ปอดของโลก ตอนที่ 2


759 ผู้ชม


ป่าโบราณ:ปอดของโลก   

                                               ป่าในอินโดนีเซีย
    

            ปอดของโลกแห่งต่อไปคือ ป่าในอินโดนีเซีย นับว่ามีความอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญใกล้ๆประเทสไทยด้วย เราได้อาศัยหายใจด้วย มีข่าวด้วยว่าพบหนูยักษ์ในป่าอินโดนีเซีย
                        
พบหนูยักษ์พันธุ์ใหม่ใน "โลกหลงสำรวจ" กลางป่าอินโดนีเซีย

ปอดของโลก ตอนที่ 2เอพี/เอเอฟพี - ทีมนักวิทยาศาสตร์อินโดนีเซียและสหรัฐฯ เผยหนูยักษ์ตัวเขื่อง 1.4 กิโลที่พบครั้งแรกใน "โลกหลงสำรวจ" กลางป่าทึบแดนอิเหนาที่เคยพบสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่หลายชนิด และยังพบตัวพอสซัมแคระที่คาดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสปีชีส์ใหม่ทั้งคู่ ย้ำความเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายทางชีววภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสปีชีส์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 นี้นับเป็นเรื่องยากเย็น แต่นักวิทยาศาสตร์องค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติสากลหรือซีไอ (Conservation International: CI) ได้ทำให้โลกตื่นตะลึงจากการค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพันธุ์ใหม่หลายสิบสปีชีส์ในป่าทึบบนภูเขาฟอจา (Foja Mountains) ทางตะวันตกของเกาะนิวกินี (New Guinea) ในจังหวัดปาปัว (Papua) ของอินโดนีเซียเมื่อ 2 ปีก่อน และเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์จากซีไอได้ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์อินโดนีเซีย (Indonesian Institute of Science) กลับเข้าไปสำรวจยังป่าที่ไม่มีใครเข้าถึงแห่งนั้นอีกครั้ง  หลังความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์อินโดนีเซียและอเมริกัน ซีไอได้เผยแพร่ภาพ มาร์ทัว ซินากา (Martua Sinaga) นักสัตววิทยาด้านสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ร่วมสำรวจในครั้งใหม่ขณะอุ้มหนูยักษ์ที่หนักถึง 1.4 กิโลกรัมและมีขนาดใหญ่กว่าหนูบ้านถึง 5 เท่าซึ่งพบในป่าทึบบนภูเขาฟอจาเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าหนูดังกล่าวเป็นหนูพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อนและได้รับการตั้งชื่อว่า "มัลโลมิส" (Mallomys) นอกจากนี้ยังพบพอสซัมแคระซึ่งนับเป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องที่เล็กที่สุดในโลกและได้รับการตั้งชื่อว่า "เซอร์คาร์เตตัส" (Cercartetus) โดยนักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งสองนี้

     "หนูยักษ์มีขนาดใหญ่กว่าหนูบ้านประมาณ 5 เท่า และด้วยความไม่กลัวคนเจ้าหนูยักษ์ได้แวะเวียนที่แคมป์อยู่บ่อยครัง้ระหว่างการเดินทางสำรวจ" คริสโตเฟอร์ เฮลเกน (Kristofer Helgen) นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันสมิทโซเนียน (Smithsonian Institution) ในวอชิงตัน สหรัฐฯ กล่าว

     จากการค้นพบเมื่อปี 2548 ซีไอขนานนามให้ป่าดังกล่าวว่าเป็น "โลกหลงสำรวจ" (The lost World) เพราะเป็นบริเวณที่มนุษย์เข้าถึงได้ยาก และนอกจากการค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพันธุ์ใหม่แล้ว ยังพบต้นปาล์มและผีเสื้อพันธุ์ใหม่ๆ อันน่าตื่นตาตื่นใจ ทั้งนี้ที่ปาปัวนั้นมีพื้นที่เป็นป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่บางพื้นที่กำลังถูกบุรุกจากการตัดไม้ที่ผิดกฎหมาย ขณะที่บริเวณในภูเขาฟอจานั้นไม่ถูกคุกคามได้ง่ายเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างห่างไกล

     "เป็นเรื่องสบายใจที่รู้ว่ามีบางพื้นที่บนโลกที่แยกตัวเป็นเอกเทศซึ่งยังคงมีอาณาเขตของป่าธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ เรารู้สึกยินดีที่ได้เห็นพื้นที่เล็กของสวนแห่งอีเดน (สวนสวรรค์) ยังคงหลงเหลืออยู่อย่างเดิมที่เป็นและน่าหลงใหลดังต้องมนต์ในครั้งแรกที่เราได้เห็น" คำกล่าวของ บรูซ บีห์เลอร์ (Bruce Beehler) นักวิทยาศาสตร์อเมริกันผู้ก่อตั้งองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติสากลและผู้นำสำรวจ

     ขอบคุณ https://www.telewizmall.com/board/news/news5.php/2007/12/19/2082.html

ปอดของโลก ตอนที่ 2คอยติดตามตอนต่อไปปอดของโลก ตอนที่ 2

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=739

อัพเดทล่าสุด