โรคกระดูกพรุน


638 ผู้ชม


คือภาวะที่มีเนื้อกระดูกบางตัวลง เนื่องจากมีการสร้างกระดูกน้อยกว่า   

          กระดูกพรุน คือภาวะที่มีเนื้อกระดูกบางตัวลง เนื่องจากมีการสร้างกระดูกน้อยกว่า การทำลายกระดูก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหัก หรือยุบตัวได้โดยง่าย จุดที่มีการหักบ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือก่อให้เกิดปัญหาในผู้สูงอายุ 50% ของสตรีที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นโรคกระดูกพรุน

ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีปัญหาอะไรบ้าง

  1. ปวดหลัง กระดูกสันหลังยุบตัวลง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง
  2. กระดูกแขนขาเปราะ และหัก ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการพิการเดิน
    ไม่ได้
  3. อาการแทรกซ้อนจากกระดูกหัก เช่น ปอดบวม แผลกดทับ ติดเชื้อ แขนขาใช้งานไม่ได้ ทำให้ผู้สูงอายุ
    เสียชีวิตได้โดยง่าย
    โรคกระดูกพรุน

เราจะป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร

การป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ และวัยหมดประจำเดือนทำ ได้โดยการเริ่มเสริมสร้างให้กระดูกหนาแน่น และแข็งแรง ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว คือ ก่อนอายุ 30 ปี เพราะหลังอายุ 30 ปีแล้ว โอกาสในการเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกทำได้ยาก ทำได้เพียงแต่ชะลอการทำลายกระดูกเท่านั้น วิธีการป้องกัน คือ

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง ผู้สูงอายุ สตรีวัยหมดประจำเดือนควร
    ออกกำลังกายที่ลงน้ำหนัก เช่น เดินไกลๆ วิ่งเหยาะ รำมวยจีน เต้นรำ เพื่อป้องกันการสูญเสียกระดูก
  2. รับประทานเนื้อสัตว์ แป้ง ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ดื่มนมทุกวัน วันละ 1 แก้ว หรือ
    รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน
  3. ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา ไม่ซื้อยาชุดทานเอง ดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 2 แก้ว

ปริมาณความต้องการแคลเซียมแต่ละวัน

สถานภาพและอายุ ปริมาณแร่ธาตุ
แคลเซียมที่ต้องการ
คิดเป็นมิลลิกรัม/วัน
วัยเด็กอายุ 1-10 ปี 800-1,000
วัยหนุ่มสาวอายุ 11-25 ปี 1,200
สตรีก่อนวันหมดประจำเดือน
(อายุ 26-49 ปี)
1,000
สตรีหลังหมดประจำเดือน
(อายุ 50 ปีขึ้นไป)
1,000-1,500
สตรีระยะตั้งครรภ์ และสตรีระหว่างให้นมบุตร 1,200-1,500
ระยะกระดูกหัก 1,500

ข้อมูลจาก National Institutes of Health แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา

โรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือนถ้าได้รับฮอร์โมนทดแทน ควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 มิลลิกรัม และถ้าไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทนควรได้รับวันละ 1,500 มิลลิกรัม

จาก การศึกษาของ นพ.สุรัตน์ โคมินทร์ และคณะ (1994) พบว่าปริมาณแคลเซียมที่คนไทยได้รับจากอาหารจัดอยู่ในระดับต่ำ คือประมาณ 360 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณไม่ถึงครึ่งหนึ่งของแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวัน

แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของแคลเซียมคือ นม และผลิตภัณฑ์จากนมรองลงมาคือ ปลาเล็กที่กินทั้งกระดูก กะปิ แต่แคลเซียมจากผักจะดูดซึมไม่ดี เนื่องจากปริมาณไฟเตต และออกซาเลตจะรบกวนการดูดซึมแคลเซียม

โรคกระดูกพรุนนมสด 1 แก้ว (250 ซีซี) จะมีแคลเซียมประมาณ 200 มิลลิกรัมฉะนั้น เด็กที่ต้องการแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม จะต้องดื่มนมสด 4 แก้ว ขณะที่สตรีวัยหมดประจำเดือน และผู้สูงอายุที่ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000-1,500 มิลลิกรัม จึงต้องดื่มนมวันละ 5-7 แก้ว ซึ่งถ้าไม่สามารถดื่มได้ก็ให้ท่านดื่มเท่าที่จะดื่มได้ แล้วเติมแคลเซียมเสริมสำหรับผู้ใหญ่ ถ้าได้รับแคลเซียมวันละ 400 มิลลิกรัม ยังไม่เพียงพอสำหรับป้องกันโรคกระดูกพรุน แต่ถ้าได้รับแคลเซียมมากกว่าวันละ 1,000 มิลลิกรัม ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมจนถึงจุดสมดุลย์ทั้งในกระดูกและเลือด แคลเซียมส่วนที่เกินจะขับถ่ายออกทางอุจจาระตามปกติ จึงไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับแคลเซียมมากเกินไป

หลักในการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม

  1. ควร ดูตัวยาสำคัญที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมนั้นก่อนว่าเป็นแคลเซียม อย่างเดียว หรือมีวิตามินอื่นผสม เนื่องจากการได้รับวิตามินบางตัว เช่น วิตามินซี หรือวิตามินดีมากเกินไป ทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้ผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินอื่นๆ ผสมอยู่
  2. ควร ดูว่าผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม 1 เม็ด ให้อนุมูลแคลเซียมเท่าไร เพื่อความสะดวกในการรับประทาน เนื่องจากเราต้องการอนุมูลแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 800 มิลลิกรัม ดังนั้นถ้าใน 1 เม็ด มีอนุมูลแคลเซียมน้อยเกินไปอาจต้องให้จำนวนหลายเม็ด
  3. ควร ดูว่าผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมนั้นอยู่ในรูปแบบใด เนื่องจากแคลเซียมละลายน้ำ และถูกดูดซึมได้ยาก ดังนั้นควรให้ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมที่เป็นเม็ดฟู่ จะทำให้การละลาย และการดูดซึมดีกว่าแบบเม็ดธรรมดา
  4. นอก จากนี้อาจจะต้องดูว่า แคลเซียมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นเกลือแคลเซียมอะไร เนื่องจากเกลือแคลเซียมต่างชนิดกัน จะดูดซึมต่างกันในสภาวะกรดในกระเพาะต่างๆ กัน เช่น แคลเซียม คาร์บอเนตจะดูดซึมได้น้อยลง ถ้าผู้ป่วยมีกรดในกระเพาะอาหารน้อย

ข้อสงสัยเกี่ยวกับกระดูกงอก

การ ทานแคลเซียมเสริม ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะกระดูกงอก เพราะกระดูกงอกเกิดจากกระดูมีการช้ำจากการออกแรง หรือกระทบกระทั่งบริเวณกระดูกมากเกินไป ทำให้มีการเสริมสร้างกระดูกผิดปกติไป


ที่มา :
 แผ่นพับ บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=803

อัพเดทล่าสุด