สุนทรพจน์


1,285 ผู้ชม


สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ดีงาม ไพเราะจับใจ การพูดสุนทรพจน์มักมีในพิธีสำคัญ   

 

สุนทรพจน์

                                        แทมมี ดักเวิร์ธ"กล่าวสุนทรพจน์ที่ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครต

              ในการประชุมใหญ่ของเดโมแครตวันนี้ มีการกล่าวสุนทรพจน์อันฉะฉานของ แทมมี ลัดดา ดักเวิร์ธ ผู้สมัครเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐอิลินอยส์ ลูกครึ่งไทย-อเมริกัน วัย 44 ปี
               การประชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครตที่เริ่มขึ้นในวันนี้ มีลูกครึ่งไทย-อเมริกัน ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์อย่างฉะฉาน เธอชื่อ
แทมมี ลัดดา ดักเวิร์ธ ผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.รัฐอิลลินอยส์ ที่จะลงแข่งระดับชาติในนามพรรคเดโมแครต ซึ่งเป็นรัฐบ้านเกิดของ
ประธานาธิบดีบารัก โอบามา

 ที่มาของภาพและข่าว : 
 https://www.krobkruakao.com/ข่าว/61212/-แทมมี-ดักเวิร์ธ-กล่าวสุนทรพจน์ที่ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครต.html   
เกริ่นนำ
             สุนทรพจน์เป็นคำสมาส มาจากคำว่า   สุนทร + พจน์  แปลว่า ถ้อยคำที่มีความไพเราะและดีงาม ดังนั้นการพูด
สุนทรพจน์จึงต้องเรียบเรียงถ้อยคำให้ไพเราะสละสลวย  ให้ข้อคิดและจรรโลงใจผู้ฟัง
เนื้อหา   สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

             การพูดสุนทรพจน์จัดเป็นการพูดอย่างเป็นทางการ  ผู้พูดจึงต้องเตรียมเนื้อเรื่องให้เหมาะสมกับโอกาสหรือสถานการณ์ที่
ได้รับเชิญ  ในบางโอกาสก็ใช้การอ่านจากต้นฉบับ  เพื่อให้ผู้ฟังได้รับสารที่จรรโลงใจและสัมผัสถ้อยคำภาษาที่มีความไพเราะ
สละสลวย 
       สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ดีงาม ไพเราะจับใจ การพูดสุนทรพจน์มักมีในพิธีสำคัญ เช่น พิธีต้อนรับแขกเมืองคนสำคัญ พิธี
ได้รับตำแหน่งสำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีหรือกล่าวในงานฉลองระลึกถึงบุคคลสำคัญ วันสำคัญ ระดับชาติ หรือเป็น
การกล่าวในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงใจ เป็นคำพูดที่แสดงความปรารถนาดีในทางการเมือง การกล่าวสุนทรพจน์
เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง มักได้รับการยกย่องว่าเป็นการพูดชั้นยอด 
ลักษณะการพูดสุนทรพจน์
      ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ
      โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม
      กระตุ้นผู้ฟัง มีความมั่นใจและยินดีร่วมมือ
      สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษาและให้ความสุขแก่ผู้ฟัง 
โครงสร้างทั่วไปของการพูดสุนทรพจน์
     ๑.   ตอนเปิดเรื่อง กระตุ้นให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะพูด 
   
     ๒.  ดำเนินเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาสาระลำดับความสำคัญอย่างชัดเจน
     ๓.  ตอนจบเรื่อง สรุปความทิ้งท้ายให้ผู้ฟังนำไปคิด หรือฝากไว้ในความทรงจำตลอดไป 
โครงสร้างและขั้นตอนของสุนทรพจน์
          คำนำ หรือการเริ่มต้น (Introduction) เป็นการบอกกล่าวว่าผู้พูดเป็นใคร พูดในฐานะอะไรในโอกาสใด แล้วนำเข้าสู่เนื้อหา
ด้วยวิธีการที่เร้าความสนใจ เช่นใช้สุภาษิต คำคม หรือเหตุการณ์ปัจจุบันที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่จะกล่าวต่อไป 

