ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)


1,297 ผู้ชม


จำแนกดอกไม้แต่ละชนิด ที่มีอยู่ในเนื้อเพลง   

          บางคนอาจจะเคยได้ยินเพลงสมัยเด็ก มีอยู่เพลงหนึ่งที่อาจจะคุ้นหูสำหรับบางคน โดยเนื้อเพลงจะกว่าถึงการเที่ยวชมอุทยาน ที่มีแต่พันธุ์ไม้หลากหลายชนิด เพลงนั้นก็คื่อ  อุทยานดอกไม้ ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย อาจารย์สกลธ์  มิตรานนท์  ขับร้องโดย วงจันทร์ ไพโรจน์ (เพลงดังในอดีต เช่น กุหลาบเวียงพิงค์ สาวสะอื้น แม่พิมพ์ของชาติ ฯลฯ) โดยมีเนื้อเพลงดังนี้

ชม  ผกา จำปา จำปี กุหลาบ
ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้งกรรณิการ์..
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค
มณฑา สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา
 และสร้อยทอง..
บานบุรี ยี่สุ่น ขจร ประดู่ พุดซ้อน
พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล
ควรปอง.. 
งามทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์
พวงทอง บานชื่น
สุขสอง พุทธชาติสะอาดแซม...
**พิศ พวงชมพู กระดังงาเลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม 
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภีที่ถูกใจ...
งามอุบลปน จันทร์กะพ้อ ผีเสื้อแตกกอ
พร้อมเล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้... 
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์
แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน

ผกา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lantana camara ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ VERBENACEAE
ชื่อสามัญ Cloth of Gold
ชื่ออื่นๆ Hedge flower, ผกากรอง
ถิ่นกำเนิด ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกา
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ปักชำกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            ผกากรองเป็นไม้ดอกอายุหลายปี  ตามลำต้นมีขนปกคลุม  แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ต้น  ใบเป็นรูปไข่ ขอบใบจัก ปลายใบแหลม ใบออกเป็นคู่ๆ สลับกัน สีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อบริเวณส่วนยอดของกิ่งก้าน  มีหลายสี ทั้งสีเดียวและสีผสม  ขนาดดอกเล็ก

การปลูกและดูแลรักษา
            ผกากรองเป็นไม้กลางแจ้ง  ชอบแสงแดดจัด  ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนซุยหรือดินปนทราย
จำปา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia champaca ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ Champaca
ชื่ออื่นๆ Orage Chempaka, จำปา
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย, ประเทศพม่า
การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            จำปาเป็นไม้ที่มีประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            จำปาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  ลำต้นสูงประมาณ 20 ฟุตมีสีน้ำตาลปนขาวเล็กน้อย  กิ่งเปราะ ใบสีเขียวใหญ่เป็นมัน  ปลายใบแหลม  ใบกว้างประมาณ 5 นิ้ว  ยาวประมาณ 10 นิ้ว  ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองแก่  มีอยู่ 8-10 กลีบ  กลีบหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้ว  ซ้อนกันเป็น 2 ชั้น  ดอกเริ่มแย้มมีกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ  ในเช้าวันถัดมากลีบดอกจะกางออกจากกัน และร่วงหล่นในตอนเย็น  ออกดอกเกือบตลอดปี  แต่จะมีปากในช่วงฤดูฝน  ปลูกนานกว่า 3 ปี จึงจะออกดอก

การปลูกและดูแลรักษา

            จำปาเป็นไม้กลางแจ้ง  ต้องการน้ำปานกลาง  ไม่ชอบที่น้ำขังจะทำให้ตายได้  ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วน โปร่ง อุดมสมบูรณ์

