การสอนภาษาไทย...ในการโฆษณา


805 ผู้ชม


ขนมในโฆษณาขนมกุ๊บกิ๊บทั้งหลาย มันจะตัดปากถุงซะเรียบแปล้...ทั้งๆที่ในโลกความจริง....   

    50 ความจริงโฆษณาไทย

1. ถ้าโฆษณาไหนต้องใช้โน้ตบุ้กประกอบฉาก มันจะต้องเป็น Macbook เท่านั้น
2. คุณแม่ใจดีในโฆษณาผงซักฟอกไม่มีจริงในโลก เพราะแม่ตัวจริงเจอลูกทำเสื้อเลอะ
     แบบที่เห็นในโฆษณา อีตัวลูกโดนตบนมแตกตายตั้งแต่ก่อนเข้าบ้านแล้ว
3. โฆษณาของหน่วยงานของรัฐฯ มักจะดูเสล่อๆ 
4. ขนมในโฆษณาขนมกุ๊บกิ๊บทั้งหลาย มันจะตัดปากถุงซะเรียบแปล้
    ทั้งๆที่ในโลกความจริง ไม่มีใครเขาเอากรรไกรตัดฝากถุงอย่างนั้นซักคน
5. จนป่านนี้แล้ว อียูโรคัสตาร์ดเค้ก มันก็ยังหน้าด้านโฆษณาว่าเค้กมันไส้ไหลล้นทะลัก
    ทั้งๆที่ใครๆก็รู้ว่า เมนส์ปลวกยังเยอะกว่าไส้ขนมมันเลย --- สคบ. ช่วยจัดการด้วย
6. โฆษณาการบินไทย ใช้แอร์ดูสาวและสวยมาก แต่ของจริงบนเครื่องนั้นป้าที่สุด!
7. โฆษณาของ Dtac ไม่เคยใช้ดาราดังแสดง
8. หลายบริษัทเอาคนในบริษัทตัวเองนี่แหละ มาเล่นโฆษณาเองซะเลย ประหยัดดี!
9. บางทีเห็นโฆษณาเดียวกันฉายต่อติดๆกัน อันนั้นเขาตั้งใจจริงๆนะครับ
10. โฆษณาท่องเที่ยวไทยที่ป้าเบิร์ดเล่น เฟคมาก นั่นป้าวิ่งเล่นอยู่ในโลกความฝันหรือครับ?
11. เมืองไทยเคยมีโฆษณาแชมพู ที่นางเอกผมเงาจนสะท้อนหน้าคนบนเส้นผมมาแล้ว!
12. และเมืองไทยก็เคยมีโฆษณาจั๊กกะแร้ขาวถึงขั้นมีแสงพุ่งออกมาจากจั๊กกะแร้มาแล้ว!
13. มีสินค้าหลายตัวที่ดัง และขายดีมาก โดยไม่เคยออกโฆษณาทีวีแม้แต่ครั้งเดียว
14. ห้องครัวในโฆษณาผงปรุงรสต่างๆ ดูดีและสะอาดเกินกว่าห้องความในโลกความจริง
15. ครีมบำรุงผิวสมัยนี้ มีอิทธิฤทธิ์ถึงขั้นใช้แล้วผัวเปลี่ยนพฤติกรรมได้ มหัศจรรย์มั้ยล่ะ!
16. สังเกตดีๆว่า พวกโฆษณาที่อ้างว่า 99% ของผู้ทดลองใช้พอใจ มันจะมีตัวหนังสือเล็กๆ
      บอกว่าจริงๆแล้ว สำรวจกับคนประมาณ 112 คนในประเทศแถวๆอเมริกาใต้
17. ทำไมเบียร์ต้องได้เหรียญทอง? ตกลงเอ็งจะขายเบียร์หรือไปวิ่งแข่งโอลิมปิก?
18. อีห้องแล๊บของ pond’s ที่เป็นห้องขาวทั้งห้อง ดูแล้วนึกว่าเป็นแล๊บ NASA
19. โฆษณาขนมหลอกเด็ก กล้องจะไม่ตั้งตรงๆ แต่จะหมุนไปหมุนมา ซูมเข้าซูมออกตลอด
20. โฆษณาน้ำยาปรับผ้านุ่ม เวลาดมผ้า จะมีดอกไม้พุ่งออกมาจากผ้าขนหนูทุกครั้ง
21. โฆษณาประตูน้ำโพลีคลินิก เป็นโฆษณาที่อุบาทว์ชาติชั่วมาก
      เพราะทั้งโฆษณาไม่มีอะไรเลย นอกจากตัวหนังสือวิ่งๆ เหมือนใช้ powerpoint ทำ
22. ตัวหนังสือเล็กๆ ใต้จอที่เล็กจนอ่านไม่ออก หลายคนในวงการเรียกว่า “มดวิ่ง”
23. โฆษณาประเภทโปรโมชั่น ตอนจบมักมีคนจำนวนมากยืนกระจุกกัน กำหมัดชูมือ 
      แล้วร้อง “เย้!”
24. โฆษณาเอ็มเค เรียงอาหารในหม้อสุกี้ได้โคตรเฟค มีใครเขากินสุกี้ประดิดประดอยกัน
       แบบนี้ด้วยเหรอ?
