Visakha Puja Day


735 ผู้ชม


It marks the three important events, occurred in the Buddha’s life, namely; His Birth, His Enlightenment, and His Passing away (Parinibbana).   


Visakha Puja Day

The title : Visakha Puja Day

It marks the three important events, occurred in the Buddha’s life, namely; His Birth, His Enlightenment, and His Passing away (Parinibbana). 
The meaning of Visakha Puja Day 
การสอนอ่านเพื่อการจับใจความสำคัญ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่อ่าน
เนื้อหา สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ ระดับช่วงชั้นที่ 4
เนื้อเรื่อง
    Visakha Puja Day falls on the full moon day of May (the sixth lunar month) in each year. The word Visakha Puja comes from the word Visakhapunnamipuja in Pali which means Worshiping on the full moon day of the sixth month. It marks the three important events, occurred in the Buddha’s life, namely; His Birth, His Enlightenment, and His Passing away (Parinibbana).

ความหมายของวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือนหกของทุกปี คำว่า วิสาขบูชา นั้น มาจากภาษาบาลีว่า วิสาขปุณณมีปูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนหก 
เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า


Historical Background

On the full moon day of May (the sixth lunar month), known as Visakha Puja Day, before 623 B.C. there was born a young prince, named Siddhattha at Lumbini park between the borders of Kabilavatthu City and Thevathaha City. His father’s name was King Suddhodana, who was the king of Kabilaphattu City. His mother’s name was Queen Sirimahamaya who lived in Thevathaha City. His mother passed away seven days after his birth. He was later taken care by Pajabodi (his mother’s younger sister). Later on when he grew up at the age of 7 years, he was sent to study with Visavamit who was a famous and well-known teacher during that time. 
When he was 16 years old, he got married to a very beautiful Princess named Yasodhara or Bimba. Thirteen years after their marriage, they had one son whose name was Rahula. One day while traveling to the Royal Garden, he saw four sights, he saw an old man, a sick man, a dead body, and a monk (a Brahmin monk). These made him realize that only a luxurious life could not let him reach the real happiness of life. Later he renounced a worldly life to be a homeless monk at the bank of Anoma river. After being a homeless monk, he wandered from place to place to seek for the real happiness of life. When he was 35 years old, on the full moon day of May (the sixth lunar month), he attained enlightenment which means he had founded the real happiness of life. At that time, he was called as the Buddha which means the Awakened One or the Enlightened One. Not soon after his enlightenment, he started to deliver his teachings for the welfare of mankind. He delivered his first teaching to the Panjavakkiya (the Group of Five Monks)- Kondhanna, Vappa, Bhaddiya, Mahanama, and Assaji. His first teaching was called the Dhammacakkappavattanasutta (setting into the motion of the wheel of Dhamma). After his preaching, Kondhanna, the head of the group, attained the eyes of Dhamma and later asked for the ordination from the Buddha. The Buddha ordained him as the first monk in Buddhism. After that he wandered to preach his teachings for fourty-five years without stopping. And when he was 80 years old, on the full moon day of May (the sixth lunar month), after he had firmly established his teachings to his Orders, he then passed away under the pairs of Sala trees in Kusinara, Malla state. 
These three events (His Birth, His Enlightenment, and His Passing away (Parinibbana)) took place on the same day and month, but difference in year. The importance of Visakha Puja Day As mentioned that Visakha Puja Day is the Day of the Buddha. When considering in this point, we have seen clearly that the Birth of the Buddha was also the Origin of Buddhism. Because the Buddha was born, attained enlightenment, and then established Buddhism. So the Birth of the Buddha and the Origin of Buddhism were very important in the history of humankind. The Birth of the Buddha, the Enlightenment of the Buddha, and the Passing away of the Buddha are meaningful as follows; F The Birth of the Buddha The Birth of the Buddha is the proclaiming of Human freedom from sufferings as his words when he was born at Limbini Park “I am chief of the world, Eldest am I in the world, Foremost am I in the world. This is the last birth. There is now no more coming to be.” He refused any beliefs at that time that human being was not able to develop themselves, because their lives were concerned in the power of Gods. So his birth absolutely refused those beliefs. He believed that human beings had the abilities of developing themselves by their own effort. F The Enlightenment of the Buddha