จำปี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia longifolia ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ White Chempaka
ชื่ออื่นๆ จำปี
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินโดนีเซีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            ลักษณะที่แตกต่างระหว่าง จำปี กับ จำปา คือ จำปี จะมีสีขาว กลิ่นหอม เย็น แต่จำปา นั้นมีสีเหลืองและกลิ่นหอมได้ไม่เท่าจำปี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            จำปีเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นใหญ่สูงกว่าจำปาเล็กน้อย ต้นจะแตกพุ่มยอดใบงามกว่าจำปา ใบนั้นเป็นใบเดี่ยว ปลายใบจะแหลม โคนใบมน ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาวคล้ายๆ กับสีของงาช้าง จะมีกลีบอยู่ 8-10 กลีบ ซ้อนกัน กลีบดอกจะเรียวกว่าจำปา ยาวประมาณ 2 นิ้ว ตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นแท่งกลมเล็ก ยอดแหลมคล้ายผักข้าวโพดเล็กๆ ปลูกประมาณ 3 ปี จำปีถึงจะให้ดอก สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี

การปลูกและดูแลรักษา

            จำปีเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด  ขึ้นได้ในดินทุกชนิด สามารถปลูกในดินค่อนข้างเหลวได้ แต่ที่ดีที่สุดควรปลูกในดินร่วนซุยมีธาตุอาหารเพียงพอ  ต้องการการรดน้ำบ่อยๆ

กุหลาบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa hybrida ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ ROSACEAE
ชื่อสามัญ Rose
ชื่ออื่นๆ กุหลาบ
ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเซีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ปักชำกิ่งและราก, ติดตา, ต่อกิ่ง, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            กุหลาบนับว่าเป็นไม้ดอกที่มีความงามยากที่ไม้ดอกอื่นจะเทียบเท่า จนได้รับชื่อว่าเป็น "ราชินีแห่งดอกไม้" (Queen of flower)  กุหลาบมีมานานประมาณ 30 ล้านปีมาแล้ว มีทั้งหมดประมาณ 200 สปีชี่ส์  พันธุ์ดั้งเดิม (wild species) มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ส่วนกุหลาบที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันเป็นกุหลาบที่ผ่านการวิวัฒนาการมานานนับร้อยๆ ปี และทั้งหมดเป็นกุหลาบลูกผสมซึ่งได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างกุหลาบ 1-8 สปีชี่ส์ และส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            กุหลาบจัดเป็นไม้ดอกประเภทพุ่ม-พลัดใบ  มีลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อย  แข็งแรงมีใบย่อย 3-5 ใบ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันและมีรอยย่นเล็กน้อย  ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มี 2 เพศในดอกเดียวกัน  มีเกสรตัวผู้และตัวเมียเป็นจำนวนมาก  มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน  การจำแนกตามลักษณะสีของดอกแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ

  1. Single color มีสีของกลีบดอกสีเดียว ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังของดอก และทุก ๆ กลีบมีสีเหมือนกัน เช่น พันธุ์Christian Dior

  2. Multi-color มีสีของกลีบดอกเปลี่ยนไปตามอายุการบานดอก ในช่วงหนึ่งจะมีหลายสีเพราะบานดอกไม่พร้อมกัน ส่วนมากจะเป็นกุหลาบพวง เช่น พันธุ์ Sambra หรือ Charleston

  3. Bi-color มีสีของกลีบดอก 2 สี คือ กลีบด้านในสีหนึ่ง ด้านนอกอีกสีหนึ่ง เช่น พันธุ์ Forty Niner
  4. Blend-color มีสีของกลีบดอกด้านในมากกว่า 2 สีขึ้นไป เช่น พันธุ์ Monte Carlo
  5. Srtiped color กลีบดอกในแต่ละกลีบมีสีมากกว่า 2 สีขึ้นไป ส่วนใหญ่มักเกิดเป็นสีสลับกันเป็นเส้นตามความยาวของกลีบดอก เช่น พันธุ์ Candy Stripe

พันธุ์ที่ใช้ปลูก

  • พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ คริสเตียนดิออร์ สวาทมอร์ สคาร์เลทไนท์
  • พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ เบลแองจ์ ควีนอลิซาเบท มีสออลอเมริกันบิวตี้
  • พันธุ์ดอกสีแสด ได้แก่ ซุปเปอร์สตาร์ ธัญญา โบเต้
  • พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ คิงส์แรนซัม โกลเด้นมาสเตอพิส โบเต้ กลาย
  • พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ มิสตี้เมอร์
  • พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ บูลมูน
การปลูกและดูแลรักษา

