หลักภาษาไทย ในสงสารผู้เฒ่า ตอน เชื่อหรือไม่


553 ผู้ชม



หลักภาษาไทย ในสงสารผู้เฒ่า ตอน เชื่อหรือไม่   

สงสาร ผู้เฒ่า   ตอน เชื่อหรือไม่
1.   บทนำ     เชื่อหรือไม่ ผู้เฒ่ามะกัน  หายหูดับเพราะแผ่นดินไหว                                    
          นายโรเบิร์ต วัลเดอร์แซค วัย 75 ปี สูญเสียการได้ยินไปเพราะหกล้ม
เมื่อเดือน มิ.ย.ปีนี้ แต่หลังจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเป็นประวัติกาล
ในกรุงวอชิงตันสงบลง เขาก็กลับมาได้ยินเสียง...
 แหล่งที่มาของข่าว:   ไทยรัฐออนไลน์      ฉบับวันที่  26 สิงหาคม 2554, 05:45 น.
2.     ประเด็นข่าวนำเข้าสู่เนื้อหา
         จากการอ่านประเด็นข่าวพบคำที่สะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดอยู่ 7 คำ  คือ  โรเบิร์ต
วัลเดอร์     แซค     สูญ    เหตุ   ประวัติ   กาล
3.    เนื้อหา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
       มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษา  การเปลี่ยนแปลง
       ของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญา  ทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
4.    เนื้อเรื่อง    
          ภาษาไทยในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร ในชีวิตประจำวันของคนไทย ตลอดเวลา 
คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่บรรพบุรุษของเรามีความชาญฉลาด สามารถประดิษฐ์คิดค้นภาษา
ของตนเองขึ้นใช้ทั้งภาษาพูด และภาษาที่เป็นตัวอักษรใช้แทนเสียง  ภาษาไทยจึงเป็นมรดก
อันล้ำค่าที่ บรรพบุรุษได้สร้างไว้และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
          จากการอ่านประเด็นข่าวพบคำที่สะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดอยู่ 7 คำ  คือ  โรเบิร์ต
วัลเดอร์     แซค     สูญ    เหตุ   ประวัติ   กาล
          ตัวสะกด   หมายถึง พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระ
ใช้บังคับเสียงท้ายคำ   บางมาตราใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา บางมาตราใช้ตัวสะกดไม่ตรง
ตามมาตรา มีทั้งหมด 9 มาตรา ได้แก่  แม่ ก กา  แม่กง  แม่กน  แม่กม  แม่กก  แม่กด  แม่กบ  แม่เกย และแม่เกอว
           มาตราตัวสะกดที่มีตัวสะกดในมาตราเดียวกันหลายตัวเพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน 
เรียกว่า ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มี 4 มาตรา คือ 
     มาตราแม่ กก คือ คำที่มีตัว ก สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ข ค ฆ สะกด เช่น เลข โรค เมฆ 
     มาตราแม่ กด คือ คำที่มีตัว ต สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ด จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฑ ฒ ต ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น พิษ ครุฑ ตรวจ มงกุฎ 
     มาตราแม่ กบ คือ คำที่มีตัว ป สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ป พ ฟ ภ สะกด เช่น บาป ภาพ ยีราฟ โลภ 
     มาตราแม่ กน คือ คำที่มีตัว น สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น บุญ มโหฬาร พาล ทมิฬ อักษร กล้าหาญ
     ส่วนมาตราตัวสะกดที่ไม่มีตัวสะกดท้ายคำ มีเฉพาะพยัญชนะต้นและสระ เรียกว่า มาตราแม่ ก กา  ได้แก่  ปลา  ตา  ใย  ไป  เรือใบ  ดำนา
5.    ประเด็นคำถาม 
       แบ่งกลุ่มนักเรียนและปฏิบัติกิจกรรมดังนี้      
        กิจกรรมที่1   ให้นักเรียนอ่านข่าวหรือบทความ และหาคำที่สะกดไม่ตรงมาตราจากข่าว
                                พร้อมเขียนอธิบาย ถึงมาตราตัวสะกดของคำ  พร้อมบอกความหมาย
       กิจกรรมที่ 2    ให้นักเรียนหาคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดเพิ่มเติมนอกเหนือจากคำที่มีในข่าว
       กิจกรรมที่ 3    เลือกคำที่หาได้มาแต่งเป็นเรื่องราวสั้นๆ หรือแต่งประโยคก็ได้
       กิจกรรมที่ 4    ทุกกลุ่มนำผลงานแสดงที่ป้ายนิเทศน์เพื่อแบ่งปันความรู้
                               ( การจัดกิจกรรมอยู่ในดุลพินิจของครูผู้สอนแล้วแต่จะเห็นสมควรค่ะ)
6.     กิจกรรมเสนอแนะ
           นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปเป็นการสร้างองค์ความรู้ความหมายของคำที่ไม่ตรงตามมาตรา
7.      การบูรณาการ
         บูรณาการกับสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  เรื่องการอธิบายแสดงความคิดเห็น 
         และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม   การแบ่งปันความรู้  การฝึกระดมความคิด และสร้างองค์ความรู้
          ฝึกการยอมรับการเปรียบเทียบทางเหตุ ผลและการอ้างอิง


8.       แหล่งอ้างอิง :  https://www.thairath.co.th/content/oversea/196942
                                  :  https://www.jaturun.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=357887             
 ภาพไอคอนจาก :    https://atcloud.com/tags/26162
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4312

อัพเดทล่าสุด