ในปัจจุบันการใช้พลาสติกมีมากมาย ท่านหรือไม่ว่าพลาสติกก่อให้เกิดอันตรายอย่างไร "หมาน้อยที่น่าสงสาร หิวโซเหตุจากหัวติดอยู่ในขวดโหลพลาสติก" (ข่าวสด ...26 เม.ย.52) จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสุนัขตัวนี้น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจให้เราเหล่าผู้บริโภคทั้งหลายได้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น หากลองนึกเล่น ๆ หากพลาสติกชิ้นนั้นไม่ได้ได้ครอบหัว แต่หลุดเข้าไปในท้องละมิต้องผ่าท้องมันหรอกหรือ และนอกจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้พลาสติกที่เป็นภาชนะบรรจุอาหารจะมีอะไรอีกบ้างนะ มาลองติดตามจากข้อมูลกันต่อเถอะนะคะ พลาสติกคืออะไร พลาสติก หมายถึง สารประกอบอินทรีย์ชนาดใหญ่ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของมนุษย์ เพื่อนำมาใช้แทนวัสดุธรรมชาติ มีสมบัติในการเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี น้ำหนักเบา หลอมและเปลี่ยนรูปร่างได้ พลาสติกเกิดจากอะไร พลาสติกเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของมนุษย์โดยใช้วัสดุดิบจากแหล่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ ปิโตรเลียม ถ่านหิน สินแร่ และ ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งอาจเกิดจากการนำวัสดุดิบเหล่านี้มารวมกัน <ดูเนื้อหาเพิ่มเติม> ประเภทของพลาสติก พลาสติกตามลักษณะและสมบัติของพอลิเมอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. เทอร์โมพลาสติก เป็นพลาสติกที่มีโครงสร้างเป้นเส้นตรง หรือแบบกิ่งก้าน ที่มีลักษณะอ่อนนิ่มจนไหลได้เมื่อได้รับความร้อนเพียงพอและเมื่อเย็นลงจะกลับแข็งคงรูปเช่นเดิม เกิดจากปฏิกิริยาแอดคิชันพอลิเมอไรเซชัน เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรไพลีน พอลิไวนิลคลอไรด์ พอลิสไตรีน แอสเซทอล อะคริลิค ฟลูออโรคาร์บอน โพลียาไมด์ หรือ ไนลอน โพลีโอเลฟีน เอบีเอส ไวนีล เซลลูโลซิค โพลีคาร์บอเนท ไอโอโนเมอร์ โพลีไยไมด์ โพลีซัลโฟน เอททีลีนไวนีลอาซีเตท เป็นต้นฃ 2. พลาสติกเทอร์โมเซ็ต เป็นพลาสติกทีมีโครงสร้างแบบร่างแห มีลักษณะคงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ เกิดจากปฏิกิริยาคอนเดนเซชันพอลิเมอไรเซชัน เช่น เบกกาไลต์เมลามีนยูเรียฟอร์มาลตีไฮด์ ซิลิโคน อามิโน ยูเรีย เมลามีน อีพอกซี่ ฟีโนลิค โพลีเอสเตอร์ ซิลิโคน ยูริเทน หรือ โพลียูริเทน เป็นต้น พลาสติกตามการรีไซเคิล แบ่งออกเป็น 7 ชนิดดังนี้ 1. โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรัลใส่น้ำอัดลม หรือน้ำมัน เนื่องมาจากความใส มีความยืดหยุ่นสูงและป้องกันการซึมผ่านได้ เช่น ขวดน้ำดื่มชนิดใส ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำมันพืช ขวดน้ำปลา เป็นต้น 2. พลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) เป็นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นสูงและป้องกันการซึมผ่านได้ดี เช่น ขวดน้ำดื่ม , ถังน้ำ ,ขวดเรื่องสำอาง เป็นต้น 3. พลาสติกชนิดโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนสารเคมี สามารถทำเป็นสีได้ไม่จำกัด และทนน้ำได้ดี เช่นท่อน้ำ ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า กระเป๋าหนังเทียม ประตูพีวีซี เป็นต้น 4. พลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นสูง เหนียว ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี พลาสติกที่เหมาะสำหรับนำมาทำภาชนะใส่ของเย็นไม่เหมาะที่จะบรรจุอาหารร้อน เช่น ถุงใส่น้ำแข็ง 5. พลาสติกชนิดโพลิโพรพิลีน (PP) เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับทำถุงร้อนบรรจุอาหาร หรือผลิตกล่องบรรจุอาหารสำหรับนำเข้าไมโครเวฟ เพราะมีความยือหยุ่นสูง ทนสารเคมี และสามารถใช้งานกับอุณหภูมิที่สูงถึง 175 องศาเซลเซียส เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เชือก พรม บรรจุภัณฑ์อาหาร ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น 6. พลาสติกชนิดโพลิสไตรีน (PS) เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับทำเป็น โฟม กล่อง ถ้วย และจาน เนื่องจากง่ายต่อการขึ้นรูป สามารถพิมพ์สีสัน และลวดลายให้สวยงามได้ และสามารถใช้งานกับอุณหภูมตั้งแต่ -10 องศาเซลเซียส ถึง -80 องศาเซลเซียส 7. OTHER หรับพลาสติกอื่น ๆ นอกเหนือจาก 6 ประเภทที่กล่าวมา คุณสมบัติ / คุณภาพของพลาสติก พลาสติกมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นสารตั้งต้น