หลักการสังเกตคำสมาส คำสนธิ


966 ผู้ชม


หลักการสังเกตคำสมาส   คำสนธิ

หลักการสังเกตคำสมาส   คำสนธิ                                           หลักการสังเกตคำสมาส   คำสนธิ

                                           
      บทนำ      ศรีสัชนาลัยสวรรคโลกและสุโขทัย เป็นเมืองฝาแฝดคู่กันเหมือนกรุงเทพฯ และธนบุรี
 แต่ศรีสัชนาลัยสวรรคโลกเกิดก่อน (เดิมเรียกเมืองเชลียง) ยิ่งพอมีเจ้าเมืองเดียวกันคือ
พ่อขุนศรีนาวนำถุมก็ยิ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่วันนี้สุโขทัยเป็นจังหวัด ส่วนศรีสัชนาลัย
และสวรรคโลกแยกออกเป็นสองอำเภอขึ้นกับสุโขทัย.........พงศาวดารและศิลาจารึกสะกด “ศุโขทัย” 
เป็นการสนธิคำว่าศุขกับอุทัยเข้าด้วยกัน แปลว่าการขึ้นของพระอาทิตย์อันนำสุขมาให้คล้าย ๆ 
บทสวดรับอรุณในโมระปริตรและสอดคล้องกับชื่อพระร่วงหรือรุ่งอรุณ การสะกดอย่างนี้อาจ
เป็นแบบโบราณ แต่ต่อมาก็เขียนเป็นสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงทรงสร้างเรือนหอ
พระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกฯ (รัชกาลที่ 7) ก็ทรงใช้คำว่า “วังศุโขทัย”

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์ออนไลน์   วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น
 ประเด็นจากข่าว    ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีคำซับซ้อน  ต้องศึกษาโดยละเอียดจึงจะรู้ความเป็นมา  
ของคำบางคำ เนื่องจากชนิดของคำในภาษาไทยแบ่งได้เป็น 7 ชนิด ดังนั้นเราควรทราบว่าคำไหน
ใช้อย่างไร  และเป็นคำชนิดใดเพื่อเป็นประโยชน์ในการสื่อสารที่ถูกต้อง
         สาระการเรียนรู้ภาษาไทยช่วงชั้น 2 และช่วงชั้น 3
         เนื้อหา     จากการอ่านข้อความพบว่าคำสุโขทัย เป็นคำสนธิ แต่บางคนมีความสับสนเกี่ยวกับคำสมาส
และคำสนธิ ในการศึกษาจึงมีข้อสังเกตคำสมาสและคำสนธิดังนี้
                                    

          คำสนธิ 
          คำสนธิในภาษาไทยหมายถึงคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลัง
ของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง 
สนธิมี 3 ลักษณะ คือ 
          1. สระสนธิ 
          2. พยัญชนะสนธิ
          3. นิคหิตสนธิ 
1. สระสนธิ คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น 
วิทย+อาลัย = วิทยาลัย 
พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ 
มหา+อรรณพ = มหรรณพ 
นาค+อินทร์ = นาคินทร์ 
มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์ 
พุทธ+โอวาท = พุทโธวาท 
รังสี+โอภาส = รังสิโยภาส 
ธนู+อาคม = ธันวาคม

2. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น 
รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน 
มนสฺ + ภาว = มโนภาว (มโนภาพ) 
ทุสฺ + ชน = ทุรชน 
นิสฺ + ภย = นิรภัย

3. นฤคหิตสนธิ ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็น นฤคหิต กับคำอื่นๆ เช่น 
สํ + อุทัย = สมุทัย 
สํ + อาคม = สมาคม 
สํ + ขาร = สังขาร 
สํ + คม = สังคม 
สํ + หาร = สังหาร 
สํ + วร = สังวร

หลักการสังเกตคำสมาส   คำสนธิ                          หลักการสังเกตคำสมาส   คำสนธิ                   หลักการสังเกตคำสมาส   คำสนธิ
https://www.jupzshop.com/

