คำว่าเด็กแว้น ถือเป็นศัพท์แสลง ที่ใช้เรียกกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่ชอบสร้างปัญหาให้กับสังคมและเป็นภาระให้กับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมากมาย
1. บทนำ ล้อมจับเด็กแว้นได้เกือบครึ่งร้อย พบส่วนใหญ่เป็นเยาวชน
เตรียมเรียกผู้ปกครองรับทราบข้อกล่าวหา
ที่มา : https://www.dailynews.co.th ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคม 2554
ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki
2. จากประเด็นข่าว คำว่าเด็กแว้น ถือเป็นศัพท์แสลง ที่ใช้เรียกกลุ่ม
เด็กวัยรุ่นที่ชอบสร้างปัญหาให้กับสังคม และเป็นภาระกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมากมาย
ภาพจาก : https://atcloud.com/stories/12521
3. เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษา
การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญา ทางภาษา
และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
4. เนื้อเรื่อง ตำรวจโคกครามประสานกำลังล้อมจับเด็กแว้นได้เกือบครึ่งร้อย
พบส่วนใหญ่เป็นเยาวชน เตรียมเรียกผู้ปกครองรับทราบข้อกล่าวหา....หากพบว่า
เป็นการปล่อยปละละเลยหรือรู้เห็นกับเด็ก ผู้ปกครองก็ต้องถูกดำเนินคดีด้วย
ในส่วนของการดำเนินคดีนั้นเบื้องต้นจะแจ้งข้อหาผู้ต้องหาทั้งหมด ขับรถโดย
ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่น
จากประเด็นข่าว คำว่าเด็กแว้น ถือเป็นศัพท์แสลง ที่ใช้เรียกกลุ่มเด็ก
วัยรุ่นที่ชอบสร้างปัญหาให้กับสังคม และเป็นภาระกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมากมาย
ซึ่งคนเราก็พยายามเข้าใจวัยรุ่น แต่ก็ต้องปรามไว้บ้างเพื่อให้รู้ถึงความถูก ผิด
สมควร หรือไม่สมควรอันเป็นการพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดีของสังคม และของชาติต่อไป
ความหมายของศัพท์แสลง ศัพท์สแลง (อังกฤษ: slang) และ สำนวน (idiom)
เป็นคำศัพท์หรือสำนวนที่ไม่ได้เป็นศัพท์ปกติที่ใช้กันอยู่ตามความหมายตรงตัว
แต่เป็นคำศัพท์ที่ไม่เป็นทางการ โดยทั่วไปอาจจะเกิดจากการสร้างศัพท์หรือสำนวนใหม่
โดยการ เปลี่ยนคำ เปลี่ยนความหมาย และความขบขันหรือน้ำเสียงในการพูด
ศัพท์หรือสำนวนเหล่านี้อาจจะใช้เฉพาะคนในวงการใดวงการหนึ่ง หรืออาชีพใด
อาชีพหนึ่ง ศัพท์สแลงบางครั้งอาจใช้เพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ แล้วก็หายไป
แต่บางครั้งอาจยาวจน กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาพูดเลยก็ได้ เช่น คำว่า ตุ๊ด เป็นต้น
ความหมายของคำว่าเด็กแว้น เด็กแว้น (มีการสะกด เด็กแว๊น) หรือ เด็กแซป
หมายถึงผู้ที่อายุประมาณ 15-28 ปี ที่ออกขับมอเตอร์ไซค์ไปเป็นกลุ่มในเวลากลางคืน
มีลักษณะการแต่งกาย และทรงผม รวมถึงรสนิยมการฟังเพลง
ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำไว้ว่า "วัยรุ่นผู้ชายที่ชอบเร่งเครื่อง
มอเตอร์ไซค์ให้มีเสียงดังแว้น ๆ
ที่มาของคำและความหมาย เด็กแว้นหรือแซปนั้น มีผู้สันนิษฐานว่ามาจาก
"แซปคุง" (Zabbkung) ซึ่งเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาในโอกาสครบรอบ 7 ปี
ของสตูดิโอเขียนการ์ตูน มอนสเตอร์คลับ (สตูดิโอของคนไทย ผู้วาดการ์ตูนเรื่อง
Joe the Sea-cret Agent) ส่วนคำว่าแว้นนั้น มาจากเสียงท่อไอเสียที่ดัดแปลง
ให้เสียงดังขึ้น รวมไปถึงเสียงดังที่เกิดจากการบิดหนีตำรวจ แต่ก่อนสมัยเครื่องยนต์
