ถึงกาลเวลา ... ของ การโคลนนิ่ง แล้วหรือยัง ?


906 ผู้ชม


ปัจจุบันมีข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ ว่าทำไมต้องทำโคลนนิ่ง มีประโยชน์มากมาย หรือทำลายเผ่าพันธุ์กันแน่   

 ถึงกาลเวลา ... ของการโคลนนิง .. แล้วหรือยัง

ถึงกาลเวลา ... ของ การโคลนนิ่ง แล้วหรือยัง ?

        

     สวัสดีเพื่อนครูวิทยาศาสตร์ และนักเรียนทุกคน  ในตอนนี้มีข่าวสาร จากสื่อต่างๆ ทั้งทางวารสาร หนังสือพิมพ์ ทีวีและภาพยนต์เกี่ยวกับการโคลนนิงมนุษย์  หรือสัตว์ชนิดต่างๆ และอัญมณี อย่างมากมาย  ทั้งในเชิงบวก เช่น การค้นพบวิธีโคลนนิงสัตว์ที่กำลังจะสูญพันธ์ สิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้เป็นต้น และในเชิงลบ   ก็หวั่นไหวกับภัยที่อาจแอบแฝงมา จากการกระทำของมนุษย์เรา เช่นกัน  

         ดังนั้น ในวันนี้ดิฉันขอนำบทความเกี่ยวกับเรื่อง ถึงกาลเวลา .. ของการโคลนนิ่ง แล้วหรือยังมาฝากกัน เพื่อให้ท่านได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์มากยิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนกำลังให้ความสำคัญสนใจเฝ้าติดตามนี้อยู่เช่นกันใช่มั๊ยคะ ว่าแท้จริงแล้วนั้น  ท่านรู้จักการโคลนนิ่งดีเพียงใด รวมทั้งประวัติความเป็นมา  และมีประเทศใดบ้างที่ประสบผลสำเร็จในการโคลนนิง  ? แล้วท่านจะค้นพบด้วยตัวท่านเอง ว่า ณ บัดนี้ ถึงกาลเวลา ของการโคลนนิ่ง แล้วหรือยัง ? 


        จากวันนั้นจนกระทั่งวันนี้ คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า โคลนนิง ใช่มั๊ยคะ จริงๆ แล้ว โคลน (clone) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มาจากเซลล์เดียวกัน และมีสารพันธุกรรมที่เหมือนกันทุกประการ เช่น แบคทีเรียซึ่งเพิ่มจำนวนด้วยการแบ่งตัว หรือกลุ่มของเซลล์มะเร็งที่โตมาจากเซลล์ที่ผิดปกติ
เริ่มต้นเพียงเซลล์เดียวแต่เราไม่ได้เป็นโคลนของทั้งพ่อ แม่ เพราะเราได้สารพันธุกรรมครึ่งหนึ่งมาจากพ่อและอีกครึ่งหนึ่งมาจากแม่ ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ไม่ได้เป็นโคลนของกันและกัน

 

                           มารู้จักประวัติและความเป็นมาของการโคลนนิ่งกันเถอะ


 

ประเทศใดบ้างที่ประสบผลสำเร็จในการโคลนนิ่ง ?   

 
เกาหลีใต้ล้ำอีกก้าวโชว์ “หมาป่าโคลนนิง”
 
