รอบรู้เรื่องนิวเคลียร์


669 ผู้ชม


การควบคุมการส่งออกทางนิวเคลียร์ ภายใต้ Nuclear Supplier Group (NSG)   

รอบรู้เรื่องนิวเคลียร์

รัฐบาลไทยโดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การควบคุมการส่งออกทางนิวเคลียร์ ภายใต้ Nuclear Supplier Group (NSG) เพื่อเป็นเวทีให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในเรื่องกฎระเบียบต่างๆ และแนวทางการดำเนินการควบคุมการเผยแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ในกรอบอาเซียน รวมทั้งมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นภายในประเทศ ในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีความก้าวหน้า และการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพลังงานปรมาณูในทางสันติ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านนี้

ภาพจากwww.thaindc.oaep.go.th/b06.HTM

ข่าวจาก(ไทยรัฐ)

ปฏิกิริยานิวเคลียร์

 ปฏิกิริยานิวเคลียร์ เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่นิวเคลียสของธาตุ แล้วทำให้เกิดธาตุใหม่ขึ้นและให้พลังงานจำนวนมหาศาล ซึ่งต่างจากปฏิกิริยาเคมี เพราะปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นที่อิเล็กตรอนรอบๆ นิวเคลียส ไม่ทำให้เกิดธาตุใหม่ แต่ได้สารใหม่ที่แตกต่างจากสารเดิม รวมทั้งมีพลังงานเกี่ยวข้องไม่มาก
 ปฏิกิริยานิวเคลียร์อาจจะเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมขนาดใหญ่เรียกว่าปฏิกิริยาฟิวชัน หรืออาจจะเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสของอะตอมขนาดเล็กเรียกว่า ปฏิกิริยาฟิวชันก็ได้

  ปฏิกิริยาฟิสชัน (Fission reaction)
 ฟิสชันเป็นกระบวนการที่นิวเคลียสของธาตุหนักบางชนิดแตกตัวออกเป็นไอโซโทปของธาตุที่เบากว่า ปฏิกิริยาฟิสชัน  สามารถเกิดได้กับนิวเคลียสของธาตุหนักเช่น U-233 ,  U-235,  U-238, และ Pu-239  เป็นต้น
 เมื่อเกิดปฏิกิริยาฟิสชัน จะมีความร้อนคายออกมาจำนวนมหาศาล นอกจากจะได้ไอโซโทปหลายชนิด ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีผลิตไอโซโทปกัมมันตรังสีที่สำคัญแล้ว ยังได้นิวตรอนจำนวนหนึ่งด้วย ซึ่งนิวตรอนที่เกิดขึ้นใหม่นี้จะชนกับนิวเคลียสอื่นๆ เกิดฟิสชันแบบต่อเนื่องเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่  
 ปฏิกิริยาฟิสชันที่เกิดขึ้นภายใต้สภาวะที่เหมาะสม จะทำให้เกิดพลังงานอย่างมหาศาล ซึ่งใช้หลักการของฟิสชันมาทำระเบิดปรมาณู ในสงครามโลกครั้งที่ 2
 ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ในฟิสชันได้ และนำมาใช้ประโยชน์ทางสันติ เช่น ใช้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณู เพื่อผลิตไอโซโทปกัมมันตรังสี เพื่อใช้ในทางการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม ในขณะที่พลังงานที่ได้ก็สามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้

  ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fusion reaction)

 ปฏิกิริยาฟิวชัน เป็นปฏิกิริยาที่เกิดการรวมตัวของไอโซโทปที่มีมวลอะตอมต่ำ ทำให้เกิดไอโซโทปใหม่ที่มีมวลมากขึ้นกว่าเดิม และให้พลังงานจำนวนมหาศาล และโดยทั่วๆ ไปจะให้พลังงานมากกว่าปฏิกิริยาฟิสชัน

ประเด็นคำถามที่นำไปสู่การอภิปราย

      1.รัฐบาลไทยให้ความสำคัญด้านนิวเคลียร์อย่างไร

      2.ปฏิกิริยานิวเคลียร์เกิดขึ้นและดำเนินไปอย่างไร

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้

       1.กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ  เช่น  ข่าวสาร  คำศัพท์

       2.กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขพละฯ   เช่น  อันตรhttps://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=90ายจากนิวเคลียร์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างไร

       3.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ เช่น  การควบคุมนิวเคลียร์ของนานาชาติ

แหล่งที่มา

หนังสือแบบเรียน  สสวท.

เขียนโดย

นางยุพิน  เดชะศิริพงษ์

ครูโรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์

สพท.อด.4
ที่มา : 

อัพเดทล่าสุด