อวัยวะไม่ครบ 32 สามารถเพิ่มเติมได้


751 ผู้ชม


ชายพิการวัย 52 ปี เตรียมเข้ารับการผ่าตัดจากแขน ขาขาด เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียดมื่อ3 ปีที่แล้ว โดยวิธีการปลูกถ่ายอวัยวะ จากนายแพทย์จากมหาวิทยาลัยพิสต์เบิร์กสหรัฐอเมริกา   

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  รายวิชาชีววิทยา  ช่วงชั้นที่ 4

อวัยวะไม่ครบ 32 สามารถเพิ่มเติมได้

การปลูกถ่ายอวัยวะ

      คือ การนำอวัยวะจากที่หนึ่งไปไว้ยังอีกที่หนึ่ง อาจเป็นในคน เดียวกันหรือต่างคนก็ได้ เช่น การย้ายผิวหนังจากขามาปะที่ลำตัว หรือการเปลี่ยนแก้วตา จากการบริจาคดวงตา อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ก้าวหน้าไป มากจนสามารถนำอวัยวะจากผู้ที่เสียชีวิตแล้วหรือผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นำไปปลูกถ่ายให้กับ ผู้ป่วยได้ ที่เรียกกันทั่วไปว่า การเปลี่ยนอวัยวะ ทำให้ผู้ที่ได้รับอวัยวะสามารถรอดชีวิตอีกครั้งการปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่สำคัญมากในปัจจุบัน และทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากสามารถมีชีวิตอยู่ได้ต่อไปอย่างปกติสุข

                                                การปลูกถ่ายอวัยวะที่ทำในอดีตนั้นมักได้ผลไม่ค่อยดีนัก สำหรับประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย เมื่อปี 2542 มีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ ไว้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ 1,006 คน โดยรอการปลูกถ่ายไต 907 คน, รอปลูกถ่ายตับ 46 คน, รอปลูกถ่ายหัวใจ 14 คน,รอปลูกถ่ายหัวใจและปอด 39 คน เมื่อปี พ.ศ.2542 มีอวัยวะบริจาคผู้เสียชีวิต สมองตายเพียง 70 คน สามารถนำอวัยวะไปปลูกถ่ายแก่ผู้ป่วยที่รอคอยอวัยวะได้เพียง 150 คน แยกปลูกถ่ายไต 129 คน, ปลูกถ่ายตับ 13 คน,ปลูกถ่ายหัวใจ 3 คน, ปลูกถ่ายหัวใจและปอด 3 คน และปลูกถ่ายปอด 2 คน 
การบริจาคอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายแตกต่างจากการอุทิศร่างกาย เพื่อการศึกษาแพทย์อย่างไร ?

การขาดแคลนอวัยวะ

ปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารในเรื่องต่างๆ กระทำได้อย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ได้ทราบข่าวความ สำเร็จอย่างสูงของศัลยกรรมปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ชีวิต ยืนยาวขึ้นเท่านั้นแต่ยังมีคุณภาพชีวิต
ที่ดีด้วย บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะ ได้รับการรักษาพยาบาลเท่าเทียวกันทุกคนไม่ว่าคนรวย 
คนจนต่างก็อยากมีชีวิตอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ปัญหาใหญ่คือ อวัยวะที่จะนำมาปลูกถ่ายมีจำกัด ไม่สามารถสร้างหรือผลิตขึ้นเองเหมือนอะไหล่รถยนต์ ต้องได้จากการบริจาคของผู้ที่มีชีวิต หรือผู้เสียชีวิตแล้วเท่านั้น

จากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2540 มีผู้รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะกว่า 55,789 คน เทียบกับเมื่อปี 2536 ซึ่งมีจำหนวนเพียง 32,000 คน ทำให้เห็นว่าโดยเฉลี่ยแล้วจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
ประมาณปีละ 5,000 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ต่อปี นอกจากนี้อัตราตายระหว่างรอการปลูกถ่ายอวัยวะมีถึงร้อยละ 5.8 ต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบอัตราการตายในแต่ละปีแล้ว พบว่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.8

