เวียดนาม คู่แข่งอันตรายด้านการศึกษาของไทย


674 ผู้ชม


การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในเวียตนามที่นำหน้าไทยไปหลายขุม   

Education in Vietnam and Thailand

เนื้อหาเหมาะสำหรับนักเรียน ระดับชั้น ม.4-6

สาระที่ ๔  ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 
มาตรฐาน ต ๔.๒   ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

ตัวชี้วัด ม.4-6/1  ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปความรู้/ข้อมูลต่างๆ จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

เวียดนาม คู่แข่งอันตรายด้านการศึกษาของไทย   เวียดนาม คู่แข่งอันตรายด้านการศึกษาของไทย

ผ่านไปแล้วสำหรับการจัดงานสัมมนาวิชาการ และนิทรรศการการศึกษาไทย the Seminar and Exhibition on Thai Education in Vietnam   ณ นครโฮจิมินห์สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้นำคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของไทยเดินทางไปจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาของสองชาติให้มีความเข้มแข็ง ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของทั้งสองประเทศและภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นการจัดงานครั้งนี้จึงนับเป็นก้าวย่างสำคัญในการสร้างสรรค์โอกาสความ ร่วมมือทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอาเซียนร่วมกันในอนาคต

กิจกรรมสำคัญภายในงานประกอบด้วยการแนะนำ สถาบันอุดมศึกษา การประชุมหารือระหว่างผู้บริหารระดับสูงของไทยและเวียดนาม และการเสวนาทางวิชาการระหว่างไทยกับเวียดนาม

นอกจากการจัดสัมมนาวิชาการและนิทรรศการ ศึกษาไทยแล้ว สกอ.ยังได้นำคณะอาจารย์ไปศึกษาดูงานด้านการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยและ โรงเรียนชั้นนำของเวียดนามอีกด้วย  

ที่โรงเรียน Le Quy Dong High School เป็นโรงเรียนเก่าแก่ของนครโฮจิมินห์ก่อตั้งมากว่า 120 ปี เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปัจจุบันมีนักเรียน 1,400 คนครู 120 คน และได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการเวียดนามให้เป็นโรงเรียนที่พัฒนารูป แบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ คือ จากเดิมครูจะอธิบายให้นักเรียนฟังอย่างเดียว แต่เปลี่ยนเป็นก่อนเข้าเรียนในวิชานั้น ๆ จะให้นักเรียนจับกลุ่มศึกษาบทเรียนแล้วมาพูดหน้าชั้นเรียนให้ครูและเพื่อน ฟัง ซึ่งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนได้ส่งผลให้เด็กมีความเข้าใจในบท เรียนและกล้าคิด กล้าทำมากขึ้นนอกจากนี้การเรียนการสอนทุกวิชาของที่นี่ยังใช้ภาษาอังกฤษเป็น สื่อในการสอนทั้งหมดซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ นักเรียนของที่นี่สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ถึงร้อยละ 85 

ถัดมาที่โรงเรียน Le Hong Phong High School for the gifted ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเช่นกันก่อตั้งมาแล้ว 83 ปี โดยเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและคุณภาพสูงติด 1 ใน 3 ของนครโฮจิมินห์ มีนักเรียน 1,758 คน ครู 142 คน จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส โดยทางโรงเรียนจะให้ความสำคัญในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้กับนักเรียน จากประเทศอื่น ๆ ทำให้สถิติของนักเรียนที่นี่มีความเก่งในระดับชาติถึงร้อยละ 43 ในขณะเดียวกันนักเรียนจากโรงเรียนแห่งนี้ก็สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ถึง ร้อยละ 90

ที่มา https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=42&contentID=67533

นี่คือ ความสามารถของนักเรียน ม.ปลายเวียตนามในการพูดภาษาอังกฤษ และส่งผลงานไปลง youtube

Speaking contest ของนักเรียนไทย

 รศ.ดร.สุนันทา กิ่งไพบูลย์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มองว่าเวียดนามได้พัฒนาการจัดการศึกษาได้ก้าวไกลเกือบจะทัดเทียมประเทศไทย แล้ว อีกทั้งเด็กเวียดนามก็มีความสนใจเรียนภาษาต่างประเทศทำให้สามารถใช้ภาษา อังกฤษสื่อสารได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ภาครัฐมีนโยบายจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ โดยมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถเฉพาะทาง ที่สำคัญรัฐบาลลงทุนเรื่องการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเรียนการสอน ทั้ง ๆ ที่ยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา

เวียตนามได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาจากประเทศเหล่านี้

