นาโนกับชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 2) ตอน ใบบัว


3,319 ผู้ชม


นาโน คืออะไรใครรู้บ้าง นาโน คือหน่วยวัดสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีขนาดเล็ก แล้วมันเกี่ยวข้องกับชวิตอย่างไร มาหาคำตอบกันดีกว่า   

ใบบัว

นาโนกับชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 2) ตอน ใบบัว

"  ฝนตกหัวค่ำ ทิ้งหยดน้ำใหญ่บนใบบัว    หยดฝน เทิ้มสั่นในแสงดาวสลัวทั้งคืน    ลมราตรีโบกไกวก้านบัว หยดฝนกลิ้งตัวดุจน้ำตาหมองต้องขัง     หยดฝนหวาดกลัวจนใบบัวรู้สึก... " ( อ่านต่อ.... )

แรงตึงผิวกับหยดน้ำบนใบบัวนาโนกับชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 2) ตอน ใบบัว
     
แรงตึงผิว ( Surface force ) เป็นแรงที่ผิวของเหลวพยายามยึดผิวหน้าไม่ให้ขาดออกจากกัน มีทิศขนานกับผิวของของเหลว และตั้งฉากกับเส้นขอบภาชนะหรือวัตถุที่ของเหลวสัมผัส     
ประเภทของแรงตึงผิว
1.เชื่อมแน่น (Cohesive force ) เป็น  แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลชนิดเดียวกัน   เช่น น้ำกับน้ำ   แอลกอฮอล์กับแอกอฮออล์  

นาโนกับชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 2) ตอน ใบบัว

2. แรงยึดติด ( Adhesive force) แรงตึงผิวเกิดจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล ต่างชนิดกัน   เช่น  น้ำกับแก้ว    น้ำกับใบบัว

นาโนกับชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 2) ตอน ใบบัว


สภาพการเปียกน้ำหรือไม่เปียกน้ำของสิ่งต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับ แรงยึดติด และแรงเชื่อมแน่น
1. ถ้าแรงเชื่อมแน่น  > แรงยึดติด แสดงว่าสารจับตัวกันเอง ได้ดีกว่าจับกับวัสดุ  ดังนั้นสารจะไม่เปียกน้ำ
2. ถ้าแรงยึดติด  > แรงเชื่อมแน่น แสดงว่าสารจับกับวัตถุดีกว่าจับกันเอง ดังนั้นสารจะเปียกน้ำ

 นาโนกับชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 2) ตอน ใบบัว

     ท่านคงจะได้คำตอบแล้วว่า ทำไมใบบัวไม่เปียกน้ำ ( ใบบัวไม่เปียกน้ำเพราะมีแรงยึดติดมากกว่าแรงเชื่อมแน่น  ทำให้น้ำจับกันเองได้ดีกว่าจับกับใบบัว )  แอะ?  แล้วทำไมมันจึงน้ำมันจึงจับตัวกันเงได้ดีกว่าจับกับใบบัวละ  ในขณะที่พืชส่วนใหญ่มันเปีกน้ำ  ท่านมีคำถามแบบนี้อยู่ในใจใช่หรือไม่  เรามาหาคำตอบกันจากวีดีโอกันเถอะ
     นาโนกับชีวิตประจำวัน (ตอนที่ 2) ตอน ใบบัว
     
 
        ใบบัวนั้นเป็นใบไม้ที่สะอาด และไม่เปียกน้ำ  เมื่อมีหยดน้ำตกลงบนใบบัว หยดน้ำนั้นจะหยดกลิ้งไหลลงไปรวมกันที่กึ่งกลางใบบัว    เมื่อนักวิทยาศาสตร์ศึกษาโดยใช้กล้อง Scanning Electron Microscope (SEM) ส่องดูพบว่า ผิวหน้าของใบบัวประกอบด้วยโครงสร้างขนาดเล็ก คล้ายหนามจำนวนมหาศาล  และมีการกระจายตัวอย่างเป็นระเบียบ โดยหนามแต่ละอันมีความเล็กขนาด นาโนเมตร หนามเหล่านี้ส่งผลให้ผิวด้านหน้าของใบบัวมีลักษณะขรุขระ  เมื่อหยดน้ำตกลงมากระทบใบบัว ทำให้พื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับใบบัวนั้นน้อยมาก 
       


