การศึกษาพม่า ที่ล้าหลังการศึกษาไทย จะพัฒนาหรือไม่ในยุคอองซานซูจี


4,199 ผู้ชม


ดูการศึกษาพม่าที่เคยล้ม และกำลังจะลุกขึ้นมาต่อสู้กับไทย ภายใต้การนำของอองซานซูจี   
การศึกษาของพม่า
เนื้อหาเหมาะสำหรับนักเรียน ระดับชั้น ม.4-6 
สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 
มาตรฐาน ต ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก 
ตัวชี้วัด ม.4-6/1 ใช้ภาษาต่าง ประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปความรู้/ข้อมูลต่างๆ จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า 
Republic of the Union of Myanmar

เมืองหลวง เนปีดอ Naypyidaw

อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นร่างกุ้งเหมือนสมัยก่อนนะคะ

รัฐบาลทหารพม่าได้เริ่มโยกย้ายกระทรวงต่าง ๆ ไปยังเมืองเนปีดอว์ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2548 ในเวลา 06.37 น. ตรง และอีก 5 วันต่อมาก็ได้ทำการโยกย้ายต่อด้วยการใช้รถขนส่งทหาร 1,100 คัน บรรทุกทหาร 11 กองพล และ 11 กระทรวงไปยังเมืองเนปีดอว์อีกครั้งหนึ่ง โดยกำหนดไว้ว่ากระทรวงต่าง ๆ จะเข้าที่เข้าทางปฏิบัติงานได้ตามปกติในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2549 แต่ข้าราชการเป็นจำนวนมากก็ต้องแยกกับบุตรหลานของตนเนื่องจากไม่มีโรงเรียน เพียงพอใน บริเวณเนปีดอว์ สำหรับกองบัญชาการทหารนั้นมีสัดส่วนของตนแยกไปจาก กระทรวง แต่ห้ามไม่ให้ประชาชนเข้าไปทั้งสองบริเวณ ส่วนพวกพ่อค้าแม่ค้าให้ขายของในบริเวณที่จัดไว้ให้ใกล้ ๆ กลุ่มกระทรวง นอกจากนี้ก็ยังมีการกวดขันการใช้โทรศัพท์มือถือและโทรทัศน์ดาวเทียมด้วย

ไม่มีผู้ใดทราบถึงเหตุผลที่แท้จริงของการย้ายเมืองหลวงของพม่า และก็ได้คาดเดากันไปต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่า เนปีดอว์มีทำเลยุทธศาสตร์ดีกว่ากรุงย่างกุ้งเพราะอยู่ในตอนกึ่งกลางของ ประเทศและอยู่ห่างจากฝั่งทะเล พม่าเคยใช้เนปีดอว์เอาชัยชนะเหนือผู้รุกรานที่เข้มแข็งกว่าเช่นญี่ปุ่นมาได้ และหากจะถูกโจมตีอีกครั้งหนึ่งด้วยกองกำลังที่เหนือกว่าเช่นของสหรัฐก็จะ สามารถเอาชัยชนะได้อีก อย่างไรก็ตาม นายพลอาวุโสตาน ฉ่วย ก็ได้ปฏิเสธทฤษฎีนี้ไปแล้วว่าไม่มีมูลความจริง อีกกลุ่มหนึ่งก็ให้เหตุผลว่าเนปีดอว์อยู่ใกล้กับรัฐไทยใหญ่ คะฉิ่น และกะเหรี่ยง มากกว่าย่างกุ้งซึ่งมีการสู้รบกับฝ่ายทหารพม่าอยู่เนือง ๆ และจะสามารถดูแลความสงบเรียบร้อยได้ดีกว่าถ้ากองบัญชาการทหารจะตั้งอยู่ใน บริเวณนี้ อีกกลุ่มหนึ่งก็เห็นว่ารัฐบาลพม่ามีความเกรงกลัวการลุกฮือของประชาชนในเมือง ใหญ่เป็นอย่างมากและเห็นว่าจะทำการปราบปรามได้สะดวกกว่าจากเนปีดอว์ กลุ่มสุดท้ายกล่าวว่าสาเหตุที่แท้จริงมาจากคำพยากรณ์ของหมอดูส่วนตัวของนาย พลตาน ฉ่วยซึ่งทำนายว่า หากไม่มีการย้ายเมืองหลวง รัฐบาลพม่าจะต้องล่มสลายในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2549 สรุปก็คือยังไม่มีผู้ใดทราบถึงเหตุผลที่แท้จริง