          ยอนฮัพ/เอเอฟพี/เอพี – แม้คดีโคลนนิงฉาวยังสะสางไม่ทันจบ แต่นักวิทยาศาสตร์เกาหลีใต้ทีมเดิมที่เคยร่วมโคลนสุนัขตัวแรกของโลกสำเร็จกับ “หวาง” ก็ได้แสดงความสามารถอีกครั้ง ด้วยการทำสำเนาสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์เต็มทีอย่าง “หมาป่า” ขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างที่ หวาง วู-ซก (Hwang Woo-suk) นักวิทยาศาสตร์ฉาวแห่งเกาหลีใต้กำลังอยู่ระหว่างถูกพิจารณาคดีข้อหาฉ้อโกงงบประมาณรัฐบาล และปลอมแปลงงานวิจัยลงตีพิมพ์วารสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกนั้น อดีตลูกทีมของหวางที่เคยร่วมกันสร้าง “สนัปปี”(Snuppy)หมาโคลนนิงตัวแรกของโลกได้สำเร็จในปี 2005 ก็สร้างผลงานอีกครั้งด้วยการเปิดตัว “หมาป่าโคลนนิง”
       ทีมวิจัยที่นำโดยลี บุง-ชุน (Lee Byung-Chun) ผู้ช่วยหลักที่พัวพันกับคดีของหวาง และชิน นัม-ซิก ( Shin Nam-Shik) ศาสตราจารย์สัตวแพทย์จากมหาวิทยาลัยแห่งเกาหลีใต้ในกรุงโซล (Seoul National University) สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการนำหมาป่าเพศเมีย 2 ตัวอันเป็นผลิตผลจากการโคลนออกสู่สายตา ณ สวนสัตว์ในกรุงโซล เมื่อวันที่ 26 มี.ค. หมาป่าทั้ง 2 มีชื่อว่า“ สนูวอลฟ์”(Snuwolf) และ “สนูวอลฟฟี” Snuwolffy) เป็นชื่อย่อมาจาก หมาป่าของมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University wolf) ทั้งคู่เกิดวันที่ 18 และ 26 ตุลาคมปี 2005 หลังจากที่ “สนัปปี” สุนัขโคลนนิงพันธุ์ผสมอัฟกันฮาวน์ดปรากฏสู่สาธารณะ ดร.หวางผู้นำทีมวิจัยก็ถูกจับกุม จากนั้นลีก็สามารถโคลนนิงสุนัขพันธุ์อาฟกันฮาวน์ดออกมาได้อีก 4 ตัวเพศผู้ 1 เพศเมีย3) พร้อมทั้งปรับปรุงกระบวนการโคลนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น “หมาป่า” ก็เหมือนกับ “หมา” ที่ติดอันดับสัตว์ที่โคลนนิงยาก เพราะระบบการสืบพันธุ์ และกว่าจะได้หมาป่าทั้ง 2 ตัวออกมานั้น ทีมวิจัยนำเซลล์ของหมาป่าพันธุ์ผสมจากสวนสัตว์ทางตอนใต้ของกรุงโซล สร้างเป็นตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอ 251 ตัวและนำไปปลูกถ่ายในหมาเพศเมีย 12 ตัวให้รับหน้าที่อุ้มบุญ จนเหลือรอดสามารถคลอดออกมาเพียงแค่ 2 ตัว 
         “ นับเป็นการโคลนนิงหมาป่าที่สำเร็จครั้งแรกของโลก แต่พวกเราก็ตัดสินใจอุบความสำเร็จครั้งนี้ไว้ก่อนจนกว่าหมาป่าเหล่านี้จะเติบโตขึ้นมาอย่างแข็งแรง ” ชินกล่าวส่วนลีเผยว่าการโคลนนิงหมาป่าเกาหลีจะช่วยดำรงสายพันธุ์นี้ให้คงอยู่ต่อไป เพราะที่เกาหลีใต้ไม่มีหมาป่าปรากฏตัวมาแล้วกว่า 20 ปี จะมีก็แค่เพียงกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 10 ตัวในสวนป่าทางตอนใต้ของกรุงโซล ซึ่งความสำเร็จในการโคลนนิงสัตว์ที่กำลังสูญพันธุ์จะช่วยเหลือธรรมชาติได้อย่างยิ่ง
 
