นิราศนรินทร์ ตอน ไขประทีปก่ำฟ้า


925 ผู้ชม


แสงของไฟในยามค่ำคืน สะท้อนให้เห็นแนวคิดของขนบไทยที่มีมาแต่ดั้งเดิมซึ่งปรากฏในนิราศนรินทร์   

นิราศนรินทร์  ตอนไขประทีปก่ำฟ้า

  ไฟประดับวันพ่อที่ถนนราชดำเนิน
      ทุกๆปี บริเวณถนนราชดำเนิน จะมีการจัดไปประดับ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบรอบ ๘๒ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ปีนี้ มีการ
จัดการแสดงกิจกรรมต่างๆ หน่วยงานราชการมีการจัดซุ้มแสดงกิจกรรม การแสดง
ตามเวทีต่างๆ และน้ำพุ ประกอบแสง สี เสียง มาเดินดูกันเลย ว่ามีอะไรกันบ้าง 
เที่ยวเผื่อสำหรับคนที่ยังไม่ได้มาเดินชมงาน
                                            ที่มา : https://www.bloggang.com
                              นิราศนรินทร์ ตอน ไขประทีปก่ำฟ้า
                                                       ภาพจาก : https://i43.photobucket.com              

   งานเฉลิมฉลองที่สำคัญคือการประดับประดาด้วยแสงไฟ  โดยเฉพาะวันสำคัญในโอกาส
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบรอบ ๘๒ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม
ที่ผ่านมา   แสงของไฟในยามค่ำคืน  สะท้อนให้เห็นแนวคิดของขนบไทยที่มีมาแต่ดั้งเดิม
ซึ่งปรากฏในนิราศนรินทร์  "ไขประทีปโคมแก้ว      ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์" นั่นคือจุดโคมไฟ
สว่างสุกใส สวยงาม จนกลบแสงนวลงามของพระจันทร์

ประเด็นการศึกษา  นิราศนรินทร์ ตอน ไขประทีบก่ำฟ้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

จากนิราศนรินทร์บทที่ ๔  ถอดความ และวิเคราะห์ความจากบทประพันธ์

                     โบสถ์ระเบียงมณฑปพื้น    ไพหาร
               ธรรมาสน์ศาลาลาน               พระแผ้ว
              หอไตรระฆังขาน                    ภายค่ำ
              ไขประทีปโคมแก้ว                  ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์

ศัพท์สำคัญ

 ไพหาร         หมายถึง  วิหาร
 หอไตร        หมายถึง อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะเป็นหอสูงสำหรับ
                            เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกหรือหนังสือธรรมทางพุทธศาสนา
                            เรียกว่าหอพระไตร ก็มี หอพระธรรม ก็มี
 ระฆังขาน        หมายถึง เสียงตีระฆังบอกเวลา
 ไขประทีปโคมแก้ว  หมายถึง จุดโคมไฟ
 ก่ำฟ้า                  หมายถึง สว่างทั่วท้องฟ้า
 ก่ำฟ้าเฟืองจันทร์    หมายถึง  แสงของดวงประทีปสว่างไปทั่วท้องฟ้า ทำให้แสงจันทร์
  สว่างน้อยลง

                                      นิราศนรินทร์ ตอน ไขประทีปก่ำฟ้า
                                                   ภาพพระมณฑปวัดพระแก้วจาก : https://www.bloggang.com
ถอดความ(ทีละบาท)
      โบสถ์  ระเบียง ของมณฑป  และพื้นของวิหาร
       ธรรมาสน์  ศาลา  พระพุทธรูป ดูสะอาดงามตา
       หอพระไตรปิฎก ที่งดงาม มีเสียงระฆังบอกเวลาตอนค่ำ
       แสงจากโคมไฟ รอบพระวิหารสว่างไปทั่วท้องฟ้า ทำให้แสงจันทร์สว่างน้อยลง
                            นิราศนรินทร์ ตอน ไขประทีปก่ำฟ้า
                               ภาพหอไตรจาก : https://www.watthasung.com


วิเคราะห์คุณค่า
         บทประพันธ์นี้แม้จะไม่ปรากฏโวหารภาพพจน์ที่เด่นชัด  แต่ก็บรรยาย
สิ่งก่อสร้างอันเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น
ทำให้มองเห็นภาพ  สถานที่สำคัญได้รับการดูแลอย่างดี 
       โวหารภาพพจน์ ที่ทำให้มองเห็นความงามของสิ่งต่างๆ คือ
        อธิพจน์  ข้อความ  แสงของดวงประทีปสว่างไปทั่วท้องฟ้า ทำให้แสงจันทร์
 สว่างน้อยลง เป็นการกล่าวเกินจริงที่เน้นความงามพระพุทธศาสนา
              ที่ถูกสองโดยโคมไฟธรรมดา

ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
       ๑.  โคลงนิราศนริทร์  บทที่ ๔  มีลีลาของวรรณคดีด้านใด ให้อธิบาย
    
     
กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑. ช่วยกันรวบรวมสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
แล้วจัดป้ายนิเทศแสดง

  
คุณลักษณะที่ปลูกฝัง
       ๑. รักความเป็นไทย
       ๒. ใฝ่เรียนรู้

กิจกรรมบูรณาการ   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  คำศัพท์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา      


           ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ท๓๑๑๐๑  ชั้น ม.๔
              ที่มา:  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   คู่มือการสอนวิชาภาษาไทย ท๓๑๑๐๑  ชั้น ม.๔

ที่มา  : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2834

อัพเดทล่าสุด