ไม่ผิดคำสัญญา ฟ้าก็ผ่าได้..!!


748 ผู้ชม


ฟ้าผ่า...ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อันตรายไม่ต้องสาบานก็มีสิทธิ์เสี่ยงตายไหม้เกรียมได้   

ไม่ผิดคำสัญญา ฟ้าก็ผ่าได้..!!

ฟ้าผ่า...ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อันตรายไม่ต้องสาบานก็มีสิทธิ์เสี่ยงตายไหม้เกรียมได้

         ในแต่ละปีมีเด็กและผู้ใหญ่ทั่วโลกเสียชีวิตเพราะถูกฟ้าผ่ามากกว่า 1,000 ราย เมืองไทยมีเด็กอายุน้อยกว่า 17 ปี  เสียชีวิตเพราะถูกฟ้าผ่าเฉลี่ยปีละ 20 คน นับเป็น ความสูญเสียที่น่าเศร้า  เพราะเราสามารถป้องกันตัวเองจากภัยธรรมชาตินี้ได้หากมีความ รู้และไม่ประมาท 
 

        เมื่อพ.ศ.2295 นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อเบญจามิน แฟรงคลิน ได้พิสูจน์ให้รู้กันแน่นอนว่า ในก้อนเมฆมีประจุไฟฟ้า หรืออำนาจไฟฟ้า โดยการปล่อยว่าวขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เขาพบว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลไปตามสายว่าวแล้วกระโดดไปยังมือของเขา 
การทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่ามีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นในก้อนเมฆในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เมฆบางก้อนมีประจุไฟฟ้าบวก แต่บางก้อนมี ประจุไฟฟ้าลบ เมื่อเมฆมีประจุไฟฟ้าต่างกันมาอยู่ใกล้กัน จะทำให้ประจุไฟฟ้าจากเมฆก้อนหนึ่งกระโดดไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง 

        การกระโดดนี้จะทำให้เกิดประกายไฟขี้น เรียกประกายไฟนี้ว่า "ฟ้าแลบ" ขณะที่เกิดประกายไฟจะมีเสียงด้วย เรียกว่า "ฟ้าร้อง" 
        บางครั้งประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆอยู่ใกล้พื้นดิน มากกว่าเมฆก้อนอื่น มันจะกระโดดลงสู่พื้นดินซึ่งอันตรายมาก ตึกสูงๆ หรือต้นไม้สูง ที่ถูกไฟฟ้าในก้อนเมฆกระโดดเข้าไปใส่ จะเกิดอันตรายเพราะกระแสไฟฟ้ามีความรุนแรงมาก เรียกว่า "ฟ้าผ่า" ดังนั้น ในขณะที่ฝนตก ไม่ควรไปยืนใต้ต้นไม้ใหญ่ๆ เพื่อป้องกันอันตราย และบนตึกสูงๆ ควรจะมีสายล่อฟ้าเอาไว้ 
        ฟ้าแลบไม่ได้มีแต่ผลเสียเพียงอย่างเดียว แต่ผลพลอยได้ของการเกิดพายุฟ้าคะนอง คือ การเพิ่มพูนปริมาณของสารประกอบไนโตรเจนให้แก่ดิน โดยมีการคาดการณ์ไว้ว่า ฟ้าแลบครั้งหนึ่งจะทำให้ธาตุไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัม ต่อพื้นที่จำนวน 1 ไร่ ในเวลาหนึ่งปี และเมื่อคิดคำนวณ ทั้งโลก พบว่าจะมีธาตุไนโตรเจนตกลงมายังโลกทั้งสิ้น 770 ล้านตัน 
        ในขณะที่เกิดฟ้าแลบ พลังงานบางส่วนที่เกิดจากฟ้าแลบ จะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจน เกิดเป็นสารประกอบไนตริกออกไซต์ สารประกอบไนตริกออกไซต์จะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไปเป็นไนโตรออกไซต์ ซึ่งจัดว่าเป็นสารที่มีการละลายได้ดีในน้ำฝน และจะเปลี่ยนเป็นกรดดินประสิว ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อตกลงมาแล้วจะไปรวมตัวกับสารเคมีอื่นๆ บนพื้นโลก กลับกลายเป็นแคลเซียมไนเตรทในที่สุด แคลเซียมไนเตรท เป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับพืช ดังนั้นการเกิดฟ้าแลบฟ้าคะนองนอกจากจะช่วยให้พื้นดินชุ่มฉ่ำแล้ว ยังช่วยเพิ่มปุ๋ยให้กับพืชด้วย 

        กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  กระทรวงมหาดไทย  แนะวิธี ป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าในฤดูฝน  ดังนี้

