ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒) MUSLIMTHAIPOST

 

ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)


1,218 ผู้ชม


จำแนกดอกไม้แต่ละชนิด ที่มีอยู่ในเนื้อเพลง (ต่อ)   


ต่อจากตอนที่ ๑ นะครับ

          บางคนอาจจะเคยได้ยินเพลงสมัยเด็ก มีอยู่เพลงหนึ่งที่อาจจะคุ้นหูสำหรับบางคน โดยเนื้อเพลงจะกว่าถึงการเที่ยวชมอุทยาน ที่มีแต่พันธุ์ไม้หลากหลายชนิด เพลงนั้นก็คื่อ  อุทยานดอกไม้ ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย อาจารย์สกลธ์  มิตรานนท์  ขับร้องโดย วงจันทร์ ไพโรจน์ (เพลงดังในอดีต เช่น กุหลาบเวียงพิงค์ สาวสะอื้น แม่พิมพ์ของชาติ ฯลฯ) โดยมีเนื้อเพลงดังนี้

ชม  ผกา จำปา จำปี กุหลาบ
ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้งกรรณิการ์..
ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค
มณฑา สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา
 และสร้อยทอง..
บานบุรี ยี่สุ่น ขจร ประดู่ พุดซ้อน
พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล
ควรปอง.. 
งามทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์
พวงทอง บานชื่น
สุขสอง พุทธชาติสะอาดแซม...
**พิศ พวงชมพู กระดังงาเลื้อยเคียงคู่ ดูสดสวยแฉล้ม 
รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภีที่ถูกใจ...
งามอุบลปน จันทร์กะพ้อ ผีเสื้อแตกกอ
พร้อมเล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้... 
ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์
แลวิไล
ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน

บานบุรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allamanda cathartica L. ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ Allamanda, Golden Trumpet
ชื่ออื่นๆ บานบุรีหอม, บานบุรีแสด
ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง, ปักชำกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป  ออกดอกตลอดปี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            บานบุรีหอมเป็นพรรณไม้เถาเล็ก จะเลื้อยเถายาวเกี่ยวเกาะกับไม้พุ่มใหญ่ๆ  ลักษณะของใบเป็นใบมนรี  ปลายใบแหลม  ขอบใบเรียบ  ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งของต้น ช่อๆ หนึ่งมีดอกอยู่ประมาณ 5-8 ดอกและจะทยอยกันบาน  ดอกมีสีเหลืองแสด  ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกค่อนข้างกลม  แฉกกลีบเวียนคล้ายกงจักร  โคนดอกเป็นหลอด เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-7 ซม.  มีจุดริ้วสีส้มที่โคนคอกลีบ  ดอกจะมีกลิ่นหอมในตอนเช้า  ออกดอกตลอดปี
การปลูกและดูแลรักษา
            บานบุรีหอมเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด  ดินปลูกควรเป็นดินร่วนซุยมีธาตุอาหารสมบูรณ์  ควรปรับปรุงดินให้มีคุณภาพก่อนการปลูก  เป็นพืชที่ต้องการน้ำและความชื้นจึงควรรดน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรรดจนแฉะเกินไป  หากกิ่งยึดยาวควรปักไม้และจับยอดเลื้อยพันให้สวยงาม
ยี่สุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa chinensis Jacq. var. minima Voss ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ ROSACEAE
ชื่อสามัญ Fairy Rose
ชื่ออื่นๆ กุหลาบหนู, กุหลาบหนูจีน
ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเซีย
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            ยี่สุ่นหรือที่ทั่วไปรู้จักกันในชื่อกุหลาบหนู นิยมปลูกเป็นไม้ดอกคลุมดิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ยี่สุ่นเป็นกุหลาบพันธุ์เตี้ยแคระ เป็นพุ่มทึบสีเขียวทั้งต้น สูงประมาณ 1-2 ฟุต ใบเหมือนกับใบกุหลาบทั่วไปแต่จะเล็กกว่า มีสีเขียว ดอกมีหลายสี ดอกมักจะออกพร้อมๆ กัน มีลักษณะเหมือนกับดอกกุหลาบธรรมดา แต่มีขนาดเล็ก ประมาณ 0.5-1 นิ้ว
การปลูกและดูแลรักษา
            ควรปลูกด้วยดินร่วนที่มีความชื้นสูง หมั่นดูแลใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ
ขจร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Telosma minor ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ ASCLEPIADACEAE
ชื่อสามัญ Cowslip Creeper
ชื่ออื่นๆ ดอกสลิด
ถิ่นกำเนิด  
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง, ทาบกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            ใช้ทำยาสมุนไพรโดย ใช้รากผสมยาหยอดรักษาตา รับประทานทำให้อาเจียนถอนพิษเบื่อเมา ดับพิษ นอกจากนี้ดอกขจรยังนำมาทำอาหารรับประทานได้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ขจรเป็นไม้เลื้อยเถาเล็กแตกยอดจำนวนมาก ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางขาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นใบคู่เป็นรูปหัวใจ กว้างและยาว 6 – 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเรียบ มีช่อดอกสีเหลืองอมชมพูอ่อนออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันส่วนปลายแยก 5 แฉกกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานไม่พร้อมกันดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเริ่มหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย ดอกออกมากตั้งแต่ต้นฤดูหนาว
การปลูกและดูแลรักษา
            ขจรเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ถ้าจะให้ดีควรปลูกในดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยมากๆ ขจรเป็นไม้ที่ชอบแดดจัดไม่ต้องการน้ำมากนัก และทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี ดังนั้นการรดน้ำให้รด 2 วันต่อครั้ง
ประดู่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plerocarpus indicus ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ชื่อสามัญ Padauk
ชื่ออื่นๆ Burmese Rosewood, ประดู่, ดู่บ้าน, สะโน (ภาคใต้)
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนใน กทม. ทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่  มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ  ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก  ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว  โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย  กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก  ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5-1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน  มีกลิ่นหอมอ่อนๆ  ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล  ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
การปลูกและดูแลรักษา
            ประดู่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด  ความชื้นสูง  ต้องการน้ำปานกลาง  สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด  แต่จะให้ดีควรเป็นดินร่วนซุย
