พุทธชยันตี คำที่มีในภาษาไทย


1,075 ผู้ชม


อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีในภาษาไทย   

ประเด็นข่าว 
                                 พุทธชยันตี คำที่มีในภาษาไทย
                                                               ภาพจาก : siamintelligence.com


            จังหวัดพระนครศรีอยุธยาร่วมเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า จัดงานวันวิสาขบูชาอย่างยิ่งใหญ่ที่อนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี ทุ่งหันตรา พร้อมจัดทำพระพุทธรูปนวโลหะปางห้ามญาติ ขนาดสูง ๑.๕ นิ้ว ๒,๖๐๐องค์ ที่ทำพิธีพุทธาภิเษกโดยพระเกจิอาจารย์ของวัดต่างๆ ในจังหวัด อาทิ วัดโตนดเตี้ย วัดท่าการ้อง มอบให้ผู้มาร่วมเวียนเทียนไว้บูชาและเป็นที่ระลึก และจัดซุ้มนิทรรศการ ตลอดจนการแสดงแสง เสียง และสื่อผสมเกี่ยวกับพุทธประวัติอย่างตระการตา 
                                                            ที่มา : https://www.newswit.com/gen/

    จากประเด็นข่าว  ที่สื่อนำเสนอในระยะนี้  ทำให้ได้คำถามจากนักเรียนมากมาย  เช่น  คำว่า "พุทธชยันตี" มาจากภาษาอะไร  พึ่งมีในภาษาไทย หรือมีมานานแล้ว  ประเทศไทยเคยจัดงาน "พุทธชยันตี" มาก่อนหรือไม่  ถ้าเคย  จัดในสมัยใด    วันนี้มาเรียนรู้กันว่า "พุทธชยันตี" เคยมีในภาษาไทยจริง ๆ

ประเด็นการศึกษา  อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๕
เรื่อง  ที่มาของคำ “พุทธชยันตี” ในภาษาไทย  

         พุทธชยันตี  มีที่มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ 
ภาษาอังกฤษใช้คำ  Anniversary   ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธเจ้า หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้
          สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย ไดแก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกัน และการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่าง ๆ มาใช้มากมาย เช่น ภาษาเขมร จีน พม่า ชวา มลายู อังกฤษเป็นต้น
                                             พุทธชยันตี คำที่มีในภาษาไทย
                                                                      ภาพจาก : bloggang.com

   “พุทธชยันตี”  เป็นภาษาสันสกฤต รับมาทางศาสนา  โดยคนไทยมีเสรีภาพในการยอมรับนับถือศาสนา
มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อยอมรับนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำภาษาที่ใช้ในคำสอน หรือคำเรียกชื่อต่าง ๆ ในทางศาสนาของศาสนานั้น ๆ มาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วย เช่น ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ศาสนาอิสลามใช้ภาษาอาหรับ และศาสนาคริสต์ใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ ในทางศาสนาก็จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วย 
                                            พุทธชยันตี คำที่มีในภาษาไทย
                                                                      ภาพจาก : copycddvd.com

