เราสามารถนำเทคโเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิมได้พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เมื่อมีผู้พูดถึงเทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบัน จึงมักหมายถึงเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หรือที่เรียกว่า Modern Biotechnologyนโลยีชีวภาพมาใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
"ไบโอเทค" เทคโนโลยีนี้เพื่อใคร ? | ||||||
ไบโอเทคคืออะไร ? ไม่กี่ปีมานี้ ใครๆ ก็พูดถึงไบโอเทค....
บ้านเรามีเทคโนโลยีดังกล่าวมานานมากแล้ว...การหมักปลาร้า การหมักสุราท้องถิ่น ทั้งสาโทและกระแช่ การหมักน้ำปลา การผลิตซีอิ๊ว ล้วนเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม (Classical Biotechnology) เช่นเดียวกับการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์โดยการปรับปรุงพันธุ์รุ่นแล้วรุ่นเล่า โดยใช้ระยะเวลาหลายปีเพื่อให้ได้ลักษณะที่ดี มีผลผลิตมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น แม้แต่การนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรคต่างๆ หรือนำมาบำรุงสุขภาพ ก็จัดเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิมได้พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เมื่อมีผู้พูดถึงเทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบัน จึงมักหมายถึงเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หรือที่เรียกว่า Modern Biotechnology เช่น การบำบัดโรคด้วยยีน การพิสูจน์บุคคลด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ การโคลน การดัดแปลงยีน ฯลฯ ที่มีวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ เป็นรากฐาน จนอาจเรียกได้ว่า เทคโนโลยีชีวภาพเป็นสหวิทยาการที่นำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เราสามารถนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ทำอะไรได้บ้าง ? เรานำเทคโนโลยีชีวภาพมาประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ได้แก่
ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไรจากเทคโนโลยีชีวภาพ จากพื้นฐานที่เข้มแข็งทางการเกษตรและทรัพยากรที่หลากหลายของประเทศไทย เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์พืช และสัตว์ ให้มีคุณสมบัติตามต้องการ เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ รวมทั้งการเปลี่ยนวัตถุดิบทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ประเทศไทยสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพิ่มส่วนแบ่งของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ในตลาดโลก รวมทั้งรักษาความสามารถในการแข่งขันของเราในสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าว กุ้ง นอกจากการสร้างความสามารถในการแข่งขันแล้ว ไทยยังสามารถใช้ศักยภาพของไบโอเทคในด้านการแพทย์เพื่อการพึ่งพาตนเองและลดการนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ ซึ่งในแต่ละปี ไทยนำเข้าถึง 24,000 ล้านบาท ในด้านเกษตรกรรมของประเทศ ถ้าไทยไม่นำเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยในด้านการผลิต ประเทศไทยก็จะก้าวไปช้ากว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งมีผลต่อการแข่งขันในด้านการส่งออกเป็นอย่างมาก เช่น "กุ้ง" หากไม่มีพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่ดีจากทะเล ไทยก็ไม่สามารถสู้กับคู่แข่งได้ ประเทศไทยจึงก็ต้องพัฒนาพ่อแม่พันธุ์โดยนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วย "ข้าว" หากเราไม่ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ทนน้ำท่วมได้มากขึ้น ต้านทานต่อโรคพืชได้ ไทยก็ไม่สามารถแข่งกับประเทศส่งออกข้าวอื่นๆ ได้ ซึ่งผลเสียล้วนตกอยู่กับภาคการเกษตร ประเทศไทยปูทางสู่ถนนสายเทคโนโลยีอย่างไรบ้าง ประเทศไทยเล็งเห็นความสำคัญและศักยภาพของเทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาประเทศ จึงได้จัดตั้งศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ขึ้น ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2526 เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพด้านต่างๆ ผ่านการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยแก่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา และเอกชน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้ ฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในทุกๆ ด้านของประเทศ นอกจากไบโอเทคแล้ว ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังมีการจัดตั้งสำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพขึ้นเมื่อปี 2540 เพื่อนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ปรับปรุงและขยายพันธุ์พืช นอกจากี้ยังมีหน่วยงานอื่นที่สนับสนุนทุนวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นต้น สำหรับสถาบันการศึกษาภาครัฐ ต่างสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติขึ้น เพื่อจัดทำกรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศขึ้น โดยมีเป้าหมายว่า "ภายในปี 2552 ประเทศไทยจะใช้เทคโนโลยีชีวภาพสร้างประเทศให้เป็นครัวของโลก เป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย คนไทยมีสุขภาพดีทั่วหน้า สิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด เกิดธุรกิจชีวภาพใหม่ รวมทั้งให้มีการเข้ามาลงทุนทำวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย และมีกำลังคนที่มีคุณภาพ"
หากเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว ในด้านทรัพยากรชีวภาพ ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทุนเดิมอยู่มาก คนไทยเองมีความชำนาญทางการเกษตร และด้านการดูแลสุขภาพ (สมุนไพร) แต่ประเทศไทยมีการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพน้อยกว่าต่างประเทศ อีกทั้งงบประมาณสนับสนุนการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพน้อยกว่าประเทศอื่น รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีชีวภาพของโลกลงทุนปีละประมาณ 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่นลงทุนด้านเทคโนโลยีชีวภาพในปี 2542 ถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และตั้งเป้าว่าในปี 2553 เพิ่มเงินลงทุนเป็น 217,000 ล้านเหรียญ โดยจะกระตุ้นให้เกิดบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพใหม่จำนวน 1,000 บริษัท อินเดีย ลงทุนในปี 2545-2546 เป็นจำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และประกาศเพิ่มส่วนแบ่งของสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพในตลาดโลกที่ตัวเองมีส่วนแบ่งเพียงร้อยละ 2 ในขณะนี้ ให้เป็นร้อยละ 10 ในอีกหลายปีข้างหน้า จีนประกาศว่า เทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นศาสตร์สำคัญที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพื่อนบ้านของไทย อาทิ สิงคโปร์ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สิงคโปร์มีเป้าหมายชัดเจนมากในการก้าวไปสู่ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์ โดยทุ่มเงินงบประมาณจำนวนมากสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ชีวภาพชื่อว่า ไบโอโปลิส (Biopolis) จนสามารถดึงบริษัทจากต่างประเทศเข้ามาทำการวิจัยและพัฒนาได้ สำหรับประเทศมาเลเซีย ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ได้เปลี่ยนฐานอุตสาหกรรมจากอิเล็กทรอนิกส์มาเน้นธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพมากขึ้น ปัจจุบัน ทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับเทคโนโลยีชีวภาพ จนมีผู้กล่าวว่า "เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 21"ทีเดียว... | ||||||
| ||||||
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=687 |