เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นนี้สามารถติดต่อจากคนสู่คน
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (swine flu) รายงานการแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในประเทศเม็กซิโก ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2552 และทวีความรุนแรงมากขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา รวบรวมตัวเลขถึงวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2552 มีผู้ป่วยรวม 854 ราย เสียชีวิต 59 ราย และจากการเก็บตัวอย่างผู้ป่วยรวม 50 ราย ส่งตรวจพบว่า 17 ราย เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H1N1 คาดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของคนที่มีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัด ใหญ่ในหมูผสมอยู่ด้วย ต่อมายังพบผู้ป่วยด้วยเชื้อเดียวกันนี้อีก 7 ราย ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศเม็กซิโก แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
ข้อมูลเบื้องต้นจากการสอบสวนโรคบ่งชี้ว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นนี้สามารถติดต่อจากคนสู่คน และทำให้มีผู้เสียชีวิต ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และกำลังพิจารณาให้คำแนะนำเรื่องการเดินทางระหว่างประเทศ ผู้ที่มีแผนการเดินทางไปยังประเทศเม็กซิโก รวมทั้งรัฐแคลิฟอร์เนีย และเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ควรติดตามสถานการณ์ และคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิดต่อไป
เม็กซิโก
- ทาง การเม็กซิโกต้องสั่งปิดโรงเรียน ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ และสถานที่สาธารณะที่เป็นแหล่งรวมตัวของฝูงชนในกรุงเม็กซิโกซิตี้ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตซึ่งตัวเลขที่ยืนยัน ได้อยู่ที่ 68 คน และมีผู้ติดเชื้อกว่า 1,000 คน ในขณะที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า ได้ติดต่อประสานงาน กับหน่วยงานสาธารณสุขของเม็กซิโกแล้ว และกำลังหวั่นเกรงว่าไวรัสที่พบล่าสุดจะเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถติดต่อ จากคนสู่คน รวมทั้งกำลังพิจารณาว่าจะต้องออกประกาศเตือนการเดินทางไปเม็กซิโกหรือไม่
- ยอดผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดหมู่ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็น 81 คน และมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล 1,324 คน รัฐบาลเม็กซิโกออกคำสั่งพิเศษเมื่อวานนี้ให้อำนาจกระทรวงสาธารณสุขสามารถแยก กักตัวผู้ป่วย ตลอดจนตรวจค้นบ้านเรือน นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศพร้อมทั้งกระเป๋าสัมภาระเพื่อควบคุมการ แพร่ระบาดของไข้หวัดหมู ขณะที่มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ไปประจำที่สนามบินในกรุงเม็กซิโกซิตี้เพื่อแจกแบบ สอบถามให้ผู้โดยสารเครื่องบินระบุว่ามีอาการไข้หวัดหรือไม่ ตลอดจนมีการแจกหน้ากากอนามัย และเอกสารแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดหมูแก่ประชาชนตามสถานีรถ โดยสาร และรถไฟฟ้าใต้ดิน นอกจากนี้ยังสั่งปิดโรงเรียนทั่วเมืองหลวง และอีกหลายรัฐจนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม
- ขณะ เดียวกันรัฐมนตรีสาธารณสุขเม็กซิโกได้ปฏิเสธกระแสคาดการณ์ของสื่อในประเทศ ที่รายงานว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐอาจได้สัมผัสกับเชื้อโรคไข้หวัดหมูในช่วงที่เยือนกรุง เม็กซิโกซิตี้เมื่อ 10 วันที่แล้ว หลังโรคดังกล่าวเริ่มระบาดในพื้นที่ดังกล่าว ขณะเดียวกันทำเนียบขาวของสหรัฐยืนยันแล้วว่าโอบามาไม่ได้ป่วยด้วยอาการของ ไข้หวัดหมู
- ประธานาธิบดีเฟลิเป้ คัลเดรอน เตือนว่า ประเทศ กำลังเผชิญกับการระบาดของไวรัสชนิดใหม่ แต่พยายามคลายความหวาดกลัวของประชาชนโดยยืนยันว่าโรคไข้หวัดหมูชนิดนี้รักษา ให้หายได้ และทางการมียารักษาโรคในปริมาณมากเพียงพอ
