นิราศนรินทร์ ตอน ฝากนาง


3,046 ผู้ชม


ในวรรณคดีเรื่องนิราศนรินทร์ กวีก็ได้แสดงความรักความหวง และห่วงนางอันเป็นที่รัก ใช้ภาษาวรรณศิลป์ที่ไพเราะกินใจ   

                                    นิราศนรินทร์  ตอน  ฝากนาง
                         นิราศนรินทร์ ตอน ฝากนาง
                                                ภาพจาก : https://gotoknow.org

เพลงโคมทองแห่งชีวิต
นักร้อง ชรินทร์  นันทนาคร
     "เธอเอาดวงใจพี่ไปครองอยู่ ควรได้ถนอมเชิดชูค่อยเพียรเรียนรู้น้ำใจ 
ใจจริง รักเธอล้นทรวงห่วงใยสุดสวาทเธอนั้นเพียงใด ย่อมเรียนรู้ใจกันดี...
นางในดวงใจนั้นคือเธอแน่ นางอื่นหมื่นแสนไม่แลเฝ้าปองรักแท้เทวี 
ใจเดียว รักเดียวมิคลายหน่ายหนีเปรียบประดุจยอดขวัญชีวี เจ้าเอยรักพี่ยืนนาน...."
                             ทีมา :  https://lyrics.ohozaa.com
                   นิราศนรินทร์ ตอน ฝากนาง
                                       ภาพจาก : https://image.fangpleng.com

    ผู้หญิงทุกคนที่ได้ฟังเพลงโคมทองแห่งชีวิต  ของของคุณชรินทร์   นันทนาคร
เชื่อว่าต้องรู้สึกไม่ต่างกัน  เพราะเพลงบทนี้โดยเฉพาะช่วงที่นำมาข้างต้นเป็นบท
นารีปราโมทย์   ผู้หญิงฟังแล้วจะรู้สึกว่าตนเองเป็นคนมีค่ามาก  ซึ่งเป็นความรู้สึกบวก
ความรู้สึกนี้จะเสริมคุณค่ายิ่งขึ้น  ในวรรณคดีเรื่องนิราศนรินทร์ กวีก็ได้แสดงความรัก
ความหวง และห่วงนางอันเป็นที่รัก  ทำให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งในความรักของกวี
ที่มีต่อนาง  โดยใช้ภาษาวรรณศิลป์ที่ไพเราะกินใจ

ประเด็นการศึกษา  นิราศนรินทร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔


          ๑๐. โฉมควรจักฝากฟ้า      ฤาดิน ดีฤา 
        เกรงเทพไท้ธรณินทร์           ลอบกล้ำ 
        ฝากลมเลื่อนโฉมบิน            บนเล่า นะแม่ 
        ลมจะชายชักช้ำ                  ชอกเนื้อเรียมสงวน


คำศัพท์สำคัญ
          กล้ำ           หมายถึง  เชยชม 
          ธรณินทร์     หมายถึง  พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่
          ชายชักช้ำ    หมายถึง  ลมพัดทำให้ชอกช้ำ

     โคลงบาท ๒ นั้น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงวิจารณ์ว่า ธรณินทร์ นั้นแปลว่าพระเจ้าแผ่นดิน 
นายนรินทร์เห็นจะไม่กล้า กล่าวว่าเกรงพระพุทธเลิศหล้าฯ (รัชกาลที่ ๒) จะทรงลอบกล้ำเมีย
ของแก  เห็นจะหมายเอาเพียงเทวดาดิน คือ ภูมิเทวดาและพฤกษเทวดาเป็นต้น เท่านั้นเอง 
(ตรงนี้ก็เป็นเพียงเดาใจนายนรินทร์) แต่กรมหมื่นพิทยาฯ ยังทรงวิจารณ์ต่อไปอีกว่า 
ถ้านายนรินทร์ มิได้มุ่งจะให้หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน เหตุใดจึงเขียน ธรณินทร (ธรณี+อินทร) 
ซึ่งอาจแปลได้ว่า พระเจ้าแผ่นดิน คือ พระพุทธเลิศหล้า หรือบางทีนายนรินทร์จะเขียน 
ธรณิน (คือ ธรณี) แต่หากคนคัดลอกตกเติมเสียใหม่เป็น ธรณินทร

ถอดความ
      กวีได้รำพึงรำพันด้วยความห่วงนางว่า จะฝากนางไว้กับฟ้า  หรือดิน ดี
      ถ้าฝากไว้กับฟ้า ก็กลัวเทพไท้  คือเทวดา จะมาลอบเชยชมนาง  
           ถ้าฝากไว้กับดิน  ก็กลัวเจ้าแห่งแผ่นดิน จะมาลอบเชยชมนาง
      แต่ถ้าฝากนางไว้กับลม ก็เกรงว่าลมจะพัดทำให้นางชอกช้ำได          นิราศนรินทร์ ตอน ฝากนาง
                          ภาพจาก : https://img.photobucket.com


วิเคราะห์คุณค่า
     พบอธิพจน์  ในโคลงบทนี้ คือการที่กวีคิดจากฝากนางไว้กับฟ้า และดิน หรือลม
ในความเป็นจริงนั้นไม่สามารถเป็นไปได้  และในส่วนที่ฝากนางไว้กับไว้ก็ยัง
เกรง เจ้าแห่งแผ่นดิน หรือเทวดา จะลอบเชยชมนาง (อาจเพราะนางมีความงามมาก
หรือฝากไว้กับลม   ก็กลัวว่าลมจะพัดนางในชอกช้ำ  
      จึงเป็นการกว่าเกินจริงเพื่อเน้นความรู้สึกว่าห่วง  และหวงนางมาก 

ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
       ๑.  โคลงนิราศนริทร์  บทที่ ๑๐  มีลีลาของวรรณคดีด้านใด ให้อธิบาย
    
     
กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑. แต่งเพลงขยายความโวหารภาพพจน์ที่กล่าวเกินจริง  เพื่อเน้นย้ำ
ให้นักเรียนจำโวหารและลักษณะของโวหารได้

  
คุณลักษณะที่ปลูกฝัง
       ๑. รักความเป็นไทย
       ๒. ใฝ่เรียนรู้

กิจกรรมบูรณาการ   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  คำศัพท์เกี่ยวกับความรัก      


 ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ท๓๑๑๐๑  ชั้น ม.๔
  ที่มา:  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   คู่มือการสอนวิชาภาษาไทย ท๓๑๑๐๑  ชั้น ม.๔

ที่มา :  https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2872

อัพเดทล่าสุด