ใยคนแก่คนเฒ่าจึงเฝ้าเรือน
www.watnawamin.org
อ่านบทร้อยกรองต่อไปนี้ แล้วนำไปคิดนำไปเขียนแลกเปลี่ยนเรียรู้ในทุกที่ทุกเวลา
เปรียบดังไม้ใกล้ฝั่ง
ที่ยืนยังอยู่อดทน
รอหวังแห่งใจตน
ไม่เคยบ่นแม้นแก่ตัว
ยามเดินเกินลำบาก
ริมฝีปากสั่นระรัว
สายตานั้นพร่ามัว
ผิวรอบตัวเหี่ยวหย่อนยาน
ถึงแก่แต่รับรู้
ต้องต่อสู้ไปอีกนาน
ทุกสิ่งที่พบพาน
สอนลูกหลานบอกชี้นำ
ผู้เฒ่าในวันนี้
ลูกหลานมีจงจดจำ
ดูแลพึงกระทำ
ขอบอกย้ำให้ห่วงใย
(บัวกันต์ วิลามาศ-ประพันธ์)
เนื้อหาสำหรับสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับช่วงชั้นที่ ๑-๔
ตั้งประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
๑.ภาพคนแก่คนเฒ่าที่เราพบเห็น มีความรู้สึกอย่างไร
๒.ถ้าเราเป็นคนแก่คนเฒ่าเราจะมีความรู้สึกอย่างไร
๓.เรามีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้คนแก่คนเฒ่ามีความสุข สุขภาพจิตดี สุขภาพกายแข็งแรง
กิจกรรมที่บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
๑.ให้นักเรียนวาดภาพคนแก่คนเฒ่าหรือผู้สูงอายุจากจินตนาการของนักเรียน
๒.ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่มีความหมาย หมายถึงคนแก่คนเฒ่า
๓.ให้นักเรียนท่องบทร้อยกรองที่เกี่ยวกับคนแก่คนเฒ่า
๔.ให้นักเรียนค้นหาคำที่เขียนด้วยพยัญชนะ ฒ เฒ่า
๕.ครูนำนักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เยี่ยมและให้กำลังใจกับคนแก่คนเฒ่าที่บ้านพักคนชรา
๖.ให้นักเรียนสนทนาถึงสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับคนแก่คนเฒ่าหรือคนชรา
๗.ให้นักเรียนสนทนาในเรื่องที่บางคนนำพ่อแม่ไปไว้ที่บ้านพักของคนชราในแง่ของจริยธรรม
๘.ให้นักเรียนเขียนคำขวัญเชิญชวนให้ร่วมกันดูแลคนแก่คนเฒ่าหรือผู้สูงอายุ
๙.ให้นักเรียนจัดนิทรรศการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลภาพประกอบ
www.seedang.com
www.watnawamin.org
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=734