      
         ปรากฏการณ์น้ำกลิ้งบนใบบัว นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อว่า Lotus-Effect เกิดขึ้นจากแรงระหว่างหยดน้ำกับพื้นผิว รูปร่างของหยดน้ำจะขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่รองรับ ซึ่งแรงที่เกี่ยวข้องมี อยู่ 3 แรงด้วยกัน 
        1. แรงระหว่างพื้นผิวกับหยดน้ำ (S,L) 
        2. แรงระหว่างพื้นผิว กับอากาศ (S,V) 
        3. แรงระหว่าง หยดน้ำกับอากาศ (L,V ) 
        ซึ่งมุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิว  จะมีผลต่อแรงทั้งสาม โดยถ้าหากมุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำกับผิวใบบัวเข้าใกล้ 180 องศา จะส่งผลให้หยดน้ำมีลักษณะกลม ไม่สามารถกระจายตัวออกได้ นอกจากนี้ผิวด้านบนของใบบัวยังเคลือบด้วย สารซึ่งมีลักษณะคล้ายแว็กซ์ ซึ่งมีคุณสมบัติเกลียดน้ำ(Hydrophobic) ทำให้น้ำไม่กระจายตัวออก คุณสมบัติทั้งสองประการนี้ส่งผลให้ใบบัวแสดงคุณสมบัติเป็น Super hydrophobic surface หากมีฝุ่นผงและสิ่งสกปรกต่างๆ ติดอยู่ที่ใบบัว เมื่อหยดน้ำตกลงมาหยดน้ำจะกลิ้งพาให้สิ่งสกปรกติดไปกับหยดน้ำ เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างหยดน้ำ กับสิ่งสกปรกมีค่าสูงกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างสิ่งสกปรกกับใบบัวจึงทำให้ใบบัวสะอาดอยู่เสมอ (self-cleaning surface)

 จากหยดน้ำบนใบบัวสู่นวัตกรรม     
      การใช้นาโนเทคโนโลยีสังเคราะห์สารที่มีคุณสมบัติ “เกลียดน้ำ”  เพื่อใช้ในการเคลือบพื้นผิวของวัสดุต่าง ๆ  เช่น 
1.การผลิตสีทาบ้านที่มีการผสมสารที่มีคุณสมบัติเกลียดน้ำลงไปเพื่อช่วยป้อง กันคราบสกปรก เพราะว่าน้ำที่กลิ้งไปกลิ้งมาโดยไม่เปียกพื้นผิวจะเป็นตัวช่วยในการนำพาสิ่งสกปรกนั้นออกไปเองโดยไม่ต้องเปลืองแรงขัดในการทำความสะอาด
2. การสร้างเสื้อผ้าที่กันน้ำได้ โดยเส้นใยที่นำมาผลิตเสื้อผ้ามาเคลือบด้วยสารที่เกลียดน้ำทำให้น้ำและของเหลวต่าง ๆ ไม่ซึมลงบนเสื้อผ้าที่สวมใส่ ทำให้เสื้อผ้าสะอาดอยู่ได้นาน 
3.พัฒนาฟิล์มกันน้ำ ที่มีคุณสมบัติโปร่งแสง และมีอายุการใช้งานยาวนาน ฟิล์มแบบใหม่น้ีสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ เคล็ดลับก็คือ ผสมไทเทเนียมออกไซด์  เพื่อ

ประเด็นเพื่อนำไปสู่การเรียนการสอน
1.  เหตุใดพืชบางชนิดจึงเปียกน้ำแต่บางชนิดไม่เปียกน้ำ
2. แรงยึดติดและแรงเชื่อมแน่นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
3. ใบบัวสัมพันธ์กับนาโนเทคโนโลยีอย่างไร
4. หารูปภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จาก Lolust  effect

อ้างอิง 

https://www.thaigoodview.com
https://www.atom.rmutphysics.com
https://www.electron.rmutphysics.com
https://www.dailynews.co.th/web
https://www.nanotec.or.th
https://www.vcharkarn.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=503

อัพเดทล่าสุด