          เนื้อเรื่อง หรือสาระสำคัญของเรื่อง (Discussion) ควรแยกประเด็นเป็นข้อๆ โดยคำนึงถึงเอกภาพ คือความเป็นหนึ่งเดียว
ของเรื่อง สัมพันธภาพคือความเกี่ยวเนื่องกัน และสารัตถภาพ หรือการเน้นย้ำประเด็นสำคัญของเรื่อง แต่ละประเด็นต้องมีข้อมูล
หลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และมีตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน 

          สรุปจบ หรือการลงท้าย (Conclusion)  อาจทำได้หลายวิธี เช่น สรุปทบทวนประเด็นเนื้อหาเสนอข้อคิด หรือแนวทางการ
ปฏิบัติเน้นประเด็นสำคัญ และแสดงความหวังว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ 

    "ขึ้นต้นให้ตื่นเต้น ตอนกลางให้กลมกลืน และตอนจบให้จับใจ "

แบ่งโครงสร้างของสุนทรพจน์เป็นสัดส่วน ได้ดังนี้ 
              คำนำ         ๕ - ๑๐ %
              เนื้อเรื่อง     ๘๐ - ๙๐ % 
               สรุปจบ     ๕ - ๑๐ % 
หลักในการขึ้นต้น
         ขึ้นต้นแบบพาดหัวข่าว (Headline)
                  ขึ้นต้นด้วยคำถาม (Asking Question)
                           ขึ้นต้นด้วยการทำให้ผู้ฟังสงสัย (Interest Arousing)
                                    ขึ้นต้นด้วยการอ้างบทกวี หรือวาทะของผู้มีชื่อเสียง (Quousing)
                                             ขึ้นต้นให้สนุกสนาน (Entertainment) 
ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการขึ้นต้น
                 อย่าออกตัว
                     อย่าขออภัย
                         อย่าถ่อมตน 
                              อย่าอ้อมค้อม 
ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการสรุปจบ
                   ขอจบ ขอยุติ
                          ไม่มากก็น้อย
                                 ขออภัย ขอโทษขอบคุณ  
หลักในการสรุปจบ  
                   ความหมายชัดเจน ไม่เลื่อนลอย
                            สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และหัวข้อเรื่อง 
                                       กะทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ พุ่งขึ้นสู่จุดสุดยอดของสุนทรพจน์ 
วิธีการสรุปจบที่ดีและได้ผล
                   จบแบบสรุปความ 
                             จบแบบฝากให้ไปคิด 
                                       จบแบบเปิดเผยตอนสำคัญ 
                                                  จบแบบชักชวนและเรียกร้อง 
                                                            จบด้วยคำคม คำพังเพย สุภาษิต

......................................................................................................................................................................................
ประเด็นคำถาม
๑. การใช้ภาษาสำหรับเขียนสุนทรพจน์ควรเป็นอย่างไร
๒. ฝึกเขียนบทสุนทรพจน์ที่สนใจ คนละ ๑ เรื่อง
๓. ฝึหพูดสุนทรพจน์ตามความสนใจคนละ ๑ เรื่อง 
กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนแต่ละห้องเรียนส่งตัวแทนประกวดการพูดสุนทรพจน์ 
บูรณาการ  
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  จัดกิจกรรมการพุูดสุนทรพจน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา   จัดกิจกรรมการพูดสุนทรพจน์ พระคุณแม่
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ  จัดการโต้วาทีโดยใช้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

ที่มาของภาพ : https://drkriengsak.blogspot.com/2012/02/public-speaking-by-kriengsak-article.html
https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=46790
 https://www.krobkruakao.com/ข่าว/61212/-แทมมี-ดักเวิร์ธ-กล่าวสุนทรพจน์ที่ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครต.html 

ตัวอย่างการพูดสุนทรพจน์

https://www.youtube.com/watch?v=47iglrT1Bt0  ชนะเลิศ ปปช. ปี ๒๕๕๕

https://www.youtube.com/watch?v=QfMyIECs-KM&feature=related

https://www.youtube.com/watch?v=tnIeakDeUN0&feature=related

https://www.youtube.com/watch?v=gGQqJiDA-6U&feature=relmfu

https://www.youtube.com/watch?v=6c08wLGwjc0&feature=related

ตัวอย่างบทพูดสุนทรพจน์
https://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=2808
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4779

อัพเดทล่าสุด