            กุหลาบควรปลูกในฤดูฝนและฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงของการเจริญเติบโตของกุหลาบ  ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงเดือนมิถุนายน เนื่องจากกุหลาบจะมีช่วงการเจริญเติบโตติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า 6 เดือน ซึ่งจะทำให้ได้ต้นกุหลาบที่เติบโตเต็มที่ ดอกมีคุณภาพ  กุหลาบเป็นไม้ดอกที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ 6 ชม.  ดังนั้นควรปลูกในที่โล่งแจ้งและอับลม  หรือปลูกทางด้านทิศตะวันออกให้กุหลาบได้รับแสงในตอนเช้า  ดินมีการระบายน้ำดี  วิธีทดสอบง่ายๆ คือขุดดินที่จะปลูกเป็นหลุมลึกประมาณ 50 ซม. แล้วใส่น้ำให้เต็มทิ้งไว้ 2 ชม.  ถ้าหากน้ำซึมหายไปหมดจากหลุมแสดงว่าที่นั้นๆ ใช้ปลูกกุหลาบได้  ดินปลูกควรมีค่า pH ประมาณ 5.5-6.5 คือเป็นกรดเล็กน้อยและมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ  เวลาที่เหมาะสมในการรดน้ำกุหลาบคือ  เวลาเช้าระหว่างที่แสงอาทิตย์ยังอ่อนอยู่  กุหลาบเป็นพืชที่ชอบน้ำ  แต่ถ้ารดมากจนน้ำขังก็ไม่ดี  ควรหลีกเลี่ยงการรดให้เปียกทั้งต้นและดอก เพราะจะเป็นการช่วยให้เกิดและแพร่โรคได้ง่ายและเร็วขึ้น  ถ้ารดจนโชกก็ไม่จำเป็นต้องรดทุกวันก็ได้  กุหลาบต้องการความชื้นและอากาศในดิน ดังนั้นจึงควรทำการคลุมดินโดยใช้ หญ้าแห้ง ฟาง เปลือกถั่วลิสง ขุยมะพร้าว หรือแกลบดิบ มาคลุมดินรอบๆ ต้นกุหลาบหนาประมาณ 2-3 นิ้ว  และถ้าเป็นไปได้ก่อนคลุมดินควรหาทางทำให้วัสดุคลุมดินเปียกชื้นก่อน  มิเช่นนั้นต้องรดน้ำในระยะแรกๆ บ่อยแลหลายๆ ครั้ง

ราตรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cestrum nocturnum ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ SOLANACEAE
ชื่อสามัญ Night Blooming Jasmine
ชื่ออื่นๆ Lady of the night ,ราตรี, หอมดึก
ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะอินดีส
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            ราตรีเป็นดอกไม้ ที่มีกลิ่นหอมในเวลากลางคืนเมื่อมีดอกมันจะส่งกลิ่นไปไกล กลิ่นไม่ฉุนจนเกินไป มีกลิ่นเย็นเรื่อยๆ ทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า หอมดึก ส่วนมากนิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            ราตรีเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นมีเปลือกเป็นสีเทาอ่อนๆ แตกกิ่งก้านสาขามาก พุ่มใบหนาต้นและใบมีกลิ่นเหม็นเขียวจัด ใบอ่อนบางรูปมนรี ปลายใบแหละโคนเรียวแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ดอกออกเป็นช่อสีขาวอมเขียว ดอกมีขนาดเล็กและออกจับกลุ่มติดกันมากมายในช่อหนึ่งๆ ปลายดอกบานออกเป็นรูปดาว 5 แฉก ขนาดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. ดอกราตรีมีกลิ่นหอมจัดในเวลากลางคืน พอเช้าดอกที่บานจะหมดกลิ่นและจะหอมใหม่ในคืนต่อไป ออกดอกคราวๆ หนึ่ง ประมาณ 5-7 วัน

