ลิเทียมกับน้ำดื่ม


994 ผู้ชม


ปริมาณธาตุลิเทียมที่น้อยมากๆ ในน้ำดื่ม สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการคิดฆ่าตัวตายได้ หรืออาจมีผลในทางต่อต้านการทำอัตวินิบาตกรรม   

ใช้ "ลิเธียม" เป็นยารักษาผู้ป่วยโรคจิตมานาน แต่เพิ่งรู้ว่าในคนปกติที่ดื่มน้ำที่มีแร่ธาตุลิเธียมอยู่ด้วย ก็สามารถช่วยปรับสภาพอารมณ์และลดอัตราเสี่ยงต่อการคิดสั้นฆ่าตัวตายได้เหมือนกัน จากผลการศึกษาของทีมนักวิจัยในประเทศญี่ปุ่น ด้านจิตแพทย์แนะให้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหวังเป็นข้อมูลสนับสนุนการเสริมธาตุลิเธียมในน้ำดื่มให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีในอนาคต คลิกดู  รายละเอียด  
       

     (Lithium) เป็นธาตุที่มีสัญลักษณ์ Li   จัดอยู่ในกลุ่ม 1A (โลหะอัลคาไล) ลิเทียมบริสุทธิ์ เป็นโลหะเนื้ออ่อนสีขาวเงิน ซึ่งถูกออกซิไดส์เร็วในอากาศและน้ำ  ลิเทียมเป็นของแข็งที่เบาที่สุด และใช้มากในโลหะผสมสำหรับการนำความร้อน ในถ่านไฟฉายและเป็นส่วนผสมในยาบางชนิดที่เรียกว่า "mood stabilizer"
ลิเทียม มีข้อมูลพื้นฐานดังนี้

 ลิเทียมกับน้ำดื่ม

ลิเทียม

เลขอะตอม

เลขมวล

จุดหลอมเหลว

จุดเดือด

สภาพ

 6.939 

 180.5 

 1330 

 เบส 

ประวัติการค้นพบลิเทียม

      ลิเทียมถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1817 โดย โยฮันน์ อาร์ฟเวดสัน (Johann Arfvedson) โดยเขาได้ค้นพบธาตุชนิดใหม่นี้ในแร่สปอดูมีน (spodumene) และเลปิโดไลต์ (lepidolite) ในสินแร่เพทาไลต์ (petalite) LiAl(Si2O52   และเมื่อ ค.ศ. 1818 คริสเตียน กเมลิน (Christian Gmelin) สังเกตเห็นว่าเกลือลิเทียมจะให้เปลวไฟสีแดงเข้ม 
      การแยกธาตุลิเทียมยังไม่ประสบผลสำเร็จ กระทั่งวิลเลียม โทมัส เบรนด์ (William Thomas Brande) และเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี (Humphrey Davy) ได้ใช้วิธีการแยกสลายด้วยไฟฟ้ากับลิเทียมออกไซด์ เมื่อ ค.ศ. 1818 ต่อมา บุนเสน (Bunsen) และมาทีสเสน (Matiessen) ได้แยกโลหะส่วนใหญ่ออกด้วยการแยกสลายลิเทียมคลอไรด์ด้วยไฟฟ้า เมื่อ ค.ศ. 1855
     การผลิตโลหะลิเทียมในเชิงพาณิชย์เพิ่งประสบความสำเร็จ เมื่อ ค.ศ. 1923 โดยบริษัทเมทัลเกเซลชาฟท์ (Metallgesellschaft) ด้วยการใช้วิธีแยกสลายสารละลาย ลิเทียมคลอไรด์ด้วยไฟฟ้า   เมื่อได้ธาตุบริสุทธิ์ออกมา ก็ได้ตั้งชื่อว่า ลิเทียม  เพราะค้นพบมาจากแร่ ขณะที่โลหะอัลคาไลอื่นๆ ทั่วไป ค้นพบเป็นครั้งแรกจากเนื้อเยื่อของพืช

สมบัติของลิเทียม
1. เป็นโลหะสีเงิน อ่อนนิ่มมากจนตัดด้วยมีดคมๆ ได้ 
2. มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว และพร้อมที่จะสูญเสียอิเล็กตรอนตัวนี้ไปเป็นไอออนบวก ทำให้มีอิเล็กตรอนในระดับชั้นพลังงานที่ไม่ครบถ้วน 
3.ทำปฏิกิริยาในน้ำได้ง่าย 
4.ไม่ปรากฏโดยอิสระในธรรมชาติ 
5. เมื่ออังลิเทียมไว้เหนือเปลวไฟ มันจะให้สีแดงเข้มออกมา แต่เมื่อเผาไหม้โดยตรง เปลวไฟจะเป็นสีขาวสว่างจ้า 
6. ติดไฟและไหม้เมื่อกระทบกับออกซิเจนและน้ำ 
7. ทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนที่อุณหภูมิห้อง ลิเทียมนั้นมีความจุความร้อนจำเพาะที่สูงมาก คือ 3,582 J/(kg·K) และมีช่วงอุณหภูมิที่กว้างเมื่ออยู่ในรูปของเหลว ซึ่งทำให้เป็นสารเคมีที่มีประโยชน์ใช้งานได้
8.เมื่ออยู่ในรูปโลหะบริสุทธิ์จะติดไฟได้ง่ายมากและระเบิดได้ค่อนข้างง่าย เมื่อกระทบกับอากาศ และโดยเฉพาะกับน้ำ ไฟจากลิเทียมนั้นดับได้ยาก ต้องอาศัยสารเคมีเฉพาะที่ผลิตมาสำหรับการดับไฟนี้โดยตรง 
9. สึกกร่อนง่าย ต้องจับต้องอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง 
10. การเก็บรักษาควรเก็บไว้ในรูปของสารประกอบที่ไม่ทำปฏิกิริยา เช่น naphtha  หรือไฮโดรคาร์บอน

ไอโซโทปของลิเทียม  
ในธรรมชาติพบลิเทียม 2 ไอโซโทป คือ  Li-6 และ   Li-7 (92.5%) 
ไอโซโทปกัมมันตรังสีอื่นๆ มี 7 ไอโซโทป ที่มีความสำคัญ มี มีดังนี้
1.  Li-8 (มีความเสียรสูงสุด)  มีค่าครึ่งชีวิต 838 มิลลิวินาที 
2.  Li-9 มีค่าครึ่งชีวิต 178.3 มิลลิวินาที 
3.  Li-4  ซึ่งสลายไปโดยการปลดปล่อยโปรตอน และมีครึ่งชีวิตเพียง 7.58043x10-23 วินาที

แหล่งที่พบลิเทียม
    แบตเตอรีลิเทียม ซึ่งมักพบในแบตเตอรีโทรศัพท์มือถือ

ที่มา
https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000051621
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=362

อัพเดทล่าสุด