อิหร่านกลายเป็น 1 ใน 5 ของประเทศ ที่สามารถโคลนนิงลูกแพะได้สำเร็จ
        สำนักข่าวเอพี เปิดเผยว่า“ฮานา”(Hana)แพะเพศเมียที่เกิดจากการโคลนนิงได้ลืมตาดูโลก เมื่อวันที่ 15 เม.ย.52 โดยอ้างแหล่งข่าว ดร.โมฮัมเหม็ด ฮอสเซ็น นาสร์ อี อิสฟาฮานี (Dr. Mohammed Hossein Nasre Isfahani) หัวหน้าสถาบันวิจัยทางด้านเซลล์ต้นกำเนิด รอยัน (Royan Research Institute) ในเมืองเอสฟาฮาน (Isfahan) ตอนกลางของอิหร่าน
“เมื่อฮานาได้เกิดขึ้นมา อิหร่านกลายเป็น 1 ใน 5 ของประเทศ ที่สามารถโคลนนิงลูกแพะได้สำเร็จ” คำกล่าวจากอิสฟาฮานี ผู้เชี่ยวชาญด้านเพาะเลี้ยงตัวอ่อนอย่างไรก็ดี เมื่อปี 2549 อิหร่านก็รั้งตำแหน่งประเทศแรกในตะวันออกกลาง ที่สามารถโคลนนิงลูกแกะได้สำเร็จและอีก 2 ปีครึ่งต่อมาสถาบันแห่งนี้ก็ได้รายงานว่าแกะดังกล่าวมีสุขภาพแข็งแรง  ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการตั้งเป้าของอิหร่านเป็นผู้นำในความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในปี 2568   ซึ่งจากที่เห็นอิหร่านก็ประสบความสำเร็จ
ในด้านการแพทย์ ด้านการบินและอวกาศ รวมทั้งเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่เป็นข่าว อย่างชัดเจน อิสฟาฮานี กล่าวว่า สำหรับการโคลนนิงแพะ หรือสัตว์อื่นๆนั้นก็เพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าของงานวิจัยทางด้านการแพทย์รวมถึงอาจต้องการใช้สัตว์โคลนนิงเหล่านี้สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่มนุษย์ เพื่อรักษาโรคร้ายต่างๆ  สถาบันที่เขาดูแลอยู่นั้น ตั้งเป้าในการโคลนแพะ เพื่อหาหนทางในการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งนี้ ชาวอิหร่านส่วนใหญ่กว่า 70 ล้านคน เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์ โดยโครงการโคลนนิงของอิหร่านนี้ได้รับการสนับสนุน
จากผู้นำชีอะห์ ซึ่งอนุญาตให้โคลนนิงสัตว์ได้ แต่ไม่ยอมให้มีการโคลนนิงมนุษย์เพื่อการสืบพันธุ์   
 
สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็ได้ออกมาประกาศว่า สามารถโคลนนิงอูฐได้สำเร็จ
        ลูกอูฐดังกล่าวคลอดออกเมื่อวันที่ 8 เม.ย.นับเป็นอูฐโคลนนิงตัวแรกของโลก“อินจซ”  (Injaz) หมายถึง “ความสำเร็จ” ในภาษาอาหรับถูกตั้งเป็นชื่ออูฐหนอกเดียวเพศเมีย ที่
นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์แพร่พันธุ์อูฐ (Camel Reproduction Centre) และห้องปฏิบัติการวิจัยกลางด้านสัตวศาสตร์ (Central Veterinary Research Laboratory) ในดูไบ ใช้เวลาทำงานกว่า 5 ปี ทั้งนี้ อินจาซถูกโคลนมากจากอูฐที่ถูกฆ่าเอาเนื้อในปี 2548 โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำดีเอ็นเอ  ที่สกัดจากเซลล์รังไข่ของอูฐตัวที่ตาย จากนั้นนำใส่เข้าไปในไข่ของแม่อูฐ ที่ทำหน้าที่อุ้มท้อง   เพื่อสร้างตัวอ่อนใหม่ขึ้นมา นัยสำคัญของการโคลนนิงอูฐของนักวิจัยเหล่านี้   เพื่อปกป้องพันธุกรรมของอูฐสายพันธุ์วิ่งแข่งอันมีค่าและรวมถึงอูฐสายพันธุ์ผลิตน้ำนมในอนาคต ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ดูไบเปรียบเทียบว่า การโคลนอูฐได้
ในครั้งนี้สำคัญพอๆ กับการเกิดของดอลลี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโคลนนิงตัวแรกของโลก เพียงแต่เวอร์ชั่นตะวันออกกลางจึงเป็น“อูฐ” สำหรับดอลลี่แกะโคลนนิงที่เขย่าวงการวิทยาศาสตร์โลกได้เกิดขึ้นในปี 2539 ที่เมืองเอดินบะระ สหราชอาณาจักร และกลายเป็นต้นแบบวิธีการโคลนนิงให้แก่นักวิจัยทั่วโลก จนมีผลงานออกมามากมาย จากนั้นดอลลี่
ก็หลับอย่างสงบในปี 2546 (ข่าวจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 เมษายน 2552 )