การปลูกและดูแลรักษา

            ราตรีในช่วงปักชำกิ่งหรือปลูกลงกระถางใหม่ๆ ควรปลูกในที่ร่มรำไร หลังจากนั้นเมื่อตั้งตัวได้แล้วค่อยนำไปไว้กลางแจ้ง  ชอบดินชื้นและอยู่ได้ในสภาพค่อนข้างแฉะ  ต้องการน้ำมาก

พะยอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ Shorea
ชื่ออื่นๆ พะยอม, กะยอม
ถิ่นกำเนิด ไทย, พม่า และมาเลเซีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            นิยมปลูกพะยอมไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับโชว์ทรงพุ่ม ไม้ให้ร่มเงา ปลูกไว้ประดับข้างถนน ให้ดอกสวยและหอม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            พะยอมเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่สูง 15-30 เมตร  ทรงพุ่มกลม เ ปลือกสีเทาเข้ม  แตกกิ่งจำนวนมาก  ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีขอบขนานกว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-15 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน  ดอกออกเป็นช่อดอกใหญ่สีขาว ออกตามกิ่ง  กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบโคนเชื่อมติดกัน  เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น  ฤดูดอกบานอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์

การปลูกและดูแลรักษา

            พะยอมเป็นไม้ที่ชอบดินทรายหรือดินที่ระบายน้ำดี  เมื่อปลูกในดินเหนียวและแฉะพบว่าออกดอกน้อยมาก

อังกาบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria cristata L. ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ Philippine Violet
ชื่ออื่นๆ ก้านชั่ง, คันชั่ง, ทองระอา, อังกาบเมือง, อังกาบก้านพลู
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            ดอกอังกาบสีเหลือง-ขาว ตากแห้ง นำมาต้มเป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ และเป็นยาบำรุงธาตุ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            เป็นพรรณไม้พุ่มเตี้ย มีลำต้นเป็นข้อ สูงประมาณ 3 ฟุต ใบเป็นรูปหอก โคนและปลายเรียวแหลม ขนาดกว้างประมาณ  4 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. ดอกออกเป็นกระจุก ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย หรือรูปแตร มีหลายสี เช่น สีม่วง สีม่วงอมชมพู สีม่วงอ่อนสลับม่วงแก่ สีขาว และสีเหลือง

การปลูกและดูแลรักษา
            อังกาบเป็นไม้ที่ชอบแสงปานกลาง  ควรปลูกในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย  ความชื้นปานกลางถึงสูง
กรรณิการ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nyctanthes arbortristis ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ VERBENACEAE
ชื่อสามัญ Night flower jasmin
ชื่ออื่นๆ กรรณิการ์
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ปักชำกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            กรรณิการ์เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอมแรง  โดยจะบานตอนกลางคืน  ออกดอกตลอดปี  นอกจากจะเป็นไม้ที่หอมแล้วกรรณิการ์ยังเป็นสมุนไพรอีกด้วย และ ฐานรองดอกก็สามารถนำมาทำสีย้อมผ้าและสีทำขนมได้ด้วย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            กรรณิการ์เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามข้อของต้น  มีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ทั่วใบ  ลักษณะของใบเป็นรูปไข่รี ปลายแหลม ขอบใบเรียบ  ออกดอกเป็นช่อ  ช่อหนึ่งมีดอกราว 5-8 ดอก  แต่ละดอกจะผลัดกันบาน  ดอกมีสีขาวมี 6 กลีบ  ลักษณะคล้ายกังหัน  ขนาดดอกประมาณ 1.5-2 ซม. แต่ละดอกจะมีใบประดับ 1 ใบ  กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดสีแสดยาว 1.5 ซม.

