สุขภาพกับนาฬิกาอวัยวะ ( Organ Clock)


656 ผู้ชม


นาฬิกาอวัยวะ เป็นที่อยู่กับตัวของเราตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ เราจึงควรจะเรียนรู้ และจัดสรรวงจรชีวิตในการพักและการเพียรของเราให้ลงตัว เพื่อจะได้ก่อเกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นอย่างมากมาย   

เวลาชีวิต นาฬิกาอวัยวะ (Organ clock )

วัฏจักรของการหมุนเวียนื่อให้จิตใจและขึ้นอยู่ที่"กรรม"กับ"กาละ" ฉะนั้น กาลเวลาจึงกลืนกินสรรพสัตว์อยู่ตลอดไป ถ้าเรารู้ไม่ทัน
          นาฬิกาอวัยวะ เป็นที่อยู่กับตัวของเราตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ เราจึงควรจะเรียนรู้ และจัดสรรวงจรชีวิตในการพักและการเพียรของเราให้ลงตัว เพื่อจะได้ก่อเกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นอย่างมากมาย

จะขอเริ่มต้นที่.......เวลา 19.00 น. ถึง 21 .00 น. (กล้ามเนื้อหัวใจ -P)
          เป็นเวลาที่กล้ามเนื้อหัวใจจะชะล้างตัวเองจึงต้องพักสนิทส่วนที่หัวใจจะทำงานน้อยลง ถ้าไม่พักเลือด
จะข้น กล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานหนัก ทำให้หัวใจโต และคนที่มีหัวใจโตจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตมากกว่าคนที่ปกติ 5 - 6 เท่า
          ทุกวันนี้คนเราไม่เตรียมตัวที่จะพักเวลานี้กันเลย แต่กลับจะ ทำงานล่วงเวลามากขึ้น เที่ยวกลางคืน
และกินอาหารหนักๆพร้อมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักมากขึ้นไปอีกเท่าตัว จึงมีผลกระทบต่อหัวใจ  หัวใจจะต้องทำงานหนักไปด้วย ซึ่งปกติแล้วร่างกายควรจะชะลอพักนั่งทำสมาธิ 
สวดมนต์ ไหว้พระเพื่อให้จิตใจและร่างกายสงบลงสำหรับการเตรียมตัวพักผ่อนหลับนอน
          เวลา 21 .00 น. ถึง 23 .00 น.  3 ทุ่มเป็นเวลาเส้นตายที่ทุกคน ต้องนอนหลับให้ได้ ถ้าหากเข้านอนหลัง 3 ทุ่ม อันเป็นช่วงพลังงานรวมนี้ จะมีพลังงานไปช่วยเหลือกระบวนการสะสมพลังงานในร่างกายไม่เต็มที่
ผลก็คือจะทำให้ร่างกายมีพลังงานสะสมไม่เพียงพอในการฟื้นฟูอวัยวะต่างๆให้สะอาดแข็งแรง  สำหรับวัน
ต่อไป
          พลังงานรวม หมายถึง จำนวนเม็ดเลือด ถ้าไม่พักเวลานี้เซลล์เม็ดเลือดจะแตกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปกติเซลล์เม็ดเลือดของคนเราจะแตกวันละ 2 - 2.5 ล้านเซลล์ แต่ถ้านอนดึกขึ้นอีกเซลล์เม็ดเลือดก็จะแตกทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ เช่น คนที่บริจาคเลือดถ้านอนดึกเลือดจะลอย บริจาคไม่ได้ ถ้านอน 3 ทุ่ม ร่างกายจะสร้างเซลล์เม็ดเลือดขึ้นในช่วง 2 ชั่วโมงนี้ ร่างกายจะนำไปล้างถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีแข็งแรง
          เวลา 23.00 น. ถึง 01.00 น. (ถุงน้ำดี- GB ) เป็นเวลาที่พลังงานจะไปจัดการกับตับ หน้าที่ของตับ คือ สะสมอาหารสำรองให้กับร่างกาย ตับจะเก็บเลือดได้ 50 กรัม เพื่อใช้ในการขับสารเคมีออกจากร่างกาย ตลอดจนผลิตน้ำดีและส่งไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ถ้าช่วงนี้เรายังไม่หลับนอนยังทำงานอยู่ ร่างกายจะสูญเสียพลังงานส่วนที่สะสมไว้ไปตับจะอ่อนแอลง การสะสมพลังงานสำรองลดลง การผลิตน้ำดีลดลง (ท้องจะบวมอย่างเห็นได้ชัด) และจะส่งผลกระทบถึงการทำงานของตับอ่อน ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลงด้วย ผลที่ตามมาก็คือโรคภัยไข้เจ็บ คนที่ไม่พักผ่อนในช่วงนี้ จะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตแปรปรวนโรคเกาต์โรครูมาตอยด์ รูมาติซั่ม ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เบาหวาน หัวใจ กระดูกเสื่อม แต่ถ้าพักผ่อนตั้งแต่ 3 ทุ่มถึงตี 3 ก็จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว

       

จากข้อมูลความรู้สารธารณสุขบุญนิยม นำเสนอโดยครูณัฐฎา แสงคำ  (ยังมีต่อตอนต่อไป )

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=635

อัพเดทล่าสุด