International Cooperation 
• Argentine: Australia: Belgium Brazil: Canada: China: Czech Republic: 
• France: Germany: Italy: Ireland: Japan: Korea: New Zealand:
• Russia: Singapore Sweden: Taiwan: Thailand: USA: Uzbekistan:

ในขณะที่ผลการวิจัยด้านการศึกษาไทย คือ

2. ปัจจัยหลักในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการ
 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายด้านความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการศึกษาโดยยึดหลักตามแนวทางของ
 2.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ที่มุ่งพัฒนาประเทศแบบองค์รวมโดยยึด "คน" เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีภูมิคุ้มกันที่ดี ในขณะเดยวกันก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้ พร้อมกับได้กำหนดสภาพสังคมไทยที่พึงประสงค์ไว้ 3 ด้าน คือ สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
 2.2 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อันเป็นแผนแม่บทที่สนับสนุนให้เกิดระบบบริหารและการจัดการแบบกระจายอำนาจ เสริมสร้างคุณภาพของการจัดการศึกษา หลักสูตร สื่อ กระบวนการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล ตลอดจนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
 2.3 นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิน ชินวัตร ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 มุ่งเน้นที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะเชิงรุกที่ยึดหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่าเสมอภาค และจะมุ่งส่งเสริมและขยายสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศในมิติต่างๆ เช่น รัฐบาลจะสานต่อความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ร่วมมือักบประเทศอาเซียนในการเร่งจัดตั้งประชาคมอาเซียน ขยายความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างทัดเทียมกัน ยึดมั่นต่อพันธกรณีกรอบความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ที่ไทยเป็นภาคีสมาชิก สนับสนุนให้คนไทยมีบทบาทสำคัญในเวทีองค์การระหว่างประเทศและนโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของรัฐบาล

3. การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการดำเนินความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการศึกษา
 จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการวิจัย เรื่อง ยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านความร่วมมือกับต่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทยตามกรอบความร่วมมือพหุภาคี/ทวิภาคี ปี พ.ศ. 2548-2549 พบว่า ปัญหางานความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการศึกษาของประเทศไทย มีดังนี้
 3.1 นโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการศึกษาของประเทศไทยยังขาดความเป็นเอกภาพ หน่วยงานมักดำเนินกิจกรรม/โครงการที่เป็นไปในลักษณะเชิงรับมากกว่าเชิงรุก นอกจากนี้การดำเนินการตามนโยบายยังไม่มีความต่อเนื่อง และขาดการติดตามประเมินผลที่เป็นระบบ
 3.2 การปฏิบัติงานด้านต่างประเทศของหลายๆ หน่วยงานยังขาดการประสานงานในลักษณะเครือข่ายที่เข้มแข็ง การทำงานส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ส่งผลให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อนขึ้น ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาโดยเฉพาะเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
 3.3 ผู้ปฏิบัติงานด้านต่างประเทศ ยังขาดการพัฒนาศักยภาพทั้งในเรื่องการใช้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษและทักษะนานาชาติ ซึ่งการที่จะพัฒนางานด้านความร่วมมือกับต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านต่างประเทศ ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษา ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาด้วย
 นอกเหนือจากการวิเคราะห์สภาพเแวดล้อมข้างต้นแล้ว การกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความสำคัญของเงื่อนไขและปัจจัยภายนอกหน่วยงานที่เป็นตัวกำหนดที่สำคัญ เงื่อนไขและปัจจัยภายนอกที่ถือว่ามีผลกระทบต่อการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการมาก 
 3.4 การเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของโลกดำเนินไปอย่างรวดเร็วโดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวนำ การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (Value Creation from Knowleadge Application) ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นเป็นหลักการพื้นฐานหนึ่งของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศควบคู่ไปกับหลักการพื้นฐานด้านการสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงยั่งยืน นโยบายสังคมเชิงรุกและการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีการปรับตัวให้สามารถพร้อมรับและรุกเข้าสู่การพัฒนาที่เน้นการแข่งขันบนฐานความรู้และความก้าวนห้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายให้ประเทศมีความสามารถและภูมิคุ้มกันเพื่อการอยู่รอดได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

ที่มา www.bic.moe.go.th/fileadmin/workshop/top/p1.doc
 

คำถามนำสู่การอภิปรายชั้นเรียน :

1. Which country is better in education : Thailand or Vietnam?

2. Can you tell me something about Vietnam?

3. Do you think Vietnamese students or Thai students study abroard more?

กิจกรรมเสนอแนะ :

   หาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนของประเทศเวียตนามและนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน

การบูรณาการกับสาระอื่น :

    กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพฯ

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2624

อัพเดทล่าสุด