การปลูกและดูแลรักษา

            กรรณิการ์เป็นไม้ที่ชอบที่ร่มรำไรและมีความชุ่มชื้นพอควร  ดินที่ใช้ปลูกควรจะเป็นดินอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีน้ำขังอยู่  ซึ่งอาจจะทำให้รากเน่าได้  ต้องการน้ำเพียงปานกลางเท่านั้น

ลำดวน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ  
ชื่ออื่นๆ หอมนวล
ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เป็นพรรณไม้ที่วรรณคดีไทยหลายเรื่องกล่าวถึง เช่น อิเหนา ลิลิตพระลอ รามเกียรติ์ สมุทรโฆษคำฉันท์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            ลำดวนเป็นไม้ต้นสูง 8-20 เมตร  ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำและแน่นทึบ  ลำต้นตรงแตกกิ่งและใบจำนวนมาก  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับสองด้าน  ใบรูปรีแกมขอบขนานกว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-12 ซม.  ปลายใบแหลม  ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองนวลออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง  ก้านดอกยาว 2-3 ซม.  กลีบดอกหนาและแข็งมี6 กลีบ เรียงเป็นสองชั้น ชั้นละ 3 กลีบ  กลีบดอกชั้นนอกรูปไข่ ปลายแหลม กลีบกางออก ปลายกลีบงองุ้มเข้าเล็กน้อย เ มื่อบานแล้วจะโค้งกลับไปทางโคนดอก  กลีบใน 3 กลีบ งุ้มเข้าหากันเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. มีกลิ่นหอม  แต่ละต้นจะมีช่วงดอกบานอยู่ประมาณ 15 วัน ในช่วงเดือน ธันวาคม-มีนาคม

การปลูกและดูแลรักษา
            ลำดวนเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดด
นมแมว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rauwenhoffia siamensis ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ ANNONAEAE
ชื่อสามัญ Nom-Maew
ชื่ออื่นๆ -
ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            เป็นพรรณไม้ไทย พบตามชายป่าชื้นทางภาตใต้ และภาคกลางของประเทศไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            นมแมวเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดไม่สูงนัก สูงประมาณ 1-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก  โคนใบมน ปลายใบแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว  ดอกสีเหลือง มี 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกแข็งและสั้น เมื่อบานเต็มที่มีขนาดประมาณ 0.5 นิ้ว  กลิ่นหอมแรงในเวลาเย็นถึงค่ำ

การปลูกและดูแลรักษา
            เป็นที่ชอบแดดจัดและต้องการความชื้นสูง ขึ้นได้ดีในสภาพดินเกือบทุกชนิด ในหน้าฝนจะให้ดอกดกมาก
ซ่อนกลิ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polianthes tuberosa ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ AGAVACEAE
ชื่อสามัญ Tuberose
ชื่ออื่นๆ ซ่อนกลิ่น
ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ, แบ่งหัว
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            ซ่อนกลิ่นเป็นไม้ในวงศ์เดียวกับพลับพลึง  ดอกจะมีกลิ่นหอมตั้งแต่เวลาเย็นถึงตอนกลางคืน  ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ  มีอายุหลายปี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            ซ่อนกลิ่นเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน  ลักษณะของหัวจะคล้ายๆ กับหัวหอม  ใบมีสีเขียวเล็กและเรียวยาวโผล่ออกมาจากพื้นดิน  ใบยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต ดอกจะชูช่อออกมาตรงกลางกอของลำต้นและมีดอกเกาะตรงก้านดอกเรียงกันเป็นแนวตามก้านดอก  ดอกมีสีขาวยาวประมาณ 1 นิ้ว  ช่อดอกหนึ่งๆ จะยาวประมาณ 2-2.5 ฟุต แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยประมาณ 40-90 ดอก  กลีบดอกแต่ละกลีบจะไม่เท่ากัน  กว่าดอกจะบานหมดทั้งช่อใช้เวลา 5-7 วัน และมีกลิ่นหอมมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน  พันธุ์ที่ใช้ปลูก

  • พันธุ์ดอกลา มีกลีบดอกเพียงชั้นเดียว
  • พันธุ์ดอกซ้อน มีกลีบดอกซ้อนกัน
การปลูกและดูแลรักษา

