Past Simple Tense: อดีตธรรมดา


867 ผู้ชม


ใช้เมื่อต้องการเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงแล้วในอดีต   


Past  simple  tense:
 ใช้เมื่อต้องการเล่าถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นและจบลงแล้ว ซึ่งต่่าง
                                 จาก Present  simple tense ที่ได้เรียนมาแล้ว
ประเด็น:  การใช้ Past  simple  tense
  ใช้ เมื่อ
                 1. การกระทำนั้นเกิดขึ้นและสิ้นสุดไปแล้วในอดีต ซึ่งมักจะมีคำบ่งเวลาที่เป็นอดีตกำกับอยู่ด้วย คือ
                      yesterday (เมื่อวานนี้)
                      last night (week, month, year) (คืนที่แล้ว, สัปดาห์ที่แล้ว, เดือนที่แล้ว, ปีที่แล้ว)
in 1962 (ในปีค.ศ.1962)
                       ago (ผ่านมาแล้ว)เช่น
                     She walked to school yesterday. (หล่อนเดินมาโรงเรียนเมื่อวานนี้)
                     I went to the cinema with John last night. (เมื่อคืนนี้ผมไปดูหนังกับ John)
               2. เหตุการณ์เคยทำอยู่เป็นประจำในอดีต (แต่เดี๋ยวนี้การกระทำนั้นสิ้นสุดไปแล้ว) เช่น
                     Last year I walked to school every day. (ปีที่แล้วฉันเดินไปโรงเรียนทุกวัน)


เนื้อหา:  สำหรับช่วงชั้นที่  2
เนื้อเรื่อง:  
             Yesterday  was  Satีurday. Sam got up  late  because  he  did  not  go  to  school.  He  took  a  bath  and  dreessed. He  had  breakfast  at  about  nine  thirty. Then  he  helped  his  father  in  the  garden. At  eleven  o'clock  he  wrote  a  letter  to  his  old  friend. In  the  afternoon  he  went  to  the  market  with  his  mother. They  bought  A  lot of  things. His  mother  bought  him some  ice  cream  too. After  dinner  he wased  the  dishes  and  cleaned  the  house.  His parents  gave  him  ten  bant  because  he  was  a  good  boy. Sam was  very  glad.
            ข้อความข้างบนเป็นเรื่องเล่าถึงสิ่งที่แซมทำในวันเสาร์ที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอดีต ดังนั้น คำกริยาที่บอกการกระทำต่างๆจึงต้องใช้ในรูปที่เป็นอดีต (Past simple tense)
            รูปคำกริยา (Verb Form) คือ คำกริยาช่อง 2 ซึ่งใช้กับประธานทุกตัวคำกริยาช่อง 2 มี 2 กลุ่ม คือ
            1. คำกริยาไม่ปกติ (Irregular Verbs)จะเปลี่ยนจากช่อง 1 เป็นช่อง 2 ด้วยการไม่เติม -ed เช่น
                go --> went ไป
                come --> came มา
                sing --> sang ร้องเพลง
                eat --> ate ทาน
            2. คำกริยาปกติ (Regular Verbs)จะเปลี่ยนจากช่อง 1 เป็นช่อง 2 ด้วยการเติม -ed เช่น
                walk --> walked เดิน
                love --> loved รัก
                play --> played เล่น
                study --> studied เรียน, ศึกษา
การเติม -ed ที่ท้ายคำกริยา
             1. คำกริยาช่อง 1 ที่ลงท้ายด้วย e อยู่แล้วให้เติมเฉพาะ d ตัวเดียว เช่น
                  move ---> moved เคลื่อนที่, เคลื่อนย้าย
             2. คำกริยาช่อง 1 ที่เป็นคำพยางค์เดียวมีสระตัวเดียว และมีตัวสะกดตัวเดียว
ต้องเพิ่มตัวสะกด อีก 1 ตัว แล้วจึงเติม ed เช่น
                 plan ---> planned วางแผน
                ยกเว้น ถ้าลงท้ายด้วย h, w, x หรือ y ไม่ต้องเพิ่มตัวสะกด เช่น
                tax ---> taxed เก็บภาษี
           3. คำกริยาช่อง 1 ที่เป็นคำ 2 พยางค์แต่ลงเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์ท้าย
และที่พยางค์ท้ายมีสระตัวเดียว และมีตัวสะกดตัวเดียวต้องเพิ่มตัวสะกดอีก 1 ตัว แล้วจึงเติม ed เช่น          refer ---> referred อ้างถึง
               ยกเว้น ถ้าลงท้ายด้วย h, w, x หรือ y ไม่ต้องเพิ่มตัวสะกด เช่น
               allow ---> allowed อนุญาต
          4. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y ให้พิจารณาดังนี้
               4.1 ถ้าตัวอักษรที่อยู่หน้า y เป็นพยัญชนะต้องเปลี่ยน y เป็น i ก่อน แล้วจึงเติม ed เช่น     study ---> studied เรียน, ศึกษา
              4.2 ถ้าตัวอักษรที่อยู่หน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u)ให้เติม ed ได้ทันที เช่น
            play ---> played เล่น
         5. คำกริยาที่ไม่มีลักษณะพิเศษตามข้อ 1 - 4ให้เติม ed ได้ทันที เช่น
            walk ---> walked เดิน
คำถามนำ
           Past  simple  tense  คืออะไร
           มีวิธีการใช้อย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ

           การเปลี่ยนประโยคจากบอกเล่าให้เป็นปฏิเสธจะต้องคำนึงถึงคำกริยาในประโยคบอกเล่าดังนี้
           1. ถ้าประโยคบอกเล่ามี Verb to beเมื่อเปลี่ยนเป็นประโยคปฏิเสธให้เติมคำว่า "not" ที่ท้าย Verb to be เช่น
บอกเล่า : John was a doctor.
ปฏิเสธ : John was not a doctor.หรือ John wasn't a doctor.
บอกเล่า : They were doctors.
ปฏิเสธ : They were not doctors.หรือ They weren't doctors.
           2. ถ้าประโยคบอกเล่ามีคำกริยาช่วยเมื่อเปลี่ยนเป็นประโยคปฏิเสธให้เติมคำว่า "not" ที่ท้ายคำกริยาช่วย เช่น
บอกเล่า : John could play golf.
ปฏิเสธ : John could not play golf.หรือ John couldn't play golf.
บอกเล่า : They would play golf with John.
ปฏิเสธ : They would not play golf with John.หรือ They wouldn't play golf with John.
         
          3. ถ้าประโยคบอกเล่าไม่มีทั้ง Verb to be และคำกริยาช่วยเมื่อเปลี่ยนเป็นประโยคปฏิเสธให้เติมคำว่า did not (didn't) ที่หน้าคำกริยา(ใช้กับประธานทุกตัว)แล้วเปลี่ยนคำกริยาเป็นรูปเดิม (ช่อง 1) เช่น
บอกเล่า : John played golf with Jim.
ปฏิเสธ : John did not play golf with Jim.(หรือ) John didn't play golf with Jim.
บอกเล่า : They went to Chiangrai yesterday.
ปฏิเสธ : They did not go to Chiangrai yesterday.(หรือ) They didn't go to Chiangrai yesterday.
การบูรณาการกับกลุ่มสาระ
             ภาษาไทย: การฟัง  พูด  อ่าน  เขียน คำ ประโยค
             สังคมศึกษาฯ : การทำงานร่วมกัน
ขอบคุณข้อมูล:   www.freewebs.com
                         คู่มือครูหนังสือเรียนสมบูรณ์แบบภาษาอังกฤษ(วพ)

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1834

อัพเดทล่าสุด