ประวัติความเป็นมา

ในวันเพ็ญเดือน 6 หรือ วันวิสาขบูชา ก่อนพุทธศก 80 ปี มีเจ้าชายพระองค์หนึ่ง พระนามว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้ประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน ระหว่างพรมแดนเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ พระบิดามีพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ทรงเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองกบิลพัสดุ์ พระมารดามีพระนามว่า พระนางสิริมหามายา หลังจากที่พระองค์ประสูติได้ 7 วัน พระมารดาเสด็จทิวงคต ต่อมาพระองค์ได้รับการเลี้ยงดูจากพระนางปชาบดีโคตมี ผู้ซึ่งเป็นพระมาตุจฉา(พระน้า) ของพระองค์ 
ต่อมาเมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 7 พรรษา พระบิดาได้ส่งพระองค์ไปศึกษาศิลปะวิทยากับครูวิศวามิตร ซึ่งเป็นครูผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น 
เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ทรงทำการอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา หรือ พระนางพิมพา ภายหลังจากการอภิเษกสมรสได้ 13 ปี ทรงมีพระโอรสพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า ราหุล ในวันหนึ่งขณะที่เสด็จประพาสอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง 4 ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุที่ทำให้พระองค์ทรงตระหนักดีว่าชีวิตที่มีแต่ความสะดวกสบายไม่สามารถทำให้พระองค์พบกับความสุขที่แท้จริงของชีวิตได้ ต่อมาได้เสด็จออกผนวช ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา หลังจากทรงออกผนวชแล้ว ได้เสด็จดำเนินไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อแสวงหาสัจธรรมแห่งชีวิต 
เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ทรงบรรลุพระอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งหมายความว่า พระองค์ได้ทรงค้นพบสัจธรรมแห่งชีวิต ณ เวลานั้นเอง พระองค์ได้รับการขนานพระนามใหม่ว่า พุทธะ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่นานหลังจากที่ทรงบรรลุธรรม พระองค์ทรงเริ่มประกาศพระสัทธรรมคำสอนเพื่อสวัสดิภาพแห่งมวลมนุษยชาติ ทรงประทานพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกมีชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (พระสูตรที่ว่าด้วยการหมุนล้อพระธรรม) แก่พระปัญจวัคคีย์ อันประกอบด้วย โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ หลังจากที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบ โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์ ได้ดวงตาเห็นธรรมและต่อมาก็ได้ทูลขออุปสมบทจากพระองค์ พระองค์ได้ประทานการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาซึ่งถือว่าเป็นพระภิกษุรูปแรกที่เกิดขึ้นในโลก ต่อจากนั้น พระองค์เสด็จดำเนินไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่หลักธรรมคำสอนเป็นระยะเวลาถึง 45 พรรษา โดยไม่มีวันหยุด และเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา หลังจากที่ทรงวางหลักคำสอนเอาไว้อย่างมั่นคงดีแล้ว จึงเสด็จดับขันธปรินิพพานใต้ต้นสาละคู่ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันเพ็ญเดือน 6 
ทั้งสามเหตุการณ์ คือ การประสูติ การตรัสรู้และการปรินิพพาน เกิดขึ้นในวันเดียวกัน เดือนเดียวกัน แต่ต่างปีกัน 

ประเด็นการตั้งคำถามเพื่อนำสู่การอภิปรายในชั้นเรียน
1. How do the Buddhists all over the world celebrate  on Visakha Puja Day?
2. What do you do on Visakha Puja Day?
3. Do you know Visakha Puja Day? How do you know?

กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนร่วมระดมความคิดในการประพฤติตนตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าควรปฏิบัติอย่างไร
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  การงานพื้นฐานอาชีพ ภาษาไทย  สุขศึกษา

แหล่งอ้างอิง
แหล่งข้อมูล  https://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=4292.0

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2576

อัพเดทล่าสุด