เมื่อมองขึ้นไปบนดวงจันทร์คุณเห็นอะไร? กระต่าย ตากับยาย หรือ ......
เอาบ้าง.....รัสเชียคัดเอกชนสร้างจรวดส่งคนไปดวงจันทร์
สำนักข่าวบีบีซีนิวส์ระบุว่า องค์การอวกาศรัสเซีย (Russian space agency) หรือ รอสคอสมอส (Roscosmos) ได้ผู้ชนะการประมูลในการเสนอโครงการสร้างยานอวกาศอวกาศ ส่งคนไปปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์แล้ว โครงการนี้ถือเป็นแผนงานด้านอวกาศชิ้นแรกของรัสเซียที่ มีเป้าหมายหลักอยู่ที่ดวงจันทร์ นับแต่ปี พ.ศ.2507 อีกทั้งนับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย ที่มอสโควได้รับรองการพัฒนายานอวกาศลำใหม่ โดยคาดว่าจะได้ทดสอบจรวดใหม่ประมาณปี 2558 [https://www.manager.co.th วันที่ 19 มีนาคม 2552 เวลา 08.48 น.]
ในระหว่างที่รอให้ประเทศไทยสามารถสร้างจรวดหรือยานอวกาศเพื่อพาพวกเราไปท่องโลกอวกาศ เราก็มาใช้ชีวิตอย่างพอเพียง โดยการพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ นั่นคือมาศึกษาทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านที่แสนดีของเราให้ถ่องแท้กันดีกว่า
[เนื้อหานี้เหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1-2 และผู้สนใจทั่วไป]
1. ดวงจันทร์เพื่อนบ้านของเรา
ที่มาภาพ : https://stloe.stkc.go.th/html/lo_index/LOcanada9/903/images/moon.jpg
ที่มาภาพ : https://www.pibul.ac.th/wordpress/wp-content/uploads/2007/09/mercury1.jpg
ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลกอยู่ห่างออกไป 36,104 กิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,476.28 กิโลเมตร ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่ขณะโคจรไปนั้นดวงจันทร์ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์แล้วสะท้อนมายังโลก ทำให้คนที่อยู่บนโลกมองเห็น ดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญซึ่งเราจะเห็นผิวพื้นของดวงจันทร์ได้เต็มดวงและด้วยตาเปล่า จะเห็นรอยดำๆ ปรากฏทั่วไปในพื้นดินคล้ายกับเป็นรูปของกระต่ายหรือยายตำข้าวตามความเชื่อของคนโบราณ แต่ถ้ามองดูผิวพื้นของ ดวงจันทร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์แรงสูง จะพบหุบเหวลึกๆ อันเป็นลักษณะของภูเขาไฟที่ดับแล้วจำนวนนับไม่ถ้วน นอกจากนี้ตามผิวพื้นราบยังปรากฏเป็นหลุมลึกขนาดใหญ่มหึมาอีกมากมาย ซึ่งเข้าใจกันว่า เกิดจากการกระแทกอย่างแรงของสะเก็ดดาวนอกเวหาที่พุ่งเข้าชนดวงจันทร์ เช่นเดียว กับหลุมลึกที่เกิดจากดาวตกพุ่งเข้าชนผิวโลกในทะเลทรายมลรัฐอริโซนาสหรัฐอเมริกา เมื่อสมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์
ดวงจันทร์มีการเคลื่อนที่ 3 แบบ คือ หมุนรอบตัวเองรอบละ 29.5 วัน โคจรรอบโลกรอบละ 29.5 วัน และขณะเดียว กันก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยรอบละ 12 เดือน ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่ากับเวลาที่ใช้ในการโคจรรอบโลก ดังนั้น เมื่อเรามองจากโลก เราจะมองเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเสมอ
ที่มาภาพ : https://school.obec.go.th/siewthai/scince_p425_clip_image002.jpg
3. วิธีสังเกตดวงจันทร์
ดวงจันทร์วันเพ็ญ(เต็มดวง) จะขึ้นที่ขอบฟ้าตะวันออก ทันทีที่ดวงอาทิตย์ตกเวลาประมาณ 18.00 น. หลังจากวันนี้ดวงจันทร์จะขึ้นตำแหน่งเดิม คือ ตรงขอบฟ้า แต่จะช้าไปวันละประมาณ 50 นาที แต่เนื่องจากขณะที่ดวงจันทร์จะขึ้นจากขอบฟ้าตะวันออกเราจะสังเกตได้ยาก เพราะอาจมีบ้านเรือน ต้นไม้ หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ บัง ดังนั้นเราอาจกำหนดเวลาสังเกตดวงจันทร์ เมื่อเรามองเห็นดวงจันทร์ได้ชัดเจน
