อ่านอย่างไรให้จำแม่น


743 ผู้ชม


การอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ   

      "คนอ่านหนังสือ  คือผู้ฉลาดทันคน  เหมือนมีทรัพย์มากล้น ใครจะปล้น หรือจี้ไม่ได้"

ประเด็นข่าว

    แข่งขัน วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศระดับ ม.ต้น ครั้งที่ ๖ ที่เมืองบากู  อาเซอร์ไบจาน 
เยาวชน ๔๙ ประเทศ  ๒๕๘ คน เข้าร่วม  เด็กไทยคว้ารางวัล ๓ เหรียญทอง ๓ เหรียญเงิน  ...
 ได้แก่

๑. เด็กชายชัยพัฒน์ วิญญูวิจิตร โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน 
๒. เด็กชายณัชพล เด่นดำรงทรัพย์ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน 
๓. เด็กชายณัฐชัย ประชาพิพัฒ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน 
๔. เด็กชายพีรศักดิ์ แซ่อึ๋ง โรงเรียนสตรีภูเก็ต 
๕. เด็กชายธนกร วรสถิตย์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 
๖. เด็กชายธีรภัทร เมืองพูล โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

            ที่มา : https://www.tlcthai.com

           จากประเด็นข่าวข้างต้น ผู้อ่านทุกท่านคงไม่ปฏิเสธว่า พื้นฐานของรางวัล ๓ เหรียญทอง ๓ เหรียญเงิน
มากจากการอ่านที่ถูกวิธี   หรือ  เด็กไทยทั้ง ๖ คน มีวิธีการอ่านที่ก่อให้เกิดปัญญา


ประเด็นการศึกษา การอ่านจับใจความสำคัญ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

อ่านหนังสืออย่างไรให้จำแม่น

      โดยเคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่ายๆ สามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน 
ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ 
การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติด    กลายเป็นนิสัยการอ่าน
                                     อ่านอย่างไรให้จำแม่น
                                                     ภาพจาก : go2pasa.ning.com
       การอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ

      ๑. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่เราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้า
หรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
      ๒. จากนั้นให้ปิดหนังสือ แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟัง
ด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจ
แล้วให้อ่านต่อไปได้
      ๓. หากตอนใดเราอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวน
ใหม่อีกครั้ง
      ๔. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจจริง ๆ ให้จดโน้ตไว้ เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่าน
ต่อไป
      ๕. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ
ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
      ๖. การเรียนด้วยวิธีท่องจำ โดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
      ๗. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆไม่ชัดเจน คลุมเครือ
      ๘. ดังนั้นควรมีเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้
                ๑) ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง          
                ๒) ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่าง ๆ 
                                                               อ่านอย่างไรให้จำแม่น
                                                                ภาพ : ปุณยนุช - สาธิตา สุพพัตกุล

       การอ่านจับใจความ คือ การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเภรื่องหรือของหนังสือแต่ละเล่มที่เป็นส่วน
ใจความสำคัญ และส่วนขยายใจความสำคัญของเรื่อง
             ใจความสำคัญของเรื่อง คือ ข้อความที่มีสาระคลุมข้อความอื่นๆ ในย่อหน้านั้นหรือเรื่องนั้นทั้งหมด 
ข้อความอื่นๆ เป็นเพียงส่วนขยายใจความสำคัญเท่านั้น ข้อความหนึ่งหรือตอนหนึ่งจะมีใจความสำคัญที่สุด
เพียงหนึ่งเดียว นอกนั้นเป็นใจความรอง คำว่าใจความสำคัญนี้ ผู้รู้ได้เรียกไว้เป็นหลายอย่าง เช่น ข้อคิดสำคัญ
ของเรื่อง แก่นของเรื่อง หรือ ความคิดหลัก ของเรื่องแต่จะเป็นอย่างไรก็ตาม ใจความสำคัญก็คือ
สิ่งที่เป็นสาระที่สำคัญที่สุดของเรื่องนั่นเอง
                                            อ่านอย่างไรให้จำแม่น
                                                                 ภาพจาก :https://www.google.co.th/
             ใจความสำคัญส่วนมากจะมีลักษณะเป็นประโยค ซึ่งอาจปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของย่อหน้าก็ได้
             จุดที่พบใจความสำคัญของเรื่องในแต่ละย่อหน้ามากที่สุดคือ ประโยคที่อยู่ตอนต้นย่อหน้า 
เพราะผู้เขียนมักบอกประเด็นสำคัญไว้ก่อน แล้วจึงขยายรายละเอียดให้ชัดเจน รองลงมาคือประโยคตอนท้ายย่อหน้า 
โดยผู้เขียนจะบอกรายละเอียดหรือประเด็นย่อยก่อน แล้วจึงสรุปด้วยประโยคที่เป็นประเด็นไว้ภายหลัง 
สำหรับจุดที่พบใจความสำคัญยากขึ้นก็คือ ประโยคตอนกลางย่อหน้า ซึ่งผู้อ่านจะต้องใช้ความ
สังเกตและพิจารณาให้ดี ส่วนจุดที่หาใจความสำคัญยากที่สุดคือย่อหน้าที่ไม่มีประโยคใจความสำคัญปรากฏ
ชัดเจน อาจมีประโยค หรืออาจอยู่รวมๆกันในย่อหน้าก็ได้ ซึ่งผู้อ่านจะต้องสรุปออกมาเอง

ขั้นตอนการอ่านจับใจความ
             1.อ่านผ่านๆโดยตลอด เพื่อให้รู้ว่าเรื่องที่อ่านว่าด้วยเรื่องอะไร จุดใดเป็นจุดสำคัญของเรื่อง
             2.อ่านให้ละเอียด เพื่อทำความเข้าใจอย่างชัดเจน ไม่ควรหยุดอ่านระหว่างเรื่องเพราะจะทำ
ให้ความเข้าใจไม่ติดต่อกัน
             3.อ่านซ้ำตอนที่ไม่เข้าใจ และตรวจสอบความเข้าใจบางตอนให้แน่นอนถูกต้อง
             4.เรียบเรียงใจความสำคัญของเรื่องด้วยตนเอง

                                             ทดสอบการอ่าน  คลิกที่นี่

ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
        ๑. วิธีอ่าน  มีผลต่อทักษะการอ่านอย่างไร จงอธิบาย
        ๒. เราสามารถสร้างวิธีการของตนเองได้หรือไม่  อย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑.  ให้นักเรียนนำเคล็ดลับการอ่านแต่งเพลงกลุ่มละ  ๑  เพลง

สรรถนะที่ต้องการเน้น
       ๑. มีความสามารถในการคิด
       ๒. มีความสามารถในการสื่อสาร

กิจกรรมบูรณาการ   
        ทุกกลุ่มสาระ
          ขอบคุณ : https://www.kroobannok.com

          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   แผนการจัดการเรียนรู้  ภาษาไทย  ชั้นม.๔
          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4459

อัพเดทล่าสุด