25. โฆษณาของบาร์บีคิวพลาซ่าก็เช่นเดียวกัน ใส่ผักในกระทะเยอะเว่อร์! ชั้นไปร้านแกเพื่อ
      กินเนื้อเว้ย!
26. โฆษณาของ “ไทยประกันชีวิต” นั้นโคตรเศร้า...
27. ในขณะที่ โฆษณาของ “เมิองไทยประกันชีวิต” นั้นโคตรฮา...
28. โฆษณาของโค้กจะแอบกัดเป๊ปซี่แบบเนียนๆอยู่เกือบทุกเรื่อง (ลองสังเกตดีๆ ...)
29. โฆษณาน้ำยาล้างจาน จะต้องมีฉากที่เอามือลูบจานแล้วได้ยินเสียง “วื้ด” เพื่อยืนยัน
      ความสะอาด
30. โฆษณารถกระบะ จะต้องมีฉากเลี้ยวโค้งหักศอก แอ่งน้ำขังบนพื้นสาดกระจายยยยย
31. โฆษณาเครื่องดื่มบรรจุขวด พรีเซนเตอร์ต้องกระดกขวดเท่านั้น ห้ามใช้หลอดดูดเด็ดขาด!
32. โฆษณาผ้าอนามัยทุกยี่ห้อ ใช้ของเหลวใสสีฟ้าหรือเขียวแทน...เอ่อ... นั่นล่ะครับ
33. มาม่าในชามในโฆษณา จะมีหมูสับลอยฟ่องเป็นแพ พร้อมผักและดอกไม้ใบหญ้า
      อีกมากมาย
34. โฆษณาไวเทนนิ่ง จะต้องมีฉากที่นางเอกค่อยๆลอกคราบทีละชั้นจากดำเป็นขาว
35. หลายคนคอนเฟิร์มว่าพรีเซนเตอร์ผู้ชายของโฆษณา NIVEA หล่อล่ำลากเลือดมาก...
36. ช่างก่อสร้างในโฆษณาปูนบางยี่ห้อ หน้าตาดีซะจนอยากจะทุบบ้านให้ช่างคนนี้มาซ่อมให้
37. โฆษณาแชมพู มักมีเนื้อเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับแชมพู เช่น นางเอกไปสมัครงาน หรือเล่นคาราเต้
38. พรีเซนเตอร์ในโฆษณามักใส่เสื้อสีเดียวกับสีของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
39. โฆษณาสินค้าทุกประเภทที่เกี่ยวกับการ “ฆ่าเชื้อ” หรือ “ทำความสะอาด” จะต้องมีฉาก  แบ่ง ครึ่งจอเพื่อเทียบกันซ้ายขวาเสมอ (ข้างที่ใช้กับไม่ใช้)
40. และแม้ว่าสินค้านั้นจะฆ่าเชื้อได้สะอาดขนาดไหน เราจะเห็นภาพเชื้อโรคเหลืออยู่หย่อม
    เล็กๆเสมอ
41. เราจะไม่เห็นขวดเหล้าขวดเบียร์ในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แม้แต่ขวดเดียว
42. โฆษณาเดียวกัน --- ถ้าดูในโรงหนังมันจะได้อารมณ์กว่า เศร้ากว่า ฮากว่าดูที่บ้าน 
43. เพลงบางเพลงดังได้เพียงเพราะโฆษณาหยิบมาใช้ (เช่นเพลงในโฆษณาชุด “แม่ต้อย”)
44. โฆษณาประเภท testimonial ที่ให้คนเคยใช้สินค้าออกมายืนยัน บางทีจริงแต่ชื่อ แต่คน แสดงไม่จริง เพราะหน้าตาตัวจริงน่ากลัวจนกล้องถ่ายไม่ติด ...เอ้ย ไม่ดีพอจะขึ้นกล้องได้ จึงต้องใช้คนแทน
45. โฆษณาน้ำอัดลม คนดื่มแล้วจะต้องร้อง “อ้าหห์” เสมอ
46. มีโฆษณาหลายตัวที่ให้พรีเซนเตอร์เอาสินค้าแนบใบหน้าซะใกล้จนเกินเหตุ
47. ในไทยรัฐหน้าบันเทิง คอลัมน์ “บันเทิงไทยรัฐ” นี่มันโฆษณาเครื่องสำอางชัดๆ!
48. เสียงเคี้ยวขนมในโฆษณามันฝรั่งทอดจะดัง “กร้วม” แบบไร้มารยาทสังคมที่สุด
49. บางทีเราก็มัวแต่ดูหน้าดูนมของพรีเซนเตอร์ จนลืมดูสินค้าไปโดยปริยาย
50. และโฆษณาบางเรื่อง แม่งตลกชิบหาย ตลกจนดูจบแล้วยังจำชื่อสินค้า
ไม่ได้...