ผู้ใช้สามารถทดสอบชนิดของพลาสติกโดยใช้วิธีการสังเกต หรือเครื่องมือง่ายง่ายในการทดสอบ เช่นพอลิเอทิลีน ทดสอบโดยใช้เล็บขูด (เป็นรอยเมื่อใช้เล็บขูด) ทดสอบการละลาย (ไม่ละลายในสารละลายทั่วไป) ความหนาแน่น ( ลอยน้ำ) การเผาไหม้ ( เปลวไฟสีน้ำเงินขอบเหลือง กลิ่นเหมือนพาราฟิน เปลวไฟไม่ดับเอง ) เป็นต้น แต่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในการผลิตพลาสติกจำเป็นต้งอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบ เช่น คุณสมบัติด้านความแข็งแรง (strength property) ความทนทานต่อความร้อนหรือความเย็น คุณสมบัติด้านการใช้งานและจะแสดงค่าออกมาเป็นตัวเลข ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้พลาสติก 1.ใช้พลาสติกให้ตรงกับคุณภาพที่กำหนดไว้ เช่น ใช้กับของร้อน ใช้กับของเย็น 2.รูปทรงและราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ 3.สมบัติที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ใช้ มีความแข็ง เหนียวหรืออ่อนนุ่ม เป็นฉนวนไฟฟ้า " ดูชนิดและคุณสมบัติของพลาสติกก่อนใช้สักนิดเพื่อชีวิตปลอดภัย" จากผลการศึกษาของนักวิจัยร้องพบว่าภาชนะที่ทำด้วยพลาสติกอาจจะเป็นพิษภัยแก่สมองจนถึงตายได้ เพราะสารเคมีที่ใช้ ทำให้การทำงานของสมองเกี่ยวกับการเรียนรู้ และความจำเสื่อมโทรมลงเกิดภาวะซึมเศร้าอย่างหนึ่ง เช่น ฟันปลอม ต่างใช้สารเคมี ที่มีชื่อว่า "ไบสฟีนอล เอ." สารนั้นอาจจะซึมหรือ ละลายปนอยู่ในอาหารแข็งหรือเหลวที่บรรจุอยู่ได้ และเมื่อกินเข้า มันจะเข้าไปอยู่ในตัวก่อกวนการสื่อสารระหว่างหน่วยประสาทของสมอง อันจำเป็นกับการเกิดความเข้าใจและจดจำขึ้น อันตรายจากการใช้พลาสติก ปัญหาที่เกิดจากพลาสติก 1.ไม่สลายตัว ไม่เน่าเปื่อย ทำลายไม่ได้ ทนทาน 2.ทำให้เกิดการอุดตันของท่อระบายน้ำ คู คลองต่างๆ ทำให้น้ำขังเป็นน้ำเน่า 3.ทำให้ดินเสียเสื่อมคุณภาพ ทำการเพาะปลูกพืชไม่ได้ 3.ทำให้ดินเสียเสื่อมคุณภาพ ทำการเพาะปลูกไม่ได้ 4.เมื่อเผาจะมีกลิ่นเหม็นมากทำให้อากาศเป็นพิษ ถ้าสูดดมเข้าไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ ร่างกาย กิจกรรมเสนอแนะ 1. นักเรียนสำรวจพลาสติกที่ใช้ในบ้านเรือน , ท้องถิ่น และจัดกระทำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ 2. สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการผลิตพลาสติก 1ชนิดที่นักเรียนสนใจ 3. แต่ละกลุ่มออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทของเล่นเด็ก กระดานหกจะใช้พลาสติกฃนิดใดเพราะเหตุใด การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนู้อื่น 1. การงานพื้นฐานอาชีพ เรื่อง เครื่องใช้ในบ้าน ( คหกรรม ) , เทคโนโลยีสารสนเทศ ( การนำเสนอองค์ความรู้ด้วย IT ) 2. คณิตศาสตร์ เรื่องปริมาณ การจัดกระทำข้อมูล อ้างอิงแหล่งที่มาขอข้อมูล / ภาพประกอบ (https://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOVEkyTURRMU1nPT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB5Tmc9PQ==) https://elecnet.212cafe.com/archive/2006-10-18/synthetic-materials-spe-spi-a-large-and-varied-group-of-materials-which-consist-of-or-contain-as-an-https://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=2174 https://www.geocities.com/bluebam/plastic1.html https://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81/ https://hoontong.212cafe.com/archive/2007-01-15/1-thermosettings-sect-amino-sect-urea-sect-melamine-sect-epoxy-sect-phenolic-sect-polyestter-sect-si https://www.nppointasia.com/siamrecycle/recycle_logo.htm https://www.pt.ac.th/ptweb/studentweb/plastic/12.html https://www.vcharkarn.com/vcafe/149685 https://www.pantown.com/board.php?id=7643&area=1&name=board2&topic=161&action=view https://cms.srivikorn.ac.th/svk_forum/index.php?topic=950.0 https://www.sci-yiu.net/forum/index.php?topic=34.0 https://icare.kapook.com/suicide.php?ac=detail&s_id=12&id=473 https://thapring.com/Pingpong_web/Polymer.htm https://elecnet.212cafe.com/archive/2006-10-18/213426 https://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=71&i2=26 https://www.gconnex.com/Forum/index.php?topic=1051.0 https://www.pt.ac.th/ptweb/studentweb/plastic/4.html ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=31 |