ตัวเล็กพริกขี้หนู!?! มดตะนอยกัดคนตาย เตือนแพ้เหล็กใน-ระวัง!
เหตุการณ์มดตะนอยกัด ได้เกิดชึ้นกับลูกสาวผู้เขียนเอง( ไม่ใช่เด็กตัวเล็กๆนะ อยู่ชั้นม.6 แล้ว )เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2552 ที่จังหวัดสมุทรปราการ กัดเพียงตัวเดียวจริงๆ หลังจากถูกกัด 15 นาที อาการแสดงให้เห็น มีผื่นขึ้นเป็นปื้นเต็มตัว ปากบวมเหมือนครุฑ (แม้จะไม่เคยเห็นครุฑตัวจริงก็ตาม) ตาแดง แต่ที่สำคัญต้องนำส่งโรงพยาบาลคืออาการหายใจไม่ออก ต้องเรียกรถพยาบาลมารับต่อจากคลินิคเลย ทำให้คิดว่าถ้าอยู่ห่างไกลจะเป็นอย่างไร เรามาลองดูข่าวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้กัน
จาก https://www.siammicro.co.th/hi5/_2222527.jpg
หมอระบุว่า เกิดขึ้นยากแบบ 1 ในล้าน มดตะนอย กัดคนตาย
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ามดตะนอยตัวเดียวจะสามารถกัดคนตายได้ แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้วกับนายบุญเลิศ สิงห์พริ้ง หนุ่มชาวปากน้ำโพที่ออกไปหาปลาในแม่น้ำแล้วถูกมดตะนอยที่อยู่ในเรือกัดเข้าที่ง่ามนิ้ว หมดสติกลายเป็นเจ้าชายนิทราเสียชีวิตลงหลังจากนั้น 5 วัน แพทย์ระบุสาเหตุการตายเกิดจากนายบุญเลิศเป็นคนแพ้มด-แมลงที่มีเหล็กในทุกชนิด ก่อนหน้านี้เคยถูกมดกัดผึ้งต่อยถึงขั้นหามส่งร.พ.มาแล้ว แต่มาคราวนี้พลาดอีก ถูกมดตะนอยกัดจนสิ้นใจตายช่วยไว้ไม่ทัน หมอระบุว่า เกิดขึ้นยากแบบ 1 ในล้าน
เหตุการณ์ครั้งนี้เปิดเผยเมื่อตอน 7 โมงเช้าวันที่ 1 มิ.ย. ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ เกิดเหตุประหลาดขึ้นเมื่อมีคนเสียชีวิตจากเหตุถูกมดกัด โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลได้ทำการตบแต่งศพนายบุญเลิศ สิงห์พริ้ง อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32 หมู่ 2 ต.โคกหม้อ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ที่ส่งตัวมารักษาตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ในสภาพโคม่าเป็นเจ้าชายนิทรา นอนอยู่ร.พ.ได้ 5 วันระบบการทำงานของร่างกายก็ล้มเหลวจนแพทย์ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ทันตายเพราะมดตะนอยตัวเดียวแท้ๆ
นายจันทร์ ยิ้มละมัย พี่เขยของนายบุญเลิศ ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์อันเหลือเชื่อ เล่าว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา ตนและนายบุญเลิศพายเรือออกไปหาปลาในแม่น้ำน่านที่ ต.โคกหม้อ โดยลงเรือไปคนละลำ ขณะกำลังหาปลาอยู่นั้นได้ยินเสียงน้องเมียตะโกนร้องด้วยความตกใจ บอกว่าถูกมดกัด จึงรีบพายเรือเข้าไปช่วยเหลือ เพราะนายบุญเลิศมีอาการแพ้มด-แมลงที่มีเหล็กในอย่างรุนแรง ก่อนหน้านี้เคยถูกมดกัดและผึ้งต่อยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลถึง 2 ครั้ง 2 หนด้วยกัน แพทย์เคยเตือนให้ระมัดระวังตัวให้มากๆ เพราะน้องเมียเป็นคนแพ้มดแมลงที่มีเหล็กในทุกชนิด แต่สุดท้ายก็มาถูกมดตะนอยกัดจนได้
นายจันทร์เล่าต่อไปว่า เมื่อเข้าไปถึงตัวนายบุญเลิศก็พบว่ามีอาการหมดสติ มีมดตะนอยขนาดใหญ่กัดติดอยู่ที่ง่ามมือ จึงรีบนำส่งโรงพยาบาลชุมแสง ระหว่างทางอาการเริ่มทรุดหนัก หน้าดำคล้ำ น้ำลายฟูมปาก กลายเป็นเจ้าชายนิทรามาตั้งแต่บัดนั้น ก่อนที่จะเสียชีวิตอีกไม่กี่วัน โดยแพทย์ลงความเห็นว่า เกิดจากอาการแพ้อย่างรุนแรงและขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองเป็นเวลานาน
| |
| |
| |
|
เรามาศึกษาสังคมของมดกัน