สหรัฐอเมริกา
- สหรัฐฯ รายงานว่าผู้ติดเชื้อไข้หวัดหมู 8 คนที่รัฐแคลิฟอร์เนียกับรัฐเท็กซัส หายดีแล้ว แต่เมื่อวันเสาร์ได้รายงานผู้ป่วยคนที่ 9 ในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งหายดีแล้วเช่นกัน และพบสามีภรรยาคู่หนึ่งในรัฐแคนซัสที่ป่วยหลังสามีกลับมาจากเม็กซิโก แต่อาการป่วยไม่รุนแรง ในวันเดียวกัน มีรายงานนักเรียนกว่า 100 คนในย่านควีนส์ของรัฐนิวยอร์ค กับญาติบางคน มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัด แต่ไม่รุนแรงขึ้นขั้นต้องเข้าพยาบาล มีการยืนยันแล้วว่าเด็กคนเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ ซึ่งอาจเกิดจากไข้หวัดหมู แต่กำลังมีการตรวจสอบเพิ่มเติมอยู่
- ศูนย์ ควบคุม และป้องกันโรคสหรัฐ หรือซีดีซี คาดว่า จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตกไปทั่วประเทศในตอนนี้เพราะยังไม่เกิดภาวะที่ เรียกว่าโรคระบาด แม้จะยอมรับว่า เชื้อไวรัสที่พบล่าสุดเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนโดยผสมกันระหว่างไวรัสสายพันธุ์ที่พบในหมู นก กับในคน
แคนาดา
- เจ้า หน้าที่สาธารณสุขแคนาดาให้แพทย์ช่วยเฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบทาง เดินหายใจของผู้ที่เดินทางมาจากเม็กซิโก ศูนย์ควบคุมโรครัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดา แถลงว่า อาการของผู้ป่วยหนักในเม็กซิโก ได้แก่ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตา หายใจไม่สะดวก และร่างกายเหนื่อยล้ามาก โดยอาการป่วยจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายในเวลา 5 วัน
ฝรั่งเศส
- รัฐบาล ฝรั่งเศสประกาศว่าน่าจะพบภายในไม่กี่วันนี้ เพราะมีการสัญจรทางอากาศทั่วโลก จึงได้สั่งปิดโรงเรียนฝรั่งเศสในกรุงเม็กซิโก ซิตี้แล้ว และให้คำแนะนำแก่พลเมืองของตนในเม็กซิโกเพื่อป้องกันไว้ก่อน
ปัญหาฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในระดับนานาชาติ
- ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การระบาดของโรคนี้ในเม็กซิโก และสหรัฐฯ กำลังเป็นปัญหาฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในระดับนานาชาติ มีศักยภาพที่จะระบาดไปทั่ว เพราะเป็นโรคจากสัตว์ที่แพร่สู่คนได้ แต่ในขั้นนี้ยังไม่อาจระบุได้ว่าจะรุนแรงขึ้นขั้นจริงๆนั้นหรือไม่ ขณะที่มีรายงานว่า อาการของผู้ป่วยหนักในเม็กซิโก คือ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตา หายใจไม่สะดวก ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก อาการป่วยจะพัฒนารวดเร็วและจะมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วัน
- องค์การอนามัยโลกตัดสิน ใจออกประกาศเตือนหลังร่วมหารือกับผู้เชี่ยวชาญไวรัสไข้หวัดใหญ่จากทั่วโลก ในการเรียกประชุมคณะกรรมการฉุกเฉินเมื่อวันเสาร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมนับจากก่อตั้งคณะกรรมการชุดนี้เมื่อปี 2550 และหลายประเทศในลาติน อเมริกา กับเอเชียได้เริ่มตรวจตราหรือกลั่นกรองผู้โดยสารที่มาจากเม็กซิโก ตามท่าอากาศยาน และช่องทางเข้าประเทศอื่นๆแล้ว รวมทั้งที่ท่าอากาศยานใหญ่สุดของญี่ปุ่น ขณะที่ฟิลิปปินส์อาจจะกักตัวผู้โดยสารที่กลับจากเม็กซิโก และเป็นไข้ ส่วนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไทย และฮ่องกงบอกว่า กำลังจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
- ทางการเม็กซิโกเริ่ม สังเกตเห็นความผิดปกติเมื่อฤดูการแพร่ระบาดของไข้หวัดในปีนี้ยาวนานกว่าทุก ปีที่ผ่านมา และพบผู้ต้องสงสัยล้มป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่มากถึงกว่า 800 ราย และ 57 ราย ในจำนวนนี้ซึ่งทั้งหมดอาศัยอยู่ในเมืองเม็กซิโกซิตีเสียชีวิต
เตรียมรับสถานการณ์ในประเทศไทย