            ซ่อนกลิ่นเป็นไม้กลางแจ้งที่ต้องการแสงแดดจัดควรปลูกไว้กลางแจ้ง  ชอบดินร่วนไม่ชอบดินเหนียวและต้องมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ  ซ่อนกลิ่นเป็นไม้ที่ชอบน้ำต้องหมั่นรดน้ำให้เปียกชื้นอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้ดินแห้งผากจะทำให้ซ่อนกลิ่นออกดอกไม่ดก

ยี่โถ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nerium indicum ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ Sweet Oleander
ชื่ออื่นๆ ยี่โถ
ถิ่นกำเนิด แถบเมดิเตอร์เรเนียน
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            ยี่โถที่รู้จักกันในชื่อ Nerium indicum ก็คือต้นเดียวกันกับ Nerium odorum และ Nerium oleander แต่ปัจจุบันใช้ชื่อพฤกษศาสร์ของยี่โถชนิดนี้เพียงชื่อเดียวว่า Nerium indicum  เหมาะที่จะปลูกตามริมถนน เกาะกลางถนนและตามสวนหย่อม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            ยี่โถเป็นไม้พุ่มขนาดกลางสูงได้ถึง 20 ฟุต  ใบเล็กแคบเรียวยาว  เนื้อใบหนาและแข็ง  ขนาดใบยาวประมาณ 4-8 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่อแน่นตามยอดมีสีต่างๆ กัน เช่น สีชมพู แดง ขาว  ดอกมี 5 กลีบขนาดดอกกว้างประมาณ 1.5 นิ้ว ในช่อหนึ่งๆ อาจมีดอกได้ตั้งแต่ 20-50 ดอก  ออกดอกได้ตลอดปี  แต่จะออกมากช่วงฤดูแล้ง

การปลูกและดูแลรักษา

            ยี่โถเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่เจริญเติบโตง่ายและทนทานมาก สามารถขึ้นได้แม้กระทั่งในเขตอบอุ่นและในเขตทะเลทราย

ชงโค
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia purpurea ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ Orchid Tree, Purder
ชื่ออื่นๆ เสี้ยวดอกแดง, เสี้ยวดอกขาว
ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเซีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            ดอกชงโคมีหลายสี เช่น ชมพู ขาว ม่วง  ชาวอินเดียถือว่าเป็นไม้สวรรค์ขึ้นอยู่ในเทวโลกและถือว่าเป็นไม้ของพระลักษมี  นิยมปลูกร่วมกับ กาหลง และ โยทะกา เพราะมีใบคล้ายกัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            ชงโคเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบสูงประมาณ 15 เมตร  ใบเป็นรูปไข่แยกเป็น 2 แฉกลึก  ช่อดอกออกตามกิ่งข้างและจำนวนดอกน้อย  กลีบดอกขาวหรือม่วง  ลักษณะคล้ายดอกกล้วยไม้  มีกลิ่นหอมอ่อนๆ   เกสรตัวผู้ 5 อัน ขนาดไม่เท่ากัน  มีผลเป็นฝักขนาดกว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม.

การปลูกและดูแลรักษา

            ชงโคเป็นไม้ที่ชอบแดด  ควรปลูกในที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน  ดินปลูกควรเป็นดินร่วนระบายน้ำดี  มีความชื้นสูง

มณฑา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Talauma candollei ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ Magnolita
ชื่ออื่นๆ มณฑา, จอมปูน
ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ทาบกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ  มีดอกดก  สวยงาม  มีกลิ่นหอม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            มณฑาเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง 3-8 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ  ใบรูปรี ขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7-15 ซม.  ปลายใบแหลม  ขอบใบเรียบ ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่สีเหลืองครีมรูปรี  ปลายกลีบค่อนข้างแหลม  ดอกห้อยลง  มีกลีบดอก 6 กลีบ  เมื่อดอกบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซม. ยาว 3-5 ซม. ส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงเย็นจนเช้าตรู่  เมื่อกลีบดอกชั้นนอกบานจะคลี่ห่อกันอยู่เแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลและร่วงไปทั้งชุด  ออกดอกตลอดปี

