การปฏิรูปการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ของเกาหลีใต้


1,137 ผู้ชม


ไทยกำลังปฏิรูปการศึกษาและปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เกาหลีใต้ก็เช่นเดียวกัน ลองศึกษาวิธีการของเกาหลีใต้ดู   
การศึกษาเพื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ของเกาหลีใต้

เนื้อหาเหมาะสำหรับนักเรียน ระดับชั้น ม.4-6

สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 
มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบ                       อาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

ตัวชี้วัด ม.4-6/1   ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ และสรุป                            ความรู้ /ข้อมูลต่างๆจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในการศึกษาต่อ                                และประกอบอาชีพ                 

 หลักสูตรของโรงเรียนในรูปโฉมใหม่
การจัดสร้างหลักสูตรพื้นฐานสำหรับปวงชน เพื่อเป็นการตอบสนองอุปสรรคของสังคมสารสนเทศและความรู้ ระยะเวลาของหลักสูตรพื้นฐานสำหรับปวงชนจะกินเวลา 10 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงปีแรกของมัธยมศึกษาตอนปลาย ในช่วงเวลานี้ หลักสูตรต่อเนื่องจะต้องอิงอยู่กับมโนทัศน์ของระบบการจัดการศึกษาตามระดับชั้นอย่างเคร่งครัด

 

  - ระบบของหลักสูตรพื้นฐานนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ วิชา
บังคับ กิจกรรมนอกหลักสูตร และชั่วโมงวิชาเลือกอิสระ
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จะมี 5 วิชา คือ

  1.ชีวิตที่มีระเบียบวินัย 2.ภาษาเกาหลี 3.คณิตศาสตร์  4.ชีวิตที่ชาญฉลาด และ 5.ชีวิตที่พึงประสงค์

- จากชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ไปจนถึงปีแีรกในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะต้องเรียนวิชาบังคับ 10 วิชา ได้แก่ 

  1.ชีวิตที่มีระเบียบวินัย  2.ศีลธรรมศึกษา (เมื่อถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะเปลี่ยนเป็นวิชาจริยศึกษา) 3. ภาษาเกาหลี 4.คณิตศาสตร์ 5.สังคมศึกษา (ประวัติศาสตร์เ์กาหลี สังคมศึกษาทั่วไป ภูมิศาสตร ์ และประวัติศาสตร์โ์ลก เป็นต้น) 6.วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์เคมี ชีว
วิทยา วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลก เป็นต้น) 7.พลศึกษา 8.ดนตรี 9.ศิลปประยุกต์
(เทคโนโลยีและคหกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น) และ10.ภาษาอังกฤษ                      

 การปรับปรุงเนื้อหา

  1) เนื้อหาและวิธีการสอนศีลธรรมศึกษา ซึ่งเน้นความรู้ทฤษฎีมาตลอดในอดีตจะถูกแทนที่โดยการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติจริง ผนวกเข้ากับการอภิปรายถกเถียง ศีลธรรมควรจะได้รับการบูรณาการเข้าไปในทุกวิชา อีกทั้งควรทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อทำ ให้โ้รงเรียนกลายเป็นศูนย์กลางของจริยศึกษา ทั้งนี้เพราะใน บางครั้งหลักสูตรในโรงเรียนก็มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความเชื่อ เจตคติ และความรู้สึกนึกคิดในเรื่องจริยธรรมของนักเรียน
2) ศิลปะประยุกต์ (เทคโนโลยีแีละคหกรรมศาสตร์) ซึ่งครอบคลุมการศึกษาที่เี่กี่ยวข้องกับ สารสนเทศ อาทิ ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมศาสตร์ ควรจะได้รับการสอนอยา่งเป็นระบบตั้งแต่ชั้นประถมศกึษาปีที่ 3 ไปจนถงึชั้นปีที่1 ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศิลปะประยุกต์จะแบ่งย่อยออกไปได้หลายสาขา (ได้แก่ ช่างไม้ การออกแบบ เครื่องจักรกล การทำอาหาร หัตถศึกษา คหกรรม การประมง การทำสวน อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น) หลังจากได้พิจารณาคุณลักษณะและความ
ต้องการของชุมชนในท้องถิ่นและความสนใจกับความถนัดของนักเรียนอย่างรอบคอบแล้ว แต่ละโรงเรียนสามารถเลือกสาขาวิชาที่จะเปิดสอนได้เอง
3) ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นต้นไป จะมีการเชื่อมโยงประวัติศาสตรเ์กาหลีเีข้ากับประวัติศาสตร์โ์ลก โดยสอนเป็นวิชาหนึ่ง ในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา
4) ตัวอักษรแบบจีนอาจจะเปิดสอนได้แม้ในระดับประถมศึกษาหากครูผู้สอนและโรงเรียนมีความพร้อมเพียงพอ
5) ในโรงเรียนประถมศึกษา การจัดชั่วโมงวิชาเลือกอิสระจะเป็นไปตามความพร้อมของครูหรือของโรงเรียน สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย วิชาเลือกอิสระนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดหลักสูตรในแต่ละโรงเรียน ทั้งนี้อาจใช้ชั่วโมง ดังกล่า่วเพื่อสอนเสริมจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร (การอภิปราย การอ่าน การศึกษาค้นคว้า ทัศนศึกษาการเสนอผลงาน กิจกรรมอาสาสมัคร กิจกรรมฝึกอบรมการทำ งานเป็นกลุ่ม เป็นต้น) นอกจากนี้ก็อาจจะใช้ชั่วโมงดังกล่าวให้นักเรียนได้เลือกเรียนโดยอิสระจากวิชาใหม่ๆ ซึ่งมิใช่วิชาบังคับ
อาทิ ภาษาต่า่งประเทศ สิ่งแวดล้อมศึกษา ตัวอักษรจีนโบราณ ความเข้า้ใจอันดีระหว่า่งชาติ วิธีการศึกษาหาความรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น
6) ในการปรับชั่วโมงสอนในระดับประถมศึกษาให้เหมือนกับประเทศพัฒนาทั้งหลายนั้นชั่วโมงเรียนในโรงเรียนโดยเฉลี่ยต่ออาทิตย์ สำหรับชั้นประถมปีที่ 1 และ 2 จะต้องเพิ่มขึ้น เป็น 27 ส่วน ชั้นประถมปีที่ 3 ถึงปีที่6 จะมีการเพิ่ม ชั่วโมงสอนในวิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็น วิชาใหม่ และถ้าเป็นไปได้ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษก็ควรจะเป็นครูที่จบเอกวิชาภาษาอังกฤษโดยตรง
7) กระทรวงศึกษาธิการจะปรับลดชั่วโมงการสอนในแต่ละสัปดาห์ลง ยกเว้นวิชาภาษาเกาหลี เพื่อให้มีเวลาเหลือว่างไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้โรงเรียนสามารถใช้เวลานี้เลือกสอนวิชาอื่นใดก็ได้                     

 

ที่มา : หนังสือ การปฏิรูปการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อความเป็นผู้นำ ในยุคสารสนเทศและ         โลกาภิวัตน์   นำเสนอโดย คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาของประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ของ

             สำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ   สำ นักนายกรัฐมนตรี
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4856

อัพเดทล่าสุด