ที่มา : https://variety.teenee.com/foodforbrain/27457.html
 
ขอขอบคุณบทความ..สนุก สนุก สร้างรอยยิ้ม จาก bongtao.exteen

 ประเด็นการศึกษา  :   สร้างจินตนาการผ่านโฆษณา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

  ๑. มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษา
มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา
และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
 มาตรฐาน ท ๔.๑.๓ ใช้ภาษาอย่างถูกต้อง มีคุณธรรมโดยการพูดและเขียนตามความเป็นจริงและเหมาะแก่สถานการณ์ ไม่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น ใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและสร้างความสามัคคี สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
เข้าใจการใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในชุมชน
๒.  สาระสำคัญ
การโฆษณาเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่สินค้าหรือการบริการอย่างใดอย่างหนึ่งให้คนทั่วไปได้ทราบ
๓.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
     ๑.  สามารถใช้ภาษาในการเชื้อเชิญ ชักชวน ปฏิเสธ ชี้แจง ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
๔.  จุดประสงค์การเรียนรู้
     ๑.  เพื่อให้นักเรียนบอกหลักการเขียนโฆษณาได้
     ๒.  นักเรียนอ่านและเขียนคำโฆษณาได้
     ๓.  นักเรียนมีความตั้งใจในการเขียนคำโฆษณาได้
๕.   เนื้อหาสาระ
- หลักการเขียนโฆษณา
- การอ่านและเขียนคำโฆษณา
๖.   กิจกรรมการเรียนรู้
     ขั้นเร้าความสนใจ  ( Engagement )
     ๑.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๖ กลุ่ม ๆ ละ ๔ คน ตามความสมัครใจ เพื่อเล่นบทบาทสมมุติ โฆษณา
จากโทรทัศน์ที่เห็นอยู่ทุกวัน หัวข้อ เกี่ยวกับ ขนมกรุบกรอบต่าง ๆ 
    ๒. ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโฆษณาที่เล่นไปว่าเชื่อได้มากน้อย
แค่ไหน เช่น
- ข้าวเกรียบกุ้งกินแล้วรวยเพื่อน จริงหรือไม่
- ขนมตะวันรสปลาหมึกกินแล้วเหมือนกินปลาหมึกจริง ๆ และบรรยากาศเหมือนนั่ง
อยู่ริมทะเลจริงหรือไม่
     ขั้นก้าวไกลสำรวจ   ( Exploration ) 
     ๓.  นักเรียนแต่ละกลุ่มดูตัวอย่างโฆษณาจากหนังสือพิมพ์ที่ครูเตรียมไว้ให้
     ๔. นักเรียนในกลุ่มสนทนาถึงการโฆษณาจากตัวอย่างและแสดงความคิดเห็นดังนี้
- หลักในการเขียนโฆษณามีองค์ประกอบอะไรบ้าง
 - ส่วนสำคัญและสิ่งจำเป็นที่ต้องมีคืออะไร
     ๕.  นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ ๑๖  เรื่องการอ่านและเขียนโฆษณาจนเกิดความเข้าใจ 
     ขั้นตรวจสอบอธิบาย  ( Explanation )
     ๖. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันแต่งหรือเขียนโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปสาหร่ายน้ำจืด 
กลุ่มละ ๑ ผลิตภัณฑ์ 
     ขั้นขยายความรู้   ( Elaboration )
     ๗. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบตัวหนังสือที่จะใช้เขียนโฆษณา ในใบกิจกรรมที่ ๒๒ สร้างจินตนาการผ่านโฆษณา
     ๘. นักเรียนแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการเขียนโฆษณา ดังนี้
คนที่ ๑ วาดรูปแบบตัวอักษร
คนที่ ๒ วาดภาพประกอบโฆษณา
คนที่ ๓ ระบายสี
คนที่ ๔ นำเสนอ
     ๙. ครูแนะนำเพิ่มเติมการใช้ภาษาและคำที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์
     ขั้นรวบรวมสู่การประเมิน  ( Evaluation )
     ๑๐. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลงานการเขียนโฆษณา จนครบทุกกลุ่ม
     ๑๑. นักเรียนร่วมกันคัดเลือกโฆษณาที่ดีที่สุด ๑ กลุ่ม
     ๑๒. นักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับหลักการโฆษณา ครูสรุปเพิ่มเติมและให้นักเรียนทุกคน
เขียนโฆษณาเป็นของตนเองในใบกิจกรรมที่ ๒๒  สร้างจินตนาการผ่านโฆษณาโดยคัดลอกโฆษณาในกลุ่มหรืออาจจะออกแบบใหม่ก็ได้เป็นการบ้าน
 

