ภาวะโลกร้อนได้ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ทำให้เกิดฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปที่ส่งผลต่อการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
ภาวะโลกร้อนได้ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้หิมะขั้วโลกและบนยอดเขาสูงละลาย น้ำในทะเลจึงมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ จึงทำให้เกิดฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปที่ส่งผล ต่อการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต - jpg - fwmail.teenee.com/strange/img3/m99107.jpg ภาพอาจมีลิขสิทธิ์ ด้านล่างเป็นภาพจาก: www.zheza.com/index.php?a=blog&b=entry&uid=11... ในปัจจุบันโลกกำลังประสบกับภาวะโลกร้อน(Global worming) ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate Change)ดังที่ รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ได้จัดทำรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2551 ชื่อว่า “โลกร้อน : ภัยคุกคามจากน้ำมือมนุษย์” ซึ่งเป็นการนำเสนอผลกระทบการที่อุณหภูมิของโลกในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 14 องศาเซลเซียส ได้ขยับสูงขึ้น 0.7 องศาเซลเซียส ที่อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมหันต์ในโลก https://gwwn.igetweb.com/index.php?mo=3&art=151794 แต่ทั้งนี้มนุษย์สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีโดยการเปลี่ยนแปลงระบบควบคุมทางสรีรวิทยาที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับตัว ตามที่ ผศ.ดร.กำพล รุจิวิชชญ์ กล่าวว่า ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นไปมาก เราเองก็สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยอุณหภูมิสูงขึ้นเราก็มีการขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกไป แต่ก็มีขีดจำกัด ในบางประเทศมีคนตายจากคลื่นความร้อน เพราะปรับตัวไม่ทัน แต่ถ้าค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลา 10 – 20 ปี เราก็อาจจะปรับตัวได้โดยร่างกายจะมีการปรับตัว เช่น ต่อมเหงื่ออาจมีรูใหญ่ขึ้น เพื่อให้ความร้อนระบายออกมากขึ้น ดื่มน้ำมากไตอาจจะทำงานน้อยลง เพราะปัสสาวะน้อยลง เพื่อที่จะปรับตัวให้อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ https://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&Co... ดังนั้นในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการปรับตัว(Adaptation)ของสิ่งมีชีวิต การปรับตัว(Adaptation) หมายถึง กระบวนการที่สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับลักษณะบางประการให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ซึ่งลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป ดังกล่าวจะอำนวยประโยชน์แก่ชีวิตในแง่ของการอยู่รอดและสามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตมีหลายประการ ได้แก่ การแสวงหาอาหาร การสืบพันธุ์ การต่อสู้กับศัตรู และการหลบหลีกศัตรู หรือสิ่งแวดล้อมสิ่งมีชีวิตมีการปรับตัว ดังนี้
2. ลักษณะทางสรีรวิทยา พฤติกรรมหรือสัณฐาน ซึ่งควบคุมโดยพันธุกรรม เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมอย่างเหมาะสมจนกระทั่งสืบพันธุ์ได้ เช่น ปลาไหลปรับตัวให้เข้ากับสภาพธรรมชาติโดย ทำให้ตัวไหลลื่นอยู่ตลอดเวลา 3. การเปลี่ยนแปลงในช่วงชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น การขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองทำให้คนล้มลง ทำให้เลือดส่งออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้เร็วขึ้น นั่นคือ การเป็นลม หรือนกบางชนิดมีการเปลี่ยนสีของขนนก หรือพฤติกรรมในบางฤดู เช่น ในช่วงสืบพันธุ์ของนกยูง นกยูงตัวผู้จะรำแพนอวดหางอันสวยงาม การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้ มีจุดประสงค์เพื่ออำพรางตัวให้รอดพ้นจากการล่าของศัตรูหรืออำพรางเหยื่อที่หลงเข้ามาใกล้ตัว และเพื่อสะดวกในการหาอาหารกิน https://www.nigwe.com/news/50—animal.html
ตั้งประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
กิจกรรมเสนอแนะ 1. ให้นักเรียนช่วยกันหาภาพสิ่งมีชีวิตที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและนำมาอภิปรายร่วมกัน 2. ทำรูปจำลองของสิ่งมีชีวิตที่คาดว่าน่าจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป 3. จัดทำตู้สภาพระบบนิเวศจำลองและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ https://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9510000083086 www.zheza.com/index.php?a=blog&b=entry&uid=11... https://gwwn.igetweb.com/index.php?mo=3&art=151794 https://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&Co... https://www.nigwe.com/news/50—animal.html https://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK26/chapter8/t26-8-l3.htm |