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
                 ๑. ทำให้คำในภาษาไทยมีหลายพยางค์เนื่องจากการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ เช่น
                        ภาษาเขมร เช่น เผด็จ เสวย กังวล บำเพ็ญ ถนน
                        ภาษาจีน เช่น ตะหลิว ก๋วยเตี๋ยว เล่าเตง เอี้ยมจุ๊น
                        ภาษาอังกฤษ เช่น คลินิก สนุกเกอร์ เนกไท แคชเชียร์
                        ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น ปรัชญา กรีฑา อัคนี วิทยา พร ประเสริฐ
                 ๒. ทำให้คนไทยมีเสียงควบกล้ำมากขึ้น เช่น จันทรา นิทรา ทรานซิสเตอร์ เอนทรานซ์ และเพิ่มเสียงควบกล้ำ
ซึ่งไม่มีใน    ภาษาไทย เช่น ดรัมเมเยอร์ ดร๊าฟ เบรก บรอนซ์ บล็อก ฟรี แฟลช ฟลอโชว์ ฟลูออรีน
                 ๓. ทำให้คำไทยมีตัวสะกดมากขึ้น ปกติคำไทยแท้ ตัวสะกดจะตรงตามมาตรา ซึ่งมีเพียง 8 แม่ แต่คำยืมจากภาษาต่างประเทศจะสะกดไม่ตรงตามมาตรา ดังตัวอย่าง
                          แม่กก เช่น สุข เมฆ เช็ค สมัคร 
                          แม่กด เช่น กฎ รัฐ กอล์ฟ ฤทธิ์ พุทธ 
                          แม่กน เช่น เพ็ญ เพียร สูญ บอล คุณ กุศล 
                          แม่กบ เช่น รูป โลภ กราฟ กอล์ฟ 
                  ๔. ทำให้คำในภาษาไทยมีคำศัพท์มากขึ้น สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เช่น
                          น้ำ - อุทก วารี คงคา สาคร ธาร ชล ชโลธร 
                          ผู้หญิง - นงเยาว์ นงคราญ อิตถี สตรี กัลยา สุดา สมร วนิดา
                          พระอาทิตย์ - สุริยา รพี รวิ ภากร
                          ดอกไม้ - มาลี บุปผา บุหงา โกสุม
                         คำแจกความหมายละเอียดขึ้น เช่น อาคาร คฤหาสน์ ปราสาท วิมาน กระท่อม กระต๊อบ         
                         มีคำแสดงฐานะหรือระดับของบุคคลมากขึ้น เช่น 
                                      ผัว - สวามี สามี ภราดา 
                                      เมีย - ภรรยา ภริยา ชายา มเหสี
                         นำภาษาต่างประเทศบางคำไปใช้เป็นคำราชศัพท์ เช่น เสด็จ เสวย โปรดเกล้า ฯ กระหม่อม
                                                        พุทธชยันตี คำที่มีในภาษาไทย

                                                                   ภาพจาก : oknation.net


ประวัติและความเป็นมา “พุทธชยันตี คำที่มีอยู่ในภาษาไทย”
                พุทธชยันตี หรือ สัมพุทธชยันตี (อังกฤษ: Sambuddha jayanthi) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท 
ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา  
                 คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ (อังกฤษ: Anniversary)
                 ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธเจ้า หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้ 
                  โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน หรือ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น 
                   ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่นเอง
                    พุทธชยันตี เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า และผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ

บางประเทศ โดยใช้คำนี้ในการจัดกิจกรรมวิสาขบูชา โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรม

เป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปีนั้น เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชานั่นเอง
                                       พุทธชยันตี คำที่มีในภาษาไทย
                                                     ภาพ  : ทำบุญ "พุทธชยันตี โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม"
            คำว่า สัมพุทธชยันตี หรือ พุทธชยันตี สันนิษฐานว่าเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ในประเทศศรีลังกา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยดำริของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านได้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวัน ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก โดยเรียกว่า การฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ (2500th Buddha Jayanti Celebration) โดยนำคำ Buddha Jayanti (बुद्ध जयंती) ซึ่งเป็นคำเรียกวันครบรอบของชาวอินเดียและเนปาลมาใช้ เพื่อให้เกียรติประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของพุทธสังเวชนียสถาน และมีการรณรงค์ให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในปีนั้น เช่น ประเทศ พม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย
                                    พุทธชยันตี คำที่มีในภาษาไทย             
                            
                                                       ภาพ  : ทำบุญ "พุทธชยันตี โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม"
          ประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้มีการฉลองเนื่องในโอกาสพุทธชยันตีนี้ด้วย โดยจัดเป็นงานฉลองทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย มีการจัดสร้างพุทธมณฑล การประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ   มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม] พระราชบัญญัติล้างมลทิน มีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวงเป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการชั่วคราวด้วย นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา อย่างไรก็ดี การจัดงานครั้งนั้นในประเทศไทย ได้ใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ทำให้คำว่า "พุทธชยันตี" ไม่แพร่หลายในประเทศไทยเหมือนประเทศอื่น ๆ

ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
๑. ให้นักเรียนร่วมอภิปราย  ปะเด็น “ความร่ำรวยคำในการสื่อสารของคนไทย”
สรรถนะที่ต้องการเน้น
๑. มีความสามารถในการคิด
๒. มีความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสาร
กิจกรรมบูรณาการ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์


ที่มา : เพลินพิศ สุพพัตกุล แผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นม.๕
ที่มา : เพลินพิศ สุพพัตกุล คู่มือการสอนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

ขอบคุณ  https://th.wikipedia.org
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4654

อัพเดทล่าสุด