Pragmatics การสอนฟังที่เน้นทักษะการคิด


667 ผู้ชม


ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนทุกระดับชั้น โดยฟังประโยค Pragmatics แบบสั้นๆ   

Pragmatics การสอนฟังที่เน้นทักษะการคิด
https://images.google.co.th

What is Pragmatics?


       Pragmatics คือการศึกษาวิธีสื่อสารของผู้พูด กับ การตีความของผู้ฟัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ความรู้พื้นฐาน ประสบการณ์ ที่เคยมีร่วมกันระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง เน้นถึงการเข้าใจสารมากกว่าการพูดถึงความหมายตรงของคำศัพท์ ตรงข้ามกับ Semantics แปลว่าตรงๆ เช่น

Sue: That's the phone.
Bill: I'm in the bath.
Sue: OK.

        ในตัวอย่างนี้ ตีความได้ว่า โทรศัพท์ดังขึ้น ขณะที่ Bill อยู่ในห้องน้ำและไม่สามารถไปรับโทรศัพท์ได้ Bill จึงขอร้องให้ Sue ไปรับโทรศัพท์แทน และ Sue ก็ตกลงจะรับโทรศัพท์ให้ 

 
EXERCISE

Listen to this story from your teacher and answer each question.

 John was on his way to school. (pause and ask question)      
1. In your opinion  who is John?

He was worry about the maths lesson. (pause and ask question) 
2. Who is John? Why do you think that?
Last week he had been enabled to control the class. (pause and ask question)  
3. Who is John?
It was wrong of the maths teacher who leave him in class. (pause and ask question)  
4. Who is John?
After all come up, this was not a normal part of the cleaner's duty.  (pause and ask question) 
5. Who is John?

Answer John is the school janitor and a maths teacher asked him to control the class.

กิจกรรมเสนอแนะ

1. ครูอ่านเนื้อเรื่อง John ทีละประโยค และหยุด
2. ครูถามคำถาม ทุกครั้งที่อ่านประโยคแต่ละประโยคจบตามลำดับ
3. ครูไม่ควรแสดงความคิดเห็นชี้นำเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นด้วยตัวเอง
4. นักเรียนเขียนเนื้อเรื่องหรือบทสนทนาที่เป็น Pragmatics ในชีวิตประจำวัน
5. นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องที่นักเรียนเขียนให้เพื่อนตีความ

สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

มาตรฐานการเรียนรู้

ต. 1.1  เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆและแสดงความคิดเห็น
            อย่างมีเหตุผล
ต. 1.2  มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแสดงความรู้สึก
            และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
ต. 1.3  นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอดแลความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูด
            และการเขียน

ความรู้เพิ่มเติมสำหรับครู

       Pragmatic Sentence เป็นศัพท์ทางภาษาศาสตร์ (linguistic)  
Pragmatics is the area of language function that embraces the use of language in social contexts (knowing what to say, how to say it, and when to say it - and how to "be" with other people). 
ซึ่งมักจะมาคู่กับประโยคแบบ Semantic Sentence

       Semantics is the aspect of language function that relates to understanding the meanings of words, phrases and sentences, and using words appropriately when we speak.

ที่มา -https://members.tripod.com
หรืออ่านเพิ่มเติมที่ https://www.erudit.org

       อาจแปลให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า (ง่ายๆ ไม่ได้แปลว่า ถูกต้องทั้งหมด ง่ายๆ แปลว่า ง่ายๆ ให้เข้าใจง่ายๆ)
Semantics คือหมายความตามนั้น
"คุณสมชายเป็นคนดี" ก็แปลว่า คุณสมชายเป็นคนดี
"ประเทศไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ" ก็หมายความตามนั้น

       แต่ Pragmatics ไม่ใช่  เพราะสิ่งที่ต้องดูประกอบคือ บริบท น้ำเสียง หน้าตา ท่าทางของคนพูดประกอบด้วย

       ในชีวิตประจำวันแต่ละวันของฉันนั้น เต็มไปด้วยประโยค Pragmatic ทั้งตั้งใจ และไม่ตั้งใจ เช่น
"วันนี้ร้อนนะ" -- แปลว่า ช่วยเปิดแอร์/พัดลม หน่อยสิ 
"หิวน้ำจัง" -- แปลว่า หยิบน้ำให้หน่อย

        ข้อดีของประโยคแบบนี้ก็คือ การเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้คิด ไม่ใช่พูดทุกอย่างเป็นคำสั่งไปเสียหมด
หรือข้อดีอีกอันของมันก็คือ ในบางสถานการณ์ เราไม่อาจพูดตรงๆ อย่างใจคิดได้ทุกอย่าง ก็จำเป็นต้องหาวิธีพูดอ้อมๆ เพื่อหลีกเลี่ยงนั่นเอง 
ยกตัวอย่างสถานการณ์

Case A:
บนโต๊ะอาหาร มีแก้วน้ำวางสลับที่กัน แม่หยิบแก้วน้ำลูกสาวจะเอาไปกิน แล้วลูกสาวก็พูดว่า
"นั่นดูเหมือนจะเป็นแก้วของหนู"
นี่ก็ไม่ใช่ประโยคบอกเล่า ว่านั่นคือแก้วน้ำของใคร แต่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้หยุดชะงักแล้วคิดตาม
วิธีที่ง่ายกว่า อาจจะพูดได้ว่า "นั่นคือแก้วน้ำของหนู" แต่ฟังดูเหมือนจะตรง แต่นัยยะแฝงของมันก็คือ "วางมันลงเดี๋ยวนี้แล้วหยิบแก้วอื่นซะ" (ซึ่งไม่มีทางจะพูดออกไปแบบนั้นได้แน่ๆ)