การบริหารการศึกษาในพม่า

กระทรวงศึกษาธิการของพม่า เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาของประเทศ  ใช้ระบบการศึกษาเป็นระบบ 5 :4 : 2  ดังนี้ :-
• ประถมศึกษา  5  ปี (อนุบาล  1  ปี และประถม  4  ปี)
•  มัธยมศึกษาตอนต้น  4  ปี
• มัธยมศึกษาตอนปลาย  2  ปี
   และอาชีวศึกษา  1- 3 ปี  อุดมศึกษา 4 -6 ปี
 กรมการศึกษาพื้นฐานของพม่า เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางนโยบายและบริหารการศึกษาระดับก่อน ประถมศึกษา  มัธยมศึกษา  รวมทั้งการฝึกหัดครู  แต่เดิมนั้นเป็นระบบบริหารซึ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง  ต่อมาได้มีการกระจายอำนาจการบริหารออกไปสู่ระดับรัฐและหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีหัวหน้าส่วนการศึกษานั้น ๆ เป็นผู้ควบคุมดูแลและประสานงาน  รัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียน  โดยนักเรียนจะเสียค่าเล่าเรียนเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น
   การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของพม่านั้น  พม่าพยายามที่จะจัดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ แต่ยังมีปัญหาที่ไม่สามารถจัดหาอาคารสถานที่  วัสดุและอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนในบางท้องที่ได้  รัฐบาลพม่าได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้มีโรงเรียนอย่างน้อยหนึ่งแห่งในทุกหมู่ บ้าน
  กรมการเทคโนโลยี  เกษตรและอาชีวศึกษา  เป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการศึกษาด้านเกษตรกรรม  พณิชยกรรม วิศวกรรมเครื่องกล  การประมง  คหกรรมและการฝึกหัดครู  ทางด้านช่างเทคนิค  
การเรียน-การสอนมีทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา  มีทั้งหลักสูตรระยะยาวและระยะสั้น  เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในสภาพเศรษฐกิจและสังคมของพม่าที่กำลังเปลี่ยนแปลง
  กรมอุดมศึกษา  ทำหน้าที่วางแผนนโยบายและดำเนินการด้านอุดมศึกษาของประเทศ  จัดการศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัย ใน  3  เมืองสำคัญ  คือ  มหาวิทยาลัย  Yangon  Mandalay และ Manlamyine  นอกจากนี้ยังมีสถาบันเทคโนโลยีที่จัดการศึกษาวิชาชีพระดับสูงที่ใช้เวลาใน การศึกษา 4-6 ปี  ตามลักษณะวิชาอีกด้วย 

ชุดนักเรียนของพม่า

ชุดที่วางขายตามท้องตลาด

-ชุดนักเรียนพม่าเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาวและโสร่งสีเขียวอ่อนๆ
-โรงเรียนพม่าเรียนแค่ครึ่งวัน
-นักเรียนพม่าเรียนหนังสือโหด และหนักกว่าเด็กไทยมากนัก โรงเรียนสอนแค่ครึ่งวัน แต่ครึ่งวันที่เหลือจะต้องไปหาเรียนพิเศษเอาเอง
-โรงเรียนพม่ามีแค่ สิบชั้น
-การศึกษาพม่ายังเป็นแบบท่องจำอยู่ ท่องจำในที่นี้คือ ท่องทุกตัวอักษร ทั้งหน้า และทั้งเล่ม (อันนี้จริงๆ อนุญาตให้ตกใจได้อีกรอบ)

ตัวอักษรพม่าที่นักเรียนต้องท่องจำ

-มหาลัยพม่าตอนนี้ปิดอยู่ ซึ่งนับปีนี้ก็คงจะร่วมๆ สี่สิบปีแล้ว
-มีแค่ไม่กี่คณะทีเปิดเรียน...ซึ่งจำไม่ได้แล้ว คือคณะอะไรบ้าง
-Toefl Toeic เป็นอะไรที่เด็กพม่าไม่สอบกัน เพราะง่ายไป
-เด็กพม่าสอบ GCE กันมากกว่า
-ข้อสอบภาษาอังกฤษ GCE มีแค่ห้าข้อ
คือ เขียนเรียงความในหัวข้อที่กำหนด
เขียนแบบฟรีสไตส์ หนึ่งหน้ากระดาษ เอ๊ะ ทำไมเค้าเขียนกันได้ แล้วเด็กไทยล่ะ