หลักการสังเกต 
          1. คำสนธิต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น 
          2. เมื่อนำคำมาสนธิกันแล้ว จะกลายเป็นคำเดียว และจะต้องแปลจากคำหลังมาคำหน้า
          3. คำที่จะนำมาสนธิกัน จะต้องมีทั้งสระหน้าและสระหลัง 
          4. เมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ หรือนิคหิตที่เชื่อมเสมอ

           คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ 
ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่
       หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย 
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป
2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น)
4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, เทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดา, ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน
5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ)
6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
7. ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
8. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น
ประวัติศาสตร์    อ่านว่า        ประ – หวัด – ติ – ศาสตร์
นิจศีล                 อ่านว่า        นิจ – จะ – สีน
ไทยธรรม          อ่านว่า         ไทย – ยะ – ทำ
อุทกศาสตร์       อ่านว่า         อุ – ทก – กะ – สาด
อรรถรส             อ่านว่า        อัด – ถะ – รด
จุลสาร               อ่านว่า         จุน – ละ – สาน
9. คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์
       ข้อสังเกต
1. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น
เทพเจ้า           (เจ้า เป็นคำไทย)
พระโทรน     (ไม้ เป็นคำไทย)
พระโทรน      (โทรน เป็นคำอังกฤษ)
บายศรี           (บาย เป็นคำเขมร)
2.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น
ประวัติวรรณคดี     แปลว่า     ประวัติของวรรณคดี
นายกสมาคม        แปลว่า      นายกของสมาคม
วิพากษ์วิจารณ์      แปลว่า      การวิพากษ์และการวิจารณ์
3. คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น
ปรากฏ      อ่านว่า     ปรา – กด – กาน
สุภาพบุรุษ     อ่านว่า     สุ – พาบ – บุ – หรุด
สุพรรณบุรี      อ่านว่า      สุ – พรรณ – บุ – รี
สามัญศึกษา     อ่านว่า      สา – มัน – สึก – สา
ตัวอย่างคำสมาส 
ธุรกิจ    กิจกรรม   กรรมกร   ขัณฑสีมา  คหกรรม   เอกภพ    กาฬทวีป
สุนทรพจน์    จีรกาล   บุปผชาติ    ประถมศึกษา    ราชทัณฑ์    มหาราช   ฉันทลักษณ์
พุทธธรรม   วรรณคดี   อิทธิพล     มาฆบูชา   มัจจุราช   วิทยฐานะ   วรรณกรรม
สัมมาอาชีพ    หัตถศึกษา  ยุทธวิธี   วาตภัย   อุตสาหกรรม   สังฆราช    รัตติกาล
วสันตฤดู    สุขภาพ  อธิการบดี   ดาราศาสตร์    พุพภิกขภัย   สุคนธรส    วิสาขบูชา
บุตรทาน   สมณพราหมณ์   สังฆเภท   อินทรธนู   ฤทธิเดช   แพทย์ศาสตร์
ปัญญาชน    วัตถุธรรม    มหานิกาย   มนุษยสัมพันธ์

     ประเด็นคำถาม    
      1. จงบอกข้อสังเกตของคำสามาส   คำสนธิ
      2.  หาคำที่เป็นคำสมาส  คำสนธิ 
      3.  หรือแบ่งกลุ่มนักเรียนทำโครงงานเรื่องคำสมาส  คำสนธิ
            เพิ่อสรุปเป็นองค์ความรู้
       กิจกรรมเสนอแนะ
        นำผลงานที่ทำเผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาในโรงเรียน
     การบูรณาการ
      บูรณาการกับทุกสาระตามเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสม

แหล่งอ้างอิง : https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page
                        : https://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.
                        : https://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai
 ภาพจาก          :  https://www.google.com/search?q
 
                        :  https://www.jupzshop.com/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4461

อัพเดทล่าสุด