- การ ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์แพร่ระบาด ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ หรือไข้หวัดหมู ซึ่งจะออกเป็นประกาศกระทรวงแจ้งให้ประชาชน และหน่วยงานขององค์กรสาธารณสุขทราบถึงสถานการณ์ของโรคเป็นระยะ ทั้งนี้จากการประสานงานกับองค์การอนามัยโลกทราบว่า แต่ละประเทศตื่นตัว และจัดหามาตรการดูแลประชาชนด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากพบการระบาดมากขึ้นองค์การอนามัยโลกอาจประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณ สุข อย่างไรก็ตาม โรคดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการกินเนื้อหมู ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ติดตามเรื่องนี้และยังไม่พบเชื้อดังกล่าวในหมูแต่อย่างใด
- จนถึงขณะนี้ ประเทศไทยยังไม่เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ดัง กล่าว และจากการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่ต้นปี 2552 -ปัจจุบัน พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 3,159 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งไม่แตกต่างกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2551 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวังโรค รวมทั้งเตรียมความพร้อมรับมือ ทั้งด้านการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย การเตรียมเครื่องมือและเวชภัณฑ์ ตลอดจนการเดินทางระหว่างประเทศ โดยประสานงานกับองค์การอนามัยโลกและศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติสหรัฐ อเมริกาอย่างใกล้ชิดด้วย
การป้องกัน
- การป้องกันทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนหรือ สถานที่แออัด รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ล้างมือบ่อยๆ กรมควบคุมโรคได้เปิดศูนย์ call acenter ให้ประชาชนสอบถามสถานการณ์ของโรคได้ที่หมายเลข 0-2590-3333
- เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีการแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคนโดยทั่วไป เชื้อ ที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอหรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือ และสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก และตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา ไม่ติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมู ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ มีน้ำมูก หากป่วย และมีอาการดังกล่าว ควรสวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด ประชาชนทั่วไปควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก ผลไม้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้า ล้างมือบ่อยๆ
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A, B และ C
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A ก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์และสัตว์หลายชนิด เช่น ม้า สุกร นก ไก่ เป็นต้น โรคไข้หวัดใหญ่ที่พบในมนุษย์มีสาเหตุเกิดจาก type A ประมาณร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่ทั่วโลกด้วย ที่สำคัญ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A มีการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนของฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสไปจากเดิมมากจน กระทั่งเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ขึ้นอยู่เรื่อยๆ
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบรองลงมาจาก type A ก่อการติดเชื้อเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น มักพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B มีการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนของฮีแมกกลูตินินเช่นกัน แต่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากพอที่จะจัดเป็นสายพันธุ์ใหม่
