วันแม่ปีนี้พาคุณแม่ไปเที่ยวไหนกันบ้าง ไปมาแล้วเขียนบันทึกมาเล่าสู่กันฟังนะคะ "ครูระพีร์"มีบันทึกการเดินทาง มาฝาก เขียนไว้เมื่อ ๑๗ ปีที่แล้วค่ะ
การศึกษาคำประพันธ์ ประเภทนิราศ
ครั้งที่ ๑ เวลาเรียน ๑ คาบเรียน
สาระสำคัญ
การเขียนกลอนนิราศ เริ่มต้นด้วย"วรรครับ"คือวรรคที่สองของกลอนสุภาพ หรือ
กลอนแปดแล้วแต่งตามฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพไปตลอดเรื่องและจบด้วย "เอย"
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
- อ่านออกเสียงบทร้อยกรองได้อย่างถูกต้องไพเราะและเหมาะสม
- ตีความ แปลความ และขยายความเรื่องที่อ่านได้
- ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้
- เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้
ภาษาเรียบเรียงถูกต้อง มีข้อมูลและสาระสำคัญชัดเจน
นิราศนครปฐม'๓๖
"วิญญ์รวี"
กิจกรรมการเรียนรู้
๑. นักเรียนอ่านในใจบทเริ่มต้น"นิราศนครปฐม'๓๖"ในเวลา ๓ นาที
แล้วตอบคำถามให้เสร็จในเวลา ๑๐ นาที โดยเขียนคำตอบลงในแบบบันทึก
การเรียนรู้ แล้วนำส่งครูเพื่อประทับตรา"ตรงเวลา"เตรียมทำกิจกรรมต่อไป
- นักเรียนคิดว่า ผู้เดินทาง นัดรวมตัวกันประมาณกี่โมง เพราะอะไร
- จุดนัดหมายให้ทุกคนมาพร้อมกันคือที่ใดนักเรียนรู้จักสถานที่นี้หรือไม่
- นักเรียนสามารถสืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับ สถานที่ดังกล่าว ได้จากที่ใด
- เนื้อหาในบทประพันธ์ ทำให้นักเรียนเห็นภาพใดในจินตนาการบ้าง
- นักเรียนคิดว่า "กลอนนิราศ" ต่างกับกลอนสุภาพอย่างไร
๒. นักเรียนจับคู่อ่านออกเสียง"นิราศนครปฐม'๓๖"โดยผลัดกันอ่าน
ให้เพื่อนฟังและฟังเพื่อนอ่าน พร้อมทั้งประเมินการอ่านออกเสียงของเพื่อน
ในแบบประเมิน แล้วตอบคำถามให้เสร็จภายในเวลา ๑๐ นาที นำส่งครูเพื่อ
ประทับตรา"ตรงเวลา" เตรียมทำกิจกรรมต่อไป
- ปัญหาที่พบในการอ่านออกเสียงของเพื่อนมีอะไรบ้าง
- เนื้อหาในบทประพันธ์ตอนที่อ่านนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ประพันธ์
ต้องการให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในเรื่องใด
๓. นักเรียนวิเคราะห์ลักษณะคำประพันธ์ เรื่อง"นิราศนครปฐม'๓๖"
แล้วตอบคำถามให้เสร็จภายในเวลา ๑๐ นาที นำส่งครูเพื่อประทับตรา"ตรงเวลา"
เตรียมทำกิจกรรมต่อไป
- คำที่เป็นสัมผัสบังคับ ตามลักษณะการแต่งกลอนสุภาพ ในบทประพันธ์ตอนที่อ่านมีคำใดบ้าง
- นักเรียนมีความรู้เรื่องคำสัมผัสหรือไม่ ถ้าไม่มีความรู้ ให้มาพบครู
ถ้ามีความรู้ให้ทำข้อต่อไป
- คำที่เป็นสัมผัสใน หรือสัมผัสภายในวรรคเดียวกัน มีคำใดบ้าง
- คำที่เป็นสัมผัสอักษร มีคำใดบ้าง
- คำที่นักเรียนไม่เข้าใจความหมาย มีคำใดบ้าง
- นักเรียนคิดว่า บทประพันธ์นี้มีข้อบกพร่องหรือไม่ เพราะเหตุใด
๔. นักเรียนช่วยผลัดเปลี่ยนกันอ่านคำตอบตั้งแต่กิจกรรมข้อที่ ๑-๓
โดยครูเป็นผู้ชี้นำและเชื่อมโยงความคิดเห็นเข้าด้วยกัน ในเวลา ๑๐ นาที
๕. นักเรียนทั้งชั้นอ่านออกเสียงบทประพันธ์พร้อมกันเป็นทำนองเสนาะ
เพราะนักเรียนเคยฝึกการอ่านทำนองเสนาะกลอนสุภาพมาแล้ว ตั้งแต่ชั้นประถม
โดยครูเป็นผู้แนะนำ แก้ไเมื่อพบข้อบกพร่องในการอ่าน
๖. ครูนำสนทนาสรุปให้นักเรียนเห็นประโยชน์จากการอ่านอย่างมี
วิจารณญาณและการรู้จักใช้ความคิดในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นตลอดจน
ชี้นำให้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะการแต่งคำประพันธ์
ของไทยให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
งานนอกเวลา
- ให้นักเรียนสังเกต และจดบันทึก สิ่งที่พบเห็นระหว่างกลับบ้านหรือมาโรงเรียนเพื่อเป็นข้อมูลในการแต่งนิราศนำส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป
โปรดติดตาม"นิราศนครปฐม"ตอน"รวมพลบนถนนประวัติศาสตร์"ในคาบต่อไป