แสงสว่างจากดวงจันทร์ที่เรามองเห็นนั้นเป็นผลมาจากการสะท้อนแสงของดวงอาทิตย์ด้านที่รับแสงซึ่งหันมาทางโลก เมื่อเรามองดวงจันทร์จากโลก จะเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างเปลี่ยนไปทุกคืน ตามตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก บางคืนดวงจันทร์เป็นดวงกลมสว่างเต็มดวง บางคืนสว่างครึ่งดวง บางคืนเป็นเสี้ยว และบางคืนมองไม่เห็นดวงจันทร์เลย
คืนใดที่ดวงจันทร์มืดหรือมองไม่เห็นดวงจันทร์ โลกเราจะมืดไปด้วย คืนต่อมาเราจะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวโตขึ้น และโตขึ้นในคืนถัดมา ระยะที่เราเห็นดวงจันทร์โตขึ้นเรื่อย ๆ ทุกคืนเช่นนี้ เราเรียกว่า ข้างขึ้น มีระยะเวลาประมาณ 15 วัน
ที่มาภาพ : https://www.thai-school.net/view_tj.php?ID=896
เมื่อดวงจันทร์โตขึ้นจนสว่างเต็มดวงแล้ว คืนต่อมาเราจะเห็นดวงจันทร์เล็กลง เล็กลงเรื่อย ๆ ในคืนถัดมา จนมืดหมดทั้งดวง ระยะเวลาที่เราเห็นดวงจันทร์เล็กลงเรื่อย ๆ ทุกคืนเช่นนี้ เราเรียกว่า ข้างแรม มีระยะเวลาประมาณ 15 วัน
ที่มาภาพ : https://www.thai-school.net/view_tj.php?ID=896
6.แบบจำลองการเกิดข้างขึ้นข้างแรม
ที่มาภาพ : https://www.dlf.ac.th/dltv/dltv-uploads/libs/html/1753/picture/animate_lab3.gif
จากแผนภาพ สามารถอธิบายได้ ดังนี้
ตำแหน่งที่ 1 เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก จะเป็นวันแรม 15 ค่ำ จะมองไม่เห็น
ดวงจันทร์ เพราะดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์ไปด้านอื่น เรียกว่า “วันเดือนดับ” หรือคืนเดือนมืด
ตำแหน่งที่ 2 – 4 เป็นตำแหน่งที่จะเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เป็นรูปเสี้ยว และหันด้านเว้าไปทางทิศตะวันตก จากนั้น
จะค่อย ๆ มองเห็นแสงจากดวงจันทร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นครึ่งดวง (ตำแหน่งที่ 3) และ
เพิ่มเป็นค่อนดวง(ตำแหน่งที่ 4)
ตำแหน่งที่ 5 เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ตรงกับโลกและดวงอาทิตย์จะเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งจะมองเห็นแสง
ของดวงจันทร์เต็มดวงเรียกว่า “วันเพ็ญ” หรือ คืนเดือนหงาย
ตำแหน่งที่ 6 – 8 เป็นตำแหน่งที่จะเริ่มมองเห็นแสงสะท้อนลดลงจากค่อนดวง (ตำแหน่ง 6) เป็นครึ่งดวง
(ตำแหน่ง 7) และจนกระทั่งเห็นดวงจันทร์เป็นรูปเสี้ยว (ตำแหน่ง 8)โดยหันด้านเว้าไปทางทิศ
ตะวันออก
7. กิจกรรมต่อยอดความคิด
- ลองมาสังเกตดวงจันทร์ในเวลา 1 เดือน บันทึกการเปลี่ยนแปลงที่พบ แล้วส่งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ
- จัดทำปฏิทินดวงจันทร์ที่แสดงข้างขึ้นข้างข้างแรมในเวลา 1 เดือน
- ศึกษาในหัวข้อที่เกี่ยวกับดวงจันทร์ที่ตนเองสนใจแล้วนำมาเขียนรายงานหรือจัดแสดงให้เพื่อน ๆ ชม
[ชมตัวอย่าง...คลิก 1 2 ]
- อภิปรายถึงความสำคัญของข้างขึ้นข้างแรมกับสังคมไทย
- วาดภาพสิ่งที่จินตนาการว่าจะพบบนดวงจันทร์
8. เอกสารอ่านเสริมเพิ่มความรู้
- การสังเกตดวงจันทร์ข้างขึ้นข้างแรม
- ปฏิทินทางจันทรคติ
- วันสำคัญทางพระพุทธศานากับข้างขึ้นข้างแรม
9. การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น ๆ
9.1 สาระสังคมศีกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
- การอ่านปฏิทินทางจันทรคติ
9.2 สาระศิลปะ
- การวาดภาพตามจินตนาการในหัวข้อ "สิ่งที่ฉันพบบนดวงจันทร์"
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=105