การบริจาคเพื่อปลูกถ่ายอวัยวะ

1. นำอวัยวะบางส่วน เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต ฯลฯ ไปเปลี่ยนให้กับผู้ป่วยที่อวัยวะนั้นๆ เสื่อมสภาพ ให้มีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น 
2. ต้องเสียชีวิตจากสมองตายเท่านั้น 
3. หลังจากการผ่าตัดนำอวัยวะออก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง แพทย์จะตกแต่งร่างกายให้คงเดิม และมอบให้ญาตินำกลับไปประกอบพิธีทางศาสนาได้ 
4. รับแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะจากผู้มีจิตกุศลทั่วประเทศ 
5. แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย เหล่ากาชาดจังหวัดทุกแห่ง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น โรงพยาบาลชลบุรีและหน่วยเคลื่อนที่ต่างๆ

การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์

1. อุทิศทั้งร่างกายเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ศึกษาส่วนต่างๆ ของอวัยวะในร่างกายมนุษย์ 
2. เสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติ มีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ ยกเว้นผู้บริจาคดวงตา 
3. หลังจากเสียชีวิตแล้ว ต้องแจ้งให้ไปรับร่างกายภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากการศึกษา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ปี จะมีพิธีบำเพ็ญกุศลอาจารย์ใหญ่ให้ 
4. มีขอบเขตการรับอุทิศร่างกายจำกัดเช่นรับเฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (รายละเอียดขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบัน) 
5. ติดต่อได้ที่คณะแพทย์ศาสตร์ทุกแห่ง

การร่วมมือกันในกระบวนการบริจาคอวัยวะ

ทั้งหมดเป็นเรื่องของสังคม น่าจะเป็นความรับผิดชอบร่วมกันในการที่ให้สาธารณชนรับทราบเรื่อง 
1. การปลูกถ่ายอวัยวะเป็นการให้ชีวิตใหม่พร้อมคุณภาพ 
2. ผู้ป่วยที่สมองตาย คือเสียชีวิตแล้ว 
3. การบริจาคอวัยวะเป็นทานบารมีที่สูงสุด ถ้ายิ่งแสดงเจตนาขณะมีชีวิตอยู่ แม้อวัยวะไม่ได้ใช้ก็ได้รับผลบุญนั้นแล้ว เมื่อเสียชีวิตลงอวัยวะนั้นเจ้าของ ก็ย่อมไม่ต้องการใช้อยู่แล้ว การให้คนอื่น นอกจากเป็นการ recycle แล้วยังช่วยชีวิตผู้อื่นอีก

เหตุผลสำคัญที่ไม่ได้รับการบริจาคอวัยวะ

1. ญาติผู้เสียชีวิตปฏิเสธที่จะบริจาค 
2. แพทย์พยาบาลไม่ได้ทำการขอ 
3. เหตุผลทางการบริหารจัดการ รวมทั้งปัญหาทางกฎหมายต่างๆ

ประเด็นคำถามที่ชวนให้คิด

1. เหตุใดจึงไม่ให้มีการซื้อขายอวัยวะที่ใช้ในการปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วย

                                                                                 กิจกรรมเสนอแนะ

 1. การปลุกถ่ายอวัยวะภายในร่างกาย อวัยวะที่ได้รับการบริจาคบางชิ้นอาจไม่สมบูรณ์เต็มที่ เนื้อเยื่ออาจไม่เจริญก่อให้เกิดปัญหาได้ 

การบูรณาการเกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ

1. บูรณาการในกลุ่มสาระเดียวกัน เช่น ชีววิทยา เคมี วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

2. บูรณาการนอกกลุ่มสาระ เช่น สุขศึกษาและพละศึกษา  ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ

แหล่งอ้างอิง

www.elib-online.com/doctors2/gen_give03.html - 20k
guru.sanook.com/encyclopedia/การปลูกถ่ายอวัยวะ/ - 46k  
www.elib-online.com/doctors2/gen_give03.html - 20k

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=273

อัพเดทล่าสุด