2 จังหวะ เมื่อบิดก็จะเกิดเสียงดัง "แว้น ๆๆๆ"[2] ในอดีตระหว่างคำสองคำนี้จะใช้
แตกต่างกัน "เด็กแซป" นั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะวงการมอเตอร์ไซด์ แต่จะเหมา
รวมถึงกลุ่มเด็กที่ชอบทำตัวให้โดดเด่นสะดุดสายตาชาวบ้านด้วยวิธีการผิด ๆ
เพื่อให้เป็นที่สนใจ เช่น การชกต่อยในงานฟรีคอนเสิร์ต ใส่เสื้อผ้าสีสันบาดตา
ไม่เรียนหนังสือ มั่วสุมอยู่แถวโต๊ะสนุกเกอร์ แต่ที่พวกเด็กแซปชื่นชอบมาก
เป็นพิเศษ คือ การดัดแปลงรถมอเตอร์ไซค์ และรวมตัวกันเป็นแก๊ง และในที่สุด
ก็ได้พัฒนากลายมาเป็น "เด็กแว้น"[2] ราชบัณฑิตยสถานได้จัดพิมพ์
"พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1" หรือพจนานุกรมฉบับวัยรุ่น โดยมี ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล
เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำ ซึ่งรวมถึงความหมายของคำว่า เด็กแว้น ไว้ด้วย[3]
โดยได้ให้ความหมายไว้ว่า "วัยรุ่นผู้ชายที่ชอบเร่งเครื่องมอเตอร์ไซค์ให้มีเสียงดังแว้น ๆ "[1]
ภาพจาก : https://atcloud.com/stories/12521
ตัวอย่างศัพท์แสลงคำอื่นและความหมาย
แห้ว (ชื่อพันธุ์ไม้ หัวใช้กินได้) หมายถึง ไม่สมหวัง
บ๊วย (ชื่อพันธุ์ไม้ ผลใช้กินได้) หมายถึง ที่สุดท้าย หรือ ที่โหล่
เชย หมายถึง ไม่ทันสมัย มีที่มาจากตัวละครชื่อลุงเชยในนิยาย
ชุดสามเกลอ ซึ่งมักจะทำอะไรเปิ่นๆ ไม่ทันสมัย
เด็กซิ่ลหรือ เด็กซิ่ว หมายถึง ผู้ที่เคยสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว
เปลี่ยนไปสอบเข้าภาควิชาอื่น คณะอื่น
หรือมหาวิทยาลัยอื่น มาจากคำว่า ฟอสซิล[1]
แอ๊บแบ๊ว หมายถึง การทำหน้าตาให้ดูน่ารักหรืออ่อนกว่าวัยจนเกินความจำเป็น
เกรียน หมายถึง บุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อกวน ไร้เหตุผล
เด็กแว้น หมายถึง กลุ่มวัยรุ่นที่ชอบขับจักรยานยนต์แข่งกันบนถนนใหญ่
สก๊อย หมายถึง ผู้ที่ซ้อนท้าย เด็กแว้น มักจะเป็นผู้หญิง
ชวด หมายถึง ไม่ได้สิ่งที่คาดหวัง
กุ มาจาก ชื่อนักเขียนในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ ก.ศ.ร.กุหลาบ
(กุหลาบ ตฤษณานนท์) เป็นสามัญชนที่ตีพิมพ์พงศาวดาร
ฉบับต่างๆ โดยเปลี่ยนเนื้อหาหรือคำต่างๆ ไม่ให้ถูกจับ
ได้ว่าลอกหนังสือในวังมา
5. ประเด็นคำถาม
แบ่งกลุ่มนักเรียนโดยให้แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมดังนี้
กลุ่มที่ 1 ให้เขียนอธิบายความหมาย ของศัพท์แสลง
พร้อมรายงานแบ่งปันความรู้
กลุ่มที่ 2 ให้เขียนอธิบายความหมายของคำว่าเด็กแว้น
และศัพท์แสลงคำอื่นๆ พร้อมรายงานแบ่งปันความรู้
กลุมที่ 3 ให้เขียนแสดงความคิดเห็นต่อเด็กวัยรุ่นที่ทำตัวเป็นเด็กแว้น
โดยให้อธิบายเหตุผล
( กิจกรรมอื่นๆ อยู่ในคุลพินิจของครูจะเห็นสมควร ที่สัมพันธ์กับเนื้อหา )
6. กิจกรรมเสนอแนะ
นำผลงานที่นักเรียนเขียนอธิบายในแต่ละหัวข้อติดป้ายนิเทศ
เพื่อแบ่งปันความรู้แก่นักเรียนชั้นอื่นๆ
7. การบูรณาการ
บูรณาการกับสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
เรื่องการอธิบายแสดงความคิดเห็น และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การแบ่งปันความรู้
8. แหล่งอ้างอิง :https://www.dailynews.co.th
: https://th.wikipedia.org/wiki
: https://www.youtube.com/watch?v=XoccTz1DPy
: https://atcloud.com/stories/12521
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4168