อาหารเช้า วิธีเลือกรับประทานอาหารดีมีประโยชน์
บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จัดกิจกรรม เรื่อง "เลี้ยงลูกให้ฉลาดเรียน เก่งกิจกรรม กับอาหารเช้าเนสท์เล่ ซีเรียล โฮลเกรน" พบว่า ปัจจัยที่จะมีผลต่อพัฒนาการของเด็กคือ การเลี้ยงดู อาหารเช้าถือว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้มาก หากไม่รับประทานอาหารเช้าจะมีผลต่อการเรียนอย่างมายมาย (ข่าวไทยรัฐออนไลน์ อังคารที่ 28 เม.ย. 52)
อาหารเช้า
อาหารเช้า คืออาหารที่รับประทานในตอนเช้า ก่อนอาหารกลางวันหรืออาหารเย็น คำว่าอาหารเช้าในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า Breakfast ซึ่ง Breakfast เกิดจากแนวความคิดที่ว่า การนอนของมนุษย์เราเท่ากับการอดอาหาร (to fast) ดังนั้น อาหารเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกที่รับประทานหลังจากตื่นนอน หรือเป็นอาหารมื้อแรกที่รับประทานหลังจาก "อดอาหาร" (to "break" the "fast" - ยุติหรือเลิกการอดอาหาร) โดยปกติอาหารเช้าของไทย มักจะเป็น ข้าว แต่ทั้งนี้ในแต่ละภูมิภาคก็จะมีการรับประทานข้าวที่แตกต่างกัน (ที่มา วิกิพีเดีย)
อาหารเช้าเป็นอาหารมื้อที่สำคัญที่สุด เนื่องจาก ความต้องการพลังงานพลังงานของร่างกายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หลังจากที่ร่างกายพักผ่อน 6- 8 ชั่วโมงมาแล้ว ดังนั้นการอดอาหารเช้าเท่ากับเป็นการงดการเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย โดยเฉพาะ ในเด็กวัยเรียน ซึ่งต้องอาศัยพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดวัน เมื่อขาดอาหารระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ มีความรู้สึกหิว กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดความฉับไว ในการคิดคำนวณหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เกิดการผิดพลาดได้มากกว่า และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนจะด้อยกว่าเด็กที่รับประทานอาหารเช้า
ดังนั้น อาหารมื้อที่สำคัญที่จะมีผลต่อการดำรงชีวิตก็คือ อาหารเช้า จากผลการศึกษาด้านการรับประทานอาหารพบว่าอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต เป็นอาหารที่มีความสำคัญต่อสมองจากผลการวิจัยพบว่าบุคคลที่รับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมอมีโอกาสจะเป็นโรคอ้วนน้อยกว่าผู้ผู้ไม่รับประทานอาหารเช้า แต่ทั้งนี้สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการรับประทานอาหารเช้าก็คือ คุณภาพและปริมาณของอาหาร
อาหารเช้าที่ควรใส่ใจ (ที่มา : อาหารกับสุขภาพ )
การรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรพิจารณาเลือกชนิดอาหารที่มีองค์ประกอบดังนี้
1. คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ดีที่สุดสำหรับอาหารเช้า เพราะจะค่อยๆ ปลดปล่อยกลูโคสให้กับสมองโดยใช้เวลานานขึ้นในการ
ย่อยและดูดซึม
2. โปรตีน จากอาหารทะเลเนื่องจากให้กรดอะมิโน เพื่อผลิตสารสื่อข่าวสมอง ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินบีและโคลีนช่วย
การทำงานเกี่ยวกับความจำ
3. อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง หรือธัญพืชเสริมแคลเซียม น้ำส้มเสริมแคลเซียม ช่วยในการเผา
ผลาญไขมันและลดการสะสมไขมันในร่างกาย
หลัก 5 ประการในการรับประทานอาหารเช้าอย่างถูกวิธี (ที่มา :https://www.hilunch.com )
1. เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่า
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมากเกินไป เช่น ของเชื่อมหรือของหวาน
3. บริโภคแค่เพียงพออิ่มตามที่ร่างกายต้องการ
4. ควรรับประทานเป็นประจำเพื่อความสมดุลของร่างกาย
5. ควรรับประทานอาหารต่างๆ หมุนเวียนกันไปตามประเภทของงานที่จะต้องทำ ร่างกายจะได้เผาผลาญแคลอรีได้หมด ทำให้ไม่เกิดไขมันสะสมในร่างกาย
คาร์โบไฮเดรต
เป็นสารอาหารที่มีองค์ประกอบที่สำคัญของธาตุ 3 ชนิด คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน คาร์โบไฮเดรตมี 3 ชนิด คือ มอนอแซ็คคาร์ไรด์ ไดแซ็คคาร์ไรด์ และพอลิแซ็คคาร์ไรด์ โดยคาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันทางโครงสร้างดังนี้
มอนอแซ็คคาร์ไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ประกอบด้วยคาร์บอน 3 - 8 อะตอม เชื่อมต่อกัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือน้ำตาลแอลโดส และน้ำตาลคีโตส เช่น กลูโคส ฟลุกโตส กาแล็กโทส ไรโบส เป็นต้น
ไดแซ็คคาร์ไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยมอนอแซ็กคาร์ไรด์ 2 โมเลกุลมารวมกัน เช่น กลูโคส + กลูโคส เป็น มอลโตส , กลูโคส + ฟรักโตส เป็น ซูโครส , กลูโคส + กาแล็กโทส เป็น แล็กโทส การแบ่งประเภทของน้ำตาลโมเลกุลคู่ ( ไดแซ็กคาร์ไรด์ ) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ รีดิวซิงค์ซูการ์ และนอนรีดิวซ์ซิงค์ซูการ์
พอลิแซ็คคาร์ไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ที่สุด เกิดจากการรวมกันของมอนอเมอร์หลาย ๆ โมเลกุล เช่น แป้ง , เซลล์ลูโลส , ไกลโคเจน
<ข้อมูลเพิ่มเติม>
โปรตีน
เป็นสารอาหารที่มีองค์ประกอบที่สำคัญของธาตุ 4 ชนิดคือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน ซึ่งเมื่อธาตุทั้ง 4 ชนิดนี้รวมกันจะกลายเป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุดของโปรตีน เรียกว่า กรด อะมิ อาหารที่มักพบโปรตีนคือ ปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว นม ฯลฯ
<ดูข้อมูลเพิ่มเติม>
คำถาม
1. หากไม่ทานอาหารมื้อเช้าจะมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
2. อาหารที่ควรจะรับประทานในตอนเช้ามีลักษณะอย่างไร
3. อาหารที่ท่านรับประทานในตอนเช้า เป็นอาหารประเภทใด สอดคล้องกับความต้องการของร่างกายหรือไม่อย่างไร
4. หากท่านรับประทาน ไข่ดาว หมูแฮม และนมสดเป็นอาหารเช้าทุกวัน จะมีผลต่อสุขภาพร่างกายหรือไม่อย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
จัดทำรายการอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ พร้อมทั้งคำนวณหาพลังงานด้วย
การบูรณาการ
1.วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุล , อาหารกับชีวิต
2. สุขศึกษา เรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ
โดย : ครูพัชรี ลิ้มสุวรรณ โรงเรียนทุ่งตะโกวิทยา อำเภอทุ่งตะโกวิทยา
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=94