หนังสือ 6 เล่มที่เด็กไทยควรอ่าน(พระราชพิธีสิบสองเดือน)


799 ผู้ชม


พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อพิมพ์แจกสมาชิกหนังสือวชิรญาณ ของหอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อ พ.ศ. 2431 ซึ่งในเวลานั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงได้รับเลือกเป็นสภานายกประจำปี พระรา   

        เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงข่าวการจัดงาน “รักการอ่าน เทิดมหาราชินี” ว่า เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยมีนิสัยรักการอ่าน และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจะมีขึ้นในวันที่ 14-16 สิงหาคมนี้ ที่สพท.เขต 1 ทุกจังหวัด ส่วนกลางจัดที่เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ จะมาเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 14 สิงหาคม เวลา 10.00-11.00 น.

          นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานรายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่อง ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน มายังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อส่งเสริมให้มีการอ่านอย่างแพร่หลาย ได้แก่ 1.พระอภัยมณี 2.รามเกียรติ์ 3.นิทานชาดก 4.อิเหนา 5.พระราชพิธีสิบสองเดือน และ 6.กาพย์เห่เรือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม และกระทรวงศึกษาธิการจะรณรงค์ส่งเสริมให้เยาวชนไทยอ่านหนังสือทั้ง 6 เล่มนี้ และจัดหาหนังสือทั้ง 6 เล่ม ไปประจำอยู่ในห้องสมุดของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดวิทยาลัย ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดประชาชนด้วย  ที่มา https://www.komchadluek.net

         จากรายชื่อหนังสือที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานที่ให้เด็กไทยควรอ่าน  ล้วนเป็นวรรณคดีที่ใช้หรับเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของช่วงชั้น  3 และช่วงชั้นที่  4  เรื่องที่ 4 แล้วนะคะที่ครูนิตนำเสนอไป  อย่ามัวช้าไปศึกษาเรื่องที่ 5 กันเลยคะ  เรื่อง  พระราชพิธีสิบสองเดือน

       

         ที่มา   :   พระราชพิธีสิบสองเดือนนี้เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งพระองค์ทรงเขียนแล้วตีพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณ  โดยตีพิมพ์ออกเป็นตอนๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑  และได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็น " ยอดแห่งความเรียงอธิบาย "  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงเขียนคำอธิบายไว้ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒  ในงานพระศพพระเจ้าพี่นางเธอ  พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ  เมื่อพ.ศ.๒๔๖๓ ว่า  "  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๓๑ "

         ผู้แต่ง :    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๕

         ความมุ่งหมาย  :   เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆในรอบ ๑๒ เดือน

         ลักษณะการแต่ง :  แต่งเป็นความเรียงเชิงอธิบาย

         เนื้อหาสาระ

          อธิบายมูลเหตุพระราชพิธีสำหรับพระนคร  พระราชพิธีสิบสองเดือน  ในกฎมณเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา

และที่ทำในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  พระราชปรารภในการพระราชนิพนธ์  ทรงชี้แจงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชพิธี

และที่เลิกไปบ้าง  จากนั้นก็ทรงอธิบายพระราชพิธีต่างๆ ตั้งแต่เดือน ๑๒ ถึงเดือน ๑๐ ( ขาดเดือน ๑๑ เดือนเดียว )

ตัวอย่าง

         ...ก็แหละพระราชพิธีที่มีมาในพระราชกำหนดกฎมณเทียรบาลซึ่งได้ตั้งขึ้นแต่แรกสร้างกรุงทวาราวดี

ศรีอยุธยาโบราณ  แสดงพระราชพิธี ๑๒ เดือนไว้  ว่าการซึ่งพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทำว่าเป็นการมงคลสำหรับพระนคร

ทุกปีมิได้ขาดนั้น คือ

          เดือนห้า           การพระราชพิธีเผด็จศึก  ลดแจกรออกสนาม

          เดือนหก           พิธีไพศาขย์  จรดพระนังคัล

          เดือนเจ็ด          ทูลน้ำล้างพระบาท

          เดือนแปด          เข้าพรรษา

          เดือนเก้า           ตุลาการ

            เดือนสิบ            ภัทรบทพิธีสารท

          เดือนสิบเอ็ด       อาศยุชยแข่งเรือ

          เดือนสิบสอง       พิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม

          เดือนอ้าย          ไล่เรือ    เถลิงพิธีตรียัมพวาย

          เดือนยี่              การพิธีบุษยาภิเษก  เฉวียนพระโคกินเลี้ยง

          เดือนสาม          การพิธีธานยเทาะห์

          เดือนสี่             การพิธีสัมพัจฉรฉินท์

         ที่มา   วรรณกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ยุครุ่งเรืองสูงสุด . อุทัย  ไชยานนท์  https://www.pasasiam.com

           เพิ่มเติมพิธีต่างจากวิกีพีเดีย:   รายชื่อพระราชพิธีในเรื่อง
        เดือน 1 
        พระราชพิธีไล่เรือ
        เดือน 2 
        พระราชพิธีบุษยาภิเษก
        พระราชพิธีตรียัมพวาย (ตรีปวาย)
        เดือน 3 
        พิธีธานยเทาะห์
        พิธีศิวาราตรี
        เดือน 4 
        พิธีรดเจตร
        พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์
        เดือน 5 
        พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล (ถือน้ำ)
        พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน
        พิธีทอดเชือก
        พิธีสงกรานต์
        เดือน 6 
        พระราชพิธีพืชมงคล
        พระราชพิธีจรดพระนังคัล
        พระราชพิธีวิศาขบูชา
        เดือน 7 
        พระราชพิธีเคณฑะทิ้งข่าง
        พระราชพิธีทูลน้ำล้างพระบาท
        เดือน 8 
        พระราชพิธีเข้าพรรษา
        เดือน 9 
        พิธีตุลาภาร
        พระราชพิธีพรุณศาสตร์
        เดือน 10 
        พระราชพิธีสารท
        พิธีกวนข้าวทิพย์
        พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
        เดือน 12 
        พระราชพิธีจองเปรียง
        พระราชพิธีกะติเกยา
        พระราชพิธีลอยพระประทีป
        พระราชพิธีฉัตรมงคล  https://th.wikipedia.org

 

            กิจกรรมเสนอแนะ  :          ให้นักเรียนสิบค้นพิธีทั้ง 12  อย่างละเอียด

            บูรณาการกับกลุ่มสาระสังคม  เกี่ยวกับพืธีต่าง

            แหล่งอ้างอิง

            https://www.pasasiam.com

            https://www.lungthong.com

            https://www.komchadluek.net

            https://th.wikipedia.org

           คำถาม:           พิธีใดที่ยังปฏิบัติสิบต่อกันมาถึงในปัจจุบัน
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1490

อัพเดทล่าสุด