พุดซ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia augusta ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่อสามัญ Cape Gardenia
ชื่ออื่นๆ Cape Jessamine, พุดซ้อน, พุดจีน
ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            พุดซ้อนเป็นดอกไม้สีขาว  มีทั้งชนิดที่มีกลิ่นหอมและกลิ่นไม่หอม  กลีบซ้อนเป็นชั้นๆ สวยงาม  นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2เมตร  แตกกิ่งแขนงมาก  ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย  ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง  มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน  มีทั้งชนิดดอกลาคือกลีบดอกชั้นเดียวและชนิดดอกซ้อนมีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม. กลิ่นหอมแรง  ออกดอกตลอดปี
การปลูกและดูแลรักษา
            พุดซ้อน เป็นไม้กลางแจ้ง  ต้องการแสงแดดจัด  ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ
พลับพลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum asiaticun Linn. ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ AMARYLLIDACEAE
ชื่อสามัญ Crinum Lily
ชื่ออื่นๆ พลับพลึง, ลิลัว
ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเซีย
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            พลับพลึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ  ต้นที่มีขนาดใหญ่ใช้ในการแกะสลักเพื่อตกแต่งในงานพิธีต่างๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            พลับพลึงเป็นไม้ล้มลุกหลายฤดู  มีลำต้นใต้ดิน  ส่วนเหนือดินประกอบด้วยกาบใบสีขาวหุ้มซ้อนกันเป็นชั้นๆ  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงซ้อนเป็นวงกว้าง 7-15 ซม. ยาว 1 เมตร ปลายใบแหลม  แผ่นใบอวบหนา  มีหน่อจำนวนมากขึ้นรวมกันเป็นกอ  ดอกเป็นช่อดอกขนาดใหญ่  สีขาวหรือม่วงแดง  ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง  มีดอกย่อยจำนวนมาก 10-30 ดอก ก้านช่อดอกอวบใหญ่ กลีบดอกตอนโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 7-10 ซม. ปลายแยกเป็น 6 กลีบแคบๆ กว้าง 1 ซม. ยาว 7 ซม.  ดอกทยอยบาน มีกลิ่นหอม พลับพลึงดอกสีแดงจะมีช่อดอกและดอกใหญ่กว่าพลับพลึงดอกสีขาว
การปลูกและดูแลรักษา
            พลับพลึงชอบขึ้นในดินที่ชื้นสามารถทนอยู่ในดินแฉะที่ไม่ค่อยระบายน้ำหรือในบริเวณที่แห้งแล้งในบางช่วงได้  นิยมปลูกกันตามร่องสวนในภาคกลางทั่วไป   เป็นพืชที่ทนทาน ไม่ต้องมีการบำรุงรักษามากนัก
หงอนไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Celosia argentea L. var. cristata (L.) Kuntze ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ AMARANTHACEAE
ชื่อสามัญ Cockscomb
ชื่ออื่นๆ Wool flower, หงอนไก่
ถิ่นกำเนิด  
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            หงอนไก่เป็นดอกไม้มีลำต้นสูงพอสมควร  ส่วนดอกมีทั้งสีแดงเข้ม ขาวและเหลือง มีรูปคล้ายกับหงอนไก่เป็นจักๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            หงอนไก่เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 20 นิ้ว  สีของลำต้นสีเขียว  ต้นมักจะแตกกิ่งก้านสาขามาก  ใบเป็นใบเดี่ยวออกใบเป็นกลุ่ม ใบแต่ละกลุ่มจะมีใบใหญ่อยู่หนึ่งใบ รูปใบมนรี ปลายใบแหลม ขนาดใบใหญ่ประมาณ 3-4 ซม. นอกนั้นเป็นใบย่อยขนาดเล็ก ออกดอกดก และดอกมีสีสันรุนแรงคล้ายหงอนไก่ มีหลายสีเช่นแดงสด ขาวและเหลือง
การปลูกและดูแลรักษา
            หงอนไก่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด   ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี
พิกุล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi L. ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ SAPOTACEAE
ชื่อสามัญ Mimusops
ชื่ออื่นๆ Tanjong Tree, Bullet Wood, พกุล
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย พม่า และมาเลเซีย
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            ดอกพิกุลมีกลิ่นหอมเย็นๆ นิยมใช้บูชาพระ  เปลือกต้นพิกุลใช้ย้อมผ้า  ต้มน้ำเกลืออมแก้ปวดฟันทำให้ฟันแน่น  ดอกนำมากลั่นทำน้ำหอม  น้ำจากดอกและผลใช้ล้างคอล้างปากและยังใช้เป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลางความสูง 5-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกแคบๆ โคนใบแหลม ปลายใบมนหรือแหลม ใบเกลี้ยงขอบใบเรียบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นกระจุกใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบ ดอกออกดอกเดี่ยว ที่ปลายกิ่งและซอกใบ แต่อยู่รวมกันเป็นกระจุก มี 24 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ชั้นใน 16 กลีบ ชั้นนอก 8 กลีบ สีขาวมีกลิ่นหอม แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลเมื่อโรย ดอกบานวันเดียว ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี ผลกลมรีหัวท้ายแหลม ผลสุกมีสีเหลือง สีส้มหรือสีแดง มี 1-2 เมล็ด
การปลูกและดูแลรักษา
             ปลูกได้ในดินทุกชนิด ชอบแสงแดดจัด
ทานตะวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อสามัญ Common Sunflower
ชื่ออื่นๆ ทานตะวัน
ถิ่นกำเนิด อเมริกาตะวันตก