Case B:
host family พูดกับโอแปร์ (พี่เลี้ยงเด็ก) ของตัวเองว่า "คริสมาสต์นี้ เธอไม่ต้องไป vacation กับพวกเราก็ได้นะ เพราะเรามีญาติๆ คอยดูแลลูกๆ ให้เยอะแล้ว"
หากเราไม่เคยรู้จักครอบครัวนั้น เราก็จะสามารถตีความได้สองแบบ
แบบที่ 1 -- "เราอยากให้เธอมีเวลาส่วนตัวบ้าง ไปเที่ยวกับเพื่อนๆ เถอะ ไม่ต้องมาทำงานหรอก"
แบบที่ 2 -- "เราไม่อยากให้เธอไปปาร์ตี้คริสมาสกับเรา เพราะเธอไม่ใช่คนในครอบครัวของเรา"
ซึ่งพอดีว่าจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ host family กับโอแปร์แล้ว ฉันสรุปว่าเป็น meaning ที่ 2

       การพูดประโยค Pragmatics หรือที่ใครๆ หลายคนชอบเรียกด้วยความรำคาญว่า ประโยควกไปวนมา (ต่างกันนิดหน่อยกับการประชดประชัน) ทำให้เราติดนิสัยตีความทุกคำพูดของคนอื่นได้จริงหรือไม่?  ยกตัวอย่าง

Case C:
ชวนพี่เลี้ยงออกไปเที่ยว คำตอบที่ได้คือ
"ไปเถอะ พี่ไม่ไปไหนหรอก ถ้าพี่ไปใครจะเฝ้าบ้าน"
ประโยคนี้แปลว่า "คนอย่างฉันมันจะไปไหนได้ ในเมื่อหน้าที่ของฉันต้องเฝ้าบ้านเท่านั้นนี่นา"
"ถ้าพี่อยากเที่ยวเหมือนคนอื่นๆ ถ้าพี่เป็นคนเห็นแก่เที่ยว ก็คงไปแล้ว แต่นี่พี่เป็นห่วงบ้าน"
ประโยคนี้แปลว่า "ถ้าฉันไป ก็จะหาว่าฉันเป็นคนเห็นแก่เที่ยว ไม่ห่วงบ้าน แล้วฉันจะไปได้ยังไง"
ซึ่งการพูดประโยคแบบนี้ เท่ากับ การคาดหวังคำพูดตอบ ชนิดที่ว่า "ใครว่าล่ะ ไปเถอะ ไม่เป็นไรหรอก" บลา บลา บลา
แต่ขอโทษที ฉันไม่ใช่คนแบบนั้น
คำตอบของฉันคือ "อือ ถ้างั้นก็ดีแล้ว แล้วอย่าให้ได้ยินประโยคประเภทที่ว่า พี่ได้แต่เฝ้าบ้าน ไม่ได้ไปไหน ให้ได้ยินอีกล่ะ"

Case D:
เมื่อวานวันลอยกระทง
แม่ถามลูกสาวว่า "วันนี้ไม่ออกไปไหนเหรอ"
ประโยคนี้ ถอดความได้ว่า "ลูกสาวออกไปเที่ยวทุกวัน" และ "วันนี้จะต้องไปอีก" และ "วันนี้จะไปไหน"
คำตอบคือ "ถามแบบนี้แปลว่าจะไม่ให้ไปใช่ไหม"

Case E:
วันหยุด แม่ถามลูกๆ ว่า "วันนี้จะไปไหนรึเปล่า เสร็จแล้วจะทำอะไรต่อ แล้วจะกลับกี่โมง"
บ้านอื่นฉันไม่รู้ แต่อันนี้เราอาศัย prepositional meaning (คือความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ที่เคยมีร่วมกับผู้สื่อสาร อ่านต่อที่นี่) ประโยคนี้จึงแปลว่า จะมีกิจกรรมอะไรซักอย่างต่อจากนี้ และต้องการนัดหมายเวลา
คำตอบจึงเป็น "จะไปไหนก็บอกมาเลยดีกว่า"

 "ลูกชายคนโตนี่เก่ง ดี ฉลาด นะคะ" (มันแปลว่าลูกสาวคนเล็กไม่ได้เรื่อง โง่ เลว รึเปล่านะ)
"ชุดนี้ ไม่น่าเชื่อว่าเค้าจะเอามาขายนะ" (แปลว่า ชุดแกมันอุบาทว์ที่สุด จนชั้นไม่คิดว่าจะมีจริงบนโลกใบนี้)
"แกนี่เป็นคนไม่สนใจใครดีนะ" (แปลว่า แกนี่ไม่เคยแคร์ใครเลยนะ หัดสนใจคนอื่นซะบ้างสิ) 
"อยากให้ลดๆ ความแรงลงมาบ้างนะ" (แปลว่า ฉันเริ่มจะทนเธอไม่ไหวแล้วนะ)
"พักนี้คงเจริญอาหารสินะ" (แปลว่า หล่อนอ้วนขึ้นอืดเป็นหมูสามชั้น ฮิบโป พยูน พะโล้ จนทนดูไม่ได้แล้วนะ  ฯลฯ)

ที่มา https://nyanta.exteen.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=494

อัพเดทล่าสุด