สัญญาณดาวเคราะห์นอกกาแลกซี่ทางช้างเผือก


598 ผู้ชม


สิ่งที่น่าสนใจคือเทคโนโลยีนี้ทำให้เห็นดาวเคราะห์ที่มีมวลพอๆ กับดาวพฤหัสหรือแม้แต่ดาวที่มีมวลน้อยกว่าได้ในกาแลกซีอื่นๆ นับเป็นสิ่งที่พิเศษจริงๆ"   

คาดว่ามีเยอะแต่เพิ่งเห็นสัญญาณดาวเคราะห์นอกกาแลกซีเรา

สัญญาณดาวเคราะห์นอกกาแลกซี่ทางช้างเผือก
  .
สัญญาณดาวเคราะห์นอกกาแลกซี่ทางช้างเผือก

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
คาดว่าจะได้เห็นดาวเคราะห์ดวงแรกนอกกาแลกซีทางช้างเผือกในกาแลกซีแอนโดรมีดา (นาซา/บีบีซีนิวส์)

ความเข้มสนามโน้มถ่วงของไมโครเลนส์ทำให้เห็นภาพซ้อน (นาซา/บีบีซีนิวส์)

อาศัยปรากฏการณ์ "เลนส์โน้มถ่วง" ซึ่งวัตถุที่อยู่ใกล้ จะเบนแสงจากดาวที่ไกลๆ หากวัตถุทั้งสองเรียงเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับผู้สังเกต ทำให้นักดาราศาสตร์จากอิตาลีเชื่อว่า ได้ส่งพบสัญญาณของดาวเคราะห์นอกกาแลกซีทางช้างผือกเป็นครั้งแรกในกาแลกซีแอนโดรมีดา ซึ่งคาดว่าดาวเคราะห์ดังกล่าวมีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดี 6 เท่า 
       
       ทั้งนี้ ทีมวิจัยจากสถาบันนิวเคลียร์ฟิสิกส์แห่งอิตาลี (National Institute of Nuclear Physics: INFN) พร้อมด้วยผู้ร่วมวิจัยจากสวิตเซอร์แลนด์ สเปน รัสเซีย ได้อาศัยเทคนิคเลนส์โน้มถ่วง (gravitational lensing) ที่เรียกว่า "ไมโครเลนซิง" (microlensing) สำรวจดาวเคราะห์นอกกาแลกซีของเรา และได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาในส่วนประกาศประจำเดือนของวารสารสมาคมดาราศาสตร์แห่งราชบัณฑิต (Royal Astronomical Society: MNRAS)
       
       ผลของวัตถุที่มีมวลมากขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ระหว่างผู้สังเกตและดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลโพ้นหรือแม้แต่ดวงดาวนั้น ทำให้เกิดการบิดเบี้ยวหรือภาพซ้อน ราวกับว่าความโน้มถ่วงของวัตถุที่อยู่ตรงกลางนั้นได้เบนแสงที่เดินทางผ่านออกไป สำหรับปรากฏการณ์ไมโครเลนซิงนั้นก็คล้ายๆ กัน เพียงแต่วัตถุที่อยู่ตรงกลางนั้นมีมวลน้อยกว่า มีสิ่งที่เห็นได้ชัดว่ามีการเพิ่มขึ้นของความเข้มแสงที่สังเกตได้ ซึ่งมาจากวัตถุคุ่ที่เรียงตัวกันอยู่ ราวกับวัตถุที่อยู่ตรงกลางนั้นเป็นจุดรวมแสงของดาวที่อยู่ไกลโพ้น
       
       เนื่องจากผลดังกล่าวขึ้นอยู่กับวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งเคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับวัตถุที่เป็นคู่ ดังนั้นเหตุการณ์ไมโครเลนส์จึงเป็นปรากฏการณ์เพียงชั่วครู่ ซึ่งเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง นอกจากนี้ การเรียงตัวของวัตถุขนาดเล็กที่อยู่ไกลจากผู้สังเกตบนโลกมากก็ยังเป็นปรากฏการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ด้วยเหตุนี้ กาแลกซีแอนโดรมีดาซึ่งมีดาวหนาแน่นหลายล้านดวงจึงได้รับเลือกให้เป็นเป้าหมายในการสำรวจ
       