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            ทานตะวันเป็นดอกไม้สีเหลือง  ดอกใหญ่กว่าดอกรักเร่เป็นที่สะดุดตามากบางทีดอกจะใหญ่กว่าลำต้นเสียด้วยซ้ำ  แทบจะไม่สมดุลย์กันเลย  นิยมปลูกเป็นแปลง เป็นไม้ที่ปลูกง่ายและโตเร็ว  เมื่อออกดอกแล้วดอกจะหันไปทางทิศตะวันออก เป็นการทานตะวัน ไม่หันไปทางทิศอื่น จึงได้ชื่อว่า ดอกทานตะวัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ทานตะวันลักษณะของลำต้นจะตรง สูงประมาณ 3-4 ฟุต  แต่ถ้าปลูกในถิ่นที่มีอากาศเย็นอาจสูงได้ถึง 6 ฟุต  ใบจะออกสลับกัน  ลักษณะของใบกลมรีกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว ยาว 1 ฟุต  ขอบใบเป็นรอยจักฟันเลื่อย  ปลายใบแหลม  ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกบานเต็มที่โตประมาณ 5-10 นิ้ว มีสีเหลืองสด  ตรงกลางดอกมีเกสรเป็นวงเกือบเท่าตัวดอก กลีบดอกบานแผ่เป็นวงกลมทำให้เกสรดอกเด่นชัดขึ้น
การปลูกและดูแลรักษา
            ทานตะวันเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด   ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย  ระบายน้ำได้ดี  ต้องการน้ำปานกลาง
รักเร่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dahlia spp. ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อสามัญ Dahlia
ชื่ออื่นๆ รักเร่
ถิ่นกำเนิด  
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ปักชำกิ่ง, ต่อกิ่ง, ใช้ราก เมื่อต้นให้ดอกแล้วต้นจะแก่และโทรมไปในที่สุด จะทิ้งรากที่เป็นหัวไว้ในดิน ให้ตัดต้นเหนือระดับดินประมาณ 3 นิ้ว เพราะส่วนของตาที่จะเจริญเป็นต้นใหม่จะอยู่บริเวณโคนต้น แล้วจึงขุดหัวขึ้นมาจากดิน
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            รักเร่เป็นไม้ดอกอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามไม่แพ้ไม้ดอกชนิดอื่น สวยทั้งรูปทรงของดอกและมีสีสรรสวยสะดุดตามาก ก้านดอกแข็งแรงทนทาน ในต่างประเทศนิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก แต่ ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกกันมากนักอัน เนื่องมากจากชื่อที่ไม่เป็นมงคลนั้นเอง     รักเร่มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก ที่ได้ชื่อว่า Dahlia นี้ก็เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ Dr. Andreas Dahl ชาวสวีเดน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            รักเร่เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน รากมีลักษณะคล้ายหัว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ดอกเป็นแบบ head แบบเดียวกับเบญจมาศ ก้านดอกอวบยาวแข็งแรง กลีบดอก แบ่งออกเป็น2 ตอน กลีบดอกชั้นนอกนี้แผ่กว้างออก หรืออาจจะห่อเป็นหลอดก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบรองดอก ด้านในเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงกันเป็นระเบียบติดอยู่กับฐานของดอก ส่วนกลีบรองดอกด้านนอบเล็กกว่าด้านใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว เหลืองอ่อน เหลืองเข้ม แดง แสด ส้ม ม่วง  พันธุ์ที่ใช้ปลูกมี
  • ประเภทต้นเตี้ย ได้แก่
    • Early Bird มีพุ่มต้นสูงประมาณ 15 นิ้ว ออกดอกเร็วพุ่มต้นกระทัดรัด มีหลายสีรวมในซองเดียวกัน
    • Redskin ดอกมีขนาดเล็ก ขนาดเส็นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1.5 นิ้ว
    • Roarder Jewels พุ่มต้นสูงประมาณ 18-24 นิ้ว ขึ้นในที่มีอากาศร้อนได้ดี ดอกมีสีสดใส มีหลายสีรวมอยู่ในซองเดียวกัน
    • Rigolette มีพุ่มต้นสูงประมาณ 15 นิ้ว เหมาะที่จะปลูกในกระถาง
  • ประเภทต้นสูง ได้แก่
    • Giant cactus mixture มีพุ่มต้นสูง 3-4 ฟุต มีหลายสีคละกันอยู่
การปลูกและดูแลรักษา
             รักเร่ชอบขึ้นในที่กลางแจ้งแดดจัดแต่มีความชื้นพอเพียง  ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนซุย ระบายน้ำดี มีธาตุอาหารพืชพอควร และเก็บความชื้นได้ดี  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวัสดุคลุมดินให้รักเร่  ซึ่งอาจจะใช้ฟาง ใบไม้แห้ง หรือเปลือกถั่วก็ได้  รักเร่เป็นไม้วันสั้น ต้องการกลางวันสั้นสำหรับการเกิดตาดอกเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
กาหลง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia acuminata L. ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ Snowy Orchid Tree
ชื่ออื่นๆ เสี้ยวดอกขาว, ส้มเสี้ยว, เสี้ยวน้อย
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย, เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            นิยมปลูกเป็นกลุ่มร่วมกับ ชงโค โยทะกา เพราะมีลักษณะคล้ายกัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            เป็นไม้ประดับยืนต้นขนาดเล็ก ความสูง 3-5 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ปลายใบเว้าเข้าเป็นรูปหัวใจหรือมองดูคล้ายเป็นใบแฝดติดกัน  ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และจะแตกใบใหม่ราวเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ดอกออกหลังจากใบใหม่แตกออกมาแล้ว ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ มีประมาณ 3-5 ดอก ใน 1 ช่อ กลีบดอกสีขาวซ้อนกัน  กาหลงมีผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะมีสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม ขนาดของฝัก กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 6-10 ซม.
