเห็นต้อง ชัดเจน เข้าใจง่าย เลือกใช้ถ้อยคำให้มีความหมายตรงตามที่คิด
มีความสมเหตุสมผล ตรงประเด็น ไม่ออกนอกเรื่อง
๒. ข้อมูลหลักฐานที่นำมาใช้ประกอบความคิดเห็นต้องเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่ข้อมูลเท็จ หรือมีจุดประสงค์เพื่อหลอกลวง
๓. ไม่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวในลักษณะการใช้อารมณ์ความรู้สึกทั้งหมดโดยปราศจากเหตุผลหรือข้อเท็จจริง
๔. ใช้ภาษาสุภาพ ไม่ก้าวร้าว หยาบคาย หลีกเลี่ยงการใช้คำคะนอง
......................................................................................................................................................................................
ประเด็นคำถาม
๑. สิ่งสำคัญในการแสดงความคิดเห็นคืออะไร
๒. บอกหลักการสำคัญของการเขียนแสดงความคิดเห็น
๓. ฝึกเขียนแสดงความคิดเห็นตามความสนใจคนละ ๑ เรื่อง
กิจกรรมเสนอแนะ
จัดประกวดการเขียนแสดงความคิดเห็น
บูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมปัจจุบัน จากข่าวสาร
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เขียนแสดงความคิดเห็นเป็นภาษาค่างประเทศ
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
https://www.prbangkok.com/
https://webboard.yenta4.com/topic/500336
https://quip108.blogspot.com/2012/07/2pm.html
https://www.kr.ac.th/ebook/songsri/b2.htm
https://www.yorwor2.ac.th/thaionline/comment/comment.html
https://krookalasin.net84.net/Menu-1/Plankanson/Plankanson.php
https://www.oknation.net/blog/print.php?id=221360
https://dev24x7.com/tag/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4785