       ฟรานซิสโก เดอ เปาลิส (Francesco De Paolis) จากสถาบันนิวเคลียร์ฟิสิกส์แห่งอิตาลี และผู้ร่วมงานของได้ช่วยกันพัฒนาแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการตรวจพบดาวเคราะห์นอกกาแลกซีด้วยเหตุการณ์ไมโครเลนส์ในกาแลกซีแอนโดรมีดา โดยทำแบบจำลอง "แนวโค้งแสง" ซึ่งเป็นความหลากหลายของแสงที่ดาวซึ่งทำหน้าที่เป็นไมโครเลนส์จะแสดงออกมา เมื่อมีดาวหรือดาวเคราะห์โคจรรอบๆ
       
       เพื่อประเมินร่องรอยที่ดาวเคราะห์ในแอนโดรมีดาแสดงออกมา ทีมวิจัยต้องย้อนกลับไปยังการสำรวจของทีมนักดาราศาสตร์ "พอยท์-เอเกพ" (Point-Agape) ที่เสร็จสิ้นเมื่อปี 2547 ซึ่งได้เผยให้เห็นเส้นโค้งของแสดงที่ไม่เหมือนปกติ ซึ่งผลจากการสำรวจล่าสุดนี้ทำให้ทีมวิจัยสรุปว่าเป็นความลงตัวกับทฤษฎี และยังนำทฤษฎีนี้ไปใช้ได้กับดาวคู่เปรียบเทียบในการเรียงตัวซึ่งมีมวลมากกว่าดาวพฤหัสถึง 6 เท่าได้ ซึ่งเป็นได้ทั้งดาวเคราะห์หรือดาวแคระน้ำตาล (brown dwarf)
       
       โชคร้ายที่ปรากฏการณ์ไมโครเลนซิงจากคู่วัตถุเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว และนักดาราศาสตร์ไม่สามารถย้อนกลับ เพื่อยืนยันแนวคิดได้ แต่ ดร.เดอ เปาลิส ก็ให้ความคิดในแง่บวกถึงความเป็นไปได้ที่จะพบดาวเคราะห์ในระยะที่เกิดปรากฏการณ์เช่นเดียวกันนี้อีก
       
       "สิ่งที่น่าสนใจคือเทคโนโลยีนี้ทำให้เห็นดาวเคราะห์ที่มีมวลพอๆ กับดาวพฤหัสหรือแม้แต่ดาวที่มีมวลน้อยกว่าได้ในกาแลกซีอื่นๆ นับเป็นสิ่งที่พิเศษจริงๆ" ดร.เดอ เปาลิสบอกกับบีบีซีนิวส์
       
       การปฏิบัติหน้าที่พร้อมทฤษฎีใหม่นั้น ผู้มีหน้าที่ในงานนี้กำลังมองหาเวลาที่แน่นอนในการใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เพื่อเดินหน้าการสำรวจด้วยความหวังที่จะพบดาวเคราะห์อื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งระบบสุริยะกว่า 350 ระบบที่พบแล้วในกาแลกซีเพื่อนบ้านนั้น จึงเป็นไปได้ที่จะพบดาวเคราะห์มากมาย แต่ความยากคือการจับสัญญาณของดาวเคราะห์เหล่านั้นด้วยเทคนิคเลนส์โน้มถ่วง
       
       "มันไม่ง่ายเลยจริงๆ ปัญหาคือเราไม่ทราบว่าปรากฏการณ์ไมโครเลนส์นี้จะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่" ดร.เดอ เปาลิสกล่าว.

แหล่งข้อมูล  หนังสือพิมพ์ผูจัดการ   19 มิถุนายน 2552 13:29 น

นำเสนอเป็นแหล่งเรียนรู้โดยครูณัฐฎา  แสงคำ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=802

อัพเดทล่าสุด