มหาวิทยาลัยในพม่า

 

State Pariyatti Sasana University Mandalay

 

University of Medicine, Mandalay

 

Yangon University

อองซานซูจี ผู้ที่จะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่การศึกษาพม่า

ประวัติ

เส้นทางชีวิตและการต่อสู้ที่เต็มไปด้วยขวากหนามของหญิงเหล็กนาม อองซานซูจี (มติชนออนไลน์)

          วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2488 ทารกหญิงนาม  อองซานซูจี ลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรก เธอคือบุตรสาวคนสุดท้องของนายพลอู ออง ซาน "วีรบุรุษอิสรภาพของประเทศพม่า" ผู้นำการต่อสู้กับญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร จนนำไปสู่การได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราชของสหภาพพม่าเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 และนางดอว์ขิ่นจี
          วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 นายพลอู ออง ซาน ถูกลอบสังหาร ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราช ขณะที่ออง ซาน ซูจี มีอายุเพียง 2ขวบ

นายพลอู ออง ซาน และนางดอว์ขิ่นจี บิดาและมารดาของ อองซานซูจี

        พ.ศ. 2503 ดอว์ขิ่นจี มารดาของ ออองซานซูจี ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่าประจำประเทศอินเดีย ซูจี จึงถูกส่งเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่ประเทศดังกล่าว
          พ.ศ. 2507 - 2510 อองซานซูจี เดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่เซนต์ฮิวจส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ในช่วงเวลานั้น เธอได้พบรักกับ "ไมเคิล อริส" นักศึกษาสาขาวิชาอารยธรรมทิเบต ภายหลังจบการศึกษา เธอเดินทางไปมหานครนิวยอร์ก เพื่อเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการตั้งคำ ถามเกี่ยวกับงบประมาณและการจัดการ ของสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เป็นเวลา 3 ปี โดยในช่วงเวลาดังกล่าว องค์การสหประชาชาติมีเลขาธิการเป็นชาวพม่าชื่อนายอูถั่น
          พ.ศ. 2515 อองซานซูจี แต่งงานกับ ไมเคิล อริส และย้ายไปอยู่กับสามีที่ราชอาณาจักรภูฏาน ซูจี ได้งานเป็นนักวิจัยในกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลภูฏาน ขณะที่ไมเคิลมีตำแหน่งเป็นหัวหน้ากรมการแปล รวมทั้งทำหน้าที่ถวายการสอนแก่สมาชิกของราชวงศ์ภูฏาน