การปลูกและดูแลรักษา
            มณฑาชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดีและมีอินทรีย์วัตถุสูง   ควรปลูกไว้ในที่มีแสงแดดรำไร ไม่จัดจนเกินไป
สายหยุด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmos chinensis Lour. ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ Desmos
ชื่ออื่นๆ สาวหยุด
ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ง่ายและสะดวกกว่า
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            สายหยุดเป็นพันธุ์ไม้ของไทยแท้ชนิดหนึ่ง  ดอกไม้ชนิดนี้ส่งกลิ่นหอมจัดในตอนเช้าตรู่ พอสายกลิ่นจะค่อยๆ ลดลงและหมดกลิ่นเมื่อใกล้เที่ยงวัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            สายหยุดเป็นไม้เลื้อยกึ่งไม้ยืนต้น  มีเถาแข็งแรงสามารถเลื้อยเกาะต้นไม้ได้ไกล 5-8 เมตร  มักแตกกิ่งก้านสาขามากที่ส่วนยอดและแผ่สาขาออกไปบริเวณกว้าง ใบสีเขียวเข้ม รูปรี ปลายใบแหลมขนาดใบยาว 12-14 ซม.  ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวมีลักษณะคล้ายดอกกระดังงาไทย  มีกลีบเล็กยาวดอกละ 5 กลีบ แต่ละกลีบจะบิดงออย่างกะดังงาไทย  เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว  เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลือง  ออกดอกตลอดปี

การปลูกและดูแลรักษา

            สายหยุดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งชอบแสงแดด   ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วน  อุดมสมบูรณ์  สามารถเก็บความชื้นได้ดี  น้ำท่วมไม่ถึง  ระยะเวลาจากเพาะเมล็ดจนถึงออกดอก ประมาณ 3-4 ปี ถ้าได้รับการดูแลเป็นอย่างดี

เฟื่องฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea spp. ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ NYCTAGINACEAE
ชื่อสามัญ Bougainvillea
ชื่ออื่นๆ Peper Flower, Kertas, ตรุษจีน
ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราวปี คศ.1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก  เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือและเอเซีย  สำหรับในประเทศไทยมีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พศ.2423 ในสมัยรัชการที่ 5  และมีการนำเข้าจากต่างประเทศมากมายจนถึงปัจจุบัน  พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศเนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            เฟื่องฟ้าเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยอายุยืนหลายสิบปี  ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่  มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ  ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกสลับกับกิ่งหรือเยื้องกัน  มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย  มีสีเขียวหรือใบด่าง  รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2.5 ซม.  ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ  มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ  ผู้พบเห็นทั่วไปมักเข้าใจว่าใบประดับคือดอก  ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ  ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง  แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม. ติดอยู่ที่เส้นกลางใบของใบประดับ  ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าดอกคือเกสรดอก  ดอกเป็นชนิดไม่มีกลีบดอก  มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน  การปลูกเลี้ยงในประเทศไทยมักจะเกิดการกลายพันธุ์  โดยเนื้อเยื่อบริเวณตามีการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลทำให้ส่วนต่างๆ เปลี่ยนไป เช่น  สีของใบประดับเปลี่ยนไป  กลายพันธุ์เป็นใบประดับซ้อน  กลายพันธุ์เป็นใบด่าง  กลายพันธุ์เป็นดอกกระจุก  เป็นต้น

การปลูกและดูแลรักษา

            เฟื่องฟ้าเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง  ได้รับแสงแดดตลอดวัน  ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย  ต้องการอุณหภูมิปานกลางหรือร้อนชื้น  เฟื่องฟ้าจัดเป็นพืชที่ทนแล้งแต่ถ้าต้นยังเล็กควรให้น้ำอย่างเพียงพอ  เมื่อโตขึ้นต้องการน้ำปานกลางถึงค่อนข้างต่ำถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก

ชบา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibicus rosa-sinensis Linn. ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่อสามัญ Shoe Flower
ชื่ออื่นๆ Hibiscus, Rose of China
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            ชบาเป็นไม้ในสกุล Hibiscus ที่มีความผันแปรทั้งรูปทรงของใบ ลำต้น และดอกมาก ตลอดจนปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย  จากความสวยงามของดอกทำให้ได้รับสมญาว่า Queen of Tropic Flower หรือ ราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน  เป็นดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซียและจาไมก้า  และเป็นดอกไม้ประจำรัฐฮาวาย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            ชบาเป็นไม้พุ่มขนาด 1-3 เมตร  อาจสูงได้ถึง 7-10 เมตร ใบรูปไข่กว้างปลายใบแหลมเรียว  ขอบใบจักหรือขอบใบเรียบ  ดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด  ก้านดอกยาว  กลีบรองดอกมี 2 ชั้น  สีเขียว  ดอกมีทั้งดอกลาและดอกซ้อน  มีหลายสี  มีทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก  ถ้าดอกลาจะมี 5 กลีบ  เกสรตัวผู้เป็นดอกยาวยื่นขึ้นมากลางดอก  ปลายสุดเป็นยอดเกสรตัวเมีย  แยกเป็น 5 แฉกสีแดง  เกสรตัวผู้ติดรอบๆ ดอกเป็นสีเหลือง  ออกดอกตลอดปี

การปลูกและดูแลรักษา

            ชบาไม้ดอกที่ปรับตัวเจริญเติบโตได้ทุกสภาพแวดล้อม  แต่ที่เหมาะสมคือสภาพอากาศอบอุ่นจนถึงร้อน  ดินปลูกควรเป็นดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่มีน้ำขังแฉะ  การให้น้ำควรให้สม่ำเสมอ  ถ้าขาดน้ำจะสลัดใบล่างทิ้งอย่างรวดเร็ว

สร้อยทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solidago canadensis ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๑)
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อสามัญ Golden rod
ชื่ออื่นๆ สร้อยทอง
ถิ่นกำเนิด ทวีปอเมริกาเหนือ
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, แยกหน่อ
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

            สร้อยทองเป็นไม้ตัดดอกที่นิยมใช้ประกอบกับดอกไม้อื่น เช่น กล้วยไม้  เพื่อใช้บูชาพระ หรือ ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            สร้อยทองเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก  ลำต้นแตกแขนง  มีพุ่มสูงประมาณ30-100ซม.  ใบมีรูปร่างยาวรี  ยาวประมาณ 10-12 ซม.  ใบมีสีเขียวเข้ม  ใบช่วงบนลำต้นจะเล็กกว่าใบช่วงล่างของลำต้น  ดอกมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม  ช่อดอกเป็นแบบกลุ่มมีดอกย่อยเล็กๆ อยู่ภายในช่อดอก  โดยช่อเหล่านี้จะมีก้านดอกสั้นๆ ติดอยู่กับก้านชูดอก  ก้านช่อดอกจะตั้งฉากกับลำต้น  ขนาดของดอกค่อนข้างเล็กเมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 1 ซม.

การปลูกและดูแลรักษา

            สร้อยทองเป็นไม้กลางแจ้งควรปลูกในที่มีแสงส่องได้ทั่วถึงตลอดวัน  สามารถทนต่ออากาศร้อนได้ดีอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ30-40องศาเซลเซียส  ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิดที่มีอินทรีย์วัตถุสูงมีความชื้นสม่ำเสมอแต่ไม่ชอบแฉะ  หลังจากปลูกควรรดน้ำสม่ำเสมอเช้าและเย็น  เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 15-20 วัน  ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ทุกๆ 2 สัปดาห์  จนกระทั่งเริ่มแทงช่อดอกหรือประมาณ 60 วันหลังปลูกใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12

แล้วอย่าลืมติดตาม ตอนที่ ๒ เร็ว ๆ นี้น่ะครับ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=390

อัพเดทล่าสุด