มด อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) มีการจัดระบบพฤติกรรมภายในกลุ่มอย่างเป็นระเบียบ ภายใน 1 กลุ่ม แบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ คือ ราชินี (queen) มดวรรณะสืบพันธุ์ และกลุ่มมดงาน โดยแต่ละวรรณะจะมีหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันจากความเป็นอยู่ และการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของมดภายในกลุ่ม ดังนั้น สามารถจัดกลุ่มของมดเป็นแมลงสังคมที่แท้จริง (Eusocial insect)
ราชินี (queen) ภายใน 1 รัง จะมีเพียง 1 ตัว หรือมากกว่า 1 ตัว เป็นเพศเมียที่ทำหน้าที่วางไข่ ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นมดวรรณะสืบพันธุ์และมดงานต่อไป มดราชินีจะมีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะส่วนอกซึ่งจะพบร่องรอยของปีก และส่วนของท้องที่ขยายใหญ่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ราชินีจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม จำนวนประชากร และเพศของมดภายในรัง
มดวรรณะสืบพันธุ์เป็นมดที่มีปีก ตารวมและตาเดี่ยว จะพบอยู่ในรังเป็นบางช่วงเท่านั้น รอเวลาที่จะออกจากรัง เพื่อผสมพันธุ์และไปสร้างรังใหม่ ภายใน 1 รัง จะมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย (อาศัยภายในรังในเวลาสั้นๆ เท่านั้น)
- มดเพศเมีย (female) มีขนาดใหญ่ มีปีก เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะสลัดปีกทิ้ง แล้วเริ่มสร้างรังวางไข่
- มดเพศผู้ (male) มีปีก ขนาดใกล้เคียงกับมดงาน มีหน้าที่เพียงแค่ผสมพันธุ์อย่างเดียว รูปร่างคล้ายต่อ และแตน แตกต่างจากมดเพศเมีย
Recurvidris sp. : a, b: มดราชินี ; c: มดงาน
มดงาน (worker) เป็นมดตัวเมียที่เป็นหมัน มีจำนวนมากที่สุดภายในรัง มีหน้าที่คอยหาอาหาร ป้องกันศัตรู ดูแลรัง ไข่ ตัวอ่อน รวมทั้งราชินี มดงานเป็นวรรณะที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด ภายในรังจะมีการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับอายุของมดงาน เช่น มดงานที่ออกจากดักแด้ใหม่ๆ จะยังคงอยู่ภายในรัง และดูแลไข่ ตัวหนอน ดักแด้ เมื่อมีอายุมากขึ้น มดงานก็จะเปลี่ยนกิจกรรมจากดูแลครอบครัวมาเริ่มงานใหม่ ในการสร้างรัง ทางเดิน และออกไปหาอาหาร แต่มดงานบางตัวอาจจะดำเนินกิจกรรมที่เหมือนกันตลอดทั้งชีวิต หรือบางกรณี มดงานจะทำกิจกรรมทั้งหมดภายในกลุ่ม
รูปแบบของมดงาน (worker) ในมดบางชนิด อาจแบ่งมดงานออกตามขนาดของมด คือ มดงานขนาดใหญ่ เรียกว่ามดทหาร (major workers) ส่วนมดงานขนาดเล็ก เรียกว่า minor worker ขนาดของมดงานจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินกิจกรรม เช่น มดงานที่เป็น major จะพบภายในรังหรือใกล้รังเท่านั้น ขณะที่มดงานที่เป็น minor เท่านั้นที่ออกไปหาอาหารไกลจากรัง สามารถแบ่งรูปแบบของมดงานออกได้ 3 ประเภท คือ
มดสกุล Camponotus : a: มดเพศผู้ ; b: มดเพศเมีย ; c: มดงาน
Polymorphic เป็นกลุ่มของมดงานที่มีหลายรูปแบบ เช่น มดง่าม และมดคันไฟ
เอกสารอ้างอิง
*** ศศิธร หาสิน พิพิธภัณฑ์มด คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
*** Ant Museum, Kasetsart University
เว็บไซต์สำหรับศึกษาเพิ่มเติม (search by spong@)
1. https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/may11/ant.htm
"มดจำทิศทางได้อย่างไร" โดย สุทัศน์ ยกส้าน "มดศึกษา" และ สมศรี ตั้งมงคลเลิศ วารสาร สสวท
ฉบับที่ 101 เม.ย.- ม.ย. 2541
2. https://www.infowest.com/life/antbody.htm
Ant Anatomy learn about the body parts of ants เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมด พร้อมภาพประกอบสวยงาม
ขอขอบคุณ https://www.ipst.ac.th/biology/Bio-Articles/mag-content27.html
ความรู้ ชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=713