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด C พบว่ามีรายงานการติดเชื้อในมนุษย์และสุกร แต่ไม่ค่อยมีความสำคัญ มนุษย์ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการอย่างอ่อน คุณสมบัติของไวรัสชนิดนี้ค่อนข้างแตกต่างไปจาก type A และ B
แอนติเจนของไวรัสไข้หวัดใหญ่
- ฮีแมกกลูตินิน (hemagglutinin, H) ทำหน้าที่ในการจับกับโปรตีนตัวรับบนผิวเซลล์ ทำให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์ได้โปรตีนตัวรับพบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจ และพบบนผิวเม็ดเลือดแดงด้วย ฮีแมกกลูตินินมีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดแดงของมนุษย์หมู่เลือดโอและ สัตว์บางชนิด เช่น ไก่ และหนูตะเภา เกิดปฏิกิริยาเกาะกลุ่ม ซึ่งคุณสมบัตินี้นำมาใช้ตรวจหาไวรัสได้ ฮีแมกกลูตินินของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A แบ่งออกเป็น 15 subtypes คือ H1, H2, H3... H15 ทั้ง 15 subtypes พบได้ในนก แต่เชื้อที่พบในมนุษย์ในปัจจุบันมีอยู่ 3 subtypes คือ H1, H2, และ H3 ส่วน subtypes อื่นๆ มีการติดเชื้อในสัตว์ต่างๆ กัน เช่น สุกร ม้า แมวน้ำ และปลาวาฬ ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B และ C ยังไม่มีการแบ่งฮีแมกกลูตินินออกเป็น subtype
- นิวรามินิเดส (neuraminidase, N) เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไกลโคโปรตีนซึ่งเป็นตัวรับบนผิวเซลล์ ทำให้ไวรัสหลุดเป็นอิสระจากเซลล์ เนื่องจากโมเลกุลของไกลโคโปรตีนนี้พบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจด้วย ทำให้ไวรัสถูกดักจับติดกับเมือกได้เมื่อเมือกจับไวรัสไว้ ไวรัสจะใช้เอนไซม์นี้ย่อยทำให้เมือกใสขึ้น ไวรัสจึงหลุดออกไปบุกรุกเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจที่อยู่ลึกลงไป ในปัจจุบันนี้ นิวรามินิเดสของเชื้อไข้หวัดใหญ่ type A แบ่งออกเป็น 9 subtypes ด้วยกัน คือจาก N1, N2, N3... N9 โดยเชื้อที่พบในมนุษย์เป็น N1 และ N2 ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B และ C ยังไม่มีการแบ่งนิวรามินิเดสออกเป็น subtype
ลักษณะของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
- มีรูปร่างหลายแบบ เช่น กลม หรือเป็นสายยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 นาโนเมตร แต่พวกที่เป็นสายยาวอาจมีความยาวหลายไมโครเมตร
- สายพันธุกรรมเป็น RNA สายเดี่ยวมี polarity เป็นลบ และแยกเป็นชิ้น โดย types A และ B มี 8 ชิ้น ส่วน type C มี 7 ชิ้น
- ชั้น นอกของไวรัสเป็นเปลือกหุ้ม ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไขมัน และไกลโคโปรตีน บนเปลือกหุ้ม มี spikes สองชนิดคือฮีแมกกลูตินิน ซึ่งมีรูปร่างเป็นแท่ง และนิวรามินิเดส ซึ่งมีรูปร่างเหมือนดอกเห็ด spikes 2 ชนิด รวมกันมีจำนวนประมาณ 500 ก้าน จำนวนของ H : N มีอัตราส่วนประมาณ 4-5: 1
- ไวรัส ไข้หวัดใหญ่มี transcription และ genome replication เกิดขึ้นในนิวเคลียส ซึ่งแตกต่างจาก RNA viruses ทั่วไป ที่มีการเพิ่มจำนวนในไซโตพลาสซึมเท่านั้น
- ถูก ทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ไม่ทนต่อความแห้ง ถูกทำลายได้ง่ายโดยน้ำยาฆ่าเชื้อซึ่งเป็นสารเคมีชนิดต่างๆ ที่ใช้กันแอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
- เชื้อไวรัสสามารถคงอยู่ได้นานในสิ่งขับถ่าย และสิ่งคัดหลั่ง เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำตา น้ำลาย และเสมหะ
- สามารถ เปลี่ยนแปลงแอนติเจนได้ง่าย โดยการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย หรือมีการเปลี่ยนยีนในกรณีที่เซลล์มีการติดเชื้อ 2 subtypes ที่แตกต่างกัน กลายเป็น subtype ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาได้ และเป็นสาเหตุที่ก่อระบาดวิทยาใหญ่ทั่วโลกบ่อยกว่าไวรัสอื่น
การเปลี่ยนแปลงแอนติเจน
