ประเพณีสงกรานต์ในพม่า ลาว เขมร Songkran Day ![]() สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาและนำไปใช้ได้ อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ ตัวชี้วัด 2 บรรยายเกี่ยวกับเทศกาล วันสำคัญชีวิตความเป็นอยู่ และประเพณีของเจ้าของภาษา สงกรานต์ในพม่า ชาวพม่าถือว่างานสงกรานต์เป็นประเพณียิ่งใหญ่ในรอบปีเรียกว่า ธิงจัน Thingyan ในวันนี้ประชาชนมีเสรีภาพเต็มที่ และที่ทำให้สงกรานต์พม่ามันส์สุดๆก็เพราะจะมีการตั้งเวทีรอบๆทะเลสาปกันตอจี เรียกได้ว่าเป็นมหกรรมดนตรีของพม่าเลยก็ว่า บรรดาห้างร้าน สินค้าดังๆจะแข่งกันตั้งเวที แสง สี เสียง บริษัทไหนเงินหนาก็จะได้ศิลปินดังของพม่ามาแสดงบนเวที เรียกแฟนเพลง หรือดีเจชื่อดังมาเปิดเพลงมันส์ๆเวทีเขามีเยอะจนนับไม่ถ้วน ใครชอบดนตรีแนวไหนก็ไปตามเวทีนั้น บนเวทีจะมีการสูบน้ำจากทะเลสาบกันตอจี และสายยางฉีดน้ำเป็นร้อยๆเส้น และฉีดใส่ประชาชนที่เต้นกันอยู่ข้างล่าง เหมือนฝนตก เรียกได้ว่าสนุกจริงๆ เขาระเบิดความมันส์กันตั้งแต่เช้าไปจนกระทั้งพักเที่ยง จากนั้นก็ระเบิดความมันส์กันต่อ จนเหนื่อยกันไปข้างหนึ่งเอาซิเต้นไหวเต้นไปเล้ย...3วันเท่านั้นที่จะได้สนุกสนานแบบนี้ จะกินเหล้าเมาขนาดไหนทำไปเลยตามสบายรัฐบาลไม่หวงห้าม แต่ อย่ามีเรื่อง อย่าเล่นสงกรานต์แบบพิเรน อย่าลั่วลามหญิง อย่าหาเรื่องทะเลาะต่อยตี เด็ดขาด ไม่งั้นฮึม คุก... สงกรานต์ที่พม่าเลยสนุกด้วยเสียงเพลงและการเต้นรำที่สนุกสนาน ด้านดีที่ยังพอมีอยู่บ้างของระบอบเผด็จการทหารอันเลวร้าย คือการควบคุมไม่ให้วัฒธรรมประเพณีอันดีงามผิดเพี้ยนไปอย่างน่าเกลียด ในขณะที่ข้อเสียเล็กๆของระบอบเสรีประชาธิปไตย คือการปล่อยให้อะไรๆที่เลยเถิดไร้ขอบเขตยังลอยนวลอยู่ได้สบายใจ ![]() ![]() ![]() ![]() ดอกไม้ต้อนรับสงกรานต์ของพม่า เรียกว่ากระเต้าปานส่งกลิ่นหอมไปทั่วประเทศ ![]() แหล่งน้ำสงกรานต์จากทะเลสาป ![]() ท่อขนาดใหญ่พร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อฉีดให้คนเล่นสงกรานต์ ![]() สงกรานต์ในลาว งานประเพณีปีใหม่ลาว หรือกุดสงกรานต์ ตรงกับสงกรานต์ของไทยเป็นเทศกาลสำคัญประจำปีและเป็นวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 14 - 16 เมษายนของทุกปี โดยงานปีใหม่ลาวที่หลวงพระบางเป็นงานเทศกาลที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยจะจัดเป็นเวลาสี่วัน กล่าวคือ วันแรกของงานเรียกว่า “วันสังขารล่วง” ชาวหลวงพระบางจะทำความสะอาดบ้านเรือนเพื่อปัดกวาดสิ่งไม่ดีในปีที่ผ่านมาออกไปและเตรียมรับสิ่งใหม่เข้ามาและไปจับจ่ายซื้อของและธงรูปพระพุทธเจ้า เพื่อไปปักกองเจดีย์ทรายริมแม่น้ำโขง ตกเย็นมีการลอยกระทง ภายในกระทงบรรจุ กล้วย ขิง ข้าวดำ ข้าวแดง ดอกไม้ ใบพลู ธูป เทียน ดอกดาวเรือง ผมและเล็บของผู้ลอย อธิษฐานให้ทุกข์โศกโรคภัยลอยไปกับกระทง วันที่สองเรียกว่า “วันเนา” ช่วงเช้ามีการแห่รูปหุ่นเชิดปู่เยอ ย่าเยอและสิงห์แก้ว สิงห์คำ ซึ่งเป็นเทวดาที่ชาวหลวงพระบางให้ความนับถือช่วงบ่ายขบวนแห่ซึ่งนำโดยปู่เยอย่าเยอ ผู้เฒ่าผู้แก่ หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ขบวนพระสงฆ์ นางสังขาร ขี่สัตว์พาหนะบนรถแห่ปู่เยอย่าเยอก็จะฟ้อนรำอวยพรให้ลูกหลาน วันที่สามเรียกว่า “วันสังขารขึ้น” ซึ่งเป็นวันปีใหม่ ชาวหลวงพระบางทำข้าวเหนียวนึ่งและขนมลูกกวาด พากันเดินขึ้นพูสี ภูเขาสูงกลางเมืองหลวงพระบาง ระหว่างเดินจะวางข้าวเหนียวและขนมไว้ตามหัวเสาบันไดจนถึงองค์พระธาตุ วิธีการนี้เรียกว่าเป็นการตักบาตรพูสี มีการโยนข้าวเหนียวลงป่าข้างองค์พระธาตุเป็นการให้ทาน ช่วงบ่ายมีขบวนแห่นางสังขารและอัญเชิญศีรษะท้าวกบิลพรหมจากวัดเชียงทองไปยังวัดวิชุน มีการสรงน้ำพระที่วัดวิชุน วันที่สี่นับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งมีการแห่พระบาง พระพุทธรูปคู่เมืองหลวงพระบาง ซึ่งปรกติจะประดิษฐานอยู่ในหอพิพิธภัณฑ์บริเวณปีกด้านขวาของพระราชวัง ปีหนึ่งจะอัญเชิญออกมาให้ชาวเมืองสรงน้ำ ที่วัดใหม่สุวรรณภูมิอาราม เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน จากนั้นจะอัญเชิญกลับหอพิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม ![]() ![]() ![]() หุ่นปู่เยอ ย่าเยอ ![]() วันขึ้นปีใหม่ หลวงพระบาง ภาพเมื่อ พ.ศ. 2462 นักฟ้อนในพิธีกรรมนุ่งเครื่องที่ทำด้วยเปลือกไม้ ใส่หน้ากากมาในรูปปู่เยอ ย่าเยอ และแม่ย่าง่าม เชื่อตามประเพณีเล่ากันสืบๆมาว่าปู่เยอย่าเยอได้สร้างแผ่นดินและปลูกน้ำเต้า ปุง ซึ่งเป็นที่เกิดของคนทั้งหลาย การฟ้อนปู่เยอย่าเยอแสดงกันที่สองส้นตัวเมืองหลวงพระบาง เพื่อเป็นพิธีป้องกันอาณาจักร ![]() ภาพในปัจจุบัน ประเพณีสงกรานต์ของดินแดนแห่งนครวัด นครธม นั้นมี 3 วัน ซึ่งอยู่ในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ 14 ถึง 16 เมษายน วันแรกถือเป็นวันมหาสงกรานต์หรือวันปีใหม่ ตามธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมนั้นมีการแบ่งกิจกรรมของแต่ละวันไว้ว่า วันแรกเป็นวันแห่งการทำบุญตักบาตร มีการขนทรายเข้าวัดเพื่อเตรียมก่อเจดีย์ วันที่สองเป็นวันครอบครัวที่ลูกๆ จะอยู่กับพ่อแม่ อาจจะมีการให้เงินหรือซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้เป็นของขวัญ ส่วนในช่วงหัวค่ำจะช่วยกันก่อเจดีย์ทราย และวันที่สามก็จะมีการละเล่นรื่นเริงต่างๆ ที่นิยมเห็นจะป็นการโยนลูกบอลที่คล้ายๆ การโยนสะบ้าของเรา จากนั้นก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวเพื่อความเป็นสิริมงคล
1. How many countries in the world celebrate Songkran Festival? 2. What do people do in Songkran Festival? การบูรณาการกับกลุ่มสาระฯอื่น กลุ่มสาระฯสังคมศึกษาฯ สุขศึกษา ฯ ศิลปศึกษา การงานอาชีพฯ ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/สงกรานต์ https://www.stou.ac.th/study/sumrit/7-55%28500%29/page1-7-55%28500%29.html https://board.postjung.com/608127.html ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4858 |