กิมจิย้ำศักยภาพ โชว์ "ลูกสุนัขโคลนนิง" จากสเต็มเซลล์ไขมันครั้งแรก
นับว่าเป็นลูกสุนัขคู่แรกที่เกิดจากเทคนิคการโคลนนิงแบบใหม่ที่ใช้เซลล์ต้นกำเนิด จากเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งนักวิจัยระบุว่ามีโอกาสสำเร็จสูงกว่าการโคลนนิงโดยทั่วไปที่มักใช้เซลล์ร่างกาย(somatic cells)ของสิ่งมีชีวิตต้นแบบ"หากเราพัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้จนสมบูรณ์

ม.สุรนารี โคลนนิงแมวไทยหายากสำเร็จ
เนื้อเยื่อ ให้เซลล์เจริญเติบโตขึ้นมามากๆ ในห้องทดลองโดยจะใช้เวลาเพาะเลี้ยงเซลล์ 20 วัน จะได้เซลล์ที่มากถึงแสนล้านเซลล์ และเก็บเซลล์เหล่านี้ไว้ในธนาคารเซลล์ ด้วยการแช่แข็งในไนโตรเจนเหลว เมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้ประโยชน์ ก็นำหลอดที่แช่เซลล์เหล่านี้ไว้ออกมาเพาะเลี้ยงซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 2-3 วัน นักวิจัยจะแยกเซลล์ส่วนหนึ่งออกมาเพื่อใช้ในการโคลนนิงโดยการนำไปใส่ไว้ในไข่ของแมวอุ้มบุญที่นำเอานิวเคลียส ซึ่งเป็นดีเอ็นเอของแมวอุ้มบุญออกมาแล้ว และทำการหลอมเซลล์ของแมวลายหินอ่อนกับไข่ของแมวบ้านให้รวมกันเสร็จแล้ว ดีเอ็นเอทั้งหมดที่เป็นของแมวลายหินอ่อนก็จะเข้าไปควบคุมกระบวนการเจริญเติบโตไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรมชนิดต่างๆจะต้องขึ้นอยู่กับดีเอ็นเอหรือพันธุกรรมของแมวลายหินอ่อน " หากนำเซลล์แมวลายหินอ่อนเพศเมียมาทำ เซลล์ทั้งหมดที่เกิดมาก็จะเป็นเพศเมีย  เมื่อนำไปฝากกับมดลูกของแมวบ้านที่จัดเตรียมไว้
แมวบ้านจะออกลูกเป็นแมวลายหินอ่อนเพศเมี ในทางกลับกัน   ถ้านำเซลล์จากแมวลาย
หินอ่อนเพศผู้มาทำโคลนนิง ตัวอ่อนก็จะเป็นเพศผู้  เมื่อนำไปฝากในท้องอุ้มบุญของแมวบ้าน ก็จะตกลูกเป็นเพศผู้ จะเห็นได้ว่า พันธุกรรมทั้งหมดกำหนดได้ตั้งแต่เริ่มต้นการทำโคลนนิงซึ่งระยะเวลาในการตั้งท้องของแมวบ้านประมาณ60วันจึงจะตกลูก ดร.รังสรรค์ กล่าวว่า แมวลายหินอ่อนนั้นเป็นสัตว์สงวนแห่งชาติ และเป็นสัตว์ที่มีการตกลูกได้ยากมาก ในขณะที่สวนสัตว์นครราชสีมามีแมวลายหินอ่อนอยู่ 3 ตัว ซึ่งเลี้ยงมาตั้งนานแต่
ยังไม่ตกลูก ทางมหาวิทยาลัยจึงต้องการที่จะอนุรักษ์แมวสายพันธุ์นี้ไว้เพื่อไม่ให้สูญหายไปจากประเทศไทย สำหรับพฤติกรรมของแมวลายหินอ่อนนั้นเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้าย และจะไม่ทำร้ายคน มีลวดลายบนหนังที่สวยงาม และเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ปัจจุบันแมวชนิดนี้ถูกล่าเพื่อเอาหนังกันมาก และกลายเป็นสัตว์หายากที่ควรอนุรักษ์ 
      เมื่อท่านผู้อ่านได้รับทราบความเป็นมาและสาระความรู้แล้ว คงจะเกิดแนวคิดอย่างหลากหลายประกอบกับข้อมูลการเกิดของประชากรมนุษย์ พบว่า มีสถิติลดน้อยลง โดยเฉพาะประเทศจีน รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย รวมทั้งบรรดาสัตว์ชนิดต่าง ๆ กระแสคนรักสวยรักงามมากขึ้น ยอมเจ็บปวดเพื่อให้ดูดีขึ้น  สัตว์ก็เช่นกันพันธุ์ดี พันธุ์สวย ด้วยการตัดแต่งพันธุกรรม ผู้คนยิ่งต้องการมากขึ้น  หากการสำเนาได้ถูกต้อง เหมือนต้นฉบับ ไร้ที่ตำหนิ  ดังนั้น ท่านลองคิดดูซิว่า ถึงเวลา .. ของ การโคลนนิง แล้วหรือยัง ?  ที่จะทำให้โลกของเราศิวิไลซ์กว่าเดิม
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้
   1 . ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3  ช่วงชั้นที่  3 วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
   2.  ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4  ช่วงชั้นที่  4  วิชาชีววิทยา
ตั้งประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
    1. นักเรียนเคยได้ยินคำว่า โคลนนิ่งหรือไม่ ?   แล้วรู้จักไหมว่ามีความหมายอย่างไร ? 
    2. นักเรียนทราบความเป็นมาของการโคลนนิ่งไหม ? เขาเริ่มต้นจากการโคลนนิ่งสัตว์ชนิดใด?
     3. นักเรียนมีเรื่องเล่าอะไรดี ๆ ที่จะมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังบ้างไหม ? ( ครูให้นักเรียนเล่าข่าวสารหรือเรื่องราวที่ได้รับรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน  ทั้งนี้เปิด โอกาสให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็น หรือเพิ่มเติมเนื้อหาสาระได้ โดยครูคอยแนะนำ
 เพิ่มเติม )
    4. จากข้อความข่าว ที่แจกให้แต่ละกลุ่มนั้น  นักเรียนร่วมกันสรุปใจความสำคัญ แล้วอภิปรายในกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็น และให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มมานำเสนอผลงาน ตามประเด็นหน้าชั้นค่ะ (ครูแจกแผ่นข้อความข่าวจากสื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเป็นกลุ่มแล้วร่วมกันคิดวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นต่อข่าวสารนั้นอย่างหลากหลาย )
 
 กิจกรรมเสนอแนะ  
      1. ให้นักเรียนไปสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพิ่มเติม
      2. ให้นักเรียนทำรายงานผลการสืบค้นข้อมูล
      3. จัดป้ายนิเทศแสดงผลงานการสืบค้นข้อมูล
      4. ให้นักเรียนเขียนสรุปเป็นรูปภาพ Preview หรือ ผังมโนทัศน์ Mind Mapping
 
 การบูรณาการ กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ 
     1. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  
          1.1  การสืบพันธุ์ของสัตว์
          1.2. พันธุกรรม
    2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพละศึกษา
          2.1. การสืบพันธุ์ของสัตว์
          2.2 พันธุกรรม
          2.3. ประชากร
    3. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
          3.1  ประชากรศึกษา
    4.   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  
         4.1  คำศัพท์สำหรับนักเรียน 
    5.   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
         5.1  ประกวดการจัดป้ายนิเทศ
         5.2   ตรวจความสวยงามของ Mind Mapping 
  
 ที่มา : 
        1.  
https://www.geocities.com/nananaru/views/science/cloning3.gif
        2.  ข่าวจาก ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 16 เมษายน 2552
                
                       โดย    นางจรรยา  ศรีใสคำ  
                                   ครูชำนาญการ พิเศษ                                                                                 
                                   สพท. ยโสธร  เขต  2
 

 

 

          ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)  ซึ่งเป็นนักวิจัยไทยคนแรกที่ประสบความสำเร็จการโคลนนิงสัตว์ปี 2543 เปิดเผยว่ามทส.อยู่ระหว่างดำเนินการวิจัยทำโคลนนิงแมวลายหินอ่อน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนของเมืองไทย ที่กำลังจะสูญพันธุ์จากการล่า และพันธุกรรมของแมวชนิดนี้ตกลูกยาก การทดลองในเบื้องต้นประสบผลสำเร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ฉีดเซลล์ต้นตอ สเต็มเซลล์เข้าไปในตัวแมวที่จะนำมาทดลอง เนื่องจากห้องปฏิบัติการขาดตู้อบอุณหภูมิ38องศาเซลเซียสที่จะใช้ในการอบ โดยขณะนี้พบว่าในโลกนั้นมีเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น   ที่ประสบผลสำเร็จ  ในการโคลนนิงแมว แต่สำหรับแมวลายหินอ่อนนั้นยังไม่มีประเทศใดทำ จึงถือได้ว่าไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ศึกษาอยู่ และคาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 จะได้ลูกแมวลายหินอ่อนจากการโคลนนิงตัวแรกของโลก เทคนิคในการโคลนนิงแมวดังกล่าวเป็นวิธีเดียวกับการโคลนนิงแกะดอลลี โดยเริ่มต้นด้วยการเตรียมเซลล์เป็นต้นตอ   โดยใช้เซลล์จากหนังหูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร  จากนั้นนำเซลล์ต้นแบบเข้าสู่กระบวนการเพาะเลี้ยง              อาร์เอ็นแอล ไบโอ (RNL Bio) บริษัทเอกชนด้านพันธุวิศวกรรมแห่งหนึ่งในเกาหลีใต้ โชว์ความสำเร็จงดงามด้วยการโคลนนิงลูกสุนัข 2 ตัว ด้วยเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ (stem cell) จากเนื้อเยื่อไขมันของสุนัขตัวต้นแบบพันธุ์บีเกิล โดยนับเป็นครั้งแรกที่มีการโคลนนิงสำเร็จโดยใช้สเต็มเซลล์เนื้อเยื่อไขมันและมีการแถลงข่าวไปเมื่อ 29 ม.คที่ผ่านมา ในกรุงโซล  เอเอฟพีระบุว่าทีมนักวิจัยของอาร์เอ็นแอลไบโอเริ่มแยกตัวอย่างเนื้อเยื่อไขมัน(adipose tissue) จากสุนัขพันธุ์บีเกิล เมื่อ ต.ค. 51 จากนั้นแยกเอาสเต็มเซลล์ออกมาเพาะเลี้ยงต่อในห้องแล็บ แล้วทำการโคลนนิงโดยนำดีเอ็นเอจากเซลล์ต้นกำเนิดเนื้อเยื่อไขมันไปใส่ในเซลล์ไข่ของสุนัข และเพาะเลี้ยงได้ตัวอ่อนจำนวน 84 ตัวนำไปแบ่งฝากในท้องแม่สุนัขอุ้มบุญจำนวน 5 ตัว เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 51  จนกระทั่งเมื่อช่วงปลายเดือน ม.ค. 52 แม่สุนัขตัวหนึ่งชื่อ ริเวอร์ (River) คลอดลูกสุนัขโคลนนิง ออกมา 2 ตัว ซึ่งทีมวิจัยตั้งชื่อให้ลูกสุนัข 2 ตัวนี้ว่า เมจิก (Magic) กับ สเต็ม (Stem) การโคลนนิงสุนัขก็จะง่ายขึ้นเยอะและยังลดต้นทุนในการโคลนนิงลงได้อีกมากด้วย" คำกล่าวของ รา จองชาน (Ra Jeong-Chan) ผู้บริหารของอาร์เอ็นแอล ไบโอ ซึ่งระบุอยู่ในรอยเตอร์ส พร้อมกับบอกด้วยว่าวิธีนี้จะช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการโคลนนิงสุนัขลดลงเหลือเพียงแค่ราว 50,000 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1,750,000 บาท) ได้ภายใน 3 ปีนี้ จากเดิมที่เจ้าของสุนัขต้องควักกระเป๋าจ่ายไม่ต่ำกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 3,500,000 บาท) หากอยากโคลนนิงสุนัขแสนรักที่ตายไปแล้ว ทั้งยังจะเป็นประโยชน์ในการโคลนนิงสุนัขดมกลิ่นสำหรับใช้ในราชการด้วยเช่นกันทีมวิจัยยังบอกอีกด้วยว่าเทคนิคนี้ยังมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหาวิธีรักษาโรคทางพันธุกรรมในสุนัขที่คล้ายกับโรคในคน เช่น เบาหวาน เป็นต้น อีกทั้งเซลล์ต้นกำเนิดเนื้อเยื่อไขมันยังมีศักยภาพสูงในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ส เบาหวาน ข้ออักเสบ และอีกหลายโรคด้วย  ทั้งนี้ ในการแถลงข่าวนักวิจัยแสดงให้ดูเฉพาะภาพถ่ายของลูกสุนัขทั้ง 2 ตัวเท่านั้นไม่ได้เปิดเผยให้สื่อมวลชนและสาธารณชนได้เห็นลูกสุนัขตัวจริง เนื่องจากเกรงว่าแม่สุนัขจะตกใจ อาจทำอันตรายลูกสุนัขได้ ด้านปาร์ก เซ-ปิล (Park Se-Pill) ผู้เชี่ยวชาญด้านโคลนนิงของเกาหลีใต้ ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับบริษัท อาร์เอ็นแอลไบโอ กล่าวว่าการพัฒนาเทคโนโลยีการโคลนนิงสัตว์ให้ก้าวหน้ามากขึ้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีและมีส่วนช่วยลดต้นทุนให้ถูกลงได้ รวมทั้งทำให้อุตสาหกรรมโคลนนิงสัตว์เลี้ยงมีโอกาสเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เมื่อปีที่แล้วอาร์เอ็นแอล ไบโอ ยังได้โคลนนิงสุนัขจากเซลล์ใบหูสุนัขพันธุ์พิตบูลเทอร์เรียแช่แข็ง สัตว์เลี้ยงแสนรักของหญิงชาวอเมริกันผู้หนึ่ง ซึ่งเธอก็ยอมจ่ายเงินไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้บริษัทดังกล่าวโคลนนิงสุนัขแสนรักให้กลับมาอยู่กับเธออีกครั้ง และนับว่าเป็นการโคลนนิงสัตว์เลี้ยงเชิงพาณิชย์ครั้งแรกของโลกด้วย  (ข่าว : ผู้จัดการ)