ไมเคิล อริส และ อองซานซูจี

พ.ศ.  2516 - 2520 อองซานซูจี และสามีย้ายกลับมาพำนักที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ อริสได้งานสอนวิชาหิมาลัยและทิเบตศึกษา ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ส่วน ซูจี ให้กำเนิดบุตรชายคนแรก "อเล็กซานเดอร์" ในปี พ.ศ. 2516 และบุตรชายคนเล็ก "คิม" ในปี พ.ศ. 2520ในช่วงเวลานี้ ซูจี เริ่มทำงานเขียนและงานวิจัยเกี่ยวกับชีวประวัติของบิดาและยังช่วยงานวิจัยด้านหิมาลัยศึกษาของสามีด้วย
          พ.ศ. 2528 - 2529 อองซานซูจี ได้รับทุนวิจัยจากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ให้ไปทำวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของนายพลอู ออง ซาน ที่ประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ไมเคิล อริสได้รับทุนให้ไปทำวิจัยที่ Indian Institute of Advanced Studies ที่เมืองซิมลา ทางภาคตะวันออกของอินเดีย ต่อมา ซูจี ได้รับทุนให้ไปทำวิจัยที่ Indian Institute of Advanced Studies เช่นกัน
          พ.ศ. 2530 อองซานซูจี และสามีพาครอบครัวย้ายกลับมาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เธอเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ London School of Oriental and African Studies ณ กรุงลอนดอน โดยทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับวรรณคดีพม่า
          เดือนมีนาคม พ.ศ. 2531 อองซานซูจี ในวัย 43 ปี เดินทางกลับบ้านเกิดที่กรุงย่างกุ้ง เพื่อมาพยาบาล ดอว์ขิ่นจี มารดาที่กำลังป่วยหนัก ในขณะนั้นเป็นช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและมีความวุ่นวายทางการเมืองใน ประเทศพม่า ประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาชุมนุมเคลื่อนไหวกดดันให้นายพลเนวิ นที่ยึดอำนาจการปกครองมายาวนานถึง 26 ปี ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP)
          วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 นายพลเนวินลาออกจากตำแหน่ง จนตามมาด้วยการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาและประชาชนหลายแสนคนใน กรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงของพม่า ก่อนที่การชุมนุมจะแพร่ลามไปทั่วประเทศ
          วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ผู้นำทหารได้สั่งการให้ใช้กำลังอาวุธสลายการชุมนุมของประชาชนนับล้านคนที่ รวมตัวกันเรียกร้องประชาธิปไตยในกรุงย่างกุ้งและเมืองต่างๆ ทั่วประเทศพม่า ทำให้ผู้ร่วมชุมนุมหลายพันคนเสียชีวิต ทั่วโลกรู้จักเหตุการณ์ดังกล่าวในนาม"เหตุการณ์วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 (ค.ศ. 1988)"
          วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2531 อองซานซูจี เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรก โดยส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลเรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระ เพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไป
          วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2531 อองซานซูจี ขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรกต่อหน้าฝูงชนประมาณ 500,000 คน ที่มาชุมนุมกัน ณ มหาเจดีย์ชเวดากอง เธอเรียกร้องให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย แต่ผู้นำทหารกลับจัดตั้ง "สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ" หรือ สลอร์ค (The State Law and Order Restoration Council : SLORC) ขึ้นแทน รวมทั้งได้ทำการปราบปรามสังหารและจับกุมผู้ต่อต้านอีกหลายร้อยคน
          วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2531 อองซานซูจี ได้ร่วมจัดตั้ง "พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย" หรือเอ็นแอลดี (National League for Democracy: NLD) ขึ้นมา และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค
          วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2531 มารดาของ อองซานซูจี คือ ดอว์ขิ่นจี เสียชีวิต
          วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 รัฐบาล ทหารพม่าใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกสั่งกักบริเวณ ออง ซาน ซูจี ให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็นครั้งแรก เป็นเวลา 3 ปี โดยไม่มีข้อหา และได้จับกุมสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่เรือนจำอินเส่ง ซูจี อดอาหารเพื่อประท้วงและเรียกร้องให้นำเธอไปขังรวมกับสมาชิกพรรคคนอื่นๆ ต่อมาเธอยุติการอดอาหารประท้วงเมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารให้สัญญาว่าจะปฏิบัติ ต่อสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีซึ่งถูกคุมขังไว้ในเรือนจำเป็นอย่างดี
          วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 แม้ ว่า อองซานซูจี ยังคงถูกกักบริเวณอยู่ แต่พรรคเอ็นแอลดีของเธอกลับได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไป รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าในนามของสลอร์คปฏิเสธที่จะถ่ายโอนอำนาจให้แก่ผู้ชนะ การเลือกตั้ง ทว่าได้ยื่นข้อเสนอให้ ซูจี ยุติบทบาททางการเมืองด้วยการเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปใช้ชีวิตกับครอบครัว ที่ประเทศอังกฤษ เธอปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว รัฐบาลทหารจึงมีคำสั่งยืดเวลาการกักบริเวณ อองซานซูจี จาก 3 ปี เป็น 5 ปี และเพิ่มเป็น 6 ปีในเวลาต่อมา
          วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2534 คณะกรรมการรางวัลโนเบลแห่งประเทศนอร์เวย์ประกาศให้ อองซานซูจี เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่เธอไม่มีโอกาสเดินทางไปรับรางวัลด้วยตัวเอง ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน อเล็กซานเดอร์และคิมเดินทางไปรับรางวัลแทนมารดาที่กรุงออสโล อเล็กซานเดอร์กล่าวกับคณะกรรมการและผู้มาร่วมเป็นเกียรติในพิธีว่า "ผมรู้ว่าถ้าแม่มีอิสรภาพและอยู่ที่นี่ในวันนี้ แม่จะขอบคุณพวกคุณพร้อมกับขอร้องให้พวกคุณร่วมกันสวดมนต์ให้ทั้งผู้กดขี่และ ผู้ถูกกดขี่โยนอาวุธทิ้ง และหันมาร่วมกันสร้างชาติด้วยความเมตตากรุณาและจิตวิญญาณแห่งสันติ"
          วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 อองซานซูจี ได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณครั้งแรก แต่เธอไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างอิสระ เพราะถูกห้ามไม่ให้ปราศรัยต่อหน้าฝูงชน และเมื่อเธอพยายามเดินทางออกจากบ้านพักเพื่อไปพบปะฝูงชน เจ้าหน้าที่รัฐจะติดตามไปทุกแห่งหนพร้อมกับจัดตั้งฝูงชนอีกกลุ่มหนึ่งมา พยายามทำร้ายเธอและเพื่อนร่วมคณะ ซูจี จึงดำเนินการต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี ผ่านการใช้วิธีเขียนจดหมาย เขียนหนังสือ บันทึกวิดีโอเทป เพื่อส่งผ่านข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลทหารพม่าของเธอออกมาสู่ประชาคมโลกอย่าง ต่อเนื่อง
          เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 อองซานซูจี นั่งประท้วงอยู่ในรถยนต์ของเธอเป็นเวลาห้าวัน หลังจากถูกตำรวจสกัดขัดขวางไม่ให้รถยนต์คันดังกล่าวเดินทางออกจากกรุง ย่างกุ้งเพื่อไปพบปะกับบรรดาสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี
          เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2541 ออ งซานซูจี ถูกสกัดกั้นไม่ให้เดินทางไปพบปะกับบรรดาสมาชิกพรรคของเธออีกครั้งหนึ่ง เธอใช้ความสงบเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเวลาหกวัน กระทั่งเสบียงอาหารที่เตรียมไปหมด จากนั้น ซูจี ถูกบังคับให้กลับไปยังบ้านพักในย่างกุ้ง

วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2542 ไมเคิล อริส เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่ประเทศอังกฤษ โดยก่อนหน้านั้นอริสพยายามขอวีซ่าเข้าประเทศพม่าเพื่อพบกับ อองซานซูจี เป็นครั้งสุดท้าย ในช่วงที่เขากำลังป่วยหนัก แต่รัฐบาลทหารไม่อนุมัติวีซ่าให้โดยอ้างว่าในประเทศพม่าไม่มีสิ่งอำนวยความ สะดวกให้แก่ผู้ป่วยอย่างเขา ขณะเดียวกันรัฐบาลเผด็จการกลับพยายามผลักดัน อองซานซูจี ให้เดินทางออกนอกประเทศไปเยี่ยมเยียนผู้เป็นสามี แต่ ซูจี ซึ่งขณะนั้นกำลังพ้นโทษจากการถูกกักบริเวณ ไม่มีความประสงค์ที่จะเดินทางออกนอกประเทศ เพราะวิตกว่าเธอจะไม่ได้รับการอนุญาตให้เดินทางกลับมายังพม่าอีก
          วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 อองซานซูจี และสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีจะเดินทางไปดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ถูกตำรวจสกัดกั้นไม่ให้เดินทางออกพ้นชานกรุงย่างกุ้ง ซูจี ยืนยันที่จะดำเนินการตามเจตนารมณ์ของตนเอง โดยใช้วิธีเผชิญหน้ากับตำรวจอย่างสงบอยู่ ณ จุดที่ถูกสกัดเป็นเวลานานเก้าวัน จนถึงวันที่ 2 กันยายน ตำรวจปราบจลาจลร่วม 200 นาย พร้อมอาวุธครบมือจึงได้บังคับนำเธอกลับเข้าเมือง สองสัปดาห์ต่อมา ซูจี พร้อมคณะผู้นำพรรคฝ่ายค้านเดินทางไปที่สถานีรถไฟเพื่อซื้อตั๋วโดยสารออกจาก เมืองย่างกุ้ง แต่รัฐบาลทหารได้ส่งหน่วยรักษาความปลอดภัยพิเศษไปควบคุมตัวเธอกลับบ้านพัก พร้อมทั้งวางกำลังเจ้าหน้าที่ควบคุมจุดต่างๆ บนถนนหน้าบ้านพักของ ซูจี และไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าพบปะเยี่ยมเยียนเธอ
          วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2543 อองซานซูจี ถูกกักบริเวณโดยปราศจากข้อกล่าวหาและความผิดอีกเป็นครั้งที่สอง เป็นเวลานาน 18เดือน
          เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2545 อองซานซูจี ได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณครั้งที่สอง
          วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2546 เกิดเหตุปะทะกันระหว่างมวลชนจัดตั้งของรัฐบาลกับกลุ่มผู้สนับสนุน อองซานซูจี ระหว่างที่เธอเดินทางไปพบปะกับประชาชนในเมืองเดพายิน ทางตอนเหนือของพม่า ทำให้ ซูจี ถูกสั่งกักบริเวณให้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านพักอีกเป็นครั้งที่สาม ตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน

          วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศพม่า  นับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของพม่าในรอบ 20 ปี

         วันที่ 13พฤศจิกายน 2553  เธอได้รับการปล่อยตัวจากรัฐบาลทหารพม่า หลังจากถูกกักตัวให้อยู่แต่ในบ้าน ถึง 7 ปี
          เมษายน พ.ศ.2555 อองซาน ซูจีกำลังจะชนะการเลือกตั้ง เป็นผู้นำของพม่า ถ้าไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้น
         

คลิปวีดีโอด้านล่างเป็นประวัติชีวิต เรื่องราวของอองซานซูจีที่ประชาชนทำให้ด้วยความรัก

 High school ของพม่า

แข่งกันเรียนเผื่อจะได้ทุนไปเรียนต่างประเทศบ้าง
บันทึกการศึกษาในพม่าจากการเล่าของแม่

เดือนมิถุนายนนี้ ลูกชายของฉันก็จะมีอายุครบห้าขวบกับอีกสี่เดือน ซึ่งตรงกับช่วงโรงเรียนเปิดพอดี และคงถึงเวลาที่จะต้องพาลูกเข้าโรงเรียนเสียทีในประเทศพม่านั้นเริ่มฝาก เรียนอนุบาลกันตั้งแต่ห้าขวบขึ้นไป พอหกขวบก็จะขึ้นชั้น ป.1 และเมื่ออายุเก้าขวบก็จะจบชั้นประถมคือชั้น ป.4 อันที่จริงลูกชายของฉันเริ่มเรียนอนุบาลตั้งแต่อายุ สามขวบ ซึ่งในชั้นอนุบาลผู้ปกครองจะให้เด็กๆ เรียนหรือไม่เรียนก็ได้ โรงเรียนอนุบาลมีให้เลือกสองประเภทคือ โรงเรียนรัฐ กับ โรงเรียนเอกชน ค่าเทอมจะแตกต่างกันไปแม้ว่าจะเป็นโรงเรียนของรัฐก็ตาม โรงเรียนอนุบาลทุกแห่งในพม่าไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ แต่อยู่ ภายใต้องค์กรด้านการพัฒนาสังคม และส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะฝากเลี้ยงมากกว่า มีบางแห่งเท่านั้นที่สอนหนังสือให้แก่เด็ก ส่วนการส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่น ๆ ตามช่วงวัย ผู้ปกครองที่มีฐานะดีก็จะต้องจ่ายเงินเพิ่มหรือหาที่เรียนเสริมกันเอาเอง

กฎหมายของประเทศพม่าบังคับให้เด็กทุกคนต้องเรียนหนังสือในระดับประถม โดยมีนโยบายเรียนฟรี (เฉพาะค่าเทอม ไม่รวมค่าอื่นๆ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าค่าเทอม) ถ้าผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกดำเนินคดี ดังนั้นเมื่อใกล้เปิดเทอมเราจึงได้เห็นเจ้าหน้าที่จากโรงเรียนต่างๆ ออกมารณรงค์ให้เด็กๆ ไปโรงเรียน เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ของรัฐก็มักจะตีพิมพ์ว่าผู้ปกครองทุกคนควรพาเด็กไป สมัครเรียน เป็นต้น สำหรับฉันแล้ว การเลือกโรงเรียนให้ลูกนั้น ควรเลือกโรงเรียนที่เรารู้จักเป็นอย่างดี เพราะหากเกิดปัญหาอะไรขึ้น เราจะสามารถพูดคุยปรึกษากับทางโรงเรียนได้ แต่สำหรับเด็กและผู้ปกครองในชนบทอาจไม่มีทางเลือกมากนัก เพราะเพียงแค่ในหมู่บ้านมีโรงเรียนและครูก็ถือเป็นเรื่องที่โชคดีมากแล้ว