- เนื่อง จากไวรัสมีจีโนมเป็น RNA และเป็นท่อน และมีการติดเชื้อในสัตว์หลายชนิด เช่น สัตว์ปีก ม้า และสุกร เป็นต้น จึงทำให้จีโนมของไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุรรมได้ค่อนข้างบ่อย การเปลี่ยนแปลงจีโนมทำให้แอนติเจนซึ่งเป็นผลผลิตของยีนเปลี่ยนแปลงไปด้วย
- antigenic shift พบเฉพาะในไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A เท่านั้น เกิดขึ้นจากขบวนการ gene reassortment คือ การที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2 ฃนิด ซึ่งเป็น type A เหมือนกับมีการติดเชื้อในเซลล์เดียวกัน ในขั้นตอน self assembly เพื่อประกอบขึ้นเป็นอนุภาค อาจมีการนำชิ้นจีโนมบางชิ้นของไวรัสชนิดนึ่งใส่เข้าไปในอนุภาคของไวรัสอีก ชนิดหนึ่ง จึงได้อนุภาคของไวรัสชนิดใหม่ ซึ่งมีแอนติเจนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการเปลียน subtype ของ H และหรือ N ก็ได้ และเนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดใหม่ เชื้อจึงทำให้เกิดการระบาดใหญ่ขึ้น
- การ ระบาดใหญ่ทั่วโลกของไวรัสไข้หวัดใหญ่ผ่านมาแล้วหลายครั้ง เกิดขึ้นเนื่องจากเชื้อมี antigenic shift ดังกล่าว ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบใน species ต่างๆ ในปัจจุบันเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ของนกน้ำ
- antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย พบได้ในไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุก type แต่ไม่มากพอที่จะเป็น H และ N subtypes ใหม่ การเปลี่ยนแปลงชนิด antigenic drift อาจทำให้เกิดการระบาดได้ในวงไม่กว้างนัก
- กลไก ในการเกิด antigenic drift เชื่อว่าเกิดจากขบวนการ point mutation ภายในจีโนม เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีเอนไซม์ RNA polymerase ซึ่งไม่มี proof reading activity ความผิดพลาดในการ replicate จีโนมพบได้ในอัตรา 1/10*4 bases ในแต่ละ replication cycle จากอัตราส่วนนี้จะพบว่ามีไวรัสชนิดใหม่เกิดขึ้นมากมาย เพียงแต่บางอนุภาคเท่านั้นที่จะเพิ่มจำนวนได้ต่อไป
วงจรการติดต่อข้ามชนิดสัตว์
- ตาม ปกติเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีกจะพบ H1-H15 และ N1-9 ซึ่ง H และ N สามารถจับคู่ผสมกัน แต่ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคค่อนข้างจะจำกัดอยู่ในกลุ่มของ H5 และ H7
- เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกรพบอยู่ในกลุ่มของ H1N1, H1N2 และ H3N2
- เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ส่วนใหญ่พบว่าอยู่ในกลุ่ม H1N1, H2N2 และ H3N2
- เชื้อ ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้ามไปมาระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ได้ โดยปรากฎสมมติฐานการติดต่อจากนกน้ำชนิดต่างๆ มายังเป็นหรือไก่ ผ่านสุกรที่เป็นตัวกลางผสมผสานไวรัสก่อนที่มาติดต่อถึงมนุษย์
- โดย ปกติในเซลล์ของมนุษย์จะไม่ปรากฏโมเลกุลตัวรับไวรัสที่มาจากสัตว์ปีก ส่วนในสุกรจะมีตัวรับไวรัสทั้งมนุษย์ และสัตว์ปีก ตามธรรมชาติของไวรัสไข้หวัดใหญ่นี้ซึ่งมีองค์ประกอบของสารพันธุกรรมซึ่งเป็น 8 ชิ้นส่วน แต่ละชิ้นส่วนเป็นรหัสควบคุมการสร้างโครงสร้างต่างๆ ของไวรัส รวมทั้ง H และ N ซึ่งมีความหลากหลาย
- สุกร จึงมีโอกาสรับเชื้อไวรัสจาก 2 แหล่งคือจากสัตว์ปีก และมนุษย์ซึ่งจะเพิ่มจำนวนอยู่ในเซลล์เดียวกัน ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการจับคู่ชิ้นส่งวนของ RNA เกิดเป็นไวรัสย่อยชนิดใหม่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนของไวรัสปรากฏเป็น คู่หมายเลขใหม่ของ H และ N หากทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในมนุษย์จะเป็นไวรัสใหม่ซึ่งมนุษย์ไม่เคยสัมผัส และไม่เคยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อใหม่นั้น อาจทำให้เกิดโรครุนแรง และหากสามารถติดต่อจากมนุษย์หนึ่งไปสู่อีกมนุษย์หนึ่งได้ก็อาจทำให้เกิดการ ระบาดได้ในพื้นที่กว้างออกไป