แม่ของแผ่นดิน


660 ผู้ชม


12 สิงหาคม วันแม่ของแผ่นดิน   

แม่ของแผ่นดิน

https://www.google.co.th/imglanding?

วันแม่ของแผ่นดิน

          สมเด็จพระนางสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพ ในวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ทรงเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ ในพระวรศ์กรมหมื่นจันบุรีสุรนาถและหม่องหลวงบัวกิติยากร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อทรงพระราชสมภพทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่องราชวงศ์และพระนาม “สิริกิติ์” ซึ่งมีความหมายว่า “ยังความปลาบปลื้ม ยินดี และเกียรติยศ มาสู่ตระกูลกิติยากร” นั่นเป็นพระนาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ พระราชทานให้

เนื้อหาสำหรับทุกช่วงชั้น

         สมเด็จพระนางสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพ ในวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ทรงเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ ในพระวรศ์กรมหมื่นจันบุรีสุรนาถและหม่องหลวงบัวกิติยากร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อทรงพระราชสมภพทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่องราชวงศ์และพระนาม “สิริกิติ์” ซึ่งมีความหมายว่า “ยังความปลาบปลื้ม ยินดี และเกียรติยศ มาสู่ตระกูลกิติยากร” นั่นเป็นพระนาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ พระราชทานให้

       หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เริ่มเข้ารับการศึกษาในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินีล่าง แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง พระบิดาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครราชฑูตไทยประจำประเทสฝรั่งเสสและประเทศ เดนมาร์ก และต่อมาทรงดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จึงได้ย้ายตามพระบิดาไปศึกษาต่อในประเทศยุโรป และ ณ ที่นี้นี่เองที่พระองค์ได้ทรงพบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล            

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงประกอบพิธีหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และในเดือนมีนาคมของปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และหม่อมราชวงสิริกิติ์ พร้อมทั้งครอบครัวตามเสด็จ เพื่อทรงประกอบพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8 ) ครั้นถึงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 เวลา 9.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้นในวังสระปทุม และในปีเดียวกันนี้ของวันที่ 5 พฤษภาคม ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี

             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 4 พระองค์ คือ
              1. สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา ศิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
              2. สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณื สยามมกุฎราชกุมาร ประสูติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ณ กรุงเทพมหานครฯ
              3. สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ กรุงเทพมหานครฯ
              4. สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 280% ณ กรุงเทพมหานคร

              เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะในบวรพระพุทธศาสนา ได้ทรงผนวช สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นผลดีทุกประการ ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ”

              สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นอกจากจะทรงดำรงฐานะเป็นพระบรมราชินีนาถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ พระมารดาของพระราชโอรสและพระราชธิดาของทุกพระองค์แล้ว ยังอุทิศพระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ เพื่อความเป็นอยู่ทีดีของเหล่าพสกนิกรชาวไทย และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติอีกด้วย พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังถิ่น ทุรกันดาร เพื่อทรงหาแหล่งเพิ่มพูนรายได้เสริม ในช่วงนอกฤดูการเก็บเกี่ยว ให้แก่เหล่าพสกนิกร หรือแม้ในพื้นที่แห้งแล้งหรือประสบอุทกภัย และเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ขัดสนในชนบท ให้มีรายได้พอเลี้ยงตนเองได้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง “มูลนิธิศิลปาชีพพิเศษ” ขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎคม พ.ศ. 2519 และมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นนี้ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทุกวันนี้ ประชาชนผู้ยากไร้ หลายพันคน พร้อมทั้งครอบครัว ต่างได้รับประโยชน์จากพระมหากรุณาธิคุณ อันล้นพ้นในครั้งนี้

           เพื่อเทิดพระเกียรติ ต่อพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ วันที่ 12 สิงหาคม จึงจัดให้เป็นวันหยุดแห่งชาติ

คำถามนำในการเรียนรู้

              แม่ของแผ่นดินหมายถึงใคร

              ทำไหมถึงมีความสำคัญของแผ่น

              วันที่เท่าไรเป็นวันแม่ของแผ่นดิน

กิจกรรมเสนอแนะ

              การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

              ภาษาไทย    คณิตศาสตร์    สังคมศึกษาฯ การงานฯ

ขอบคุณเนื้อหา : https://www.samunpri.com/thaiholiday/?page_id=99

                          ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3032

อัพเดทล่าสุด