และหากจะฝากลูกเข้าโรงเรียน พ่อแม่ต้องเตรียมพร้อมไว้หลายอย่าง ตั้งแต่ชุดนักเรียน กระเป๋า สมุด อุปกรณ์เครื่องเขียนและค่าเทอม บางครั้งผู้ปกครองยังต้องจ่ายค่าสร้างห้องน้ำในโรงเรียน ค่าทำสนามเด็กเล่น ค่าติดตั้งแอร์ในห้องคอมพิวเตอร์ ค่าตู้หนังสือ ค่าเก้าอี้อีกสารพัด แทนที่รัฐบาลต้องซื้อให้โรงเรียนแต่ผู้ปกครองกลับต้องจ่ายทุกอย่างนอกจากนี้ โรงเรียนในพม่าบางแห่งไม่มีพื้นที่สำหรับสนามเด็กเล่น โดยเฉพาะโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในกรุงย่างกุ้ง และที่สำคัญผู้ปกครองต้องเตรียมอาหารกลางวันจากบ้านไว้ให้ลูกด้วย เพราะทางโรงเรียนไม่มีงบอาหารกลางวัน เด็กที่ยากจนจึงอาจไม่ได้ทานอาหารกลางวัน ด้วยเหตุนี้ ตัวเลขนักเรียนที่สมัครเรียนช่วงเปิดเทอมจึงมีจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่พอใกล้จะจบชั้นประถมจะเหลือประมาณ 75เปอร์เซ็นต์ ส่วนเด็กที่จะเรียนต่อจนจบชั้น ม.ต้นจะเหลือแค่ 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตัวเลขนักเรียนจะลดลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายแล้วมีเด็กที่จบ ม.ปลายแค่40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

หลังจากประเทศพม่าได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ มีโรงเรียนเอกชนของมิสชั่นนารีคริสเตียนอยู่หลายแห่ง ว่ากันว่า ไม่เว้นแม้แต่นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเองก็ยังส่งลูกเข้าเรียนที่โรงเรียน เอกชนเหล่านี้ ซึ่งค่าเทอมแพงกว่าโรงเรียนรัฐหลายเท่า เพราะโรงเรียนประเภทนี้เน้นการสอนภาษาอังกฤษแต่หลังจากรัฐบาลทหารขึ้นปกครอง ประเทศก็ฮุบเอากิจการทุกอย่างที่เป็นของประชาชนไปเป็นของรัฐแทน ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมา ประเทศพม่าจึงมีแต่โรงเรียนของรัฐเพียงอย่างเดียว ฉันเริ่มเห็นโรงเรียนเอกชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะหลังไม่กี่ปีมานี้เองเนื่องจากความต้องการของประชาชนและผู้สนใจธุรกิจ การศึกษาเพิ่มมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงการศึกษาในพม่า ดูเหมือนว่า เด็กๆ ที่ได้รับความรู้และได้รับประโยชน์จากโรงเรียนจริงๆกลับเป็นเด็กที่เข้า เรียนโรงเรียนวัดมากกว่า

แม้ว่าโรงเรียนวัดจะเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และอาจถูกรัฐบาลสั่งปิดเมื่อไหร่ก็ได้ แต่จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจตกต่ำโรงเรียนวัดเหล่านี้จึงเป็นที่พึ่งให้กับ เด็กที่มีฐานะยากจน เพราะนอกจากจะได้เรียนหนังสือแล้ว เด็กที่เข้าเรียนโรงเรียนวัดยังไม่ต้องเสียค่าอุปกรณ์การเรียนและค่าใช้จ่าย ใดๆ อาจมีบ้างนานๆ ครั้งที่ทางวัดจะเรียกเก็บเงินจากผู้ปกครอง แต่ก็เป็นเงินในจำนวนไม่มากนัก นอกจากนี้ บางครั้งโรงเรียนวัดยังมีอาหารกลางวันให้กับเด็กๆ แต่ข้อเสียก็คือ เด็กที่เรียนโรงเรียนวัดไม่สามารถย้ายไปเรียนโรงเรียนของรัฐได้ ถึงแม้ว่าการประท้วงของพระสงฆ์เมื่อปี2550 ที่ผ่านมา จะส่งผลกระทบให้โรงเรียนวัดแหลายแห่งถูกรัฐบาลสั่งปิดตัวลง แต่กลับพบว่า โรงเรียนวัดซึ่งเป็นทางเลือกของคนจนได้เพิ่มขึ้นทุกวันโดยพบว่า จำนวนเด็กราว 25 เปอร์เซ็นต์นั้นเข้าเรียนโรงเรียนวัด