***************************
ภาพ จาก https://www.google.co.th/imglanding
ความสัมพันธ์ของสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑
ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหา
ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
ตัวชี้วัด
- อ่านออกเสียงบทร้อยกรองได้อย่างถูกต้องไพเราะ และเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
- การตีความ แปลความ และขยายความเรื่องที่อ่าน
- วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่อ่านในทุกๆ ด้านอย่างมีเหตุผล
- คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านและประเมินค่าเพื่อนำความรู้ ความคิดไปใช้
ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
- วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นโต้แย้งกับเรื่องที่อ่าน และเสนอความคิด
อย่างมีเหตุผล
- ตอบคำถามจากการอ่านประเภทต่างๆ ภายในเวลาที่กำหนด
- สังเคราะห์ความรู้จากการอ่าน สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ มาพัฒนาตนพัฒนาการเรียน และพัฒนาความรู้ทางอาชีพ
- มีมารยาทในการอ่าน
สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑
ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวใน
รูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
- เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ภาษาเรียบเรียง
ถูกต้อง มีข้อมูลและสาระสำคัญชัดเจน
- ผลิตงานเขียนของตนเองในรูปแบบต่างๆ
- ประเมินงานเขียนของผู้อื่น แล้วนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง
- บันทึกการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
- มีมารยาทในการเขียน
สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน ท ๔.๑
เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและ
พลังของภาษาภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวชี้วัด
- แต่งบทร้อยกรอง
- วิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน ท ๕.๑
เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็น
คุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ตัวชี้วัด
- วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ด้านการอ่าน
๑. อ่านออกเสียงบทประพันธ์ได้ถูกต้อง เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่อ่าน
๒. ตีความ แปลความ ขยายความ เรื่องที่อ่านได้
๓. วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านได้
๔. ประเมินค่าและบอกประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านได้อย่างมีเหตุผล
๕. ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้
๖. นำความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่พบในการอ่าน ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนด้านอื่นๆ ได้
๗. มีมารยาทในการอ่าน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ด้านการเขียน
๑. เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ภาษา
เรียบเรียงถูกต้องมีข้อมูลและสาระสำคัญชัดเจน
๒. ผลิตงานเขียนของตนเองในรูปแบบต่างๆ
๓. ประเมินงานเขียนของผู้อื่น แล้วนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง
๔. บันทึกการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
๕. มีมารยาทในการเขียน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ด้านหลักภาษา
๑. วิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
๒. แต่งคำประพันธ์ประเภทนิราศได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ด้านวรรณคดีและวรรณกรรม
๑. วิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการได้
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2996