        นักวิทยาศาสตร์ได้พยายาม "โคลน" สิ่งมีชีวิตมาตั้งนานแล้ว การโคลนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดทำได้ง่ายมาก เช่น ถ้าเราตัดปลาดาวออกเป็นสองส่วน แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นปลาดาวตัวใหม่ทั้งตัวได้ แต่การโคลนสัตว์มีกระดูกสันหลังทำได้ยาก กว่ามาก นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้ว่า ไม่สามารถนำเซลล์ที่พัฒนาเป็นเซลล์พิเศษ ที่มีหน้าที่จำเพาะ มาโคลนเป็นสิ่งมีชีวิตทั้งตัวได้ เช่น ถ้าเราเอาเซลล์ผิวหนังหรือเม็ดเลือดของคนมาโคลน  ก็จะได้เฉพาะเซลล์ผิวหนัง  หรือเส้นเลือดที่มีสารพันธุกรรมเหมือนกันเท่านั้น ไม่สามารถจะพัฒนาเป็นคนทั้งตัวได้ 
       ในปี ค.ศ.1996 นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันโรสลิน ประเทศสกอตต์แลนด์ ได้สร้างแกะที่เกิด จากการโคลนเป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก โดยเอาเซลล์ต่อมน้ำนมของแกะตัวหนึ่งไปผสมกับไข่ที่ไม่มีดีเอ็นเอ(ดีเอ็นเอของไข่ถูกดูดออกไป)โดยใช้ไฟฟ้าทำให้ไข่นั้นพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนได้โดยอาศัยดีเอ็นเอที่ได้จากเซลล์ต่อมน้ำนม แล้วตัวอ่อนที่ได้ได้ถูกนำไปฝากไว้ในครรภ์ของแม่แกะอีกตัวหนึ่งลูกแกะที่โด่งดังตัวนี้มีชื่อว่า ดอลลี่ ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1996
ดูรูปภาพขั้นตอนการโคลนนิงแกะ คลิกที่นี่ 
https://www.geocities.com/nananaru/views/science/cloning1.gif
https://www.geocities.com/nananaru/views/science/cloning2.gif
https://www.geocities.com/nananaru/views/science/cloning3.gif       
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=68

อัพเดทล่าสุด