การปลูกและดูแลรักษา
            ปลูกขึ้นง่ายในดินร่วนทั่วไป ที่มีความชื้นและอุดมสมบูรณ์
ประยงค์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaia odorata Lour. ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่อสามัญ Chinese Rice Flower
ชื่ออื่นๆ ประยงค์, พะยงค์, ขะยง, หอมไกล
ถิ่นกำเนิด เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            ประยงค์เป็นพืชในสกุลเดียวกับลางสาด ลองกอง  เป็นต้นไม้ของประเทศไทย  มักพบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับบ้าน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ประยงค์เป็นไม้พุ่มขนาดย่อมถึงใหญ่  ใบมีสีเขียวเข้มและหนาเป็นมัน  เป็นแบบใบรวม กลุ่มใบหนึ่งๆ จะประกอบด้วยใบย่อย 5 ใบ ลักษณะใบโค้งมนปลายแหลม ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะดอกเป็นเม็ดกลมๆ ก้านดอกแตกเป็นกิ่งก้านสาขา ในก้านดอกหนึ่งๆ จะมีดอกตั้งแต่ 20-30 ดอก ดอกมีสีเหลืองอร่าม เกสรดอกเป็นสีขาวเล็กๆ อยู่ภายใน เมื่อดอกบานก็ยังดูเป็นเม็ดกลมๆ อยู่ มีขนาด 0.2-0.3 ซม. ดอกมีกลิ่นหอมเย็นและส่งกลิ่นไปได้ไกล  ฤดูออกดอกตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม
การปลูกและดูแลรักษา
            ประยงค์สามารถขึ้นได้ดีในสภาพดินฟ้าอากาศเกือบทุกชนิดและมีความอดทนต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก
พวงทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thryallis glauca ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ MALPIGHIACEAE
ชื่อสามัญ Galphimia, Gold Shower
ชื่ออื่นๆ พวงทอง
ถิ่นกำเนิด อเมริกากลาง
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            นิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวน  ปลูกเป็นแปลงใหญ่หรือเป็นแนวริมกำแพง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            พวงทองเป็นไม้ต้นเล็ก สูง 1-1.5 เมตร  แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม  ใบยาวรีแหลม  ยาวประมาณ 3 ซม.  ดอกออกเป็นช่อเดียวที่โคนก้านใบ  ขนาดอก 1 ซม.  มีกลีบ 5 กลีบ  สีเหลืองสด  เกสรตัวผู้ 10 อัน  อยู่เป็นกระจุกกลางดอก  ออกดอกตลอดปี
การปลูกและดูแลรักษา
            เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแดดจัด ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย
บานชื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zinnia elegans ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE
ชื่อสามัญ Zinnia
ชื่ออื่นๆ บานชื่น , Poorhouse flower, Everybody flower
ถิ่นกำเนิด ประเทศเม็กซิโก
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ปักชำยอด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            บานชื่นนิยมปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเรือนและปลูกเป็นกระถาง  เนื่องจากบานชื่นเป็นไม้ดอกที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย  ไม่ต้องพิถีพิถันในการดูและรักษา มากมายแต่ให้ดอกที่สวยงาม สีสรรสดชื่น เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมโดยไม่ต้องลงทุนมากมาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            บานชื่นเป็นไม้ดอกฤดูเดียว  ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต  ลักษณะลำต้นมีขน  ปลายใบแหลม  ขอบใบเรียบ ใบติดกับลำต้น  ดอกมีหลายสี เช่น แดง ชมพู ขาว ส้ม เหลือง ม่วงและแสด แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ แต่ไม่มีกลิ่น
การปลูกและดูแลรักษา
            บานชื่นเป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัด  ต้องปลูกกลางแจ้งให้ได้รับแสงแดดโดยตรงอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง  สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด แต่ถ้าได้มีการเตรียมดินให้ดีมีธาตุอาหารครบครัน มีการระบายน้ำดี กักเก็บความชื้นไว้พอควร ก็จะได้บานชื่นที่มีพุ่มต้นสวยสมบูรณ์ ดอกดก คุณภาพดอกดี   ควรรดน้ำประจำทุกเช้า
พุทธชาด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum auriculatum ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในเพลงอุทยานดอกไม้ (ตอนที่ ๒)
ชื่อวงศ์ OLEACEAE
ชื่อสามัญ Jusmine Vine, Star jasmine, Angel-hair jasmine
ชื่ออื่นๆ พุทธชาด
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย, ประเทศจีน
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ทาบกิ่ง, ตอนกิ่ง, ปักชำกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            พุทธชาดเป็นไม้กึ่งยืนต้นกึ่งเลื้อย  มีขนาดต้นสูง 1-2 เมตร  ขนาดใบยาว 6 ซม.  ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกัน  ดอกขนาดเล็กสีขาว กว้าง 1.5 ซม. ดอกดกออกเป็นช่อ ดอกมี 6 กลีบหรือ 7 กลีบ มีกลิ่นหอมแรงมากในเวลากลางคืน ดอกบานไม่พร้อมกัน ดอกดกและออกดอกตลอดปี
การปลูกและดูแลรักษา
            พุทธชาดเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด  ขึ้นได้ในดินทุกชนิด  แต่ต้องสามารถกักเก็บความชื้นได้ดี

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=570

อัพเดทล่าสุด