ส่วนการเรียนพิเศษในพม่า เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมต้นจนถึงชั้นมัธยมปลาย หรือเกรด 10 มักนิยมเรียนพิเศษกับครูประจำชั้น ซึ่งค่าเรียนพิเศษนี้ผู้ปกครองต้องจ่ายต่างหาก แต่เด็กนักเรียนเกรด 10 ซึ่งต้องสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยบางส่วนมักเรียนพิเศษกับครูที่มีชื่อเสียงและต้องเสียค่าใช้จ่ายเรียนพิเศษมากกว่านักเรียนชั้นอื่นๆ ส่วนการเรียนเสริมอย่างอื่นๆ เช่น ดนตรีและกีฬาไม่ค่อยมีให้เห็นมากนักในพม่า ในขณะเดียวกันพม่ายังคงเน้นการเรียนการสอนแบบท่องจำ และในช่วงเปิดเทอมเราจึงมักได้ยินเสียงเด็กๆ เกือบแทบทุกบ้านท่องอ่านบทเรียนกันเสียงดัง ซึ่งไม่ได้สร้างความรำคาญ ตรงกันข้ามแต่กลับทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความสุขกับการท่องตำราของเด็ก

หากถามว่าโรงเรียนที่ดีที่สุดในพม่านั้นอยู่ที่ไหน สำหรับฉันคงเป็นเรื่องที่ตอบยาก แต่ถ้าให้ตอบจริงๆก็คงจะเป็นโรงเรียนที่มีนโยบายการศึกษาที่ดี และทำให้จำนวนนักเรียนสอบผ่านชั้นมัธยมปลายได้มากที่สุด หรืออาจจะเป็นโรงเรียนที่มีอุปกรณ์การเรียนครบถ้วนและใช้หลักสูตรการสอนแบบ ต่างประเทศ ซึ่งโรงเรียนที่กล่าวมานี้ คงเป็นโรงเรียนสำหรับคนที่มีเงินเท่านั้นที่จะเข้าเรียนได้ โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในย่างกุ้ง แต่ผลกระทบที่ติดตัวเด็กที่เข้าโรงเรียนเหล่านี้ก็คือ เด็กมักใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักและลืมภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาแม่ และยังทำให้เด็กส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตอย่างไม่เหมาะสมกับประเพณีวัฒนธรรมของ พม่า เมื่อมาคิดๆดูอีกที ฉันว่า ครูที่ดีที่สุดสำหรับลูกก็คงจะเป็นพ่อและแม่ผู้ให้กำเนิดนั่นเอง

ที่มา : การศึกษา, คนวงใน, ฉบับที่ 64 (มี.ค. - เม.ย. 54)



วีดีโอด้านล่างเป็นชีวิตจริงส่วนใหญ่ของเด็กในพม่า

อองซานซูจีให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการศึกษาในพม่า ว่าที่ตกต่ำ เพราะขาดงบประมาณ


ต่างประเทศให้ความสนใจในชีวิตที่ต่อสู้เพื่อประชาชนของอองซาน ซูจีอย่างมาก จนนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชีวประวัติ เรื่อง The Lady ที่เพิ่งจะอำลาโรงฉายในประเทศไทยไป เพราะไม่มีใครสนใจดูภาพยนตร์ประเภทนี้


คำถามนำสู่การอภิปรายชั้นเรียน :

1.  What do you think about  Education in Burma?

3. Do you think Thai educational system is better ?

กิจกรรมเสนอแนะ :

   หาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน การประกอบอาชีพในประเทศสาธารณรัฐพม่าและนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน

การบูรณาการกับสาระอื่น :

    กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพฯ

ที่มา : มติชนออนไลน์

www.youtube.com

https://hilight.kapook.com/view/40277
https://www.destinythai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539235142&Ntype=19
https://salweennews.org/home/?p=3342
https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1491230&page=2

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4629

อัพเดทล่าสุด