๗.  สื่อการเรียนการสอน
      ๑.  หนังสือพิมพ์
      ๒.  แถบประโยค
      ๓.  ใบกิจกรรมที่ ๒๒ สร้างจินตนาการผ่านโฆษณา
      ๔.  ใบความรู้ที่ ๑๖  เรื่องการอ่านและเขียนโฆษณา
๘.  การวัดผล ประเมินผล
      ๘.๑  การวัดผล
               ๘.๑.๑ วัดด้านความรู้
                ๘.๑.๒ วัดด้านทักษะกระบวนการ
                ๘.๑.๓ วัดด้านเจตคติ
      ๘.๒  เครื่องมือการวัดผล
                ๘.๒.๑  แบบประเมินการวัดด้านความรู้
                ๘.๒.๒ แบบประเมินการวัดด้านกระบวนการ
                ๘.๒.๓ แบบประเมินการวัดด้านเจตคติ
      ๘.๓  เกณฑ์การประเมินผล
                นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ประเมินทุกด้าน ร้อยละ ๘๐              
๙.  กิจกรรมเสนอแนะ
 การออกแบบโฆษณาควรวางกรอบจำกัดให้นักเรียนเพราะถ้าไม่วางกรอบแล้ว
จะทำให้คำที่ใช้เขียนโฆษณาจะมากไป และเลอะเทอะและควรใช้คำเร้าความสนใจ 
สะดุดตา น่าอ่าน
 
  

                                       ใบความรู้  เรื่องการเขียนโฆษณา
การเขียนโฆษณาด้วยคำขวัญ  คำขวัญ (slogan)  เป็นคำขวัญที่สั้น ๆ กะทัดรัด และเป็นคำที่ติดปากอยู่เสมอ  ส่วนใหญ่จะเป็นข้อความที่มีสัมผัสเพื่อให้จดจำง่าย 
การเขียนคำขวัญโฆษณาควรมีลักษณะดังนี้
๑. เป็นคำหรือข้อความที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ 
๒. เป็นถ้อยคำที่เห็นหรือได้ฟังสามารถจดจำได้ง่าย
๓. เป็นข้อความที่ไม่ยากจนเกินไป  หรือใช้คำฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
๔. ใช้คำที่โน้มน้าวใจ ชักจูงใจในความใคร่รู้ใคร่เห็น หรืออยากทดลอง
๕. ใช้คำที่มีสัมผัสสระ หรือสัมผัสอักษรเพราะจะช่วยให้จำได้ง่าย
๖. ไม่ใช้คำยาก หรือศัพท์วิชาการที่มีความหมายเฉพาะอย่างที่ไม่สามารถเข้าใจ
ได้อย่างกว้างขวาง
๗. ใช้คำหรือข้อความที่มีความแปลกใหม่ กระตุ้นความรู้สึก
๘. สะกดคำได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ไทย

 ที่มา :  นัทธมน  คำครุฑ  แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
           เรื่อง สร้างจินตนาการผ่านโฆษณา

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2807

อัพเดทล่าสุด