        • อยู่กลางแจ้ง  สังเกตสายฟ้า  หากเอียงเกิน 45 องศา  แสดงว่าพายุกำลังเคลื่อนตัวหนี จากตำแหน่งที่เราอยู่  แต่ถ้ามีลักษณะตรงๆ  หรือเอียงไม่เกิน  45 องศา  แสดงว่าพายุ กำลังเคลื่อนตัวมาหาเรา  หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง  ซึ่งถ้าอยู่กลางแจ้งไม่สามารถหาที่ หลบได้  ให้นั่งทำตัวให้อยู่ต่ำมากที่สุดคือ นั่งยองๆ ขาชิดกันที่พื้น  แต่ห้ามนอนเด็ดขาด   เพราะฟ้าผ่าจะเกิดจากความพยายามลดความต่างศักย์ระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน  หลัง จากก้อนเมฆได้สะสมประจุไว้ในลักษณะไฟฟ้าสถิต  จะลดระดับเข้าใกล้พื้นดินทำให้ เกิดความต่างศักย์ขึ้น  การนอนจะยิ่งเพิ่มความต่างศักย์ทำให้เกิดอันตรายมากกว่านั่ง

        • ห้ามหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้ป้ายโฆษณา  วัสดุคอนกรีต  และเสาไฟฟ้าแรงสูงที่มี ส่วนประกอบหลักเป็นโลหะเพราะฟ้ามักผ่าลงที่สูงและบริเวณที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า  เช่น   เครื่องประดับเงิน  ทองคำ ทองแดง  นาค  สร้อยโลหะ  กำไล  และร่มที่มีส่วนยอดเป็น โลหะ  ห้ามอยู่ใกล้หรือใช้อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า  เช่น เครื่องมือการเกษตร  โทรศัพท์มือถือ  หรือแม้แต่หลบในตู้โทรศัพท์สาธารณะ  เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีส่วน ประกอบของโลหะ  สายอากาศ  และแบตเตอรี่ที่เป็นตัวล่อไฟฟ้า  ไม่ว่าจะเปิดหรือปิดจะ ใช้หรือไม่ใช้เครื่อง  หากอยู่ในมือจะมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

        • อยู่ในอาคาร  ควรหลบในอาคารที่ติดตั้งสายล่อฟ้าจะปลอดภัยกว่า  ไม่ควรอยู่ใกล้ประตู หน้าต่างที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะขณะฟ้าร้องฟ้าผ่า  เลี่ยงการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุก ชนิด โดยเฉพาะโทรทัศน์  คอมพิวเตอร์  เครื่องทำน้ำอุ่น  ตู้เย็น  หรือแม้แต่โทรศัพท์   เพราะเมื่อฟ้าผ่าลงบ้านอาจจะเกิดการกระจายของไฟฟ้าไหลไปตามเครื่องใช้และสื่อนำ ไฟฟ้าต่างๆ  ยิ่งบ้านไหนไม่มีสายล่อฟ้าหรือสายดินยิ่งต้องระวัง

        • อยู่ในรถ  ปลอดภัยกว่ากลางแจ้งขณะเกิดฟ้าผ่า  เพราะรถยนต์มีโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้า แต่ไม่ดีนัก  ควรปิดกระจกให้มิดชิดกันการผ่านของกระแสไฟฟ้าที่ผ่าลงมาเข้าสู้รถ   หากดวงซวยเกิดฟ้าผ่าลงรถตรงๆ  ก็ควรตั้งสติให้มั่น  อย่าออกจากรถ  เพราะกระแส ไฟฟ้าที่ไหลตามผิวโลหะของตัวถังรถจะไหลลงสู่พื้นดิน  หากวิ่งออกมานอกรถยิ่งมีความ เสี่ยงสูงที่จะถูกฟ้าผ่า  การหลบฟ้าผ่าในรถจึงเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยที่สุด  เพราะโครงสร้าง รถยนต์เป็นโลหะนำไฟฟ้าที่ไม่ดีนัก  และมียางรถยนต์ช่วยยกระดับให้พ้นจากพื้นน้ำ  จึง ช่วยป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าได้

ประเด็นคำถามจากสาระการเรียนรู้

        1.  ฟ้าร้อง  ฟ้าแลบ  ฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
        2.  มีอะไรเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าแลบ 

        2.  จะมีวิธีป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าในฤดูฝนได้อย่างไร

แหล่งที่มา  : https://variety.teenee.com/foodforbrain/15157.html/
                     https://board.dserver.org/w/wwwt/00000106.html

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=706

อัพเดทล่าสุด