ลมสุริยะเปลี่ยนสีของดาวเคราะห์น้อย


736 ผู้ชม


การเปลี่ยนแปลงสีผิวของดาวเคราะห์น้อย   

ลมสุริยะเปลี่ยนสีของดาวเคราะห์น้อย

         ผลจากการศึกษาที่เผยแพร่ในสัปดาห์นี้พบว่าระยะเวลาที่พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยได้เปลี่ยนสีกลายเป็นสีแดงเร็วกว่าที่คาดไว้ว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า  1 ล้านปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากสำหรับดาวเคราะห์น้อย
         การศึกษานี้ได้ยืนยันว่าลมสุริยะเป็นสาเหตุหลักต่อสภาพบรรยากาศรอบ ๆ ดาวเคราะห์น้อย ผลสรุปเชิงพื้นฐานนี้จะช่วยในักดาราศาสตร์ เชื่อมโยงสภาพในปัจจุบันและอดีตที่แท้จริงของดาว
เคราะห์น้อย และชี้ให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากที่ดาวเคราะห์น้อยชนกับดาวดวงอื่น

ลมสุริยะเปลี่ยนสีของดาวเคราะห์น้อย

ภาพจำลองการเปลี่ยนสีผิวของดาวเคราะห์น้อยโดยลมสุริยะหลังจากเวลาผ่านไปนับล้านปี Credit:ESO/M. Martins
https://www.eso.org/gallery/v/ESOPIA/illustrations/phot-16a-09-fullres.tif.html

          รู้สึกเหมือนว่าดาวเคราะห์น้อยหลายดวงจะได้รับผิวสีคล้ำของดวงดาทิตย์ในเวลาอันรวดเร็ว Pierre Vernazza ได้กล่าวว่า "มันไม่ใช่แบบเดียวของผิวหนังมนุษย์ที่คล้ำเพราะรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ แต่สำหรับดาวเคราะห์น้อยมันเกิดจาก ลมสุริยะต่างหาก

         มันเป็นที่รู้มานานแล้วว่า สีผิวของดาวเคราะห์น้อยจะเปลี่ยนเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ดาวเคราะห์น้อยได้ถูกสังเกตว่ามีสีแดงมากกว่าอุกาบาตที่พบบนโลก แต่กระบวนการของสภาพอากาศและเวลาที่เกิดยังมีการถกเถึยงกันอยู่

ลมสุริยะเปลี่ยนสีของดาวเคราะห์น้อย

ลมสุริยะ (Solar Wind) คือ กระแสอนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาเป็นประจำ  
Credit : https://scijinks.jpl.nasa.gov/en/educators/spaceweather_gallery.shtml

   ต้องขอบคุณการสังเกตการณ์ของกลุ่มต่าง ๆ ของดาวเคราะห์น้อยโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ New Technology Telescope ณ  La Silla และ  Very Large Telescope ณ Paranal ของหอสังเกตการณ์ท้องฟ้าซีกใต้ยุโรป (European Southern Observatory)  เช่นเดียวกับกล้องโทรทรรศน์ในประเทศสเปนและเกาะฮาวาย  คณะทำงานของ Vernazza ได้ไขปริศนาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว    
         เมื่อดาวเคราะห์น้อยสองดวงชนกัน จะเกินชิ้นส่วนขนาดเล็กใหม่ๆ  นักดาราศาสตร์พบว่า   ผิวดาวเคราะห์น้อยที่ถูกกะเทาะเปลือกออกมาขึ้นมาจะเปลี่ยนสีอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 1 ล้านปี  ซึ่งถือเป็นเพียงชั่วครู่เดียว เมื่อเทียบกับอายุของระบบสุริยะ  
         “อนุภาคที่มีประจุพลังงานสูงภายในลมสุริยะจะสร้างความเสียหายให้กับผิวดาวเคราะห์น้อย  ในอัตราที่น่าประหลาดใจ”    Vernazza กล่าว  
          แตกต่างจากผิวหนังของมนุษย์ ซึ่งจะเสียหายมากขึ้นตามจำนวนครั้งที่ได้รับแสงอาทิตย์ ทว่าสำหรับผิวดาวเคราะห์น้อยที่พึ่งถูกกะเทาะออกมา เพียงแค่ช่วงเวลาไม่นาน(1 ล้านปี) ก็เกิดความแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว 

ลมสุริยะเปลี่ยนสีของดาวเคราะห์น้อย

ดาวเคราะห์น้อยมีโอกาสชนกันจนเกิดการกะเทาะเปิดหน้าผิวใหม่ออกมา 
source: https://galleria.spacearium.com/images/space_art/asteroid.gif


          จากการศึกษาดาวเคราะห์น้อยหลายหลายประเภท  คณะนักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบทางเคมีของผิวดาวเคราะห์น้อยเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการเปลี่ยนสีดาวเคราะห์น้อยให้เป็นสีแดงเข้มยิ่งขึ้น  หลังจาก 1 ล้านปีแรกผ่านไป ผิวสีของดาวเคราะห์น้อยจะเปลี่ยนสีช้าลง  ที่ระยะดังกล่าวการเปลี่ยนสีจะแปรผันตามส่วนประกอบทางเคมีบนผิวมากกว่าอายุ ยิ่งกว่านั้นผลการสังเกตยังเปิดเผยให้เห็นว่า การชนที่ไม่ได้เป็นกลไกสำคัญของการกะเทาะผิวของดาวเคราะห์น้อยในหมู่ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก(near-Earth asteroids)  แต่กลับเป็นเหตุการที่เมื่อดาวเคราะห์น้อยชนิดนี้เข้าใกล้ดาวเคราะห์ จะถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์เขย่าจนผิวชั้นนอกหลุดออกมา เผยให้เห็นชั้นสสารด้านในออกมา
          ต้องขอบคุณงานวิจัยชิ้นนี้ที่ช่วยให้อธิบายทำให้เกิดความเข้าใจเรื่อวผิวของดาวเคราะห์น้อยได้ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับค่าการสะท้อนแสงของดาวเคราะห์น้อยอีกด้วย

ประเดนคำถามที่นำไปสู่การอภิปราย
        1. ให้ความหมายของดาวเคราะห์น้อย
        2. รังสีอุลตาไวโอเลตมีผลต่อผิวหนังของมนุษย์อย่างไร
        3. ลมสุริยะเกิดขึ้นได้อย่างไร
        4. จากข้อความ"แต่กลับเป็นเหตุการที่เมื่อดาวเคราะห์น้อยชนิดนี้เข้าใกล้ดาวเคราะห์ จะถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์เขย่าจนผิวชั้นนอกหลุดออกมา" นักเรียนจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้อย่างไร

บูรณาการกับกลุ่มสาระ
         ภาษาต่างประเทศ
         การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ที่มา :   https://www.thaispaceweather.com/
             https://www.eso.org/public/

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=95

อัพเดทล่าสุด